เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 83928 รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 04 มิ.ย. 16, 20:37

ขอบคุณค่ะคุณหนุ่มสยาม  จำเยาวราชไม่ได้เลย
มุมนี้สวยมาก จนนึกว่าเป็นต่างประเทศแห่งใดแห่งหนึ่งในเอเชียเสียอีก
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 05 มิ.ย. 16, 11:23

ภาพชุดตรึงกำลังปิดเยาวราช "กรณีทีงั่วที"
ทีงั่วที หรือ ทีหว่อที เข้าใจว่า คือ เทียนกัวเทียน เป็นชื่อโรงหนัง
รายละเอียดอยู่ในเวปไซด์
มีภาพให้ดูหลายภาพ กดที่ภาพจะขยายใหญ่
ภาพแรกเป็นแยกราชวงศ์

http://roowaisa.blogspot.com/2015/05/blog-post_23.html


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 07 มิ.ย. 16, 13:05

แผนที่เก่า คศ 1917
เขียนชื่อเก่าอยู่
ถนนประแจจีน-เพชรบุรี
ถนนหัวลำโพง-พระราม 4
ถนนสระปทุม-พระราม1



บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 07 มิ.ย. 16, 15:06

ภูเขาทอง --- ป้อมมหากาฬ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 08 มิ.ย. 16, 08:00

แม่นํ้าเจ้าพระยาเมื่อปี 2436 ถ่ายจากฝั่งธนบุรีตรงไปเหนือจากท่าราชวรดิษฐ์
มองไปข้างหน้าคิดว่าเป็น ท่าพระหรือท่าช้างวังหลวงเดิม
ที่เห็นตรงกลางสูงกว่ารอบๆ เป็นอุโบสถวัดบวรสุทธาฯเป็นรูปจตุรมุข
ตรงที่มีเรือนแพมาก   น่าจะตรงกับวัดพระมหาธาตุ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 08 มิ.ย. 16, 12:47

เรือรบลำใหญ่สีขาวที่ผูกทุ่นอยู่กลางแม่น้ำ คือร.ล.มกุฎราชกุมาร (ลำแรก)
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 08 มิ.ย. 16, 18:35

เรือรบลำใหญ่สีขาวที่ผูกทุ่นอยู่กลางแม่น้ำ คือร.ล.มกุฎราชกุมาร (ลำแรก)

ขอบคุณครับ แต่ผมไม่มีความรู้ หรือรู้จักเรือรบมากมายจำได้แค่ มหาจักรี พระร่วง เรือดำนํ้าฯลฯ

ต่อไปเป็นภาพของ    นายไว เอบาต้า ร้านพร้อมโฟโต ถนนเจริญกรุง
เป็นบ่อนในกรุงเทพสมัยก่อน
บ่อนยกเลิกไปหมดเมื่อปี 2460 (ตาม อ.-ส. พลายน้อย)
อาจารย์สถิตย์ เสมานิล เล่าเรื่องบ่อนไว้ในหนังสือวิสาสะ (เท่าที่จำได้)
นายอากรบ่อนคือขุนพัฒน์บุรีรมย์(คู่กับนายอากรหวย คือขุนบานบุรีรัตน์)
บ่อนกำถั่วที่ท่านเคยเห็นเป็นห้องกว้าง
ตรงกลางปูเสื่อสานด้วยไม้ไผ่ทำมาจากเมืองจีน กว้าง 7-8 เมตร
มีตะเกียงนํ้ามันเพื่อให้แสงสว่าง  ถ้าไฟฟ้าดับเมื่อไหร่จะมีความวุ่นวายได้
ลูกค้ายืนรอบๆ มีเจ้ามือสี่คน คนเขี่ยถั่วเจ้ามือ  ผู้ช่วย ซ้ายคน ขวาคน แล้วมีคนจ่ายเงิน
ท่านเล่าได้ตรงกับภาพที่ผมเพิ่งเจอ..............


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
unicorn9u
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 09 มิ.ย. 16, 08:27

เรือรบลำใหญ่สีขาวที่ผูกทุ่นอยู่กลางแม่น้ำ คือร.ล.มกุฎราชกุมาร (ลำแรก)

ขอบคุณครับ แต่ผมไม่มีความรู้ หรือรู้จักเรือรบมากมายจำได้แค่ มหาจักรี พระร่วง เรือดำนํ้าฯลฯ

ต่อไปเป็นภาพของ    นายไว เอบาต้า ร้านพร้อมโฟโต ถนนเจริญกรุง
เป็นบ่อนในกรุงเทพสมัยก่อน
บ่อนยกเลิกไปหมดเมื่อปี 2460 (ตาม อ.-ส. พลายน้อย)
อาจารย์สถิตย์ เสมานิล เล่าเรื่องบ่อนไว้ในหนังสือวิสาสะ (เท่าที่จำได้)
นายอากรบ่อนคือขุนพัฒน์บุรีรมย์(คู่กับนายอากรหวย คือขุนบานบุรีรัตน์)
บ่อนกำถั่วที่ท่านเคยเห็นเป็นห้องกว้าง
ตรงกลางปูเสื่อสานด้วยไม้ไผ่ทำมาจากเมืองจีน กว้าง 7-8 เมตร
มีตะเกียงนํ้ามันเพื่อให้แสงสว่าง  ถ้าไฟฟ้าดับเมื่อไหร่จะมีความวุ่นวายได้
ลูกค้ายืนรอบๆ มีเจ้ามือสี่คน คนเขี่ยถั่วเจ้ามือ  ผู้ช่วย ซ้ายคน ขวาคน แล้วมีคนจ่ายเงิน
ท่านเล่าได้ตรงกับภาพที่ผมเพิ่งเจอ..............


แอบสยองเล็กๆ มีรูปศีรษะคนลอยอยู่ตรงประตู
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 09 มิ.ย. 16, 09:36

เรือรบลำใหญ่สีขาวที่ผูกทุ่นอยู่กลางแม่น้ำ คือร.ล.มกุฎราชกุมาร (ลำแรก)

ขอบคุณครับ แต่ผมไม่มีความรู้ หรือรู้จักเรือรบมากมายจำได้แค่ มหาจักรี พระร่วง เรือดำนํ้าฯลฯ

ต่อไปเป็นภาพของ    นายไว เอบาต้า ร้านพร้อมโฟโต ถนนเจริญกรุง
เป็นบ่อนในกรุงเทพสมัยก่อน
บ่อนยกเลิกไปหมดเมื่อปี 2460 (ตาม อ.-ส. พลายน้อย)
อาจารย์สถิตย์ เสมานิล เล่าเรื่องบ่อนไว้ในหนังสือวิสาสะ (เท่าที่จำได้)
นายอากรบ่อนคือขุนพัฒน์บุรีรมย์(คู่กับนายอากรหวย คือขุนบานบุรีรัตน์)
บ่อนกำถั่วที่ท่านเคยเห็นเป็นห้องกว้าง
ตรงกลางปูเสื่อสานด้วยไม้ไผ่ทำมาจากเมืองจีน กว้าง 7-8 เมตร
มีตะเกียงนํ้ามันเพื่อให้แสงสว่าง  ถ้าไฟฟ้าดับเมื่อไหร่จะมีความวุ่นวายได้
ลูกค้ายืนรอบๆ มีเจ้ามือสี่คน คนเขี่ยถั่วเจ้ามือ  ผู้ช่วย ซ้ายคน ขวาคน แล้วมีคนจ่ายเงิน
ท่านเล่าได้ตรงกับภาพที่ผมเพิ่งเจอ..............


แอบสยองเล็กๆ มีรูปศีรษะคนลอยอยู่ตรงประตู
เป็นภาพเก่าที่เลือนบางส่วน อาจจะมองส่วนร่างกายไม่ชัด

ภาพต่อไปเป็นภาพของ โรเบอร์ต เล็นซ์ เวลาที่ถ่ายราว 2439-2449
ช่วงเวลาที่มาเปิดร้านในเมืองไทยของเล็นซ์ ไม่ตรงกัน
ใน twentieth century impression of siam บอกมาเปิดร้าน ปี 2437
ผู้เชี่ยวชาญหอจดหมายเหตุของไทย ว่าเปิดปี 2439
ร้านได้ขายต่อให้นายอีมิล กรูเต และนายซี ปรูส ปี 2449
ภาพสุดท้ายตำแหน่งร้านของ Robert Lenz


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 10 มิ.ย. 16, 12:40

royal esplanade


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 10 มิ.ย. 16, 15:16

คาร์ล ซิกเฟร็ด เดอห์ริง เกิดเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2422 ที่เมืองโคโลญ ประเทศเยอรมนี
สำเร็จการศึกษา สาขา สถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่กรุงเบอร์ลิน เมื่อปี พ.ศ.2449
ขณะมีอายุ 26 ปี ความสนใจและประทับใจในสถาปัตยกรรม และลวดลายประดับประดาตกแต่งสถาปัตยกรรมของประเทศในแถบภาคพื้นเอเชียอาคเนย์
ดึงดูดใจให้สถาปนิกหนุ่มสมัครเข้ารับราชการในประเทศสยามทันที หลังจากที่สำเร็จการศึกษา
เขาเข้ารับราชการในกรมรถไฟหลวง เมื่อ พ.ศ.2449
และได้ออกแบบก่อสร้างอาคารต่างๆ สำหรับกรมรถไฟไว้ หลายแห่ง
ต่อมาในปี พ.ศ.2452 เขาจึงได้ย้ายไป ดำรงตำแหน่งเป็นสถาปนิกและวิศวกร กรมศุขาภิบาล สังกัดกระทรวงมหาดไทย
การเข้ารับตำแหน่งใหม่ในกระทรวงมหาดไทย
นับเป็นการปูทางให้สถาปนิกหนุ่ม มีโอกาสได้คุ้นเคยและใกล้ชิดกับ
พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่รับราชการอยู่ในกระทรวงนี้
เช่น สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพและพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๕๒ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ทรงว่าจ้างให้ เดอห์ริง
ออกแบบก่อสร้างวังของพระองค์

 ในเดือนกันยายน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เขาเป็นสถาปนิกผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างพระราชวังแห่งใหม่ที่เพชรบุรี

ในปี พ.ศ.2454 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงว่าจ้าง เดอห์ริง
ให้ออกแบบก่อสร้างวังใหม่ของพระองค์ ที่ถนนหลานหลวง (วังวรดิศ)

ในปีเดียวกันนี้ เขายังได้รับความไว้วางพระทัยจากสมเด็จฯ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
ให้ออกแบบก่อสร้างตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี พระมารดาของพระองค์ (ตำหนักสมเด็จ) ในวังบางขุนพรหมอีกด้วย

ความเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ อันเนื่องมาจากการหักโหมงานหนัก
 อีกทั้งบรรยากาศในการทำงานที่เต็มไปด้วย ความแก่งแย่งชิงดี ระหว่างชาวต่างประเทศ
ทำให้ เดอห์ริง ล้มป่วยลงอย่างหนัก ในปี พ.ศ.2456
จนกระทั่ง คณะแพทย์ มีความเห็นพ้องต้องกันว่าควรส่งผู้ป่วยกลับไปทำการรักษาในทวีปยุโรปโดยด่วนที่สุด

ภาพจากหนังสือ SIAM ของคาร์ล ดอห์ริ่ง ภาพเรือนแพในกรุงเทพ
เรือนแพไม่ได้ใช้แพลูกบวบ แต่เป็นแพแบบใหม่น่าจะเป็นโลหะหรือซีเมนต์?


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 11 มิ.ย. 16, 12:48

ภาพจากมุมสูงของถนนราชดำเนินกลาง ปี 2493
สะพานเฉลิมวันชาติข้ามคลองบางลำพู ทีมีเรือเดินอย่างคึกคัก
ถนนสิบสามห้าง ถนนบวรนิเวศนฺ์



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 11 มิ.ย. 16, 17:27

ทิวทัศน์แม่นํ้าเจ้าพระยามองจากท่านํ้าหน้าวัดแจ้ง พศ.2433


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 12 มิ.ย. 16, 10:30

สะพานมัฆวานรังสรรค์ และ ถนนราชดำเนินนอก



พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๒

ถนนราชดำเนินประกอบด้วยถนนสามสาย คือราชดำเนินนอก ราชดำเนินกลาง และราชดำเนินใน
ถนนราชดำเนินนอกถูกตัดขึ้นเป็นสายแรก โดยเป็นถนนถมดินปูอิฐ เริ่มตัดในเดือนสิงหาคมปี พ.ศ. ๒๔๔๒
เพื่อใช้เป็นทางเสด็จพระราชดำเนินสู่วังสวนดุสิต3 ใช้เวลาตัดสองปี

หลังจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ
ให้ตัดถนนราชดำเนินกลางต่อในทันที
ส่วนถนนราชดำเนินในคงเริ่มสร้างในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน

ถนนสามสายถูกเรียกรวมว่า “ถนนราชดำเนิน”
ตลอดแนวถนนพาดผ่านคลองสำคัญสามสาย คือคลองคูเมืองเดิม คลองรอบกรุง และคลองผดุงกรุงเกษม
รัชกาลที่ ๕ จึงโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงโยธาธิการ
ก่อสร้างสะพานสมัยใหม่ด้วยรูปแบบศิลปะตะวันตกขึ้นเพื่อเชื่อมร้อยถนนราชดำเนินทั้งสามให้ต่อเนื่องเป็นสายเดียวกัน
คือสะพานผ่านพิภพลีลา ผ่านฟ้าลีลาศ และมัฆวานรังสรรค์


การสร้างสะพานและถนนเสร็จลงในพุทธศักราช ๒๔๔๖
ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดสะพานมัฆวานรังสรรค์และถนนราชดำเนินนอก

เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๔๖

เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๕๐ ปี อันนับเป็นมงคลสมัย

สะพานมัฆวานรังสรรค์ออกแบบโดย มาริโอ ตามาญโญ สถาปนิกชาวอิตาลี
วิศวกรคุมงานคือ นายคาร์โล อัลเลกรี ลักษณะสถาปัตยกรรมสะพานเป็นแบบอิตาลีผสมสเปน
เป็นสะพานโครงเหล็ก พื้นเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก
ส่วนประดับคือราวสะพานที่เป็นเหล็กหล่อทำลวดลายสวยงาม
ที่กลางราวสะพานด้านนอกประดับดวงตรารูปเศียรช้างเอราวัณ พาหนะของพระอินทร์
หัวมุมสะพานทั้ง 4 มุม มีเสาไฟหินอ่อนรองรับโคมไฟสำริด ส่วนบนเป็นโลหะสลักลวดลาย
 ผนังเชิงลาดสะพานประดับด้วยหินอ่อน
นับเป็นสะพานที่สวยงามและโอ่อ่าที่สุดของกรุงเทพมหานครในยุคนั้น
ในยุคแรกเป็นสะพานที่เปลี่ยว นานๆถึงจะมีผู้คนผ่านสักครั้ง
ต้องมีพลตะเวนคอยยืนรักษาความปลอดภัย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 12 มิ.ย. 16, 10:36

อีกรูป


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.099 วินาที กับ 20 คำสั่ง