เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14
  พิมพ์  
อ่าน: 84026 รูปเก่าเล่าเรื่อง เมืองบางกอก 11
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 23 มิ.ย. 16, 09:55

ร้านค้าหน้าโบสถ์พราหม โค้งถนนบำรุงเมืองถนนดินสอ
ที่อยู่ตรงกันข้ามกับตลาดเสาชิงช้าใหม่


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 24 มิ.ย. 16, 10:05

สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี (พระยศในขณะนั้น)
เสด็จจากประตูพระราชวังดุสิต เพื่อร่วมขบวนรถรางพระที่นั่ง โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
ในงานพิธีฝังน๊อตรางอันสุดท้ายของรถรางสายใหม่อีกสายหนึ่ง ดำเนินกิจการภายใต้ชื่อ บริษัทรถรางไทย
เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๘ (จาก วิกิซอร์ซ https://th.wikisource.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%95/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87)


โดยสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้เสด็จขึ้นประทับบนรถรางพิเศษ
ซึ่งได้จัดที่ไว้เป็นรถพระที่นั่ง พร้อมด้วยรถตามเสด็จอีกรวม ๑๖ คัน
หนึ่งในนั้นก็คือขบวนรถรางที่ประทับของเจ้านายฝ่ายในนั่นเอง
ซึ่งแต่ละคันได้ตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงามมาก
รถรางที่เปิดเดินสายใหม่นี้ คือรถรางสายรอบเมือง หรือที่เรียกว่าสายดุสิตนั่นเอง
และเนื่องจากตัวรถทาด้วยสีแดง จึงเรียกกันอีกชื่อว่า รถรางสายแดงนั่นเอง

ประตูที่เห็นคือประตูวังสวนดุสิต
ปัจจุบันที่ประตูรูปทรงอย่างนี้ยังมีให้เห็น  เช่นประตูชื่อประตูประสาทเทวริทธิ์ ด้านถนนราชวิถี


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 25 มิ.ย. 16, 09:35

พระราชพิธีทรงบรรพชาเป็นสามเณรของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร

ในพุทธศักราช ๒๔๓๔

มีการตกแต่งกระจาดบูชากัณฑ์เทศมหาชาติ เป็นรูปเรือสำเภาใหญ่ใส่เครื่องไทยธรรม
ประกอบด้วยขนม ผลไม้ ข้าวสาร อาหารแห้ง ตามแต่จะหาได้
ซึ่งหม่อมเจ้าหญิง พูนพิสมัย ดิศกุล พระธิดาของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทรงเล่าถึงบรรยากาศงานเมื่อครั้งนั้นเอาไว้อย่างละเอียดในหนังสือ “เรื่องเบ็ดเตล็ดจากสวนดุสิต” ความว่า

“..งานที่น่าตื่นเต้นซึ่งเจ้านายบรรดาที่ทรงมีพระชนมายุพอทันเห็น
จะต้องทรงจำได้ไม่มากก็น้อยอีกงานหนึ่งนั้นก็คืองานเทศน์มหาชาติเครื่องกัณฑ์ใหญ่
งานนี้จัดขึ้นเมื่อสมเด็จพระบรมฯ พระองค์นั้นทรงผนวชเณรตามราชประเพณี
เมื่อทรงผนวชเณรก็จะต้องเสด็จเข้าไปถวายเทศน์
และถวายพระกุศลสมเด็จพระชนกนาถ และสมเด็จพระชนนี สมเด็จพระบรมฯ
ทรงเทศน์มหาชาติกัณฑ์ (รับสั่งว่าดูเหมือนกัณฑ์สักกบรรพ)
ตามธรรมดาเทศน์มหาชาตินั้นไม่ว่ามีที่ไหนก็เป็นงานเอิกเกริกอยู่แล้ว

เมื่อสมเด็จพระบรมฯ เป็นผู้ทรงเทศน์ถวายสมเด็จพระชนกนาถ
งานนั้นก็ย่อมต้องเป็นมหาชาติครั้งพิเศษอยู่เอง 
ศูนย์กลางความครึกครื้นจนคนจำได้ข้ามสมัยนั้นก็คือเครื่องกัณฑ์
ซึ่งจะพระราชทานองค์ธรรมกถึก
เครื่องกัณฑ์ที่เรียกกันว่ากระจาดใหญ่ หมายถึงเครื่องกัณฑ์เทศน์ขนาดใหญ่ต้องใส่กระจาดซ้อนกันมิรู้กี่ชั้นต่อกี่ชั้น
เช่นนี้ ได้เคยมีมาแล้วในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดพระราชทานสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ
เมื่อครั้งทรงผนวชและเสด็จเข้าไปถวายพระธรรมเทศนาในวัง
ครั้งนั้น ถึงกับเรียกกันติดปากเรื่อยมาว่า มหาชาติกระจาดใหญ่
มาคราวนี้เครื่องกัณฑ์ขนาดใหญ่นี้ไม่เป็นรูปกระจาด แต่พิสดารขึ้นไปอีก
เป็นรูปเรือสำเภาอย่างโบราณลำหนึ่ง และเรือกำปั่นอย่างฝรั่งอีกลำหนึ่ง
ตั้งอวดไว้ที่หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์
คนดูกันแน่นตลอดเวลา เพราะเรือทำน่าดูจริงๆ
ที่ว่าน่าดูคือน่าดูความคิดของผู้ทำ เหมือนการเล่นอย่างอื่นๆ ที่ใช้ความคิดสติปัญญาเป็นค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ในสมัยนั้น

ตัวเรือนั้นทำด้วยไม้เป็นโครงใน ข้างนอกใช้อ้อยทั้งๆ ลำมัดตรึงเข้า
สำหรับลำที่เป็นสำเภาพวกลูกเรือตัวทำด้วยน้ำตาล อย่างที่เราเคยเห็นเขาทำสิงโตน้ำตาลไหว้เจ้า
หรือถวายพระเข้าพรรษา ทั้งนี้ เพราะลูกเรือสำเภาเป็นเจ๊กตัวต้องขาว 
สำเภานี้บรรทุกเครื่องกินทุกอย่างจากเมืองจีน ใส่ถังไม้ย่อมๆ พูนปากถัง แลเห็นส้มจีน ลูกพลับ เครื่องจันอับ น่าน้ำลายไหล
แต่พอถึงลำที่เป็นกำปั่น พวกกลาสีแขกนั้นตัวดำเมี่ยม ตรงกันข้ามกับลำโน้น ตัวกลาสีดำเมี่ยมนั้นปั้นด้วยกาละแม
 ทั้งนี้เพราะลูกเรือกำปั่นที่เราเคยรู้จักเห็นกันชินตาโดยมากเป็นพวกแขก เช่น แขกจามซึ่งมีมาแต่ครั้งกรุงเก่า
พวกแขกจามยังมีเชื้อสายมาจนถึงรัชกาลที่ ๕
ส่วนของกินที่บรรทุกเรือลำนี้ก็เป็นของนอกอย่างเมืองฝรั่ง
ส่วนที่พื้นรอบลำเรือทั้งสองมีลูกคลื่นทำแสนที่จะเหมือน มีเต่า ปลา และสัตว์น้ำผุด มีไข่เต่า ไข่จะละเม็ดวางเรียงราย
ล้วนแต่ของกินได้ทั้งนั้น ตามประเภทของทะเล อย่างนี้คนจะไม่ดูกันแน่นอย่างไรได้...”


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 25 มิ.ย. 16, 09:52

ภาพแรกเป็นขบวนแห่สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เข้าพิธีบรรพชาสามเณร
ภาพสองสามคือเครื่องติดกัณฑ์เทศน์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 25 มิ.ย. 16, 10:42

วัดอนงคาราม เสาจุดประทีปหน้าวัดมีสี่ต้น  ต้นด้านซ้ายสุดมองไม่เห็น
ไม่ทราบปีที่ถ่าย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 26 มิ.ย. 16, 12:32

สะพานพระราชเทวี บนถนนพญาไท ที่ข้ามคลองเลียบถนนเพชรบุรี
สร้างครั้งแรกเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก
มีลูกกรงเป็นปูนปั้น ทอดข้ามคลองริมถนนเพชรบุรี
สมเด็จพระปิตุฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีโปรดให้สร้างสะพานนี้ขึ้นเพื่อเป็นสาธารณกุศล
ในโอกาสฉลองพระชนมายุครบ ๕๐ พรรษา
บนป้ายเขียนวันที่ 10 พค. รศ 130
การสร้างสะพานในครั้งนั้นเป็นการดำเนินตามพระราชนิยม
ด้วยทรงมีพระราชประสงค์อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า
เมื่อสร้างสำเร็จทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสะพานนี้ว่า "สะพานพระราชเทวี"
ต่อมาเมื่อมีการถมคลองสร้างถนน สะพานนี้จึงถูกรื้อถอนไป
เป็นที่มาของชื่อเรียก    สี่แยกราชเทวี
ภาพนี้ปี พศ. 2498

ป้ายชื่อสะพานได้รื้อเก็บไว้ที่สวนผักกาด

ส่วนบ้านหลังใหญ่ที่เห็นในภาพคือบ้านของ บ้านม.ร.ว.เทวาธิราช ป มาลากุล
หาอ่านได้ในหลายเวป


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 26 มิ.ย. 16, 14:31

แม่นํ้าเจ้าพระยาเยื้องวัดแจ้ง
ภาพอยู่ในหนังสือของ ฟูร์เนอโร ผู้ตรวจการศิลปศึกษาและพิพิธภัณฑ์ของฝรั่งเศส
เปรียบเทียบภาพวาดกับภาพถ่าย
ฟูร์เนอโร เข้ามาเมืองไทยปี 2435 ภาพนี้น่าจะอยู่ในประมาณปีนั้น


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 27 มิ.ย. 16, 11:29

ภาพถนนเจริญกรุงหน้าโรงหนังศาลาเฉลิมกรุง
น่าจะเป็นสมัยที่เปิดฉายใหม่ๆปี 2476


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 28 มิ.ย. 16, 10:51

 ห้าง B Grimm & Co  ดำเนินกิจการมาตั้งแต่ปี 2421
เริ่มตั้งร้านขายยาในซอยโอเรียลเตล  ถนนเจริญกรุง
ย้ายสถานที่ไปหลายแห่งทั้ง  ปากคลองตลาด แยกสามยอด 
ปัจจุบันทำธุรกิจมาแล้วร่วม 138 ปี  นับเป็นบริษัทแรกๆของไทย
ภาพแรก ห้างบีกริมที่สามยอดปี 2455


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 28 มิ.ย. 16, 11:25

ถนนเจริญกรุงหน้าศาลาเฉลิมกรุง ดูเป็นถนนกว้างขวางมากค่ะ
ราวกับเป็นคนละถนนในปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 28 มิ.ย. 16, 13:58

ดูจากภาพ อาคารศาลาเฉลิมกรุงใหญ่โตมโหฬารมาก เมื่อเทียบขนาดกับผู้คนที่ยืนอยู่ใกล้ๆ
อยู่ยงคงกระพัน ผ่านร้อนหนาว รวมทั้งลูกระเบิดจากท้องฟ้า มาใกล้ร้อยปี สมศักดิ์ศรี เฉลิมแห่งแรกของกรุงฯ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 28 มิ.ย. 16, 14:43

โรงหนังแห่งแรกของไทยคือโรงหนังญี่ปุ่น(หลวง) อยู่ในเวิ้งนาครเขษม
สร้างเมื่อปี 2445   อ.สถิตย์ เสมานิล ได้เล่าว่าไปดูหนังที่โรงนี้เมื่อ ปี 2456 
ซึ่งช่วงนั้นโรงหนังนี้กำลังอยู่ในยุคเสื่อมไม่มีหนังดีมาป้อน
กลายเป็นโรงมโหรสพอื่นมาเล่นแทน   รื้อไปเมื่อราวปี 2459

ปี 2459  มีโรงหนังเวิ้งนาครเขษมมาเปิดแทน  เป็นโรงหนังโรงแรกที่มีอาคารเป็นคอนกรีต
ก่อนหน้านี้โรงหนังเป็นโครงสร้างไม้ หลังคาสังกะสี ไม่ว่าเป็นโรงหนังปีระกา (เปิด ปี 2453 ฉายครั้งแรกไฟไหม้หมด)
 โรงพัฒนากร โรงวังพระองค์เจ้าปรีดา  โรงรัตนะ( จาก อ.ชัย เรืองศิลป์ ไม่รู้ว่าอยู่ตรงไหน?)

พอปี 2476 เรามีศาลาเฉลิมกรุงเป็นโรงหนังมาตราฐาน ชั้นดูเรียงเป็นขั้นบันได ไม่บังกัน ติดแอร์
ต่อมา เรามีโรงหนังติดแอร์โรงที่สอง  คือ โรงหนังโอเดียน ตรงสามแยก
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 29 มิ.ย. 16, 08:24

ถนนสุรวงศ์และถนนเดโชสร้างเมื่อปี 2440

เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ขณะมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสีหราชเดโชชัย
เป็นเจ้าของที่ดินแถบนั้นได้ตัดถนนผ่านที่ดินดังกล่าว ๒ สาย
และได้กราบบังคมทูลถวายถนนให้เป็นถนนหลวง พร้อมขอพระราชทานนามถนน
รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ
พระราชทานนามว่า "ถนนสุรวงศ์" และ "ถนนเดโช"
เพื่อเป็นอนุสรณ์ตามนามบรรดาศักดิ์ของท่านเจ้าของถนน

ภาพหนึ่งและสอง เมื่อปี 2443 เมื่อมองจากถนนสุรวงศ์
ภาพที่สามและสี่เมื่อมองจากถนนเจริญกรุง ห้างขายยาอังกฤษตรางูอยู่ขวามือ




คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 29 มิ.ย. 16, 10:46

ขบวนตำรวจบนถนนอัษฎางค์  ริมกำแพงวัดราชบพิธฯ ปี 2500


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 29 มิ.ย. 16, 19:37

ศาลาเฉลิมกรุงสวยงามมากครับ แท่งที่อยู่กลางถนนไว้ทำอะไรครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 19 คำสั่ง