เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 61694 พืชผลชื่อ มะ.... กับเมนูทำกิน
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 16 มิ.ย. 16, 19:39

คงมีอีกหลาย มะ.. ที่คงจะค่อยๆโผล่ตามมานะครับ เช่น มะยม มะตื๋น มะดะ มะตื๋นยาง มะเกี๋ยง มะเม่า มะลิ้นฟ้า ฯลฯ

ส่วนสำหรับ "มะ.." ที่ได้กล่าวถึงมาแล้วนั้น  คงจะมีวิธีการเอามาทำกินอีกหลายหลากเมนูนอกเหนือจากที่ได้กล่าวถึงมาแล้ว  และก็คิดว่าท่านผู้อาวุโสทั้งหลายคงจะนึกถึงเมนูแปลกๆที่ชอบเมื่อครั้งเยาว์วัย   ช่วยเล่าให้ฟังด้วยครับ   
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 16 มิ.ย. 16, 23:27

ชาวเรือนไทยลืม มะ.. ใกล้ตัวไป มะ..หนึ่ง
รับประทานได้ทั้งแบบคาวและแบบหวาน

  มะละกอ

บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 16 มิ.ย. 16, 23:49

เมนูง่ายๆ มะละกอผัดไข่ เป็นกับข้าวมื้อกลางวันใส่กล่องไปรับประทานที่โรงเรียนของเด็กสมัยนู้น
(เมนูผัดไข่หมุนเวียนไปได้เรื่อยๆ ฟักเขียว ฟักทอง ไชเท้า ผักกาดดอง ไชโป๊ วุ้นเส้น)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 17 มิ.ย. 16, 09:23

ลืมมะละกอไปได้ยังไง จริงด้วยค่ะ
โดยเฉพาะอาหารยอดนิยมของประเทศ     ใครไปต่างแดนนานๆเข้าจะต้องคิดถึงแทบตาย


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 17 มิ.ย. 16, 11:21

แกงส้มมะละกอก็อร่อยไม่เลว (มีวิธีทำอยู่ในบล็อกของ คุณ kimwon ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 17 มิ.ย. 16, 11:31

ยางมะละกอดิบก็มีประโยชน์เนื่องจากมีเอนไซม์ (enzyme) ชื่อ ปาเปน (papain) ทำให้เนื้อสัตว์นุ่มขึ้น  ข้อควรระวังคืออย่าให้นานเกินไปเพราะเนื้อจะยุ่ยจนรับประทานไม่ได้



ในคลิปมีชองแถม หมักด้วยสับปะรด (เอนไซม์ในสับปะรดคือ โบรมีเลน - bromelain)  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 17 มิ.ย. 16, 13:13

ย้อนไปที่มะตาด อ่านในบทความเมืองโบราณเล่มเก่าๆ ของคุณแสงอรุณ กนกพงศ์ชัย เรื่อง อาหารการกินของมอญ บอกว่า   
ลูกมะตาด มีเฉพาะในเดือน 8 เดือน 9 คนมอญนิยมถือเป็นยอดอาหาร เวลาสับใส่แกงมีเมือกมาก

แล้วยังมี มะสั้น คล้ายลูกมะยม สีเขียวก่อนแกงต้องตำกับข้าวสารให้แหลก
รสออกเปรี้ยวนิด ๆ เป็นเมือกหน่อย ๆ แกงใส่หมู กุ้ง ปลา เนื้อ ได้ทั้งนั้น

น่าสังเกตว่าแกงของมอญนิยมใส่พืชผักที่มีเมือก อย่างกระเจี๊ยบเขียวก็เช่นกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 17 มิ.ย. 16, 17:50

คุณตั้ง และท่านอื่นๆ เคยกินแกงเผ็ดมะละกอใส่หมูไหมคะ

http://topicstock.pantip.com/food/topicstock/2010/10/D9822478/D9822478.html


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 17 มิ.ย. 16, 17:55

หรือไม่ชอบกะทิ  ก็ลองแกงป่ามะละกอค่ะ

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=kesornmart&month=23-07-2010&group=14&gblog=2


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 17 มิ.ย. 16, 19:10

ไม่เคยทั้งแกงเผ็ดและแกงป่าครับ 

คนทำน่าจะต้องมีฝีมือเอาการอยู่  เพราะว่าระยะเวลาของการปรุงมีผลต่อความนิ่ม-ความแข็งของมะละกอ รวมทั้งความฉ่ำของน้ำแกงในเนื้อมะละกอ  ซึ่งทั้งหมดจะเป็นผลต่อความอร่อย

ผมมีความเห็นจากการดูภาพ เห็นว่า แกงทั้งสองใช้วิธีการหั่นเนื้อมะละกอแบบซอยเป็นชิ้นเล็ก ก็คงจะมีเหตุผลด้วยว่าแกงทั้งสองนี้เป็นแกงที่ไม่ทำกินข้ามคืน มะละกอจะได้ไม่นิ่มเละจนเกินไป   ต่างกับการเอามาทำแกงส้มที่จะนิยมฝานเป็นเป็นชิ้นๆ ด้วยว่าแกงส้มเป็นแกงค้างคืนจึงจะอร่อย มะละกอจึงจะได้ไม่นิ่มเละจนเกินไป
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 17 มิ.ย. 16, 19:37

มะละกอเป็นพืชผลที่นำมาใช้ในการทำอาหารมากโขอยู่ ผลดิบก็เอามาทำส้มตำ ทำแกง ทำผัด ดังที่คุณเพ็ญชมพู คุณ Jalito และ อ.เทาชมพู ได้ว่าไว้   ยางก็ใช้ช่วยทำให้เนื้อสัตว์เปื่อย

ผมขอแถมว่า ก้านมันก็นำมาใช้ครับ เอามาเป็นหลอดดูดเหล้าอุจากให   ครับ "อุ" เหล้าที่ทำจากข้าวผสมแกลบนั้นแหละ   

แต่ก็แปลกอยู่ที่ไม่เห็นมีการใช้ก้านมะละกอกับใหสาโท
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 17 มิ.ย. 16, 20:25

ก่อนที่จะลืม ขอย้อนกลับไป คห.12 ของคุณ walai   เรื่อง มะเฟือง

มะเฟืองเป็นผลที่ใช้ทั้งในรูปของกินเป็นผลไม้สดและใช้ปรุงอาหาร   

มะเฟืองสด เอามาหั่นเป็นชิ้นๆเป็นองค์ประกอบของเครื่องเคียงของอาหารเวียดนาม     แต่ของไทยเรา ผู้คนทางภาคใต้เก็บผลจากต้นที่ออกรสเปรี้ยวมาฝานเป็นแว่นๆ  ตากพอแห้งแล้วเก็บไว้ใช้แทนส้มแขก(ส้มควาย)ในการปรุงอาหารหลายเมนู

?? จริงหรือไม่ครับ ที่ว่ามะเฟืองมีผลกับไตของเรา ??
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 17 มิ.ย. 16, 21:15

ย้อนไปที่มะกรูดของคุณกะออม

มีข้อน่าสังเกตอยู่ว่า อาหารเหนือและอิสานนั้นไม่ใช้ลูกมะกรูดในการทำอาหาร จะใช้ก็แต่ใบเท่านั้น   ส่วนลูกมะกรูดจะใช้สำหรับการสระผม

ต่างกับภาคกลางและใต้ที่ใช้ทั้งลูกและใบในการทำอาหาร   ซึ่งในเครื่องแกงจะใช้ผิวมะกรูดตำผสมลงไป   สำหรับใบก็ใช้ใส่เป็นใบๆในแกง หรือซอยโรยหน้าสำหรับอาหารบางเมนู (เช่น  ฉุ่ฉี่ แพนง ฯลฯ)

ผลมะกรูดทั้งลูกก็ใส่ในเมนูบางอย่าง เช่น น้ำพริก (ขนมจีน) หรือแกงเทโพ ดังที่คุณกะออมว่าไว้

ภาพสรุปที่กล่าวมานี้ ดูจะบ่งบอกอะไรได้บ้างใหม ?? 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 17 มิ.ย. 16, 21:22

คุณกะออมได้กล่าวถึงเมนู แกงชักส้ม 

ช่วยขยายความอีกหน่อยครับ ?? 
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 17 มิ.ย. 16, 22:58

ตอบคุณ Naitang ค่ะ
แกงชักส้มมีรสชาติปนๆระหว่างแกงส้มกับแกงคั่วค่ะ
มักจะแกงใส่ผักบุ้งไทยกับปลาที่มีมัน เช่น สวาย หรือเทโพ บางทีก็เรียกว่าแกงเทโพ
หากใส่หมูสามชั้น เรียกว่าแกงหมูเทโพ (น่าสังเกตว่าเนื้อปลาหรือหมูต้องออกมัน)
แต่ก็มีที่แกงกับปลาเค็มแบบนี้จะใส่กะทิ

มะกรูดอยู่ในเครื่องแกงใส่ผิวมะกรูดด้วย
ใส่น้ำมะขาม บีบน้ำมะกรูดใส่ แล้วใส่ลูกลงไป
ใบมะกรูดฉีกก้านใบขยี้ใส่ลงไปด้วย

อ่านเจอบางคนอธิบายว่าแกงชักส้มคือแกงที่ชักความเปรี้ยวออกมา
บางคนบอกว่า แกงที่ชักจะส้ม เกือบจะเปรี้ยวทำนองนั้น ก็ไม่ทราบว่าอันไหนน่าเชื่อกว่ากัน

เคยได้ยินบางถิ่นเรียกแกงคั่วส้ม ก็มีใบมะกรูดฉีกใส่ด้วยเช่นกัน
แต่จะใส่น้ำมะกรูดด้วยหรือไม่ บางทีก็จับรสชาติไม่ได้ค่ะ กินอย่างเดียวแยกแยะอะไรไม่เป็น
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.089 วินาที กับ 20 คำสั่ง