เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 19522 รบกวนสอบถามถึงบุคคลในภาพครับ
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 10 ก.ค. 16, 16:31

ในอัลบั้มเล็กของเจ้าจอมพิศว์ก็ปรากฏภาพถ่ายชายท่านเดียวกันครับ


บุคคลทางซ้ายตอนแรกคิดว่าเป็นมุสลิม แต่เมื่อดูดีๆ พบว่าหน้าตาใกล้เคียงกับคุณเพาะ บุนนาคมาก ลักษณะใบหูมีติ่งยาวเหมือนกัน

ประกอบกับภาพในอัลบั้มนี้มีแต่ภาพเจ้าจอมพิศว์และคนในครอบครัวของท่าน จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นภาพของคุณเพาะในช่วงที่สูงวัยขึ้น

ถ้าได้ทราบว่าตราบนอกเสื้อเป็นตราอะไรคิดว่าคงไขข้อข้องใจได้มากขึ้นครับ


ถ้าภาพทางซ้ายมีเป็นภาพของคุณเพาะจริง ก็เป็นไปได้มากที่ภาพขวาจะเป็นภาพของนายราชาณัตยานุหาร บิดาของท่าน โดยอาจจะจัดให้พ่อกับลูกอยู่หน้าเดียวกัน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 10 ก.ค. 16, 16:40

เมื่อเทียบจากเนื้อหาของกระทู้ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3619.0

ที่หลายๆ ท่านได้ทายบุคคลจากภาพถ่ายคณะตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปเมื่อ ร.ศ.๑๑๖




มีการสันนิษฐานว่าบุคคลหมายเลข ๑๓ น่าจะเป็นนายราชาณัตยานุหาร (พาสน์ บุนนาค)


อ้างถึง
2. บุคคลหมายเลข 13 คนนี้ก็เป็นบุนนาค ดูจากผู้ตามเสด็จก็มีอีกคนที่เป็นบุนนาค เลยตอบ (แบบเดาล้วนๆ) ว่า
นายราชาณัตยานุหาร (พาส์น บุนนาค) พนักงานรับส่งหนังสือต่างประเทศ บุตรเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร) กับท่านผู้หญิงเปลี่ยน (ต้นตำรับแม่ครัวหัวป่าก์)

ผมก็สันนิษฐานว่า เป็นนายราชาณัตยานุหาร (พาสน์ บุนนาค)เหมือนกัน
เพราะอยู่ในกลุ่มผู้ตามเสด็จในครั้งนั้น
แต่หารูปเทียบยากมาก  ที่มีก็เป็นรูปตอนเป็นเด็กหนุ่มมาก  เทียบแทบไม่เห็นเค้าเลย
แต่ที่เดาว่าเป็นนายราชาณัตยานุหาร (พาสน์ บุนนาค) เพราะหน้าตาเป็นแขก
กับมีเหรียญตรามาก ดูเป็นข้าราชการคนสำคัญ



เมื่อเทียบกับรูปถ่ายที่ผมค้นเจอแล้ว ก็พบว่าทั้งใบหน้า และเครื่องแต่งกายนั้นใกล้เคียงกันมาก จนน่าเชื่อว่าเป็นคนๆ เดียวกันครับ


ด้วยเหตุที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จึงทำให้ผมสันนิษฐานว่าบุคคลในภาพนี้คือ นายราชาณัตยานุหาร (พาสน์ บุนนาค) ครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 10 ก.ค. 16, 16:50


ในภาพด้านหลัง (ด้านขวา) รูปปั้นเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา   (ด้านซ้าย) รูปปั้นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์
แถวยืน             คุณหญิงพวง ดำรงค์ราชพลขันธ์, นายราชาณัตยานุหาร (พาส์น)
แถวนั่ง             เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร), เจ้าจอมพิศว์ ในรัชกาลที่ ๕
แถวหน้า     คุณพาสนา ชูโต





ส่วนชายหนุ่มในภาพนี้ที่บรรยายว่าเป็นนายราชาณัตยานุหาร สันนิษฐานว่าเป็นภาพของคุณเพาะหรือขุนนนบุตรชายของท่านมากกว่า โดยน่าจะเกิดจากความเข้าใจผิดของผู้จัดทำครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 10 ก.ค. 16, 17:01

และสตรีในภาพที่บรรยายว่าเป็นคุณหญิงพวง ดำรงค์ราชพลขันธ์ ก็น่าจะเป็นนางอำนาจนทีสฤษดิ์ (เพ็ญ บุนนาค) น้องสาวของคุณเพาะเนื่องจากมีวัยใกล้เคียงกัน
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 10 ก.ค. 16, 18:47

เข็มวชิราวุธที่กระเป๋าเสื้อข้างซ้ายเป็นเครื่องหมายว่าท่านผู้นี้ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ ๖ ตั้งแต่ครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระยุพราช
ส่วนเหรียญที่ห้อยที่รังดุมเม็ดที่ ๒ นั้น คือ เข็มที่ระลึกนักเรียนเก่าโรงเรียนมหาดเล็กหลวง  เมื่อนำความหมายของเข็มข้าหลวงเดิมหรือเข็มรูปวชิราวุธ
มาผูกรวมกับเข็มเครื่องหมายนักเรียนเก่ามหาดเล็กหลวง  ก็สามารถอธิบายได้ว่า ท่านผู้นี้ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชกาลมาตั้งแต่ก่อนเสวยราชย์
และได้เป็น ๑ ใน ๔๐ เด็กๆ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายจากพระราชวังสราญรมย์มาเล่าเรียนต่อที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงตั้งแต่วันแรกเปิดโรงเรียน
ตือวันที่  ๒๙  ธันวาคม  ๒๔๕๓  เมื่อจบหลักสูตรแล้วได้เข้ารับราชการในกรมมหาดเล็กหลวง  และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นลำดับต่อมา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 ก.ค. 16, 09:22 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 11 ก.ค. 16, 09:24

เมื่อเทียบกับรูปถ่ายที่ผมค้นเจอแล้ว ก็พบว่าทั้งใบหน้า และเครื่องแต่งกายนั้นใกล้เคียงกันมาก จนน่าเชื่อว่าเป็นคนๆ เดียวกันครับ

ด้วยเหตุที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จึงทำให้ผมสันนิษฐานว่าบุคคลในภาพนี้คือ นายราชาณัตยานุหาร (พาสน์ บุนนาค) ครับ

น่าจะใช่คนคนเดียวกัน  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 11 ก.ค. 16, 09:51

ในภาพนี้  บุคคลในภาพกลางแต่งเครื่องแบบเต็มยศข้าราชการพลเรือนยุคแรกที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานในคราวเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก
โดยเลียนแบบเครื่องแบบข้าราชการอังกฤษแต่เปลี่ยนสีเสื้อจากแดงมาเป็นดำ  ส่วนลายปักคงเป็นไหมทองเหมือนกัน  จึงน่าจะอธิบายได้ว่า
บุคคลในภาพกลางน่าจะเป็นนายราชาณัตยานุหาร

ส่วนบุคคลในภาพซ้ายและขวาแต่งกายในยุครัชกาลที่ ๖  จึงน่าจะเป็นขุนนทรวบรัด ผู้เป็นบุตรของนายราชาณัตยานุหาร


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 11 ก.ค. 16, 09:52

เนื้อหาระบุว่าท่านเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ยกทรัพย์สมบัติให้เจ้าจอมพิศว์แต่เพียงผู้เดียว น่าสังเกตว่าท่านไม่ได้ระบุถึงบุตรคนอื่นๆ ของท่านอย่างนายราชาณัตยานุหาร (พาสน์) หรือจมื่นศรีสรรักษ์ (เพ่ง) ไว้ด้วย
เหตุผลที่จมื่นศรีสรรักษ์ (เพ่ง) ไม่มีรายชื่ออยู่ในผู้ได้รับมรดก คุณวีมีแจ้งให้ทราบแล้ว

ท่านเจ้าพระยาภาสฯ และท่านผู้หญิงเป็นผู้กราบบังคมทูลขอให้ลงพระราชอาญาแก่นายเพ่ง ศรีสรรักษ์ บุตรชายคนโต จนต้องรับพระราชอาญาถูกถอดจากยศและบรรดาศักดิ์  และดูเหมือนนายเพ่ง  ศรีสรรักษ์จะถูกตัดจากการเป็นทายาทผู้รับมรดก  
สำหรับนายราชาณัตยานุหาร (พาสน์) ในปีที่เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ทำพินัยกรรม (พ.ศ. ๒๔๕๙) ท่านเสียชีวิตมาแล้วเป็นเวลา ๑๔ ปี และภาพขุนนทรวบรัดในเครื่องแต่งกายไว้ทุกข์ก็พออนุมานได้ว่าถ่ายใน พ.ศ. ๒๔๔๕ (ร.ศ. ๑๒๑)


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 11 ก.ค. 16, 09:58

เครื่องหมายที่กระเป๋าเสื้อในภาพนี้คือ อักษรพระบรมนามาภิไธย ร.ร.๖ พระมหามงกุฎ  แบบสุดท้ายที่โปรดเกล้าฯ ให้ผูกขึ้นเมื่อตอนปลายรัชกาล
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานอักษรพระบรมนามาภิไธยนี้ให้เป็นตราสัญลักษณ์ของสโมสรราชเสวก  ซึ่งมีที่ตั้งสโมสร
อยู่ที่พระราชวังพญาไท  ในพื้นที่ฝั่งที่เป็นองค์การทหารผ่านศึกในปัจจุบัน
 บุคคลในภาพนี้จึงน่าจะเป็นขุนนทรวบรัด  ซึ่งเป็นสมาชิกของสโมสรราชเสวก  เพราะผู้ที่จะเข้าเป็นสมาชิกของสโมสรนี้จำกัดอยู่แต่เฉพาะข้าราชสำนักเท่านั้น


บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 12 ก.ค. 16, 11:16


ท่านเจ้าพระยาภาสฯ และท่านผู้หญิงเป็นผู้กราบบังคมทูลขอให้ลงพระราชอาญาแก่นายเพ่ง ศรีสรรักษ์ บุตรชายคนโต จนต้องรับพระราชอาญาถูกถอดจากยศและบรรดาศักดิ์  และดูเหมือนนายเพ่ง  ศรีสรรักษ์จะถูกตัดจากการเป็นทายาทผู้รับมรดก  
สำหรับนายราชาณัตยานุหาร (พาสน์) ในปีที่เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ทำพินัยกรรม (พ.ศ. ๒๔๕๙) ท่านเสียชีวิตมาแล้วเป็นเวลา ๑๔ ปี และภาพขุนนทรวบรัดในเครื่องแต่งกายไว้ทุกข์ก็พออนุมานได้ว่าถ่ายใน พ.ศ. ๒๔๔๕ (ร.ศ. ๑๒๑)


ผมคิดว่าชุดไว้ทุกข์น่าจะถ่ายในโอกาสอื่นมากกว่าครับ เพราะพิจารณาช่วงอายุของจุนนจากรูปถ่ายๆ รูป ตอนที่นายราชาณัตยานุหารเสียชีวิตน่าขุนนนจะยังเด็กอยู่มากครับ แต่ภาพในชุดใส่แขนทุกข์นี้ดูมีอายุน่าจะเลยช่วงวัยรุ่นมาแล้วครับ
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 12 ก.ค. 16, 11:18

ส่วนตัวก็คิดไว้ตั้งแต่แรกแล้วว่านายราชาณัตยานุหารน่าจะถึงแก่กรรมไปก่อนนานมาก ตั้งแต่ลูกๆ ยังเด็ก เพราะไม่ปรากฏรูปท่านถ่ายรวมกับครอบครัวเลย และไม่ถูกกล่าวถึงในพินัยกรรมด้วย ทั้งนี้ได้ข้อมูลของคุณเพ็ญชมพูมายืนยันจึงได้ข่อสรุปที่ชัดเจนครับ
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 12 ก.ค. 16, 11:20

ต้องขอบพระคุณ อ.V_Mee มากครับที่เข้ามาช่วยเสริมความรู้เรื่องเครื่องแต่งกาย ทำให้มองเห็นภาพชีวิตของขุนนนได้ชัดเจนยิ่งขึ้นครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 12 ก.ค. 16, 12:36

ผมคิดว่าชุดไว้ทุกข์น่าจะถ่ายในโอกาสอื่นมากกว่าครับ เพราะพิจารณาช่วงอายุของจุนนจากรูปถ่ายๆ รูป ตอนที่นายราชาณัตยานุหารเสียชีวิตน่าขุนนนจะยังเด็กอยู่มากครับ แต่ภาพในชุดใส่แขนทุกข์นี้ดูมีอายุน่าจะเลยช่วงวัยรุ่นมาแล้วครับ

กลับไปดูรูปแรกที่ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ ก็น่าเชื่อว่าเมื่อนายราชาณัตยานุหาร (พาสน์) เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕ ขุนนนยังเป็นเด็กเล็กอยู่



บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 15 ก.ค. 16, 20:18

วันนี้ตรวจดูในทำเนียบนามข้าราชการฉบับที่จมื่นอมรดรุณารักษ์รวบรวมไว้
ขุนนนทรวบรัด (เพาะ  บุนนาค) ได้เลื่อนเป็นหลวงนนทรวบรัด มีราชการในกรมมหรสพ  เมื่อวันที่  ๑ มกราคม ๒๔๖๗
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 16 ก.ค. 16, 18:33

ขอบพระคุณ อ.V_Mee อีกครั้งครับ

วันนี้ไปเยิ่ยมคุณยาย เลยลองถามดู ปรากฏว่าคุณยายรู้จักหลวงนน เล่าให้ฟังว่าคุณหลวงนนเป็นมหาดเล็กห้องบรรทมของในหลวงรัชกาลที่ ๖ ครับ

ซึ่งก็สอดคล้องกับหลักฐานหลายๆ ชิ้นที่ระบุว่าท่านรับราชการเป็นมหาดเล็กครับ และคงได้ถวายงานใกล้ชิดมากๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 20 คำสั่ง