เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 83605 รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 09 พ.ค. 16, 18:38

สะพานอันงดงาม สามแห่งของถนนราชดำเนิน  


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 10 พ.ค. 16, 10:34

เข้าไปอ่านในเวป 2 bangkok .com
ที่เห็นตามรูปที่หนึ่ง ท่านเขียนไว้ว่า
-ภาพถ่ายประมาณ คศ .1903  พศ. 2446
-ขบวนทหารเดินผ่านกองลหุโทษ สังเกตป้อมที่อยู่ด้านซ้าย
-ยังไม่มีสะพาน(ผ่านภิภพลีลา)ในขณะนี้
-ปลูกต้นไม้(มะขาม)รอบสนามหลวงปี คศ.1902 (พศ 2445)

ขยายให้ชัดในภาพที่สอง
ภาพที่สามบอกว่าถ่ายเมื่อประมาณปี พศ 2449 หลังจากภาพแรกสามปี

ถ้าสังเกตุจะเห็นว่าต้นมะขามปี 2446 โตกว่าปี 2449
ถนนราชดำเนินใน(สะพาน)สร้างเสร็จปี 2446  

ไม่ได้มาดิสเครดิท ท่านผู้เขียนเวปนี้
เพียงแต่นั่งดูแล้วคิดๆ  ได้ไอเดียเพิ่มตามที่เคยรับรู้มา
แต่ท่านกล้าพูดว่าต้นมะขามสนามหลวง ปลูกเมื่อปี 2445  (ท่านเดียวที่เคยเจอ)
ลองเปิดในกูเกิลมีแต่ลอกกันมาเหมือนๆกันว่า
ต้นมะขามปลูกกี่ต้นกี่แถวห่างกันเท่าไหร่ แต่ไม่มีใครบอกว่าปลูกเมื่อไหร่


ถ้าปลูกต้นมะขามปี 2445 ในปี 2446 ตามรูปที่สอง ปลูกแค่ปีเดียวต้นโตมากเกินกว่าอายุแน่
ต้องมีอะไรผิดพลาดไปบางอย่าง  
เราต้องช่วยหาคำตอบกันต่อไป


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 10 พ.ค. 16, 10:39

ภาพนี้น่าจะเริ่มปลูกต้นมะขาม
มีอาคารกระทรวงกลาโหมแล้ว  ซึ่งสร้างเสร็จ ปี  พศ 2425  
จะปลูกหลัง 2425  กี่ปียังบอกไม่ได้  
ที่ท่านบอกในเวป 2 bangkok .com ว่าปลูกปี 2445 เป็นไปได้มาก
ในตำนานวังหน้าของสมเด็จดำรงฯ ท่านเขียนว่าขยายสนามหลวงไปทางทิศเหนือ
พร้อมกับทำถนนราชดำเนินใน หลังจาก ร 5เสด็จกลับจากยุโรปในปี 2440
ต้นมะขามต้องปลูกหลังปี 2440 อาจจะเป็น 2445 ตามที่เวปเขียนไว้ก็ได้
ทหารที่เดินแถว คงจะหลังจากนั้นสี่ห้าปี (คาดคะเนจากขนาดต้นมะขาม)



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 10 พ.ค. 16, 16:00

อนุสาวรีย์ชัยฯ  ดูบ่อยๆชำนาญขึ้น สีฟ้าคือ คลองสามเสน ที่ไปสะพานควาย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 10 พ.ค. 16, 18:35

การปลูกต้นไม้ริมถนนราชดำเนินน่าจะมีมาก่อนเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๔๐  หรือหลังจากนั้นไม่นานนัก
เพราะพบหลักฐานว่า ภายหลังจากที่ได้มีการหารือเรื่องถนนสายเชียงใหม่ – ลำพูน ในการประชุมเมื่อวันที่  ๙  กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๔๔๒ แล้ว  อีก  ๓ เดือนถัดมา 
หม่อมอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ์  (ม.ร.ว.ประยูร  อิศรศักดิ์) ข้าหลวงประจำนครเชียงใหม่ก็ได้มีโทรเลขลงวันที่  ๑๔  พฤษภาคม  ร.ศ. ๑๑๙ (พ.ศ. ๒๔๔๓) รายงานไปยังกระทรวงมหาดไทยว่า 

ถนนที่เมืองนครเชียงใหม่  ตั้งแต่สนามแข่งม้า จนถึงต่อแดนเมืองนครลำพูน  หม่อมอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ์  ได้ให้เจ้าราชบุตร เปนแม่กองใหญ่  เจ้าน้อยมหาวัน  พระยาสุนทร  พระยา
ธรรมพิทักษ์     พระยาเทพวงษ  ท้าวขุนแก้ว  เปนผู้ช่วยให้แบ่งน่าที่กันทำเปนตอน ๆ  ถนนสายนี้ได้ทำเสร็จแล้ว  เมื่อวันที่  ๗  พฤษภาคม  รัตนโกสินทร ศก ๑๑๙  เจ้าอุปราช แลข้าราชการอีกหลายนาย  พร้อมด้วยหม่อมอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ์  ได้ไปตรวจดูถนนสายนี้  เห็นด้วยเกล้าฯ ว่าเรียบร้อยดีพอใช้  รถเทียมม้าได้ตลอดทาง  แลเปนที่กว้างมาก  ข้างริมคันถนน  เจ้าราชบุตรได้สั่งให้ปลูกต้นยางได้ปลูกแล้วบ้าง  แลยังกำลังปลูกอีกต่อไป  การทำถนนสำเร็จได้โดยเร็วดังนี้  ควรเปนที่สรรเสริญเจ้าราชบุตร  แลผู้ที่ช่วยทำนั้นเปนอันมาก  กับทั้งเจ้าอุปราชก็ได้ช่วยเปนธุระสั่ง  ในเรื่องทำถนนสายนี้โดยแข็งแ
รง”

 ที่มา : “โทรเลขข้าหลวงประจำนครเชียงใหม่ แลใบบอกข้าหลวงประจำเมืองน่าน”, ราชกิจจานุเบกษา ๑๗ (๑๗ มิถุนายน ๑๑๙), หน้า ๑๑๔.
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 11 พ.ค. 16, 09:34

ตอนเด็กเคยอ่านเรื่องผักตบชวา
จำฝังหัวว่าสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี เป็นผู้ที่นำเข้ามาเมืองไทย
ไม่รู้ว่าผมจำผิดหรือว่าคนเขียนผิด
เมื่อไม่นานไปอ่านเจอเรื่องกลับเป็นอีกแบบ

จากวิกิพีเดีย........................................
ผักตบชวาถูกนำเข้ามาในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2444
ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยนำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซียในฐานะเป็นไม้ประดับสวยงาม
โดยเจ้านายฝ่ายในที่ตามเสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย
ได้เห็นพืชชนิดนี้มีดอกสวยงาม จึงนำกลับมาปลูกในประเทศไทย
และใส่อ่างดินเลี้ยงไว้หน้าสนามวังสระปทุม จนกระทั่งเกิดน้ำท่วมวังสระปทุมขึ้น
 ทำให้ผักตบชวาหลุดลอยกระจายไปตามแม่น้ำลำคลองทั่วไป
และแพร่พันธุ์อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

...................................................
ส่วนอีกบทความที่อ่านเจอ


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 11 พ.ค. 16, 09:37

Chao Phya [Chao Phraya river] & Bangkok Yai Klong. November 6, 1935.
เห็นผักตบชวาบ้างแล้วในปี พศ.2478 ในคลองบางกอกใหญ่


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 11 พ.ค. 16, 09:40

Amphur Derm Bang Nang Buat and north on Supan River [Suphan Buri river], August 22, 1936.
ออกนอกกรุงเทพหน่อยวันนี้    ที่แม่นํ้าสุพรรณบุรี เดิมบางนางบวช


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 11 พ.ค. 16, 09:50

Down Menam Noi--Chao Phraya Amphur BangSai  1937


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 11 พ.ค. 16, 14:59

ตอนเด็กเคยอ่านเรื่องผักตบชวา
จำฝังหัวว่าสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี เป็นผู้ที่นำเข้ามาเมืองไทย
ไม่รู้ว่าผมจำผิดหรือว่าคนเขียนผิด
เมื่อไม่นานไปอ่านเจอเรื่องกลับเป็นอีกแบบ

จากวิกิพีเดีย........................................
ผักตบชวาถูกนำเข้ามาในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2444
ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยนำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซียในฐานะเป็นไม้ประดับสวยงาม
โดยเจ้านายฝ่ายในที่ตามเสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย
ได้เห็นพืชชนิดนี้มีดอกสวยงาม จึงนำกลับมาปลูกในประเทศไทย
และใส่อ่างดินเลี้ยงไว้หน้าสนามวังสระปทุม จนกระทั่งเกิดน้ำท่วมวังสระปทุมขึ้น
 ทำให้ผักตบชวาหลุดลอยกระจายไปตามแม่น้ำลำคลองทั่วไป
และแพร่พันธุ์อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

เวอร์ชั่นที่สาม มาจากหนังสือ เรื่องปกิณณกะในรัชกาลที่ ๕ โดย นายแพทย์นวรัต ไกรฤกษ์ ในเรื่อง "เสด็จประพาสชะวา"

เจ้าคุณพ่อเล่าให้ฟังว่าท่านประสบโชคดี ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประพาสชะวา ๒ ครั้ง คือเมื่อ ร.ศ. ๑๑๕ (พ.ศ. ๒๔๓๙) ขณะที่ท่านมีบรรดาศักดิ์เป็นนายสุจินดา หุ้มแพร และเมื่อ ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔) ขณะที่ท่านเป็นเจ้าหมื่นสรรพเพ็ธภักดี

ท่านได้เล่าถึงการเสด็จชะวา ร.ศ. ๑๑๕ ว่า........

จากการเสด็จประพาสชะวาครั้งนี้ ได้มีสิ่งที่งอกงามได้เร็จตามเข้ามายังกรุงเทพพระมหานครด้วย คือ

๑. ต้นไม้ชนิดหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำเมล็ดเข้ามาเพาะ ปรากฏว่าขึ้นงอกงามเร็ว มีกิ่งก้านแตกสาขาออกไปมาก จึงพระราชทานชื่อให้ใหม่ว่า "ต้นก้ามปู" ขณะนี้มีอยู่ทั่วประเทศ ใช้เป็นประโยชน์ นอกจากให้ความร่มเย็นแล้ว ยังเป็นที่สำหรับปล่อยตัวครั่งเป็นอย่างดี


๒. ไม้น้ำชนิดหนึ่งซึ่งขึ้นทั่วไปตามร่องน้ำข้างถนนที่ชะวา พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ ทรงรถเสด็จไปตามถนน ทอดพระเนตรเห็นต้นดอกไม้น้ำชนิดนี้มีดอกเป็นช่อสีม่วงสลับงามอย่างแววมยุรา จึงได้นำเอาต้นมากรุงเทพฯด้วย ทรงเลี้ยงไว้ที่ตำหนักของพระองค์และอยู่ข้างจะหวงแหนมาก ต่อมาไม้น้ำนี้ซึ่งเรียกว่า "ผักตบชวา" งอกงามเจริญเร็วมาก เต็มไปหมดจนถึงกระจายออกไปตามลำแม่น้ำลำคลอง ส่วนพวกชาวจังหวัดต่าง ๆ เห็นดอกสวยงามก็นำไปเลี้ยงบ้าง เลยแพร่พันธุ์กระจายทั่วไป เช่นที่กว๊านพระเยาก็เต็มไปหมด ซึ่งเจ้าคุณพ่อก็ได้ไปเห็นมากับตาท่านเอง

๓. ปาล์มขวด (bottle palm) เป็นต้นไม้สวยงามคล้ายต้นมะพร้าว ลำต้นมีลักษณะคล้ายขวด หลวงสุนทรโกษา (คออยู่เหล ณ ระนอง) เป็นผู้นำมา

๔. กวางดาว ซึ่งมีพันธุ์เลี้ยงอยู่สวนสัตว์เขาดินวนาขณะนี้ ก็ทรงได้มาจากประเทศชะวาในการประพาสคราวนี้เหมือนกัน

บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 11 พ.ค. 16, 15:20

ขอบคุณครับ ผมจะได้รับรู้เรื่องที่ถูกต้อง
ข้อมูลของพระยาวินิจวนันดร และของหมอนวรัต  ตรงกัน
ผู้ที่นำเข้ามาคือ พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา พระนามเดิม: หม่อมเจ้าสาย ลดาวัลย์
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 11 พ.ค. 16, 15:39

ที่ไม่ตรงกันคือ พ.ศ. ที่นำเข้ามา พระยาวินิจวนันดรบอกว่า พ.ศ. ๒๔๔๔ (เสด็จประพาสชวาครั้งที่ ๓)  ส่วนหมอนวรัตบอกว่า พ.ศ. ๒๔๓๙ (เสด็จประพาสชวาครั้งที่ ๒)
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 12 พ.ค. 16, 16:18

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้รื้อตำหนัก(เรือนแพ)ริมนํ้า ของเดิมเสีย
แล้วลงเขื่อนถมที่ขึ้นเสมอพื้นดิน และสร้างพระที่นั่งขึ้นหมู่หนึ่ง
เป็นพลับพลาสูงตรงกลางองค์หนึ่ง พระราชทานนามว่า พระที่นั่งชลังคพิมานต่อพลับพลาสูงเข้าไปทางด้านตะวันออก
มีพระที่นั่งสูงเป็นที่ประทับองค์หนึ่ง พระราชทานนามว่า พระที่นั่งทิพยสถานเทพสถิต
พระที่นั่งข้างเหนือลดพื้นต่ำลงมาเป็นท้องพระโรงฝ่ายหน้าองค์หนึ่ง พระราชทานนามว่า พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย
มีพระที่นั่งข้างใต้เหมือนกันกับองค์ข้างเหนือเป็นที่พักฝ่ายใน พระราชทานนามว่าพระที่นั่งอนงค์ในสราญรมย์
ส่วนตรงหน้าพระที่นั่งชลังคพิมานใต้ท่าเสด็จลงเรือ
โปรดเกล้าฯ ให้ก่อเขื่อนทำสระเป็นที่สรงสระหนึ่งก่อกำแพงเป็นบริเวณข้างในทั้ง 3 ด้าน
มีป้อมริมน้ำปลายแนวกำแพงด้านเหนือ พระราชทานนามว่าป้อมพรหมอำนวยศิลป์
ป้อมข้างใต้ตรงชื่อ ป้อมอินทร์อำนวยศร
และโปรดเกล้าฯ ให้เรียกรวมกันทั้งบริเวณว่า ท่าราชวรดิฐ แปลว่า ท่าอันประเสริฐของพระราชา


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 12 พ.ค. 16, 18:18

ตอนเด็กเคยอ่านเรื่องผักตบชวา


เวอร์ชั่นที่สาม มาจากหนังสือ เรื่องปกิณณกะในรัชกาลที่ ๕ โดย นายแพทย์นวรัต ไกรฤกษ์ ในเรื่อง "เสด็จประพาสชะวา"

เจ้าคุณพ่อเล่าให้ฟังว่าท่านประสบโชคดี ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประพาสชะวา ๒ ครั้ง คือเมื่อ ร.ศ. ๑๑๕ (พ.ศ. ๒๔๓๙) ขณะที่ท่านมีบรรดาศักดิ์เป็นนายสุจินดา หุ้มแพร และเมื่อ ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔) ขณะที่ท่านเป็นเจ้าหมื่นสรรพเพ็ธภักดี

ท่านได้เล่าถึงการเสด็จชะวา ร.ศ. ๑๑๕ ว่า........

จากการเสด็จประพาสชะวาครั้งนี้ ได้มีสิ่งที่งอกงามได้เร็จตามเข้ามายังกรุงเทพพระมหานครด้วย คือ

๑. ต้นไม้ชนิดหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำเมล็ดเข้ามาเพาะ ปรากฏว่าขึ้นงอกงามเร็ว มีกิ่งก้านแตกสาขาออกไปมาก จึงพระราชทานชื่อให้ใหม่ว่า "ต้นก้ามปู" ขณะนี้มีอยู่ทั่วประเทศ ใช้เป็นประโยชน์ นอกจากให้ความร่มเย็นแล้ว ยังเป็นที่สำหรับปล่อยตัวครั่งเป็นอย่างดี





ต้นจามจุรีต้นแรกของประเทศไทยปลูกโดยบาทหลวงชาวฝรั่งเศส นำเมล็ดมาจากเวียดนาม นำมาปลูกที่ รร.อัสสัมชัญ ร.ศ. 104


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 12 พ.ค. 16, 19:38

ชมบ้านเรือนริมแม่นํ้าเจ้าพระยา
มีเรือปิดประทุนอย่างรุ่นเก่าๆจอดอยู่
หลังคายังมุงจาก ยังไม่ถึงยุคสังกะสี
ได้มาจากเวปภาษาเยอรมัน ไม่บอกเวลา
บอกแต่ว่าริมแม่นํ้าเจ้าพระยา


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 20 คำสั่ง