เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 84025 รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 03 พ.ค. 16, 21:08

ขอขึ้นกระทู้ใหม่  ต่อจากกระทู้เก่าค่ะ

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5929.0
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 05 พ.ค. 16, 15:19

ขอบคุณครับอาจารย์ใหญ่ 
บางครั้งเราทำอะไรบ่อยๆคนเขาอาจจะคิดว่าเราผิดปกติ
อย่างที่เรียกว่า obsessive compulsive  ยํ้าคิดยํ้าคำ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 05 พ.ค. 16, 16:27

ไม่เห็นย้ำคิดย้ำทำตรงไหนเลยค่ะ   ภาพพวกนี้ดูได้ไม่เบื่อ 
ความจริง กระทู้ควรไปถึง รูปเก่าเล่าเรื่อง 15 แล้วด้วยซ้ำ    ดิฉันปล่อยกระทู้ 10  ยาวเกินไป

อยากจะเขียนนิยายให้ตัวเอกเดินกลับเข้าไปในกรุงเทพสมัยบ้านเมืองยังสวยงาม   มีที่ว่างให้หายใจ   ไม่มีมลพิษ   อย่างภาพข้างบนนี้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 05 พ.ค. 16, 16:53

เสริมรูปเปิดกระทู้

๒ ภาพนี้ถ่ายห่างกัน ๓ ปี  รูปที่สะพานผ่านพิภพลีลายังไม่ได้สร้างถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖ ส่วนรูปที่เห็นสะพานถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ ทางด้านซ้ายคือเรือนจำลหุโทษ ซึ่งต่อมาคือที่ตั้งของรูปปั้นแม่พระธรณีบีบมวยผม  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 06 พ.ค. 16, 12:53

สะพานพระราม 6
เป็นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสะพานแรกของประเทศไทย
ลงนามในสัญญาก่อสร้าง เมื่อ เมษายน พ.ศ. 2465
เริ่มการก่อสร้างเมื่อ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2465
วางหีบพระฤกษ์เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2466 โดย กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เพื่อเชื่อมทางรถไฟฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้ติดต่อกัน
โดยให้บริษัท เล เอตาบริดจ์มองต์ ไตเต ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้รับเหมา
เนื่องจากชนะการประมูลโดยอาศัยค่าเงินฟรังก์ฝรั่งเศสที่อ่อนตัว (1 บาทแลกได้ 5 ฟรังก์)
เมื่อเปรียบเทียบกับเงินปอนด์อังกฤษที่ผูกติดกับทองคำ (1 ปอนด์แลกได้ 11 บาท)
ในเวลานั้นเงินบาทสยามผูกติดกับเงินปอนด์อังกฤษด้วย โดยค่าก่อสร้างเท่ากับ 2,714,113.30 บาท

สะพานสร้างเสร็จในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2469
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่าสะพานพระราม 6
ซึ่งหมายถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6
และโปรดเกล้าฯ ประกอบพิธีเปิดสะพานให้ขบวนรถไฟเดินผ่านข้ามเป็นปฐมฤกษ์ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2469 (นับอย่างปัจจุบันต้องปี พ.ศ. 2470 แล้ว)
ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดยใช้รถจักรไอน้ำ " บอลด์วิน " ล้อแบบแปซิฟิก หมายเลข 226 ทำขบวนเสด็จ

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
สะพานได้ถูกกองทัพสหรัฐและอังกฤษทิ้งระเบิดอย่างหนัก
ในที่สุดช่วงกลางสะพานขาดเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488
และได้ซ่อมแซมใหม่โดยบริษัทดอร์แมนลอง (ผู้รับเหมาจากประเทศอังกฤษที่เคยประมูลการก่อสร้างสะพานพระราม 6 แต่แพ้การประมูลเพราะค่าเงินปอนด์แข็งเกินไป)
และบริษัทคริสเตียนนี แอนด์ นีลเส็น (ไทย) จำกัด (ผู้รับเหมาเดนมาร์กที่ภายหลังได้เป็นผู้รับเหมาไทยเต็มตัวเมื่อปี พ.ศ. 2535 เพราะย้ายฐานมาเมืองไทย มีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นผู้ถือหุ้นสำคัญ)
ในระหว่าง พ.ศ. 2493 - 2496


สะพานพระราม 6 ขณะกำลังระเบิด เมื่อโดนระเบิดจากเครื่องบินสัมพันธมิตร

ภาพเมื่อโดนระเบิดแล้ว  สะพานขาดกลาง ตอม่อแยกจากกัน คานเหล็กขวางยังขาดจากกัน

ภาพสุดท้าย หลังโดนระเบิดใหม่ๆ 2489


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 07 พ.ค. 16, 13:23

พระบรมรูปทรงม้า เปิดเมื่อปี 2451 ในโอกาสเฉลิมฉลองครบ 40 ปีที่ ร 5 ครองราช
พระที่นั่งอนันตสมาคมเริ่มสร้างเมื่อ 2451 เสร็จในปี 2458



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 07 พ.ค. 16, 13:54

ภาพเก่าของวัดพิชยญาติการาม (ตกแต่งเล็กน้อย)
น่าจะยืนถ่ายบนสะพานหกที่อยู่หน้าวัดอนงคารามและอยู่หน้าวัดพิชยฯ ด้วย เป็นคลองสามแยก


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 07 พ.ค. 16, 13:57

วัดอนงคารามที่อยู่ใกล้ๆกันกับวัดพิชยญาติการาม คงจะถ่ายพร้อมๆกัน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 08 พ.ค. 16, 11:42

สะพานมัฆวานรังสรรค์
สะพานมัฆวานรังสรรค์ออกแบบโดย มาริโอ ตามาญโญ สถาปนิกชาวอิตาลี วิศวกรคุมงานคือ นายคาร์โล อัลเลกรี
ลักษณะสถาปัตยกรรมสะพานเป็นแบบอิตาลีผสมสเปน
เป็นสะพานโครงเหล็ก พื้นเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนประดับคือราวสะพานที่เป็นเหล็กหล่อทำลวดลายสวยงาม
ที่กลางราวสะพานด้านนอกประดับดวงตรารูปเศียรช้างเอราวัณ พาหนะของพระอินทร์
หัวมุมสะพานทั้ง 4 มุม มีเสาไฟหินอ่อนรองรับโคมไฟสำริด
ส่วนบนเป็นโลหะสลักลวดลาย ผนังเชิงลาดสะพานประดับด้วยหินอ่อน
นับเป็นสะพานที่สวยงามและโอ่อ่าที่สุดของกรุงเทพมหานครในยุคนั้น

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการออกแบบและก่อสร้างถนนกับสะพานในปี พ.ศ.2443
ใช้เวลาก่อ สร้าง 3 ปีจึงแล้วเสร็จ
เสด็จฯ ไปทรงประกอบพิธีเปิดถนนและสะพานในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2446


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 08 พ.ค. 16, 15:15

วัดอนงคารามที่อยู่ใกล้ๆกันกับวัดพิชยญาติการาม คงจะถ่ายพร้อมๆกัน


เห็นรูปเก่าพวกนี้เปรียบเทียบกับสภาพคลองหน้าวัดในปัจจุบันซึ่งน้ำดำปิ๊ดปี๋ แล้วเศร้าใจจังค่ะ เศร้า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 08 พ.ค. 16, 16:03

เอาคลองน้ำใสมาปลอบใจคุณ Anna ค่ะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 08 พ.ค. 16, 22:07

ชอบสะพานมัฆวานรังสรรค์มากครับ  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 09 พ.ค. 16, 06:21

พบภาพคลองโอ่งอ่างริมวัดสระเกศ 
ตามรูปที่หนึ่งถ้าสังเกตุให้ดีมีความผิดปกติ
ผิดอย่างไรให้เปรียบกับภาพที่สอง 


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 09 พ.ค. 16, 07:01

กลับข้างกัน
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 09 พ.ค. 16, 07:21

กลับข้างกัน

นี้ก็กลับข้าง



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 20 คำสั่ง