เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 3962 "บทละครโทรทัศน์" จัดว่าเป็นวรรณกรรมได้ไหนครับ
Wu Zetian
ชมพูพาน
***
ตอบ: 120


 เมื่อ 22 มิ.ย. 16, 20:50

ผมสงสัยว่า ที่ประเทศไทยจัด "บทละครโทรทัศน์" ว่าเป็นวรรณกรรมประเภท
Theatre and Television Literature ได้ไหมครับ
เนื่องจากว่า ที่ประเทศจีน พวกเราจะจัด "บทละครโทรทัศน์" ว่าเป็น Theatre and
Television Literature (Chinese : 戏剧影视文学专业) ครับ

ขอบพระคุณครับ
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 22 มิ.ย. 16, 22:16

ถ้าคือที่เอามาลงหนังสือพิมพ์ผมอ่านไม่รู้เรื่องนะ ฉากเดินไว ฉับ ฉับ ฉับ เหมือนอาหารจานด่วนประมาณนั้น
บันทึกการเข้า
Wu Zetian
ชมพูพาน
***
ตอบ: 120


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 23 มิ.ย. 16, 00:11

@ คุณ superboy
ผมหมายถึง บทละครโทรทัศน์ที่นำมาลงในฐานข้อมูลระบบอินเทอร์เน็ตครับ
ที่ประเทศจีนมีฐานข้อมูลวีดีโอที่เรียกว่า "โยวคู่" (优酷) ในระบบโยวคู่มีบทละครโทรทัศน์
จากประเทศไทยมากมาย คนจีนนำมาลงไว้ และดาวน์โหลดไฟล์มาเก็บไว้ได้ครับ
พวกเราคนจีนดูละครไทยจากฐานข้อมูลโยวคู่ครับ
ทั้งนี้ โยวคู่ของจีน น่าจะเทียบได้กับ ยูทูบ (youtube) ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 23 มิ.ย. 16, 08:57

ได้ค่ะ
ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยค่ะ    อังกฤษอเมริกาเขาก็จัดงานเขียนบทละคร หรือบทโทรทัศน์ เป็นวรรณกรรมได้ทั้งนั้น   
แต่จะเป็นวรรณกรรมที่ดีมีคุณภาพ  หรือไม่ค่อยได้คุณภาพ เป็นอีกประเด็นหนึ่ง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 23 มิ.ย. 16, 09:58

คำว่า "วรรณกรรม" ปรากฏครั้งแรกใน พระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พุทธศักราช ๒๔๗๔ โดยให้คำนิยามของ "วรรณกรรมและศิลปกรรม" รวมกัน


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 23 มิ.ย. 16, 10:14

สมัยนั้นไม่มีโทรทัศน์, งานของเชคสเปียร์จึงเป็น วรรณกรรม(คดี)บทละครเวที Theatre and Television Literature

          Tell me where is fancy bred,
Or in the heart, or in the head?
How begot, how nourished?
Reply, reply.

สู่ วรรรคดี(บทละครแปล) เรื่อง เวนิส วาณิช พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ ๖

                ความเอยความรัก            เริ่มสมัครชั้นต้น ณ หนไหน
เริ่มเพาะเหมาะกลางหว่างหัวใจ             หรือเริ่มในสมองตรองจงดี
แรกจะเกิดเป็นไฉนใครรู้บ้าง                 อย่าอำพรางตอบสำนวนให้ควรที่
ใครถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงรตี              ผู้ใดมีคำตอบขอบใจเอย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 23 มิ.ย. 16, 10:19

ขออธิบายให้คุณ Wu Zetian เข้าใจถึงความหมายของวรรณกรรม
1  ในความหมายทางการ ตามที่คุณเพ็ญชมพูนำมาลงข้างบนนี้   วรรณกรรมมีความหมายในวงกว้าง  สรุปว่าอะไรที่เขียน หรือบันทึกเป็นคำพูดเช่นพวกวรรณกรรมมุขปาฐะ    เรียกว่าวรรณกรรม ทั้งหมด  ไม่แยกกว่าเป็นงานชั้นดีหรือไม่ดี
ก่อนมีกระทรวงวัฒนธรรม  กระทรวงศึกษากำหนดคำนี้เพื่อให้ตรงกับ literature ในความหมายกว้าง    แทนที่จะเรียกว่าวรรณคดี ซึ่งยกระดับขึ้นไปเป็นหนังสือเก่ามีคุณค่า   ไม่รวมพวกหนังสือหรือข้อเขียนหรือมุขปาฐะร่วมสมัยปัจจุบัน
2  ในความหมายไม่เป็นทางการ   ต่อมาคนเข้าใจว่า วรรณกรรมหมายถึงหนังสือดี  ข้อเขียนดี ในยุคปัจจุบัน   ที่ได้รับการยกย่องแล้วไม่ทางใดทางหนึ่ง เช่นวรรณกรรมซีไรต์   วรรณกรรมอาเซียน   หรือถ้าไม่ได้ยกย่องเป็นทางการ ก็ยกย่องในความรู้สึกของคนอ่าน      
    เพราะฉะนั้น ก็เลยแยกตามนี้
    ขุนช้างขุนแผน อิเหนา รามเกียรติ์  เป็นวรรณคดี
    คำพิพากษา ของชาติ  กอบจิตติ  เป็นวรรณกรรม
    อะไรที่เขียนท้ายรถบรรทุกสิบล้อ  เช่น รักพี่ต้องหนีตาม   ไม่ใช่วรรณกรรม

    แต่ตามความหมายที่หนึ่ง   นิยายซีไรต์ หรือเขียนท้ายรถสิบล้อ   เป็นวรรณกรรมเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 23 มิ.ย. 16, 10:20

สมัยนั้นไม่มีโทรทัศน์, งานของเชคสเปียร์จึงเป็น วรรณกรรมบทละครเวที Theatre and Television Literature

          Tell me where is fancy bred,
Or in the heart, or in the head?
How begot, how nourished?
Reply, reply.

                ความเอยความรัก            เริ่มสมัครชั้นต้น ณ หนไหน
เริ่มเพาะเหมาะกลางหว่างหัวใจ             หรือเริ่มในสมองตรองจงดี
แรกจะเกิดเป็นไฉนใครรู้บ้าง                 อย่าอำพรางตอบสำนวนให้ควรที่
ใครถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงรตี              ผู้ใดมีคำตอบขอบใจเอย

คุณหมอในเรือนไทย ล้วนแต่เอกแพทย์ โทอักษรศาสตร์(วรรณคดี) กันหลายท่านค่ะ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 23 มิ.ย. 16, 10:24

"วรรณกรรม" ในความหมายของท่านรอยอิน คือ งานหนังสือ, งานประพันธ์, บทประพันธ์ทุกชนิดทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง, เช่น วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ วรรณกรรมของเสฐียรโกเศศ วรรณกรรมฝรั่งเศส วรรณกรรมประเภทสื่อสารมวลชน; (กฎ) งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัยสุนทรพจน์ และหมายความรวมถึงโปรแกรม คอมพิวเตอร์ด้วย

ยังมีผู้ให้คำจำกัดความคำนี้อีกหลายหลาก เช่น

กุหลาบ มัลลิกะมาส : วรรณกรรม มาจากการสร้างศัพท์ใหม่ แทนคำว่า "Literature" โดยวิธีสมาส หรือรวมคำ จากคำว่า วรรณ หรือ บรรณ ซึ่งหมายถึงใบไม้ หรือ หนังสือ รวมกับคำว่า กรรม ซึ่งหมายถึงการกระทำ ดังนั้นวรรณกรรม จึงหมายถึง การกระทำที่เกี่ยวกับหนังสือ โดยความหมายของวรรณกรรม หมายถึง สิ่งซึ่งเขียนขึ้นทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นไปในรูปใด หรือเพื่อความมุ่งหมายใด ซึ่งอาจจะเป็นใบปลิวหนังสือพิมพ์ นวนิยาย คำอธิบาย ฉลากยา เป็นต้นก็ได้

ม.ล. บุญเหลือ เทพยสุวรรณ และเจตนา นาควัชระ : วรรณกรรม หมายถึง หนังสือ หรือเอกสาร ที่มีศิลปกรรมในฐานะที่มีรูปแบบ มีสาระเนื้อหาที่ผู้เขียนพยายามสื่อความคิดด้วยวิธีการหนึ่งมายังผู้อ่าน

สิทธา พินิจภูวดล และคณะ : วรรณกรรม หมายถึงงานเขียนในรูปบทกวีนิพนธ์ ร้อยกรอง และข้อเขียนทั้งหมดที่ใช้ภาษาร้อยแก้ว ได้แก่ บทความ สารคดี นวนิยาย เรื่องสั้น เรียงความ บทละคร บทภาพยนตร์ บทโทรทัศน์ ตลอดจนคอลัมน์ต่าง ๆ ในหนังสือพิมพ์

พระยาอนุมานราชธน หรือ เสฐียรโกเศศ : วรรณกรรม หมายถึงการกระทำหนังสือหรือหนังสือที่แต่งขึ้นทั่วไปโดยมิได้จำกัดว่าเป็นหนังสือพวกใดพวกหนึ่งโดยเฉพาะ ส่วนจะมีคุณค่ามากน้อยเพียงใดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก

สมพร มันตะสูตร : วรรณกรรม หมายถึงงานเขียนทุกชนิด ทุกชิ้นที่สามารถสื่อสารได้น่าจะเป็นวรรณกรรม ซึ่งหมายความว่า เมื่อผู้แต่งส่งสารไปยังผู้รับ ผู้รับสามารถสื่อความเข้าใจจากสารที่ผู้แต่งส่งมาได้ ก็ถือว่ามีการสื่อสารกันขึ้นแล้วงานเขียนนั้นนับว่าเป็นวรรณกรรม

เสถียร จันท์มาธร : วรรณกรรม คือผลิตผลที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อสะท้อนถ่ายความจัดเจนที่ได้รับจากการต่อสู้ของชีวิต ทั้งในทางธรรมชาติและทางสังคม เป็นการสร้างวัฒนธรรมทางศิลปะ รับใช้ผลประโยชน์ของกลุ่มความคิดที่ตนสังกัดอยู่

ข้อมูลจาก บทความเรื่อง วรรณคดี และ วรรณกรรม ของ พงศ์ศักดิ์ สังขภิญโญ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 23 มิ.ย. 16, 14:19

            เรื่อง บทละคร และ บทภาพยนตร์ เป็นวรรณกรรม หรือไม่ เชิญอ่านความเห็นจากฝั่งตะวันตก
ฝ่ายเห็นด้วย

http://www.ibiblio.org/cdeemer/cfs0602.htm

           กล่าวว่า บทละครเวที ได้รับการยอมรับว่าเป็นวรรณกรรมไปแล้วก่อนที่บทภาพยนตร์จะเริ่ม
ได้รับการยอมรับมากขึ้น. ในช่วงทศวรรษ 1990s ได้มีการพิมพ์เผยแพร่บทภาพยนตร์ออกจำหน่าย
และมีการเคลื่อนไหวให้จัดการเรียนการสอนบทภาพยนตร์จากผลงานของนักเขียนบทบางคน....

และ      ได้มีการถาม-ตอบคำถามว่า บทละครเวทีเป็นวรรณกรรม แต่ บทภาพยนตร์(เป็นหรือ) ไม่เป็น
ในหลายเว็บ,คำตอบเป็นว่ายอมรับบทละครแต่ยังไม่ยอมรับบทภาพยนตร์ เช่น

https://www.reddit.com/r/explainlikeimfive/comments/3289yy/eli5_why_are_plays_considered_to_be_literature/
 
https://www.quora.com/Why-are-plays-considered-to-be-literature-but-film-scripts-are-not

http://screenplayasliterature.com/?p=38  

           จับใจความส่วนหนึ่งประมาณว่า บทละครเป็นคัมภีร์หรือตำราหลัก ให้นำไปสร้างเป็นละครเรื่องนั้น
สืบต่อไปในกาลหน้า ในขณะที่ บทภาพยนตร์เป็นพิมพ์เขียว สำหรับการสร้างภาพยนตร์ในคราวนั้น
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 23 มิ.ย. 16, 15:37

ของผมมาจากกฎหมายครับ
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๔ ให้คำนิยามของคำว่า วรรณกรรม ไว้ดังนี้ครับ
“วรรณกรรม” หมายความว่า งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัย สุนทรพจน์ และให้หมายความรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย
ส่วนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ก็หมายความดังนี้ครับ
“โปรแกรมคอมพิวเตอร์” หมายความว่า คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดที่นำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานหรือเพื่อให้ได้รับผลอย่างหนึ่งอย่างใด  ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในลักษณะใด

จากนิยามดังกล่าว จะเห็นว่า วรรณกรรมมีความหมายที่กว้างมากๆครับ เพราะหมายถึงงานนิพนธ์ทุกชนิดเลย ไม่จำกัดเฉพาะที่เขียนไว้เท่านั้น สาเหตุที่กฎหมายใช้คำกว้าง ก็เพื่อมุ่งคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เมื่องานเขียนทุกชนิดเกิดจากปัญญาของมนุษย์จึงสมควรที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเสนอกัน

ฉะนั้น ถ้าใช้นิยามตามพระราชบัญญัตินี้ บทละครโทรทัศน์ ก็เป็นวรรณกรรมด้วยครับ  

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 23 มิ.ย. 16, 16:37

         ขอรวมความว่า บทละครเวที, โทรทัศน์ และ ภาพยนตร์ จัดเป็นวรรรกรรม ในความหมาย
ของงานนิพนธ์ แต่ ตามความหมายของงานนิพนธ์ทรงคุณค่าระดับ literature ทางตะวันตกยอมรับ
บทละครเวที  
         ในขณะที่ บทภาพยนตร์(ซึ่งบางกลุ่มยอมรับว่า ภาพยนตร์เป็นศิลปะแขนงที่ ๗) ยังไม่ได้รับ
การยอมรับคุณค่าตามความหมายหลังโดยทั่วหน้า ดังนั้น บทละครโทรทัศน์ ของละครโทรทัศน์ที่โดย
ภาพรวมแล้วเป็นงานสะดวกดู ที่สเกลเล็กกว่า, ลงทุนลงแรงน้อยกว่า, ประดิษฐ์รังสรรค์ง่ายกว่าภาพยนตร์
จึงยังคงเป็นวรรณกรรมได้ตามความหมายแรกต่อไปก่อน    
 
บันทึกการเข้า
Wu Zetian
ชมพูพาน
***
ตอบ: 120


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 23 มิ.ย. 16, 21:05

ขอขอบพระคุณท่านวิทยากรทั้งหลายเป็นอย่างสูงนะครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.085 วินาที กับ 19 คำสั่ง