เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 61759 พืชผลชื่อ มะ.... กับเมนูทำกิน
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 12 มิ.ย. 16, 19:10

การเอาความเหมือนบางอย่างของไม้ต่างชนิดกัน เอามาเป็นตัวหลักในการบอกว่า ไม้นั้นๆมีชื่อเรียกอื่นๆ (ด้วยการเอาชื่อของไม้อื่นๆนั้นๆมาผนวกด้วย) นั้น ดูจะมีไม่น้อยเลยทั้งในเชิงข้อมูลทางวิชาการ เชิงของการค้า และการเข้าใจไม่ตรงกัน

ตัวอย่างหนึ่ง คือ ชะเอม     ชะเอมที่คนไทยในท้องถิ่นทั่วไปรู้จัก ไม่ว่าจะเรียกว่า ชะเอม อ้อยช้าง อ้อยสามสวน ฯลฯ นั้น หมายถึงต้นไม้ประเภทเถา มีลักษณะใบคล้ายต้นชะอม หรือต้นส้มป่อย มีผลที่เอามาต้มจิ้มน้ำพริกได้ มีต้นและกิ่งก้านที่มีรสหวาน เอามาตากแห้งแล้วเคี้ยวย้ำเอารสหวานออกมาทำให้ชุ่มคอ  ซึ่งสำหรับร้านขายยาแผนโบราณจะเรียกว่าชะเอมไทย      

แล้วก็มีที่ร้านขายยาเรียกว่า ชะเอมเทศ เป็นต้นไม้ในอีกลักษณะและรูปร่างโดยสิ้นเชิง ทั้งใบและลำต้น มีรสหวานจนขม (ที่เอามาเป็นส่วนผสมของยาแก้ไอฝรั่งทั้งหลาย_Licorice)  

แล้วก็เป็นงงอีก ฮืม เมื่อได้ยินจากคนค้าขายต้นไม้ว่า ชะเอมมีอยู่สามชนิด คือ กินผล กินต้น และกินราก  ฮืม ฮืม      
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 13 มิ.ย. 16, 19:43

จากข้อมูลของคุณเพ็ญชมพูที่นำมาแสดงเรื่องตะโก พลับ มะแขว่น ลูกระมาศ ฯลฯ    ทำให้พอเห็นว่า ชื่ออื่นๆของของพืชหนึ่งใดในฐานข้อมูลพืชพรรณนั้น ดูกันที่ระดับสกุล (genus)  ส่วนสายพันธุ์นั้นดูกันที่ species --> subspecies --> varieties --> form   

เมื่อไปถึงเรื่องกินได้หรือไม่ ผมไม่แน่ใจนักว่าจะใช้การดูจากชื่ออื่นๆในฐานข้อมูลต่างๆได้มากน้อยเพียงใด   อาทิ เล็บครุฑใบเล็ก เรียว หยัก นั้นกินได้แน่ๆ เอามาชุบแป้งทอดกินกับขนมจีนน้ำพริก หรือกับน้ำพริกกะปิก็อร่อย  ...แสดงว่าเล็บครุฑใบกลมที่ขายอยู่ในตลาดต้นไม้นั้นก็กินได้เช่นกัน ฮืม     ใบโกศลแบบสีเข้มหลากสี ใบงอไปงอมา ทั้งแบบใบใหญ่และใบเรียวเล็กนั้น เอามาแนมกับลาบหรือกับน้ำพริกได้  ...แสดงว่าโกศลใบแป้นกลมที่ขายกันในตลาดต้นไม้นั้นก็กินได้เช่นกัน ฮืม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 13 มิ.ย. 16, 20:39

ไถลออกไปเรื่อง มะตูม ครับ

มีอีกชื่อเรียกของภาคเหนือว่า มะปิน   
สถานีรถไฟบ้านปินบนเส้นทางรถไฟสายเหนือ เหนือจาก อ.เด่นชัย ขึ้นไป  บ่งชี้ว่าพื้นที่ย่านนั้นน่าจะเคยเป็นดงต้นมะตูมที่โดดเด่น บ้านปินตั้งอยู่ใน อ.ลอง จ.แพร่

ในกรุงเทพฯ ในย่าน รพ.ศิริราช ก็มีตรอกมะตูม  คงต้องมีอะไรดีแน่ๆ (เนาะ) 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 13 มิ.ย. 16, 20:54

จากข้อมูลของคุณเพ็ญชมพูที่นำมาแสดงเรื่องตะโก พลับ มะแขว่น ลูกระมาศ ฯลฯ    ทำให้พอเห็นว่า ชื่ออื่นๆของของพืชหนึ่งใดในฐานข้อมูลพืชพรรณนั้น ดูกันที่ระดับสกุล (genus)  ส่วนสายพันธุ์นั้นดูกันที่ species --> subspecies --> varieties --> form   

หากจะพิจารณาว่าพืชหรือสัตว์นั้นเป็นชนิดเดียวกันหรือไม่ต้องดูที่ species  ชนิดย่อยในสัตว์ใช้ว่า subspecies ส่วนในพืชคือ variety  เช่น

สุนัขป่า (Canis lupus lupus) และ สุนัขบ้าน (Canis lupus familiaris) เป็นสัตว์ชนิดเดียวกัน (ชื่อตัวที่สามคือ subspecies)

มะพลับ (Diospyros malabarica var. siamensis) และ ตะโกสวน (Diospyros malabarica var. malabarica) เป็นพืชชนิดเดียวกัน

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 13 มิ.ย. 16, 22:36

กระจ่างครับ ขอบคุณครับ

เรียนมานานมากแล้วเป็นพื้นฐานก่อนเรียน Paleontology (พืช-สัตว์ ชีวิต การจำแนกและระบบนิเวศน์ของมัน) ตอนนี้เลอะเลือนแล้วครับ

อ้อ ดีใจที่เห็น var. ของมะพลับว่า siamensis  อย่างน้อยก็แสดงว่า มะพลับ เป็นพืชดั้งเดิมของถิ่นไทยที่จะต้องมีคำบรรยายที่แสดงถึงลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวว่าต่างจากคนอื่นเขาอย่างไร  ก็น่าจะมีผู้สนใจหาอ่าน เผื่อว่าจะสามารถพัฒนาเอกลักษณ์นั้นๆจนกลายเป็นของดีของไทย  ไม่ต้องไปหากินพลับญี่ปุ่นและพลับจีน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 14 มิ.ย. 16, 19:22

มะตูม กินได้ทั้งในรูปของผลไม้สด (เหยาะเกลือลงไปหน่อย ก็อร่อยเหาะ)  นำมาฝานเป็นแว่นๆ ตากแห้ง แล้วเอามาใสน้ำร้อนดื่มแทนน้ำชา  เอาน้ำมะตูมเข้มข้นมาทำเป็นผง แล้วชงกับน้ำร้อนเป็นน้ำมะตูม  และเอามาเชื่อมเป็นมะตูมเชื่อม

ผมไม่เคยเห็นมีมะตูมสดขายในตลาดใดๆเลย  เห็นมีแต่มะตูมแห้ง(ฝานเป็นแว่นๆ)วางขายอยู่บ้าง แต่ก็พบเจอน้อยมากๆ   แต่กลับเห็นทั้งมะตูมแห้ง(ฝายเป็นแว่น)และมะตูมผง(มะตูมพร้อมดื่ม) วางขายอยู่ในห้างทั้งหลายเต็มไปหมด

สำหรับมะตูมเชื่อมนั้น ดูจะรู้กันอยู่ในวงจำกัดว่ามีวางขายที่ใดบ้าง ที่หายากก็เพราะลูกมะตูมที่เป็นวัตถุดิบก็ไม่ค่อยจะมี   สำหรับผมเมื่อต้องการหรือหามาเก็บเตรียมใว้ ก็จะไปที่สี่แยก รพ.ศิริราช มีแม่ค้าหาบเร่เอามาวางขายช่วงเวลาบ่ายๆ   ซื้อเอามาเพื่อทำเค้กมะตูมอย่างเดียวเลย  ส่วนหนึ่งผสมเข้าไปในเนื้อเค้ก อีกส่วนหนึ่งที่เป็นแว่นสวยๆก็เอามารองก้นเค้ก   ไม่ได้ลงมือทำเค้กเองหรอกนะครับ   

กินพร้อมกับอร่อยสุดๆและรู้สึกสดชื่นกับกาแฟร้อนหรือชาร้อนหลังมื้อเที่ยง       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 14 มิ.ย. 16, 19:25

ขออภัยครับ ตั้งใจจะเขียนว่า

กินพร้อมกับกาแฟร้อนหรือชาร้อน อร่อยและรู้สึกสดชื่นสุดๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 14 มิ.ย. 16, 19:56

มะตูมก็จัดเป็นพวกสมุนไพรที่มีสรรพคุณดีๆหลากหลาย  แต่มีสรรพคุณอยู่อย่างหนึ่งที่เคยได้ยินมาจากชาวบ้านก็คือ น้ำมะตูมมีผลในทางช่วยลดความกำหนัดลง และว่าในวัดหลายๆแห่งจึงนิยมใช้น้ำมะตูมแทนน้ำชา    จะจริงเท็จเช่นใดก็ไม่รู้จริงๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 14 มิ.ย. 16, 20:04

มะตูมขี้ช้าง ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เคยได้ยินมา  ว่ากันว่า ช้างกินมะตูมทั้งลูก แล้วก็ถ่ายออกมาเป็นลูกมะตูมเหมือนเดิม แต่เนื้อในของมะตูมนั้นกลายเป็นขี้ช้าง 

จริง ?  หรือ  เท็จ ?   ไม่รู้จริงๆครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 15 มิ.ย. 16, 09:15

^
^
เรื่องนี้เคยได้ยิน "เขาเล่าว่า" ตอนเด็ก ๆ แต่เป็น "มะขวิด" เมื่อช้างกินเข้าไปแล้วถ่ายออกมายังเป็นมะขวิดอยู่ ดูเนื้อข้างในเปลือกก็คล้ายขี้ช้างอยู่เหมือนกัน  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 15 มิ.ย. 16, 19:28

ก็คงจะมีการกล่าวถึงได้ทั้ง มะขวิดขี้ช้าง และ มะตูมขี้ช้าง

สำหรับประสบการณ์ใกล้ที่สุดของผมก็เมื่อครั้งทำงานอยู่ในป่าห้วยแม่สิน ตีนดอยแม่คะมึง รอยต่อระหว่าง อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย กับ อ.เด่นชัย จ.แพร่   เห็นลูกมะตูมเต็มใบอยู่ใกล้ๆกับกองขี้ช้าง  แต่ไม่ได้ลงมือทำการพิสูจน์ใดๆด้วยต้องระวังช้างป่าตัวหนึ่งกำลังหักไม้กินอาหารอย่างเป็นสุขอยู่ค่อนข้างใกล้  ก็กำลังลุ้นเรื่องช้างอย่า่งมากว่า ช้างจะเดินห่างออกไปหรือเราจะต้องค่อยๆถอย

ตัวผมเองไม่เชื่อเรื่องมะตูมขี้ช้าง เพราะเห็นว่าระบบย่อยอาหารของสรรพสัตว์ต่างๆไม่ดีถึงขนาดที่จะทำให้เกิดลักษณะ replacement หรือ substitution เช่นดังกล่าวได้
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 16 มิ.ย. 16, 07:18

มะกรูด...ผลไม้ใช้ในการปรุงอาหารเช่นกัน กลิ่นหอมแตกต่างจากผลไม้รสเปรี้ยวอย่างมะนาว
น้ำพริกขนมจีนขาดมะกรูดไม่ได้ เมื่อคุณยายทำน้ำพริกจะมีมะกรูดกลับด้านในออกมาลอยอยู่ด้วย (ไม่ทราบทำอย่างไร)
ผิวมะกรูดเป็นส่วนผสมน้ำพริกเครื่องแกง
แกงหมูเทโพคุณยายก็ใส่น้ำมะกรูด แล้วยังใส่ในแกงชักส้มด้วย

ใบมะกรูดเป็นก็เช่นกัน หั่นฝอยใส่ในอาหารหลายชนิด โดยเฉพาะประเภทยำ รวมทั้งข้าวยำด้วย
เมื่อไปเที่ยวพม่าในสำรับน้ำพริกเขามีใบมะกรูดใส่มาทั้งกิ่งด้วย
แต่ไม่ชินกับการกินทั้งใบ เลยรู้สึกว่าไม่เข้ากัน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 16 มิ.ย. 16, 09:32

มะกรูดนี้ใช้สระผมดีนักแล จิตร ภูมิศักดิ์เขียนไว้ในเรื่อง "แชมพูไทย" ลงวารสารปาริชาติ ตั้งแต่ยังเรียนอยู่ปี ๑ คณะอักษรฯ จุฬาฯ (พ.ศ. ๒๔๙๓)

อันที่จริงการใช้มะกรูดสระผมนี้  ใช่จะดึกดำบรรพ์จนเป็นของแปลก  ตามชนบทบัดนี้  ที่ห่างไกลสบู่  ก็ยังคงใช้มะกรูดอยู่ตามเดิม  ตัวผู้เขียนเองเมื่อเด็กก็ได้ใช้  แต่จะดีเลวเพียงไรจำไม่ได้แน่  ลางเลือนเต็มที  ว่ากันว่าสะอาดดีกว่าสบู่  ทำให้ผมนิ่ม  ซึ่งก็ดูเหมือนจะจริง  ทั้งในกำสรวลและกาพย์ห่อโคลงนิราศก็กล่าวพ้องกันว่าสระผมแล้ว “กลิ่นขจร”  ข้อนี้ผู้เขียนไม่กล้ารับรองว่าจะขจรหรือไม่ขจร  เพราะไม่ได้ใช้มานานปี  และจนบัดนี้ก็ยังไม่เคยนึกจะลองกลับไปใช้อีก  ถ้าใครนึกสนุกจะลองก็ไม่ยาก  แต่ได้ข่าวว่าแสบเอาการอยู่  วิธีใช้มะกรูดสระผมนั้นมีต่าง ๆ กัน  ลางคนเอาดิบ ๆ ผ่าซีกบีบน้ำลงขยี้ผม  ลางคนต้มเสียก่อน  ลางคนก็เผาเสียก่อน  แล้วแต่ครู  ที่เอาเผาก็เพื่อจะให้น้ำมะกรูดออกมากเมื่อถูกความร้อน  ถ้าเราดูแม่ครัวตำน้ำพริกพอถึงตอนจะบีบมะนาวจะเห็นว่าเขามีวิธีต่าง ๆ ที่จะทำให้ได้น้ำมะนาวมาก ๆ  ลางคนคลึงให้เหลว  ลางคนโยนเข้าเตาไฟให้ลุกประเดี๋ยวหนึ่งแล้วจึงผ่าบีบลงครก  การเผามะกรูดที่ว่านี้  เท่าที่จำได้ต้องมีศิลปในการเผาเหมือนกัน  คือต้องเผาไฟอ่อน ๆ ให้ค่อย ๆ ลุก จนหมดเปลว  มะกรูดเดือดกระบุบกระบิบดูท่าทางเละ ๆ จึงใช้ได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 16 มิ.ย. 16, 09:59

ที่บ้านเคยมีมะกรูดต้นใหญ่ มีลูกออกมาให้สระผมได้ค่ะ  ไม่มีฟองอย่างแชมพู  แต่สระแล้วรู้สึกหนังหัวสะอาด   
แต่กลิ่นมะกรูดติดจมูกจนรู้สึกเหมือนตำน้ำพริกมาใหม่ๆ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 16 มิ.ย. 16, 13:26

ช่วยรวบรวมพืชผลชื่อ "มะ.." ตามลำดับนามที่เสนอเป็นครั้งแรก  ยิงฟันยิ้ม

visitna  มะดัน มะกอก

เทาชมพู  มะม่วง มะเขือยาว มะปริง

กะออม    มะพร้าว มะปราง มะขาม มะกรูด มะไฟ มะมุด

เพ็ญชมพู มะระ มะม่วงหิมพานต์ มะนาวเทศ มะมาด

unicorn9u มะแขว่น

walai    มะเฟือง มะเขือ

naitang มะอึก  มะแว้ง มะยงชิด มะคอแลน (มะแงว) มะขามเทศ มะหลอด มะแหลบ (มะแลบ) มะพูด มะหาด มะพลับ

Jalito    มะรุม

kulapha มะกอก มะเขือเทศ มะนาว

Naris    มะตูม

unming มะขวิด

Anna    มะม่วงหาว มะนาวโห่

warisa  มะข่วง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 20 คำสั่ง