visitna
|
ความคิดเห็นที่ 45 เมื่อ 16 พ.ค. 16, 16:05
|
|
เมื่อวานลงภาพงานพระศพ พระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสี ซึ่งเป็นพระราชธิดาของเจ้าดารารัศมี สิ้นพระชนม์แค่อายุ 2 ปี กว่านิดๆ(ปี 2435) มีเกร็ดจากนิทานชาวไร่ที่ท่านเล่าเอาไว้มาฝาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 46 เมื่อ 16 พ.ค. 16, 16:06
|
|
ต่อ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 47 เมื่อ 16 พ.ค. 16, 16:08
|
|
ภาพนี้เป็นบรรยากาศในพระราชวังดุสิต ดูแล้วชอบเป็นธรรมชาติมาก
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 48 เมื่อ 16 พ.ค. 16, 19:11
|
|
นิทานชาวไร่เรื่องเสด็จในกรมหลวงพิชิตปรีชากรนี้ออกจะผิดจากความจริงตามที่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์ไปไกลมา
ในพระประวัติพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ที่เจ้าแก่วนวรัฐฯ เป็นผู้เรียบเรียงและพิมพ์เผยแพร่ในงานพระราชทานเพลิงศพพระราชชายาฯ ระบุว่า พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เป็นผู้นำพระราชชายาเจ้าดารารัศมีลงมาถวายตัวรับราชการเป็นบาทบริจาริกาตามคำสั่งเสียของเจ้าเพพไกรสรผู้เป็นชายา
ส่วนเจ้าทิพเกสรที่เป็นเจ้าจอมมารดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดีนั้น ตามประวัติกล่าวว่าเจ้าจอมมารดาเป็นธิดาของนายน้อยมหาพรม และเป็นหลานปู่ของพระเจ้ามโหตรประเทศ พระเจ้านครเชียงใหม่ที่ ๕ ในรัชกาลที่ ๔ นายน้อยมหาพรมมีเหตุขัดแย้งกับเจ้านายเมืองนครเชียงใหม่ด้วยกัน รัชกาลที่ ๔ จึงโปรดเกล้าฯ ให้มีตราหาตัวลงมาตัวนายน้อยมหาพรมลงประจำรับาชการอยู่ ณ กรุงเทะฯ พระราชทานสัญญาบัตรเป็นพระยาอุตรการโกสล พร้อมพานทองเครื่องยศ คงรับราชการอยู่ที่กรุงเทพฯ ไม่ได้กลับไปเชียงใหม่อีกเลยจนถึงอนิจกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๕ ฉะนั้นผู้ที่นำเจ้าจอมมารดาทิพเกสรขึ้นถวายตัวเป็นบาทบริจาริกาในรัชกาลที่ ๕ จึงเป็นพระยาอุตรการโกศลผู้เป็นบิดา และน่าจะถวายตัวก่อนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรเสด็จไปเชียงใหม่ เพราะพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดีนั้น ตามพระประวัติระบุว่า ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน ๖ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีวอก ฉศก จ.ศ. ๑๒๔๖ ตรงกับวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๔๒๗ ซึ่งช่วงเวลาที่ประสูตินั้น เสด็จในหลวงพิชิตปรีชากรยังคงจัดการปกครองอยู่ที่เมืองนครเชียงใหม่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 49 เมื่อ 16 พ.ค. 16, 20:36
|
|
กำลังนึกถึงคุณ V_Mee อยู่ทีเดียว อยากจะบอกว่าอ่านเรื่องนิทานชาวไร่ตอนนี้แล้ว ไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้ค่ะ นิทานชาวไร่เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเบื้องหลังประวัติศาสตร์ที่ท่านผู้เล่า น.อ.สวัสดิ์ จันทนี ฟังจากปากคำของผู้เล่าคนนั้นบ้างคนนี้บ้าง แล้วบันทึกลงอีกทีหนึ่ง โอกาสจะคลาดเคลื่อนก็มีอยู่สูง ตามความทรงจำของแต่ละท่านที่ฟังเล่ากันต่อๆมาอีกทีหนึ่ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 50 เมื่อ 17 พ.ค. 16, 06:43
|
|
ขอบคุณอาจารย์ V_Mee สำหรับข้อมูล นาวาเอกสวัสดิ์ จันทนี ผู้เขียนนิทานชาวไร่ มี referent เป็นหู ท่านก็ฟังจากผู้อื่นเล่าต่อมาอีกที ท่านเป็นยอดนักอ่านเหมือนกัน สมัยก่อนการหาข้อมูลอ้างอิงยากกว่าสมัยนี้ ท่านคงไม่ได้อ่านราชกิจจานุเบกษาทุกหน้า ต่อไปเราจะได้เตรียมใจว่าจะเชื่อได้หรือไม่
ในฉบับนี้ เป็น นาวิกศาสตร์ เดือน พค. 2505 มีเนื้อหายาว นอกจากเรื่องเจ้าชายาดารารัศมี เจ้าทิพย์เกษร แล้ว มีกล่าวถึง สงครามไทยฝรั่งเศส ที่อัดตะปือ แสนปาง สีทันดร ที่เป็นต้นเหตุ รศ 112 โดยท่านฟังคำบอกเล่าจาก หลวงวิฆเนศร์ประสิทธิ์วิทย์ (อัทย์ หะสิตะเวช) เป็นแพทย์โดนเกณฑ์ไปในสงครามคราวนั้น เรื่องราวนี้น่าเป็นข้อมูลปฐมภูมิ แล้วแต่ผู้ที่เล่าว่าจำได้แม่นยำแค่ไหน ยกเมฆแค่ไหนอีก
เราว่ากันต่อไปฟังหูไว้หู แล้วตรวจสอบความถูกต้องกันต่อไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 51 เมื่อ 17 พ.ค. 16, 07:54
|
|
งานพระเมรุมาศที่ท้องสนามหลวง ไม่รู้ว่าเขียน พศ.ถูกหรือไม่ งานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าฟ้านภาจรฯ ปี 2433 ------------------------------------------------------------------------ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี ภัทรวดีราชธิดา ประสูติเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก ฉศก จุลศักราช 1246 ตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2427 เป็นพระราชบุตรพระองค์ที่ 45 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา มีพระเชษฐาและพระขนิษฐาร่วมพระชนนีคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี ++พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี ภัทรวดีราชธิดาประชวรเป็นไข้ มาตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2432 พระอาการทรงและทรุดเรื่อยมา จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในวันที่ 31 สิงหาคม ศกนั้น เวลาเช้า 5 โมงเศษ สิริพระชันษา 5 ปี 118 วัน ประดิษฐานพระศพในหอธรรมสังเวช และโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์ไปทอดผ้าสดับปกรณ์ และได้รับพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2433
ภาพนี้น่าสนใจ สภาพท้องสนามหลวงเมื่อปี 2432-2433 มองไม่เห็นพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ที่มองได้ชัดคือประตูวิเศษไชยศรี ป้อมขันธ์เขื่อนเพชร ด้านทิศเหนือของพระราชวัง น่าเสียดาย มองไม่เห็นวังหน้า
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 52 เมื่อ 18 พ.ค. 16, 08:39
|
|
ภาพพอร์ทเตรทของ คุณจิตร จิตราคนี ประมาณปี 2408-2413 แสดงการแต่งกาย ทรงผม ลักษณะนิยมทั่วไป อย่างสมัย ร ๔ ภาพนี้ ตอน LOAD มาเป็นจุดขาวทั่วไป อย่างกับคนเป็นไข้ทรพิษ เอามา HEAL จนดูดีขึ้น
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 53 เมื่อ 18 พ.ค. 16, 09:24
|
|
มองเห็นแฟชั่นสตรีไทยชาวเมืองหลวง สมัยปลายรัชกาลที่ 4 ต่อกับต้นรัชกาลที่ 5 -ผมสั้นมาก แทบไม่ต่างจากผู้ชาย -ห่มสไบจีบ นุ่งโจงกระเบน -ไว้เล็บยาวในมือซ้าย มือขวาซึ่งต้องหยิบจับงานต่างๆรวมทั้งเปิบข้าวเข้าปาก คงไม่สะดวกที่จะไว้เล็บยาว - การที่มีภาพถ่ายในสตูดิโอ ยุคที่ถ่ายภาพกันน้อยมาก สตรีผู้นี้น่าจะเป็นใครสักคนที่ไม่ใช่คนโนเนม แต่เธอไม่มีอาภรณ์ประดับกายเลย เหมือนแต่งกายในชีวิตประจำวันมาถ่ายรูป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 54 เมื่อ 18 พ.ค. 16, 14:39
|
|
น่าจะเป็นคนไม่ธรรมดา อย่างอาจารย์ว่า แต่ไม่รู้จะหาข้อมูลของท่านได้อย่างไร
เอารูปมาฝากคงจะเคยได้ผ่านตากันมาบ้าง ส่วนมากไม่ค่อยมีคุณภาพคงเส้นคงวา ส่วนท้ายพระราชวัง ถ่ายจากหอกลองเก่า เราพอจะรู้ตำแหน่งหอกลอง มีป้อมอนันตคีรีที่อยู่ด้านตะวันออกเฉียงใต้สุด ถนนสนามชัย มองเห็นถนนแยกต้นสายที่จะกลายเป็นถนนเจริญกรุง
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 55 เมื่อ 19 พ.ค. 16, 09:23
|
|
ประตูฉนวนวัดพระแก้วออกสนามหลวง จากหนังสือของอาจารย์ ส.พลายน้อย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 56 เมื่อ 19 พ.ค. 16, 09:59
|
|
ภาพทั้งสองเป็นผลงานของท่านจิตร จิตราคนี ถ่ายมาจากที่เดียวกันเป็นมุมแคบและมุมกว้าง
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 57 เมื่อ 19 พ.ค. 16, 13:08
|
|
ภาพในวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๙ ซึ่งเป็นวันที่ ๔ ของการพระราชพิธีมหาพิไชยมงคล ลงสรงสนานรับพระปรมาภิไธย ในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สังเกตุเห็นว่าเป็นภาพที่คล้ายกัน แต่เป็นคนละช่าง ภาพแรกของท่านจิตร จิตราคนี ภาพที่สองเป็นของ คาร์ล ดอห์ริ่ง
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 58 เมื่อ 19 พ.ค. 16, 13:29
|
|
ภาพในวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๙ ซึ่งเป็นวันที่ ๔ ของการพระราชพิธีมหาพิไชยมงคล ลงสรงสนานรับพระปรมาภิไธย ในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สังเกตุเห็นว่าเป็นภาพที่คล้ายกัน แต่เป็นคนละช่าง ภาพแรกของท่านจิตร จิตราคนี ภาพที่สองเป็นของ คาร์ล ดอห์ริ่ง
คาร์ล ดอห์ริ่ง นำภาพพระราชพิธีไปตีพิมพ์ลงหนังสือภาพสยามครับผม ในวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๙ มิศเตอร์คาร์ล ดอห์ริ่ง เพิ่งจะมีอายุได้ ๗ ขวบครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 59 เมื่อ 19 พ.ค. 16, 13:31
|
|
ภาพในวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๙ ซึ่งเป็นวันที่ ๔ ของการพระราชพิธีมหาพิไชยมงคล ลงสรงสนานรับพระปรมาภิไธย ในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|