เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24 25 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 61308 พืชผลชื่อ มะ.... กับเมนูทำกิน
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 330  เมื่อ 13 ก.ค. 16, 10:20

เจอคำว่า 'เหมือด' ทำให้นึกขึ้นได้ว่าสงสัยมานานแล้วว่า 'สลบเหมือด' มีที่มาเกี่ยวข้องกับ 'เหมือด'ขนมจีนไหมคะ?
คำถามแบบนี้ต้องเข้าทางคุณเพ็ญชมพู   วันนี้หายไปไหนไม่ทราบค่ะ

รอยอินไม่ได้บอกที่มาไว้   บอกแค่นี้ค่ะ

เหมือด [เหฺมือด] น. เครื่องกินกับขนมจีนนํ้าพริก มีหัวปลีซอยเป็นต้น. ว. ใช้ประกอบกับคำ สลบ เป็น สลบเหมือด หมายความว่า สลบไสล แน่นิ่งไม่ติงกาย.[เหฺมือด] น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล  Symplocos  วงศ์ Symplocaceae ใบแห้งสีเหลือง ดอกสีขาวออกเป็นช่อ กลิ่นหอม เช่น เหมือดหลวง [S. cochinchinensis(Lour.) S. Moore] เหมือดหอม (S. racemosa Roxb.).

ไม่น่าจะเกี่ยวกันนะคะ  
ชาวไทซึ่งอยู่ในมณฑลยูนนานทางใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีคำที่ออกเสียงว่า "เหมิด" หมายถึง เครื่องปรุงรส คำ "เหมิดหอม" หมายถึง เครื่องปรุงรสมีขิงและกระเทียมเป็นต้น  (ที่มา : ท่านรอยอิน)

ส่วนชาวไทที่อยู่ในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (ไทขาว) มีคำที่ออกเสียงว่า "เมิ้ด" หมายถึง เป็นลมหมดสติ  (ที่มา : เว็บไซต์ของโรงเรียนสารภีพิทยาคม)

คำว่า "เหมือด" จึงน่ามาจาก "คำไท" ในถิ่นอื่นคือ "เหมิด" และ "เมิ้ด" โดยคงความหมายเดิมที่ใช้ในถิ่นนั้นไว้

บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 331  เมื่อ 13 ก.ค. 16, 20:41

ได้สอบถามคุณยายชวด(ของหลานๆ) ท่านอายุ ๙๐ แล้ว ทำขนมจีนน้ำพริก-น้ำยาเลี้ยงลูกหลาน ทำช่วยงานบุญต่างๆมาตลอด เรียกว่าลูกหลานกินที่ไหนไม่สะใจก็จะมาหาคุณชายชวด ซึ่งก็ไม่ผิดหวัง ถามท่านเรื่อง"เหมือด" ท่านก็ตอบคำตอบเดียวกับรอยอินเปี๊ยบ คือ ผักหรืออะไรต่างกินเคียงกับขนมจีนน้ำพริก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 332  เมื่อ 13 ก.ค. 16, 21:46

เคยได้ยินมาแบบเดียวกันกับคุณ Jalito ค่ะ
ขนมจีนน้ำยาก็มีเครื่องเคียงหลายอย่าง    แต่ไม่เรียกว่า "เหมือด"  หรือว่าเรียกแต่ดิฉันไม่ทราบ
รอคุณตั้งมาเฉลยดีกว่า
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 333  เมื่อ 14 ก.ค. 16, 07:11

ในหนังสือตำหรับสายเยาวภา ระบุว่า เครื่องประกอบน้ำพริกขนมจีน

๑. เหมือด มะละกอปอกเปลือกซอยเป็นฝอยแช่น้ำไว้ หัวปลีกล้วยตานีลอกกาบแดง ๆ ออกผ่าสองซีก
ฝานแกนหั่นแช่น้ำ

๒. ผักผัด ใช้ผักรู้นอน ผักบุ้ง ถั่วพู ... เด็ดและจักให้สั้นๆ และเล้ก ๆ ...

๓. ผักชุบแป้งทอด ใช้ใบพริก ใบกะเพรา ใบเล็บครุฑ ใบขจร ใบผักบุ้ง ใบผักปลาบ ใบผักชี .. ชุบแป้งลงทอด

๔. ทอดมันกรอบ ใช้กุ้งฝอยและถั่วสีชมพูหรือถั่วทอง ...

๕. ทอดมันปลา ทอดมันกุ้ง

๖. พริกแห้งทอด

๗. ไข่ต้มแข็ง

๘. ผักดิบ

๙. แจงรอน ใช้เนื้อไก่หรือเนื้อปลาก็ได้โขลกให้เหนียว ใส่เกลือ พริกไทย กระเทียม รากผักชี โขลกผสมให้หอม ปั้นก้อนกลมๆ รีๆ ต้มในน้ำกะทิข้นๆ

๑๐. ข้าวเม่าทอด

๑๑. กล้วยแขก

เครื่องประกอบทั้ง ๑๑ อย่างนี้ เป็นชุดของน้ำพริกขนมจีน

เห็นได้ว่าในตำหรับนี้ เหมือด มีเพียงมะละกอ และปลีกล้วย เท่านั้น
ภายหลังคงเรียกรวมไปหมดทุกอย่างที่เป็นผักหั่นซอย ว่า เหมือด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 334  เมื่อ 14 ก.ค. 16, 09:07

คิดว่าหลายอย่างหายไปจากรายการของ "เหมือด" ข้างบนนี้ อย่างทอดมันกรอบ ไม่เคยเห็นในร้านขายขนมจีนน้ำพริก ค่ะ
ทำให้อยากเห็นมาก ว่าทุกวันนี้เขายังทำกันอยู่รึเปล่า   มันเป็นคนละอย่างกับทอดมันปลากราย หรือทอดมันกุ้ง (ซึ่งก็เปลี่ยนไปไม่เหมือนเดิม)
นึกถึงขนมจีนอยุธยาที่แม่พลอยไปกินตอนทอดกฐิน คุณเปรมนั่งเรือเอามาให้   บรรยายว่าเหมือดในจานขนมจีน มีใบบัวอ่อน ใบกระถิน พริกทอด ด้วย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 335  เมื่อ 14 ก.ค. 16, 19:34

ขนมจีนน้ำพริกมีเครื่องเคียงเป็นพวกของทอดน้ำมันเป็นหลัก  ต่างกับขนมจีนน้ำยาที่มีเครื่องเคียงเป็นพวกผักสดเป็นหลัก  โดยเฉพาะที่เป็นยอดอ่อนของต้นไม้ต่างๆ ที่ผู้คนในภาคใต้เรียกว่า "ผักเหนาะ"    สำหรับภาคอื่นๆนั้นไม่ทราบว่ามีชื่อเรียกเฉพาะหรือไม่ นึกไม่ออกเลยครับ

ปัจจุบันนี้ได้ยินแต่ เครื่องผัก เครื่องเคียง ผักเคียง และผักเหนาะ
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 336  เมื่อ 15 ก.ค. 16, 06:50

นอกจากผักสดแล้วขนมจีนน้ำยาทางใต้ มีผักดองด้วย

เช่น ผักเสี้ยน ผักบุ้ง โดยเฉพาะผักกาดดองอยู่ในถาดผักแถวกรุงเทพฯด้วย รสชาติเปรี้ยวๆ เข้ากันได้ดีกับน้ำยา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 337  เมื่อ 15 ก.ค. 16, 09:48

ขนมจีนน้ำยาปักษ์ใต้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 338  เมื่อ 15 ก.ค. 16, 09:51

ผักเสี้ยนดอง


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 339  เมื่อ 15 ก.ค. 16, 19:32

จากประสพการณ์ที่ได้พบเห็นของผม  ผมเข้าใจว่า แต่ดั้งเดิมนั้นขนมจีนมิใช่เป็นอาหารในชิวิตประจำวันของคนไทย  จนกระทั่งเมื่อชุมชนใดมีตลาดและมีการทำเส้นขนมจีนเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน    เส้นขนมจีนจึงมีวางขายอยู่ในตลาด แล้วก็มีคนทำนำยา น้ำพริกและแกงเอามาขายร่วมกับเส้น  กระนั้นก็ตาม ก็ยังไม่มีขนมจีนซาวน้ำขายในตลาดชุมชนทั่วๆไป  และก็ยังไม่เคยเห็นมีการขายขนมจีนใดๆเลยมื้อเที่ยงออกไป

การทำขนมจีนนั้นไม่ง่ายเลย  ใช้เวลามาก  และต้องใช้พ่อครัวแม่ครัวหลายคน  ขนมจีนแต่เดิมจึงเป็นอาหารในงานเลี้ยงหรืองานบุญต่างๆ ต้องมีการเตรียมเครื่องเคราล่วงหน้าเป็นวัน   

เริ่มตั้งแต่เอาข้าวจ้าวมาแช่น้ำ ค่อยๆกรอกลงโม่ หมุนบดไปเรื่อยๆ  ปริมาณน้ำกับข้าวที่จะกรอกลงโม่ก็จะต้องได้สัดส่วนกันพอดีๆ น้ำมากไป น้ำน้อยไป กรอกเร็วไป กรอกบ่อยไป กรอกปริมาณมาก น้อยไป เหล่านี้ล้วนแต่ทำให้ความละเอียดของแป้งที่บดไม่เสมอต้นเสมอปลาย

ข้าวกับน้ำไหลจากโม่ลงถัง ปล่อยทิ้งไว้ให้ตกตะกอน พอน้ำใสก็เทน้ำออก แล้วเทแป้งลงถุงผ้าดิบ ผูกปากแล้วเอาไปแขวนให้สะเด็ดน้ำ บ้างก็ใช้หินหนักๆวางบนไม้กระดานทับไล่น้ำให้สะเด็ด ใช้เวลาหลายชั่วโมง หรือข้ามคืน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 340  เมื่อ 15 ก.ค. 16, 19:39

ขนมจีนเป็นอาหารดั้งเดิมของชาวมอญค่ะ   มาจากภาษามอญว่า "ขฺนํจินฺ" [คะ -นอม-จีน]
คำว่า "คะนอม" แปลว่าเส้น คำว่า "จีน" มีความหมายว่า "สุก" [1]
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 341  เมื่อ 15 ก.ค. 16, 19:51

ได้แป้งแล้ว ก็ไปผ่านกระบวนการหมัก (หากจะทำเส้นหมัก) เอาไปนวด ไปนึ่ง เอาไปผ่านตะแกรงหยอดลงน้ำเดือดหรือร้อนจัด ตักออกมาใส่กะละมังน้ำเย็น แล้วจับเส้นให้เป็นจับๆ จับเล็กจับใหญ่ตามต้องการ

หากจะทำน้ำพริกก็ต้องบดถั่วเขียว    หากทำน้ำยาก็ต้องต้มปลา แกะเนื้อปลา     หากจะทำน้ำยากะทิก็ต้องขูดมะพร้าว คั้นกะทิ    หากจะทำน้ำเงี้ยว ก็ต้องโขลกน้ำพริกแกง สับกระดูกหมู ผ่ามะเขือส้ม ตัดเลือดหมู นึ่งดอกงิ้ว ฯลฯ     ทำแกงเผ็ด แกงเขียวหวาน ก็ต้องโขลกน้ำพริกแกง เด็ดมะเขือพวง ผ่ามะเขือเปราะ เด็ดใบโหระพา ฯลฯ    จะเป็นแกงไตปลาก็ต้องโขลกน้ำพริกแกง หั่นผักต่างๆ และไปเก็บใบอ่อนยอดไม้ต่างๆมาเป็นผักเหนาะ ฯลฯ  

เป็นงานใหญ่ ชุมนุมพ่อครัว แม่ครัว เป็นโรงครัวที่มีแต่เรื่องเย้าแหย่กัน หัวร่อกัน  งานส่วนที่แย่ที่สุดและเงียบที่สุดก็ช่วงตอนโม่แป้งนั่นแหละครับ

เมื่อตอนเป็นเด็กก็เข้าไปยุ่งกับเขาตอนโม่แป้ง กับโม่ถั่วเขียว ได้เรียนรู้ดีครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 342  เมื่อ 15 ก.ค. 16, 20:23

ขนมจีนน้ำเงี้ยว


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 343  เมื่อ 15 ก.ค. 16, 20:32

ขนมจีนเป็นอาหารดั้งเดิมของชาวมอญค่ะ   มาจากภาษามอญว่า "ขฺนํจินฺ" [คะ -นอม-จีน]
คำว่า "คะนอม" แปลว่าเส้น คำว่า "จีน" มีความหมายว่า "สุก" [1]

เป็นอาหารที่แพร่กระจายและยอมรับกันมาก  จะว่าไปก็เป็นเมนูที่นิยมกันในทุกประเทศ ASEAN  แสดงว่าเป็นวัฒนธรรมที่แพร่กระจายข้ามไปทั่วเกาะต่างๆในภูมิภาคนี้เลยทีเดียว  

เพียงแต่เรียกชื่อต่างกันไป  เท่าที่พอรู้ก็มีกลุ่มที่เรียกว่า "ขนมจีน"   กลุ่มที่เรียกว่า "ข้าวปุ้น"  และกลุ่มที่เรียกว่า "Laksa"      
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 344  เมื่อ 16 ก.ค. 16, 09:30

laksa


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24 25 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 20 คำสั่ง