เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 61793 พืชผลชื่อ มะ.... กับเมนูทำกิน
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 195  เมื่อ 19 มิ.ย. 16, 22:53

มะยมเสียบไม้ ไม่นะ !!!!


ไม่น่าเข้ามาดูก่อนนอนเลย  ร้องไห้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 196  เมื่อ 20 มิ.ย. 16, 09:59

ขอย้อนกลับไปหามะละกออีกครั้งค่ะ   พบเมนู แกงเหลืองมะละกอสับปะรด ค่ะ

บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 197  เมื่อ 20 มิ.ย. 16, 13:05

นึกได้ว่าใบมะยมกินกับข้าวมันส้มดำเข้ากันดีค่ะ
เมี่ยงคำนั้นบางทีใบทองหลางหมดก็ใช้ใบมะยมแก้ขัดได้ เสียแต่ว่าใบมีขนาดเล็ก
สมัยก่อนที่บ้านไม่เคยใช้ใบชะพลูห่อเมี่ยงเลย

ยังมีมะ...อีกหลายมะ...
มะซาง เคยได้ยินว่าทำน้ำมะซาง
มะสัง แบบที่ทำบอนไซ เนื้อในลูกมะสังมีรสชาติเปรี้ยวนำมาตำในครกน้ำพริกได้
มะก่อ หน้าตาคล้ายเกาลัด
มะต้อง ชื่อท้องถิ่นของกระท้อน

น่าสังเกตว่าชื่อที่ต่อจาก มะ ส่วนใหญ่ (หรือเกือบทั้งหมด) เป็นคำไทยคงพอจะกำหนดอายุเพืชตระกูลมะ
ว่าอยู่บนผืนแผ่นดินนี้มาช้านาน 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 198  เมื่อ 20 มิ.ย. 16, 14:27

มี "มะ" อยู่ ๒ ชนิดที่ชื่อเป็นเคล็ด นิยมปลูกไว้ในบ้าน มะหนึ่งคือ "มะยม" ชื่อพ้องกับคำว่า "นิยม" ท่านว่าหากปลูกไว้หน้าบ้านจะทำให้คนนิยมชมชอบ  มะสองคือ "มะขาม" พ้องกับคำว่า "เกรงขาม" ปลูกไว้ข้างบ้านจะทำให้คนเกรงขาม ถ้าให้ครบต้องอีกต้นหนึ่งแต่ไม่ใช่มะ คือ "ขนุน" พ้องกับคำว่า "เกื้อหนุน" ท่านว่าต้องปลูกไว้หลังบ้าน คอยหนุนส่งให้รุ่งเรือง

เคยอยู่บ้านที่มีต้นไม้ทั้ง ๓ ชนิด มะยมต้นหน้าบ้านออกลูกดกทุกปี จะมีคนมาเหมา โดยปูผ้ายางไว้โคนต้นแล้วขึ้นไปเขย่าให้ลูกตกลงมา เอาไปเชื่อมเสียบไม้ขาย กำไรดี   มะขามเปรี้ยวไม่ใคร่ได้ใช้ประโยชน์ ซ้ำกิ่งแผ่ออกไกล ต้องคอยตัดไม่ให้หักลงทับหลังคา ขนุนได้รับประทานบ้างบางคราว ยามสุกกลิ่นแรงทีเดียว อยู่ร่วมกับ "สองมะกับหนึ่งขะ" มาช้านาน จนล้มหายตายจากกันไป ได้ประโยชน์ด้านการรับประทาน และเหลือเผื่อขาย มากกว่าจะได้ประโยชน์จากความเชื่อเรื่องชื่อ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 199  เมื่อ 20 มิ.ย. 16, 18:11

เมนูแกงเหลืองมะละกอสับปะรด ที่ อ.เทาชมพู นำมาแสดงนั้น  น่าจะจัดได้เป็นแกงยาได้นะครับ

มะละกอ กับ สับปะรด ช่วยย่อยอาหารที่กินลงท้องไป พริกในน้ำพริกแกงก็ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย ขมิ้นในน้ำพริกแกงก็ช่วยขับลม ส้มแขกที่ให้รสเปรี้ยวของน้ำแกงก็ช่วยในเรื่องลดน้ำตาลและความอ้วน   

หมอเถื่อนวิเคราะห์เองครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 200  เมื่อ 20 มิ.ย. 16, 19:01

มะซาง ที่คุณกะออมกล่าวถึงนั้น   ชื่อนี้ไม่ผ่านหูเลย แต่เมื่อค้นหาข้อมูลทางเน็ตดู ก็คิดว่าน่าจะต้องเคยผ่านตาเพราะเดินทำงานอยู่ในพื้นที่ๆมันขึ้นและเจริญเติบโต   

ข้อมูลที่มีดูจะบ่งบอกว่าเป็นไม้โบราณ เป็นไม้ที่ใช้ในเชิงของยาสมุนไพร

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 201  เมื่อ 20 มิ.ย. 16, 19:18

มีแกงป่ามะละกอมาฝากอีกเมนูหนึ่งค่ะ

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 202  เมื่อ 20 มิ.ย. 16, 19:38

น่าสนใจกับข้อสังเกตของคุณกะออมว่า พืชผลที่มีชื่อว่า มะ..นำหน้านั้น เกือบทั้งหมดจะต่อท้ายด้วยคำไทย  

ผมก็มีข้อสังเกตในอีกลักษณะหนึ่งว่า พืชผลที่มีชื่อ มะ..นำหน้านั้น เกือบทั้งหมดจะเป็นพืชผลที่มีรสเปรี้ยว หรืออมเปรี้ยว หรือมีรสเปรี้ยวแฝงอยู่ หรือมีรสเปรี้ยวเมื่อยังไม่แก่จัด     ส่วนพืชผลที่ไม่ออกรสเปรี้ยวเมื่อยังอ่อนอยู่ก็มักจะไม่ใช้ มะ..นำหน้า (เช่น ชมพู่ ลำใย ฯลฯ) และรวมทั้งพืชผลจากต่างถิ่นด้วย  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 203  เมื่อ 20 มิ.ย. 16, 19:48

น่าสนใจกับข้อสังเกตของคุณกะออมว่า พืชผลที่มีชื่อว่า มะ..นำหน้านั้น เกือบทั้งหมดจะต่อท้ายด้วยคำไทย   
คำว่า มะ  กร่อนมาจากคำว่า หมาก  เป็นภาษาไทยโบราณย้อนหลังได้ถึงสมัยสุโขทัย   พบอยู่ในศิลาจารึกพ่อขุนรามค่ะ
แปลว่า ผลไม้ ลูกไม้
จึงไม่แปลกที่คำต่อท้าย มะ  เป็นคำไทย    เป็นคำโบราณทั้งสองคำ
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 204  เมื่อ 21 มิ.ย. 16, 15:02

พอท่านอาจารย์ว่าอย่างนี้ ก็คิดถึงวรรณคดีไทยเลยค่ะ
ลองเปิดลิลิตตะเลงพ่ายเป็นเล่มแรก
ได้มาอีกหลายมะ..เลยค่ะ

มะกัก เขาว่าคล้ายมะกอก  มะดูก ก็มีส่วนคล้ายมะเดื่อ มะค่า นี่ไม่ทราบส่วนใดกินได้มั้ย
มะฝ่อ เขาว่าผลมีรสหวาน  มะเกลือ  ใช้ผลกินขับพยาธิ  มะกล่ำ กินไม่ได้แน่ มะกล่ำตาหนูนี่เป็นพิษด้วย
แล้วยังมี มะลิ เคยเห็นดอกมะลิตูมผัดเป็นอาหารเจที่เมืองจีน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 205  เมื่อ 21 มิ.ย. 16, 19:27

ที่ว่า มะกัก เขาว่าคล้ายมะกอกนั้น    ก็เคยสงสัยอยู่ว่าทำไมในหลายๆครั้งชาวบ้านเขาไม่เก็บลูกมะกอกจากบางต้นมากิน บอกแต่ว่าไม่ดี   ฤๅจะเป็นเจ้า"มะกัก"นี้เอง  ไม่รู้จริงๆ  ฮืม

ไม่เคยได้ยินหมู่บ้านที่มีชื่อว่า "บ้านมะกัก" หรือ "ดงมะกัก"    มีแต่ ดงมะกอก และ ทุ่งมะกอก  ซึ่งก็น่าจะพอบ่งบอกได้ว่า ต้นมะกักนี้มีอยู่น้อยและมีอยู่กระจัดกระจาย  (หรือไม่ก็เป็นไปได้เหมือนกันว่าที่จริงแล้วก็คือมะกอกนั้นแหละ เพียงแต่เกิดการผิดเพี้ยนไปบางประการ ??)       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 206  เมื่อ 21 มิ.ย. 16, 19:42

มะสัง ที่คุณกะออมว่าเอาลูกมาใส่ในน้ำพริกได้นั้น   ก็เพิ่งจะมารู้นี้แหละครับ   

ต้นไม้ใบเล็กๆที่เอามาทำเป็นไม้ดัดกันนี้ มักจะพบต้นเป็นพุ่มเล็กๆ กระจายอยู่ในพื้นที่โล่งๆ   ผมเคยทำงานและอยู่ในพื้นที่ๆเป็นดงของต้นมะสัง (บ.ทุ่งมะสัง บ.หนองมะสัง) ในเขต จ.กาญจนบุรี และสุพรรณบุรี  ยังไม่เคยได้ลิ้มลองรสน้ำพริกมะสังเลยสักครั้ง 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 207  เมื่อ 21 มิ.ย. 16, 19:50

มะก่อ หรือ ลูกก่อ นั้น  อร่อยมากนะครับ ไม่น้อยหน้าลูกเกาลัดเลย   แต่ก่อนนั้นก็ยังพอจะพอมีขายในบางพื้นที่ของ กทม. แต่ปัจจุบันนี้ไม่เคยเห็นเลย   แต่สำหรับในต่างจังหวัดโดยเฉพาะในภาคเหนือนั้น ยังพอหากินได้เมื่ออยู่ในฤดูของมัน  ของโปรดของผมเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 208  เมื่อ 21 มิ.ย. 16, 20:39

รู้แต่ว่า มะสัง เอามาทำเป็นไม้ดัด    ขุนช้างมีอยู่บนนอกชานค่ะ

โจนลงกลางชานร้านดอกไม้                    ของขุนช้างปลูกไว้อยู่ดาษดื่น
รวยรสเกสรเมื่อค่อนคืน                          ชื่นชื่นลมชายสบายใจ
กระถางแถวแก้วเกดพิกุลแกม                   ยี่สุ่นแซมมะสังดัดดูไสว
สมอรัดดัดทรงสมละไม                          ตะขบข่อยคัดไว้จังหวะกัน


บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 209  เมื่อ 22 มิ.ย. 16, 06:57

อีกมะ คือ ต้นมะกาการ้อง  จับไม้กาหลง
ท่ามะกา เป็นชื่ออำเภอในกาญจนบุรี
แต่มะกานี้คงนำไปทำอาหารไม่ได้ ส่วนใหญ่มีประโยชน์ด้านสมุนไพร
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 19 คำสั่ง