เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
อ่าน: 19464 รบกวนสอบถามถึงบุคคลในภาพครับ
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 16 ก.ค. 16, 18:39

ขอเรียนถาม อ. V_Mee เรื่องการรับราชการในสมัยนั้นหน่อยครับ

พอดีผมเห็นว่าขุนนนท่านรับราชการเป็นทั้งมหาดเล็ก ดังปรากฏหลักฐานจำนวนมากรวมถึงประกาศเลื่อนตำแหน่งเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๙ และในเวลาเดียวกันก็สังกัดกรมมหรสพไปด้วย


ตามความเข้าใจคิดว่าถ้าเป็นมหาดเล็ก ก็น่าจะทำงานที่เกี่ยวข้องกับมหาดเล็กเป็นหลัก และน่าจะสังกัดกรมมหาดเล็กหลวง แต่เหตุใดในเวลาเดียวกันถึงอยู่ที่กรมมหรสพไปด้วย

เลยสงสัยว่าในสมันนั้น การรับการสองกรมเป็นเรื่องที่ปกติในสมัยนั้นหรือเปล่าครับ


ของคุณครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 17 ก.ค. 16, 08:11

กรมมหากดล็กนั้นเป็นกรมใหญ่เทียบได้กับกระทรวงเลยทีเดียวครับ

ในกรมมหาดเล็กยังแบ่งซอยเป็นส่วนราชการระดับกรมและเทียบเท่าอีก ๕ กรม คือ

๑) กรมบัญชาการกลางสภาจางวางมหาดเล็ก  มีสภาจางวางมหาดเล็กซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของกรมมหาดเล็กเป็นผู้รับผิดชอบราชการ  
กรมนี้เมื่อยุบเลิกตำแหน่งสภาจางวางมหาดเล็กแล้ว  เปลี่ยนเป็นกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก  มีผู้สำเร็จราชการมหาดเล็กเป็นผู้บังคับบัญชา
ในกรมบัญชาการกลางนี้ยังมีส่วนราชการย่อย เช่น กรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์  กรมตรวจ  กรมสารวัด ฯ ล ฯ ขึ้นอยู่ในกรมนี้

๒) กรมมหาดเล็กรับใช้  มีอธิบดีกรมมหาดเล็กเป็นผู้บังคับบัญชา  แบ่งส่วนราชการเป็นกรมมหาดเล็กตั้งเครื่อง มีหน้าที่เดินโต๊ะเสวยและรับใช้ทั่วไป    
และกองมหาดเล็กห้องพระบรรทม มีหน้าที่ถวายการรับใช้เฉพาะในห้องพระบรรทม  ทั้งเรื่องการจัดดูแลเครื่องทรง  การรักษาความสะอาดในห้องพระบรรทม
และถวายอารักขาในเวลาทรงพระบรรทม

๓) กรมพระอัศวราช  มีอธิบดีกรมพระอัศวราชเป็นผู้บังคับบัญชา  มัหน้าที่รับผิดชอบเรื่องพระราชพาหนะทั้งปวง  กรมนี้แบ่งส่วนราชการเป็นกรมพระอัศวราช  
มีหน้าที่จัดขบวนรถม้าพระที่นั่ง และรับผิดชอบม้าต้น  กรมยานยนต์หลวง  มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องรถยนต์พระที่นั่งและรถยนต์หลวง  กรมเรือยนต์หลวง  
มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องเรือยนต์พระที่นั่งและเรือยนต์หลวง

๔) กรมชาวที่ มีอธิบดีกรมชาวที่เป็นผู้บังคับบัญชา  มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลรักษาพระราชฐานที่ประทับและพระราชอุทยาน  แบ่งส่วนราชการเป็นกรมสวนหลวง
มีหน้าที่รับผิดชอบพระราชอุทยาน  กรมรักษาพระราชวังดุสิต  กรมรักษาพระราชวังสนามจันทร์  กรมรักษาพระราชวังบางปะอืน  ฯลฯ  มีหน้าที่รับผิดชอบ
ดูแลรักษาพระที่นั่งในพระราชวังนั้นๆ  รวมทั้งเรื่องงานระบบไฟฟ้า  ประปา และการสุขาภิบาล

๕) กรมมหรสพ มีผู้บัญชาการกรมมหรสพเป็นผู้บังคับบัญชา  มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องการช่างและการมหรสพในพระราชสำนัก  แบ่งส่วนราชการเป็น กรมโขนหลวง
มีหน้าที่รับผิดชอบจัดดูแลรักษาเครื่องโขนฝึกซ้อมและออกแสดงกรมพิณพาทย์หลวง มีหน้าที่รับผิดชอบจัดดูแลรักษาเครื่องดนตรีไทย  ฝึกซ้อมและออกแสดง  
กองเครื่องสายฝรั่งหลวง  เป็นวงออร์เคสตร้า มีหน้าที่รับผิดชอบจัดดูแลรักษาเครื่องดนตรีสากลฝึกซ้อมและออกแสดง  กรมช่างมหาดเล็ก  มีหน้าที่ซ่อมสร้าง
โรงโขนและโรงละคร  รวมทั้งการจัดสร้างฉาก  และงานช่างทั้งจิตรกรรมและประติมากรรมในพระราชสำนัก

ในแต่ละกรมที่มีผู้บังคับบัญชาเรียกว่า อธิบดี และผู้บัญชาการแล้ว  กรมย่อยๆ ที่สังกัดในกรมใหญ่นั้นยังมี เจ้ากรม เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบราชการในกรมนั้น
ยกเว้นกองเครื่องสายฝรั่งหลวง  ผู้บังคับบัญชาเรียกว่า ปลัดกรม
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 17 ก.ค. 16, 20:20

ขอบคุณครับ

งั้นคงได้ข้อสรุปแล้วว่าท่านเป็นมหาดเล็กที่สังกัดกรมมหรสพอีกต่อหนึ่งครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 21 ก.ค. 16, 11:54

วันนี้ตรวจดูในทำเนียบนามข้าราชการฉบับที่จมื่นอมรดรุณารักษ์รวบรวมไว้
ขุนนนทรวบรัด (เพาะ  บุนนาค) ได้เลื่อนเป็นหลวงนนทรวบรัด มีราชการในกรมมหรสพ  เมื่อวันที่  ๑ มกราคม ๒๔๖๗
ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๔๑ หน้า ๓๔๐๐

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2467/D/3369.PDF


บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 21 ก.ค. 16, 18:49

ออกซอยย่อย
บรรดาศักดิ์ขุนนนทฯ คงจะมีมาแต่โบราณ ถึงได้มีชื่อบางมาพ้อง...บางขุนนนท์
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 21 ก.ค. 16, 19:22

นอกจากขุนนนท์แล้ว ในกรุงเทพฯ ก็ยังมี ขุนเทียน ขุนศรี ขุนพรหม ที่เป็นคนดังประจำถิ่น จนชาวบ้านเอาไปเรียกเป็นชื่อบาง  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 23 ก.ค. 16, 10:17

ขอบคุณคุณเพ็ญชมพูมากครับสำหรับข้อมูล

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 23 ก.ค. 16, 10:52

ภาพต้นเรื่องของคุณศรีสรรเพชญ์และข้อมูลบางส่วนในกระทู้นี้ถูกย่อยไปลงไว้ใน เฟซบุ๊กวิพากษ์ประวัติศาสตร์ และ เฟซบุ๊กของคุณวรกานต์ ชูโต เรียบร้อยแล้ว  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 23 ก.ค. 16, 10:55

สรุปข้อมูลที่ทุกท่านช่วยกันค้นหาเกี่ยวกับคุณเพาะ บุนนาคที่มีทั้งหมดในตอนนี้คือ


ท่านเป็นบุตรชายคนใหญ่ของนายราชาณัตยานุหาร (พาสน์) กับคุณสงวน สุขสภา มีศักดิ์เป็นหลานปู่ของท่านเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ และเป็นหลานป้าของท่านเจ้าจอมพิศว์

นายราชาณัตยานุหารผู้เป็นบิดาเสียชีวิตไปเร็วมาก ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๔๕  ส่วนคุณสงวนผู้เป็นมารดาไปมีครอบครัวใหม่

วัยเด็กท่านน่าจะอาศัยอยู่ที่บ้านบุนนาคหน้าวัดประยุรวงษศาวาสกับท่านเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ที่เป็นเจ้าคุณปู่ เจ้าจอมพิศว์ที่เป็น "คุณป้าในวัง" กับน้องๆ ของท่าน

ต่อมาท่านได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระยุพราช ได้เป็น ๑ ในเด็ก ๔๐ คนที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายจากพระราชวังสราญรมย์มาเล่าเรียนต่อที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงตั้งแต่วันแรกเปิดโรงเรียนคือวันที่  ๒๙  ธันวาคม  ๒๔๕๓

เมื่อจบหลักสูตรแล้วท่านได้เข้ารับราชการในกรมมหาดเล็กหลวง สังกัดกรมมหรสพ และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นลำดับต่อมาจนเป็น "ขุนนนทรวบรัด" มหาดเล็กวิเศษ (เทียบเท่านายร้อยตรี) ไม่ทราบวันเวลาแน่ชัด แต่ก่อน พ.ศ.๒๔๕๙ จากประวัติที่คุณยายเล่าไว้ ระบุว่าท่านเคยถวายงานเป็นมหาดเล็กห้องพระบรรทมด้วย

ได้รับพระราชทานยศราชนาวีเสือป่า ระดับนายเรือตรี และเป็นสมาชิกของสโมสรราชเสวก

เมื่ออายุครบอุปสมบท ได้เป็นนาคหลวงที่ได้รับบรรพชาอุปสมบทภายในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม


๒๒ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๙ ได้เลื่อนจากมหาดเล็กวิเศษ เป็นรองหุ้มแพร (เทียบเท่านายร้อยโท)

๓๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๕๙ เป็นผู้เขียนพินัยกรรมของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์จำนวน ๒ ฉบับ

๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๗ ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงนนทรวบรัด" เนื่องในพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 25 ก.ค. 16, 09:40

ได้รับพระราชทานยศราชนาวีเสือป่า ระดับนายเรือตรี และเป็นสมาชิกของสโมสรราชเสวก

๒๘ กันยายน ๒๔๖๑ จ่าตรี เพาะ บุนนาค ได้เลื่อนยศในกองพันหลวงราชนาวีเสือป่า เป็น พันจ่า  (ลำดับยศต่อจากพันจ่าคือ นายเรือตรี)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 25 ก.ค. 16, 10:09

คุณวีมีเคยอธิบายเรื่องยศเสือป่าไว้

ยศเสือป่าเรียงลำดับจากต่ำสุดไปสู่สูงสุด ในช่วงแรกตั้งกองเสือป่า ดังนี้ครับ

พลเสือป่า
นายหมู่ตรี  โท  เอก นายหมู่ใหญ่
นายหมวดตรี  โท  เอก
นายกองตรี  โท  เอก  นายกองใหญ่

ยศตั้งแต่นายหมู่ใหญ่ขึ้นไปจนถึงนายกองใหญ่จัดเป็นยศชั้นสัญญาบัตร  ผู้ที่ได้รับพระราชทานยศตั้งแต่นายหมู่ใหญ่ขึ้นไปได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถือไม้เท้าเสือป่า (เป็นไม้เท้าสีดำ  ต้นและปลายไม้เท้าเป็นโลหะสีทอง  มีปลอกอักษรพระบรมนามาภิไธย ว.ป.ร.โลหะสีทอง รัดที่ที่ต้นไม่เท้าตอนใต้ปลอกโลหะ  มีพู่ไหมทองสลับดำ) เป็นเครื่องยศแทนกระบี่ด้วย

ในระหว่างปี ๒๔๕๔ - ๒๔๕๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระยศ นายกองใหญ่ เพียงพระองค์เดียว  ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๘  เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มยศนายพลเสือป่า เป็นชั้นยศเหนือ นายกองใหญ่ อีกยศหนึ่ง  ได้พระราชทานยศนายพลเสือป่าแก่นายเสือป่าชั้นผู้ใหญ่หลายท่าน  และต่อมาได้โปรดเกล้าฯ ให้ "ว่าที่นายพลเสือป่า" เปลี่ยนมาใช้ยศนายกองใหญ่แทน

คงต้องขอคำอธิบายเพิ่มเติมจากคุณวีมี ในเรื่องยศอื่นของเสือป่าเช่น จ่าโท จ่าตรี พันจ่า นายเรือตรี ตามที่ปรากฎข้างบน 

บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 25 ก.ค. 16, 18:29

เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ ๖ มียศหลากชนิดหลายประเภท  จึงได้จัดทำเป็นตารางเปรียบเทียบไว้เพื่อประโยชน์แก่ท่านที่สนใจครับ

ตารางข้างล่างนี้เป็นยศชั้นสัญญาบัตร เป็นชั้นยศที่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นสำคัญ



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 25 ก.ค. 16, 18:31

ยศชั้นประทวน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 25 ก.ค. 16, 20:10

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ ครับ


เรียนถามว่า ร,น,ส, คืออะไรหรือครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 25 ก.ค. 16, 20:19

ร.น.ส. ย่อมาจาก ราชนาวีเสือป่าครับ
ใช้ในความหมายเดียวกับนายทหารเรือ ใช้ ร.น. ต่อท้ายชื่อและยศที่เป็นอักษรย่อ เช่น น.ต. หลวงหาญสมุท ร.น. ความหมายคือ นายนาวาตรี หลวงหาญสมุท แห่งราชานาวี
แต่ชั้นยศนายพลเรือจะไม่เติม ร.น. ต่อท้ายชื่อ  เพราะในยศบอกไว้ชัดแล้วว่าเป็นนายพลเรือ  แม้จะใช้อักษรย่อ
การใช้คำย่อ ร.น.นี้  รับมาจากราชนาวีอังกฤษ  ที่นายทหารเรืออังกฤษใช้ R.N. ต่อท้ายชื่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.143 วินาที กับ 20 คำสั่ง