visitna
|
ความคิดเห็นที่ 60 เมื่อ 19 พ.ค. 16, 14:37
|
|
ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล ภาพมุมสูงของพิธี น่าจะมีอีกหลายภาพเท่าที่เคยดูผ่านๆ อย่างน้อยก็สามแบบ ทั้งหมดอาจจะเป็นของท่านจิตร เมื่อนำออกมาขายผู้อื่นนำไปพิมพ์ต่อโดยไม่ได้ให้เครดิตเจ้าของ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 61 เมื่อ 19 พ.ค. 16, 14:40
|
|
ภาพถนนมหาไชย
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 62 เมื่อ 19 พ.ค. 16, 15:47
|
|
อาคารศาล และกระทรวงศึกษา ในอดีตอยู่ริมคลองคูเมืองเดิม (เชิงสะพานพระปิ่นเกล้าฯ)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 63 เมื่อ 20 พ.ค. 16, 10:07
|
|
บรรยายว่า Galileo Chini sul fiume Chao Prhaja. Bangkok era conosciuta come la Venezia d'Oriente เป็นรูปที่อยู่ในปี 2454-2456 ช่วงระยะเวลาที่คีนิอยู่ในเมืองไทย
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 64 เมื่อ 20 พ.ค. 16, 10:23
|
|
ภาพของคีนี รักษาได้ดี สีเป็นของเดิมไม่ได้ตกแต่งอะไร คำบรรยายติดอยู่ในภาพด้านล่าง ภาพข้างบนภาพแรกมีรอยพับยาว และสีเป็นสีม่วงๆ เอามาแต่งใหม่
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 65 เมื่อ 20 พ.ค. 16, 20:10
|
|
เคยมีการประมูลกระดาษเขียนวรรณกรรมที่นางแอนนาชื่นชอบ ผมแปลไม่ได้ใจความ ไม่เข้าใจความหมาย ใครที่เข้าใจความหมายลองเขียนให้อ่านหน่อย มีหลายท่านที่เป็นนักแปลเก่งๆในเวปนี้
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 66 เมื่อ 20 พ.ค. 16, 20:54
|
|
ในเมื่อไม่รู้ที่มาของโคลงบทนี้ จะให้แปลก็คงจับต้นชนปลายไม่ถูกค่ะ อาจารย์หมอ รอคนที่รู้ดีกว่า เดี๋ยวคุณหมอเพ็ญชมพูอาจจะไขปริศนาได้
ตอนนี้ปั่นเรตติ้งกระทู้ไปพลางๆก่อน
เท่าที่อ่าน แกะรอยได้ว่า แหม่มแอนนาเธอแปลโคลงบทนี้จากกวีนิพนธ์ของกวีชาวเปอร์เชีย ชื่อ Hafiz of Shiraz เป็นบทที่กวีออกคำสั่งใครคนหนึ่งชื่อ Saki ให้นำชามที่เรียกว่า Imperial bowl มาให้ ชามใบนี้ไม่ใช่ชามธรรมดา แต่เหมือนกับเป็นชามศักดิ์สิทธิ์อะไรสักอย่าง เพราะขยายความว่า เป็นชามที่สามารถนำวิญญาณให้เข้าสู่ความปีติโสมนัส เป็นชามที่เป็นเสมือนพระฉายาลักษณ์ของพระเจ้า เป็นชามที่นำไปสู่ภวังค์อันเคลิบเคลิ้มเหมือนขึ้นสู่สวรรค์
ดิฉันก็ไม่รู้ว่าคนเปอร์เชียสมัยนั้นเขาใช้ชามไว้บรรจุอะไร ถ้าเป็นถ้วยเหมือนฝรั่งยุโรปใช้กัน ก็อดคิดไม่ได้ว่า น่าจะเป็นชามบรรจุเหล้าชั้นดีเสียละมัง เพราะที่บรรยายในโคลงนี้ เหมือนบรรจุน้ำอมฤตอะไรสักอย่าง ไม่น่าจะใช่ชามเปล่าๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 67 เมื่อ 20 พ.ค. 16, 21:13
|
|
ขอบคุณครับอาจารย์ ผมไปเปิดอ่านกวีของท่านนี้ตั้งนาน มีฝรั่งแปลกันเยอะ แต่ไม่มีบทที่ว่านางแอนนาชื่นชอบ แปลเป็นไทยก็มี แต่เป็นบทอื่นที่อ่านง่ายๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 68 เมื่อ 21 พ.ค. 16, 07:25
|
|
ragazza เป็นภาษาอิตาลี่แปลว่าสาว เป็นภาพความละเอียดสูงขยายได้มากยังชัดเจน
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 69 เมื่อ 21 พ.ค. 16, 07:33
|
|
เป็นพ่อค้าหาบกล้วย ที่ท่าเรือคลองเตย
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 70 เมื่อ 21 พ.ค. 16, 08:18
|
|
อีกภาพน่าสนใจมาก เป็นสภาพบ้านเรือน เขียนคำบรรยายว่า Capanne abitazioni intorno a Bangkok กูเกิลแปลว่าบ้านเรือนทั่วไปในกรุงเทพ มียอดแหลมสูงน่าจะเป็นยอดวิหารคริสต์
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 71 เมื่อ 21 พ.ค. 16, 08:48
|
|
สาวน้อยคนนี้หน้าตาคมขำ สวยทีเดียวแหละ เคยอ่านพบในหนังสือของนักรวบรวมอดีตท่านหนึ่ง จำชื่อไม่ได้แล้ว บอกว่าภาพถ่ายหญิงไทยที่ฝรั่งถ่ายมาได้สมัยรัชกาลที่ ๔ หรือ ๕ ล้วนเป็นโสเภณี ชาวบ้านจะไม่ให้ลูกสาวมาโพสท่าถ่ายภาพให้ฝรั่ง ต้องจ้างหญิงบริการแทน
บ้านเรือนข้างบนนี้ไม่เหลือร่องรอยแล้ว แต่โบสถ์คริสต์น่าจะยังเหลืออยู่ ถ้าคุณ Siamese แวะเข้ามา ขอถามว่าพอจะดูออกไหมคะว่าโบสถ์ที่ไหน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 72 เมื่อ 21 พ.ค. 16, 09:07
|
|
ในเมื่อไม่รู้ที่มาของโคลงบทนี้ จะให้แปลก็คงจับต้นชนปลายไม่ถูกค่ะ อาจารย์หมอ รอคนที่รู้ดีกว่า เดี๋ยวคุณหมอเพ็ญชมพูอาจจะไขปริศนาได้
เท่าที่อ่าน แกะรอยได้ว่า แหม่มแอนนาเธอแปลโคลงบทนี้จากกวีนิพนธ์ของกวีชาวเปอร์เชีย ชื่อ Hafiz of Shiraz เป็นบทที่กวีออกคำสั่งใครคนหนึ่งชื่อ Saki ให้นำชามที่เรียกว่า Imperial bowl มาให้ ชามใบนี้ไม่ใช่ชามธรรมดา แต่เหมือนกับเป็นชามศักดิ์สิทธิ์อะไรสักอย่าง เพราะขยายความว่า เป็นชามที่สามารถนำวิญญาณให้เข้าสู่ความปีติโสมนัส เป็นชามที่เป็นเสมือนพระฉายาลักษณ์ของพระเจ้า เป็นชามที่นำไปสู่ภวังค์อันเคลิบเคลิ้มเหมือนขึ้นสู่สวรรค์
Saki มาจากภาษาอาหรับว่า sāqī ساقی หมายถึง ผู้เสิร์ฟไวน์ หรือ ผู้รินไวน์ ปรากฏหลายแห่งในบทกวีของเปอร์เซีย ซึ่งมักใช้ซากีแทนความหมายของผู้นำทางจิตวิญญาณ และไวน์แทนความรักของเพื่อนมนุษย์ https://wahiduddin.net/saki/saki_origins.htmhttp://ahlbeyt.com/book/1/3.pdf
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 73 เมื่อ 21 พ.ค. 16, 09:44
|
|
นึกถึงรุไบยาต ของโอมาร์ คัยยัม เลยละค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
kui045
มัจฉานุ
 
ตอบ: 94
|
ความคิดเห็นที่ 74 เมื่อ 21 พ.ค. 16, 15:52
|
|
อีกภาพน่าสนใจมาก เป็นสภาพบ้านเรือน เขียนคำบรรยายว่า Capanne abitazioni intorno a Bangkok กูเกิลแปลว่าบ้านเรือนทั่วไปในกรุงเทพ มียอดแหลมสูงน่าจะเป็นยอดวิหารคริสต์
เดานะครับ เดาว่าเป็นโบสถ์กาลหว่าร์ ตลาดน้อย สัมพันธวงศ์ กับคลองผดุงกรุงเกษม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|