เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 14
  พิมพ์  
อ่าน: 83951 รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 17 มิ.ย. 16, 19:34

ชมภาพสุดท้ายของโรงหนังศรีเยาวราช
ก่อนจะเลือนหายไป
ยังพอมีเค้าโครงของหน้าโรงหนังในยุครุ่งเรือง
ส่วนศรีราชวงศ์กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาคารกาญจนทัตไปเสียแล้วอยู่ขวามือของตึกนี้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 18 มิ.ย. 16, 08:56

โรงหนังศรีเยาวราชและศรีราชวงศ์ เมื่อปี พศ. 2491
ภาพที่สองเป็นศรีเยาวราช


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 18 มิ.ย. 16, 10:53

โรงหนังศรีเยาวราชและศรีราชวงศ์ เมื่อปี พศ. 2491
ภาพที่สองเป็นศรีเยาวราช

ชอบบรรยากาศภาพนี้
ท่ามกลางยวดยานที่จอแจ ผู้คนพื้นๆ  มีสตรีสวมชุดกี่เพ้าสีเข้มเดินข้ามอยู่กลางถนน (ชุดยาวแบบนี้เรียกกี่เพ้าหรือเปล่า)
ถ้าเป็นภาพสีคงสวยมาก
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 19 มิ.ย. 16, 09:48

โรงหนังศรีเยาวราชและศรีราชวงศ์ เมื่อปี พศ. 2491
ภาพที่สองเป็นศรีเยาวราช

ชอบบรรยากาศภาพนี้
ท่ามกลางยวดยานที่จอแจ ผู้คนพื้นๆ  มีสตรีสวมชุดกี่เพ้าสีเข้มเดินข้ามอยู่กลางถนน (ชุดยาวแบบนี้เรียกกี่เพ้าหรือเปล่า)
ถ้าเป็นภาพสีคงสวยมาก
ศรีเยาวราช ประมาณปี 2520 ไม่มีกี่เพ้าแล้ว
อาคารอีกด้านของถนนมังกร ฝั่งเดียวกัน สร้างใหม่เป็นตึกสูงคือห้างทองเล่งหงษ์
ฝั่งตรงกันข้าม ริมถนนมังกร  (ที่มองไม่เห็น)   ด้านหนึ่งเป็นตึกเก้าชั้น อีกด้านเป็นโรงหนังคาเธ่ย์
ตึกเก้าชั้นปัจจุบันเห็นด้านหน้าเป็นร้านทองฮั่วเซ่งเฮง ส่วนคาเธ่ย์เปลี่ยนเป็นธนาคารไอซีบีซี

ภาพที่สองเป็นภาพเก่าแยกราชวงศ์มองเห็นถนนเยาวราชทั้งสองฝั่ง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 19 มิ.ย. 16, 14:38

โรงภาพยนต์แถวไชน่าทาวน์ มีทางเข้าเป็นตึกแถว
ตัวโรงจะอยู่ข้างในหลังตึกแถว
ตึกแถวริมถนนเยาวราชที่สร้างครั้งแรกมีช่วงลึกน้อยสักสิบเมตร

ตามรูปของ William Hunt ปี 2489 ทีเยาวราช
เมื่อมองจากที่สูงเห็นตัวโรงของนาครสนุกอยู่หลังตึกแถว
ตัวโรงภาพยนต์อื่นๆในเยาวราชน่าจะเป็นแบบนี้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 20 มิ.ย. 16, 11:45

ลองเอาภาพถนนเจริญกรุงมาขยายที่บริเวณประตูสามยอด
มองเห็นอาคารสองข้างที่ใกล้ประตูสามยอดไม่อยู่ในแนวเดียวกับตึกที่ทำใหม่
ทำให้ถนนตรงนี้แคบกว่าปกติ
ประตูสามยอดสร้างแทนประตูยอดเดียวที่เรียกว่าประตูใหม่เมื่อปี 2428
แต่รื้อลงเมื่อใดไม่มีการบันทึกไว้
อาจารย์สมบัติ พลายน้อยท่านไปอ่านเจอในหนังสือพิมพ์สยามไมตรี ปี 2441 ว่า
    "ได้ทราบข่าวว่าพอขึ้นวันที่ 1 เดือนธันวาคม รศ 117 (พศ 2441)
กระทรวงโยธาจะรื้อประตูสามยอด แลแก้ไขตะพานเหล็กให้ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน
แลตะพานน่าวังบูรพาก็จะให้แล้วทัน รถจะได้เดินไปทางนั้น
แลถึงถนนเยาวราช จะตัดทะลุไม่ทัน
จะให้รถออกทางถนนราชวงษ์ เลี้ยวลงถนนเจริญกรุงตามเดิม"

ในภาพมีรถรางดูเหมือนจะยังใช้ม้าลาก ไม่มีสายไฟสาลี่ให้เห็น

จากข่าว ----สะพานภานุพันธ์ สร้างในปี พศ.2441 เช่นกัน
ภาพแรกถ่ายเมื่อประมาณ ปี พศ.2430-2437

ภาพที่สองประตูสามยอดเมื่อมองจากด้านสะพานเหล็ก


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 21 มิ.ย. 16, 11:41

เรื่องเยาวราชต่ออีกนิด
ผมไปอ่านความคิดเห็นท่านที่เติบโตมาในถิ่นนี้หลายท่าน
ได้ความรู้มาบ้างอาจไม่ถูกต้องหมดเพราะเราไม่ได้เติบโตในถิ่นนี้
เขียนสั้นๆให้เด็กๆที่สนใจ อ่านง่าย  เข้าใจง่าย
ตึกสูงอันแรกของเมืองไทยคือตึก 6 ชัั้น ที่ใกล้แยกเฉลิมบุรี
นับได้หกชั้นจริง

ตามรูปแรกของคุณ Latbin Bonnak ที่เขียนว่าตึกเก้าชั้น ของพระยาสมบัติไพศาลน่าจะไม่ถูก(แม้ภายหลังจะมาต่อเติม)
ตึกนี้คือตึก 6 ชั้น แยกเป็นสองเจ้าของ

ตามรูปที่สอง ตึกหมายเลขหนึ่งเป็นของพระยาสารสินสวามิภักดิ์(หมอเทียนฮี้)
ส่วนหมายเลขสองไม่ทราบว่าเป็นของพระยาสมบัติไพศาลหรือไม่
:ชื่อพระยาสมบัติไพศาล ไม่แน่ใจว่าถูกต้องหรือไม่
มีชื่อที่คล้ายกัน คือพระยาไพบูลย์สมบัติ(เดช บุนนาค บุตร พระยาอิศรานุภาพ-เอี่ยม บุนนาค):


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 21 มิ.ย. 16, 11:47

ตึก 6 ชั้น อยู่เลยแยกเฉลิมบุรี เห็นป้ายเฉลิมบุรีอยู่ด้านขวา
ภาพแรกน่าจะเป็นปี 2493 ?(หรือ ปี 2499)
ภาพที่สอง ปี 2524


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 21 มิ.ย. 16, 11:53

ตึก 7 ชั้นอยู่ตรงกันข้ามกับตึก 6 ชั้น แถวแยกเฉลิมบุรีเหมือนกัน
นับชั้นครบเจ็ดชั้นตามชื่อ
ตามภาพที่ 1 ปี 2463
ภาพที่ 2 ปี  2483


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 21 มิ.ย. 16, 12:07

สุดท้ายแล้ว
ตึกเก้าชั้นตัวจริง
ตามภาพที่หนึ่ง จะอยู่หลังจากโรงหนังคาเธ่ย์ มีถนนมังกรขวางอยู่

ภาพที่สองมองจากทิศตรงข้าม
ตึกเก้าชั้นอยู่ตรงข้ามโรงหนังศรีเยาวราชที่มีป้าย "ล่าอุตลุด"


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 22 มิ.ย. 16, 16:17

ในบันทึกของหมอบรัดเลย์กล่าวว่า
นาย ร.ศ. สกอตต์ เจ้าของห้างสกอตต์แอนด์โก
ได้นำไฟแก๊สเข้ามาใช้ในกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๐๙ สมัยรัชกาลที่สี่
โดยตั้งโรงแก๊สที่ในพระบรมมหาราชวัง
ถึงรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๑๗ เกิดโรงแก๊สระเบิด
จึงมาสร้างโรงแก๊สที่บริเวณเสาชิงช้า
มีกำแพงทึบ ๔ ด้าน ด้านหน้าตรงกับวัดสุทัศน์เป็นประตูใหญ่
ข้างในขุดเป็นสระใหญ่เลี้ยงจรเข้ให้คนเข้าไปดูได้
ตามภาพที่หนึ่ง ที่ถ่ายเมื่อปี พศ.2423
ตามภาพนี้เสาชิงช้ายังอยู่หน้าโบสถ์พราหม ไม่ได้ย้ายมาอยู่กลางถนนบำรุงเมือง


ต่อมามีบริษัทไฟฟ้าเกิดขึ้นจึงรื้อโรงแก๊สลงหมด
แล้วย้ายเสาชิงช้าออกมาตั้งตรงที่ตั้งอยู่ปัจจุบันนี้
ตรงโรงแกสที่รื้อสร้างเป็นตลาด ลักษณะเป็นตึกแถวยาวหักวกเป็นรูปสี่เหลี่ยมจรดกันสี่ด้าน
เว้นช่องเป็นประตูตรงกลางทุกด้าน ภายในทำเป็นตลาดใหญ่
จึงย้ายตลาดเสาชิงช้าเดิมมาตั้งที่สร้างใหม่นี้ เปิดตลาดใหม่นี้ เมื่อปี ร.ศ. ๑๑๙ (พ.ศ. ๒๔๔๔)
ตามจดหมายเหตุกล่าวว่าผู้สร้างตึกชื่อ มิสเตอร์ สุวาราโต
ตามภาพที่สอง-สาม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 22 มิ.ย. 16, 22:22

รูปในความเห็น 153 ตำรวจถึงกับตั้งรังปืนกลกันเลยทีเดียว  ขยิบตา
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 23 มิ.ย. 16, 09:30

รูปในความเห็น 153 ตำรวจถึงกับตั้งรังปืนกลกันเลยทีเดียว  ขยิบตา
เป็นทหารมาปราบจราจลที่เยาวราช ที่เรียกว่าจราจลเทียนกัวเทียน หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
http://roowaisa.blogspot.com/2015/05/blog-post_23.html
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 23 มิ.ย. 16, 09:37

ภาพต่อจากเมื่อวาน
เมื่อย้ายโรงแก๊สจากพระราชวังมาอยู่ที่บริเวณใกล้เสาชิงช้า
จากภาพจะเห็นโรงแก๊สอยู่หลังเสาชิงช้า
ในวงกลมมีเสาโคมไฟที่ให้แสงสว่างด้วยแก๊สเวลากลางคืน
มีอยู่ริมถนนใหญ่เช่นเจริญกรุงบำรุงเมืองฯลฯ
ภาพนี้ควรจะอยู่ในระยะเวลา พศ.2417-2444


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 23 มิ.ย. 16, 09:43

เมื่อมีไฟฟ้าใช้แล้วรื้อโรงแก๊ส
สร้างตลาดขึ้นมาแทนพร้อมย้ายเสาชิงช้าไปอยู่หน้าวิหารวัดสุทัศน์
ภาพนี้เป็นด้านหน้าของตลาดเสาชิงช้าใหม่
ปลูกต้นไม้เป็นแถวด้านหน้า ทำตลาดอย่างสวยงาม เป็นตลาดที่ทันสมัยมากในสมัยนั้น


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 20 คำสั่ง