เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 61292 พืชผลชื่อ มะ.... กับเมนูทำกิน
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 10 มิ.ย. 16, 18:57

น่าจะอร่อยมาก    ขออนุญาตลอกสูตรและวิธีปรุงไปทำดูครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 10 มิ.ย. 16, 19:18

ภาพของมะแขว่นสด ใน ค.ห.108 ของ อ.เทาชมพูนั้น  ทำให้นึกถึง ดอกสะแล  ดูผิวเผินจะคล้ายกันมาก

ส่วนมากจะเอาดอกสะแลมาแกงกับกระดูกหมูและมะเขือส้ม  ซึ่งที่จะต้องแกงใส่มะเขือส้มนั้น ผมเห็นว่าก็เพื่อลดความเป็นเมือกของดอกสะแลนั่นเอง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 10 มิ.ย. 16, 19:47

คุณกะออมกล่าวถึง มะไฟ และว่าไม่มีการนำมาทำอาหาร ก็คงเป็นดั่งนั้นครับ  กระนั้น เราก็ยังเห็นมีการนำมาขายในตลาดอยู่บ้าง แต่ที่เห็นค่อยข้างจะบ่อยก็คือมีขายอยู่ตามรถกระบะที่ตระเวนขายผลไม้  ซึ่งก็ยังพอจะมีคนนึกอยากจะซื้อกินอยู่บ้าง (หากเป็นผู้ที่มีพื้นเพหรือผู้ที่เคยอยู่ ตจว...ผมว่านะ)

มะไฟมิใช่เป็นผลไม้ขึ้นโต๊ะ หรือเป็นผลไม้หลังอาหาร  มะไฟเป็นผลไม้เก็บกินเล่นของเด็กชาวบ้านและของผู้ใหญ่ที่เดินผ่านต้น   ปัจจุบันนี้ ผมเห็นมีการเอามาปลูกเป็นไม้ประดับในสวนหลังบ้าน ให้ร่มที่ดีและให้ผลเป็นพวงที่สวยงามอยู่ตามต้น

มะไฟเป็นต้นไม้ประเภทมีลูกดก  เก็บเกี่ยวเอามาทำน้ำหมักเป็นฮอโมนสำหรับพืชผักต่างๆน่าจะดี  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 10 มิ.ย. 16, 21:05

สำหรับ มะมุด นั้น ผมเคยเห็นเมื่อครั้งโฉบไปทำงานช่วงสั้นๆอยู่ภาคใต้ แต่ไม่เคยกินและกล่าวได้ว่าไม่มีความรู้เรื่องการเอามาใช้ทำอาหาร

เข้าไปหาอ่านข้อมูลเชิงวิชาการใน net ก็พบว่า มีชื่อเรียกมะมุดอื่นๆอีก โดยเฉพาะที่เรียกว่า "มะม่วงป่า"   พอตามชื่อมะม่วงป่าไป ก็เจอ "มะม่วงกะล่อน"   สรุปได้ว่าทั้งหมดเป็นต้นไม้เดียวกันเพียงแต่ต่างถิ่นต่างก็เรียกชื่อต้นไม้ชนิดเดียวกันต่างกันไป  แต่..เอ มะม่วงป่า กับ มะมูด กับ มะม่วงกะล่อน ที่เคยรู้จักมา ดูจะต่างกัน   

เอาครับ...ผมคิดมากไปเอง  เคยชินกับการต้องมีความสังเกตที่ละเอียดเมื่อครั้งทำงานอยู่ในพื้นที่อันตราย   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 10 มิ.ย. 16, 21:08

มี "มะมุด" แล้วก็ต้องมี "มะพูด" 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 11 มิ.ย. 16, 10:04

มะพูด  น่าปลูกเหมือนกันค่ะ
เมื่อก่อนคงมีเยอะ   ถึงกับมีบาง(มะ)พูด เป็นชื่อยืนยันอยู่
ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์              มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร            จะชอบผิดในมนุษย์เพราะ พูดจา
                                            จาก นิราศภูเขาทอง



บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 11 มิ.ย. 16, 14:40

มะพูดน่ารักจัง รสชาติเป็นอย่างไรบ้างครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 11 มิ.ย. 16, 18:47

มะพูดนี้ เคยเห็นต้น เคยเห็นลูก แต่ไม่เคยกิน  แต่ก็นานมากจนจำอะไรเกี่ยวกับตัวมันไม่ได้เลย เหลือแต่ชื่อเท่านั้นที่จำได้ครับ 

ท่องเน็ตดู ก็ยังมีข้อมูลและเรื่องราวเกี่ยวกับตัวมันอยู่มากพอสมควรเลยทีเดียว 

สงสัยจะต้องหาพันธุ์ไปปลูกบ้างแล้ว
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 11 มิ.ย. 16, 19:20

มะหาด  ก็เป็นอีกต้นหนึ่งที่เคยเห็นต้น เคยเห็นลูก และก็คิดว่าเคยลองชิมลูกของมัน ก็นานมามากแล้วจนนึกไม่ออกนอกจากชื่อ 

อีกชื่อหนึ่งคือ ขนุนป่า     
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 12 มิ.ย. 16, 05:57

มะมุดไม่ใช่มะม่างกะล่อน เนื้อสากกว่ามะม่วง
มะพูดไม่อร่อย รสชาติพอๆกับตะโก
มะหาดคือขนุนป่าเหรอค่ะ เคยเห็นต้นขนุนป่าที่จันทบุรีลูกโตไม่เกินนิ้วโป้ง คิดว่าไม่โตกว่านั้นแล้วมีแบบกินได้
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 12 มิ.ย. 16, 11:59

มะพูดของผม  ร้องไห้

ว่าแต่ตะโกคืออะไรครับ ไม่รู้จัก แฮ่....
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 12 มิ.ย. 16, 14:05

ตะโกเป็นไม้ป่าค่ะ  เรียกว่าตะโกนา  ไม่ค่อยเห็นตามบ้าน  รู้แต่ว่าเนื้อไม้มันดำมาก จนเกิดสำนวนว่า "ดำเป็นตอตะโก" 
ภาษาฝรั่งเรียกไม้ชนิดนี้ว่า Ebony   เปรียบเทียบกับอะไรที่ดำเป็นมันขลับ
อีกอย่างที่รู้ก็คือเอาไปทำไม้ดัดได้   
ขุนช้างเลี้ยงไม้ดัดไว้บนนอกชาน มีตะโกนารวมอยู่ด้วย

ตะโกนาทิ้งกิ่งประกับยอด                 แทงทวยทอดอินพรหมนมสวรรค์.
บ้างผลิดอกออกช่อขึ้นชูชัน               แสงพระจันทร์จับแจ่มกระจ่างตา.


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 12 มิ.ย. 16, 18:19

ข้อมูลเชิงวิชาการทางเน็ต บอกว่า ตะโก มีชื่อเรียกอื่นว่า "พลับ"     อีกสายหนึ่งก็ว่า "มะพลับ" มีอีกชื่อเรียกว่า "ตะโกนา" หรือ "ตะโกไทย"     แล้วก็มีที่บอกว่า "พลับ" นั้นเป็นไม้ที่ขึ้นอยู่ในพื้นที่สูงที่มีอากาศเย็น  แต่ก็มีต้นพลับอยู่มากมายในหลายพื้นที่ในลุ่มภาคกลาง

 ฮืม  เลยเป็นงง

ตะโก เป็นไม้เนื้อดำ ทนแล้งจัด โตช้า  พบมากในพื้นที่ทุ่งกว้างของภาคกลางตอนบน   ก็น่าจะมีมากจนเอาไปตั้งชื่อเป็นสถานที่_อ.ท่าตะโก_    ปัจจุบันนี้คงหาต้นตะโกยากเสียแล้ว  เพราะเมื่อซัก 30-40 ปีก่อนโน้น มีการขุดเอามาขายอยู่ข้างทางสายพหลโยธินก่อนถึงนครสวรรค์  มีผู้มีอันจะกินทั้งหลายนิยมหาซื้อเอาไปปลูกประดับสวน(ต้นใหญ่)และทำเป็นต้นตะโกดัดกัน(ต้นเล็ก)   ปัจจุบัน กลายเป็นไม้หายากในพื้นที่ไปเสียแล้ว (แทบจะหายเกลี้ยงไปจากพื้นที่เอาเสียเลย) 

มะพลับหรือพลับ อาจจะเป็นได้ทั้งไม้ท้องถิ่นเดิมหรือเป็นไม้ที่นำเข้ามาปลูกในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง ชื่อบ้านบางพลับแถวแม่กลองน่าจะบ่งชี้ว่าเป็นพื้นที่หรือแหล่งที่มีต้นพลับเยอะแยะ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 12 มิ.ย. 16, 18:28

ตะโก และ พลับ ที่กล่าวมา มีความแตกต่างกันแน่นอน  ที่จะมีความใกล้เคียงกันมากที่สุดก็คงจะเป็นที่ผล  ผมเคยเห็นผลของไม้ทั้งสองชนิด แต่เคยกินแต่เพียงลูกพลับ (ทั้งของไทย ของจีน และของญี่ปุ่น ทั้งชนิดลูกกลม ลูกรี และลูกเหลี่ยม)     
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 12 มิ.ย. 16, 19:04

ทั้ง ตะโก (Diospyros rhodocalyx) มะพลับ (Diospyros malabarica) และพลับจีนหรือพลับญี่ปุ่น (Diospyros kaki) อยู่ในสกุล (genus) เดียวกัน แต่เป็นคนละสปีชีส์

พลับเป็นไม้ผลที่คนญี่ปุ่นนิยมปลูกไว้ในบ้าน เหมือนกับคนไทยหากบ้านมีที่ดินกว้างขวางหน่อยก็นิยมปลูกมะม่วงไว้ฉะนั้น



พลับญี่ปุ่นสามารถจำแนกตามรสชาติได้ออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ ๆ คือ พลับหวาน เช่น พันธุ์ฟูยุ (รสหวาน ผลสุกสีส้มอมเหลือง สามารถรับประทานสด ๆได้) และ พลับฝาด เช่น พันธุ์ซิชู พันธุ์ฮาชิยา (รสฝาด เนื้อนิ่ม ผลสุกเนื้อสีส้มอมแดง ต้องนำมาผ่านกระบวนการลดความฝาดก่อนถึงจะรับประทานได้)

ข้อมูลจาก  http://frynn.com/ลูกพลับ/
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 19 คำสั่ง