เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 9175 ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 14 เม.ย. 17, 00:08

แนวการ์ตูนจากพม่า


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ



บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 14 เม.ย. 17, 01:02

.





คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 14 เม.ย. 17, 01:07

Happy Thin Gyan แด่..ชาวเรือนไทย

(มั่วคำตาม caption ในรูปครับ  ไม่ทราบเหมือนกันว่า Thin Gyan แปลว่าอะไร  แต่คงแปลว่า สงกรานต์ นี่แหละครับ)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 14 เม.ย. 17, 17:29

ไม่ทราบเหมือนกันว่า Thin Gyan แปลว่าอะไร  แต่คงแปลว่า สงกรานต์ นี่แหละครับ

Thingyan พม่าออกเสียงว่า ตะจาน เป็นคำเดียวกับ สงกรานต์ ซึ่งมาจากสันสกฤตว่า สงฺกฺรานฺติ सङ्क्रान्ति  พจนานุกรมสันสกฤต-อังกฤษ ให้ความหมายว่า passage of the sun or a planet from one sign or position in the heavens into another
บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 14 เม.ย. 17, 20:06

คห 11

ประดู่มี ๒ ชนิดคือ ประดู่บ้าน Pterocarpus indicus  และ ประดู่ป่า Pterocarpus macrocarpus ชนิดหลังคงเป็นที่คุณธสาครพูดถึง ช่อดอกมีขนาดใหญ่กว่าประดู่บ้าน แต่จะไม่มีค่อยมีดอก ออกดอกไม่ดก หรือออกประปราย


ต้นไม่ซีกโลกเหนือ มักผลัดใบ
ช่วง ตค ถึง ธค ในเขตเมืองหนาว
ช่วง มค ถึง มีค ในเขตร้อน เช่น ประเทศไทย

เมื่อแตกใบใหม่ ตาดอกจะเบ่งบานตามมาติดๆ เผลอๆ ผลิดอกก่อนผลิใบด้วยซ้ำ
เช่น ดอกคูณบางต้น มีแต่ดอก ไม่มีใบ
บางต้นใบและดอกสมน้ำสมเนื้อ

สำหรับต้นประดู่ ใน กทม ที่เห็น เขาเรียกประดู่กิ่งอ่อน เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบดก ดอกสีเข้ม ย้ำๆๆ เป็นไม้เนื้ออ่อน

ส่วนประดู่ป่านั้น ทันทีที่ใบร่วงหมด ใบใหม่จะแตกทันที ยังไม่ทันผลิใบดี กลีบดอกสีเหลืองร่วงกราวบนดิน
บานเร็ว บานไม่นาน อยู่ไม่ทน พรึ่บพรั่บพร้อมเพรียง (สัญญลักษณ์ของลูกประดู่)
ไม้ป่า เช่น ประดู่ ดอกมาตามนัดทุกปี ไม่มีเบี้ยว ย้ำๆๆ เป็นไม้เนื้อแข็ง

ประดู่ มีหลายพันธุ์ ของพม่า เป็นพวกประดู่เลือด ประดู่ส้ม เหมือนไทยแหละ
แต่ปริมาณน้ำฝนมากกว่าบ้านเฮา


ท่านทราบไหม วันที่ 13 เมย เป็นสงกรานต์ของเนปาลด้วย
ส่งหลานชายไปเรียนเมืองแขกดาร์จีลิง เปิดตารางเรียนเขาดู
อ้าว หยุดเหมือนกันเลยนี่ เพราะย่านนั้นนักเรียนเนปาลข้ามเขตมาเรียนแยะ


บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 14 เม.ย. 17, 20:23

จากดาร์จีลิง ลงหิมาลายา จับรถไฟไป Upper Assam
เป็นเมืองแขกที่วัฒนธรรมออกมาทางไทย ทางพม่า
สงกรานต์มีสรงน้ำพระเหมือนบ้านเรา

แขกไม่กินหมู แต่ตลาดอ้สสัมหมูเพียบ และมีประชากรต้นหมาก มากที่สุดในโลก
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 15 เม.ย. 17, 02:11

จากดาร์จีลิง ลงหิมาลายา จับรถไฟไป Upper Assam
เป็นเมืองแขกที่วัฒนธรรมออกมาทางไทย ทางพม่า
สงกรานต์มีสรงน้ำพระเหมือนบ้านเรา
แขกไม่กินหมู แต่ตลาดอัสสัมหมูเพียบ และมีประชากรต้นหมาก มากที่สุดในโลก
เพราะแถบนั้นไม่ใช่แขก  แต่เป็นคนไทครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 15 เม.ย. 17, 02:26

ที่นี่ยังเปลี่ยนศักราชวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑ อยู่เลย

คุณ heha มีรูปเพิ่มเติมไหมครับ?  เล่าเหมือนเคยไปเห็นมา


บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 15 เม.ย. 17, 07:10

สงกรานต์ของไทคำตี้  แคว้นอรุณาจัลประเทศ ประเทศอินเดีย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 15 เม.ย. 17, 07:52

โน้ตบุคนี้มีรูปไม่มาก  จากเมืองหลวงอัสสัม Guwahati
นั่งรถต่อไปแคว้น  Meghalaya (เมืองหลวงคือ Shillong)
คนแถบนี้หน้าตาคล้ายคนไทย ไม่ห่มส่าหรี
นิยมเคี้ยวหมาก แต่ปูนสีขาว ไม่ใช่สีส้มแดง



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ


บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 15 เม.ย. 17, 17:18

คห 22

ที่นี่ยังเปลี่ยนศักราชวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑ อยู่เลย
คุณ heha มีรูปเพิ่มเติมไหมครับ?  เล่าเหมือนเคยไปเห็นมา

ละแวกนี้ไปจนช่ำชอง ทะลุปรุโปร่งไปหมด
เคยจะทิ้งตั๋วขากลับจากกัลกัตตา แล้วใช้วิธีลัดเลาะเข้า Imphal รัฐมณีปุระ กลับเมืองไทยทางบก
แต่คำนวณดูเวลาที่มี ต้องเร่งรีบหมดสนุก เลยล้มแผน

แผ่นดินอินเดียที่ติดพม่านี้ มีฝนตกชุกที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
ที่สูงอากาศเย็น ปลูกไม้เมืองหนาวงามแต้

น้ำตกย่านนี้ใหญ่ยังกับไนแองกาล่า กล้วยเครือหนึ่งยาวกว่าหนึ่งเมตร
หาซื้อเครื่องเทศ ได้ใบกระวานแห้ง เขาฟันมาทั้งกิ่ง
จกให้กำมือหนึ่ง พอใช้ไปห้าปี ได้ในราคา 20 รูปี (11 บาทเท่านั้น)
ใบกระวานใช้ปรุงสตูลิ้นหมู ลิ้นวัว ข้าวหมกก็ได้






บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 15 เม.ย. 17, 17:38

เรียนถามคุณเพ็ญ

Balika ใน คห 24 ไม่ทราบว่าถอดเป็นภาษาไทยได้จังได๋
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 16 เม.ย. 17, 07:27

BALIKA HINDI VIDYALAYA SECONDARY SCHOOL  คือ โรงเรียนมัธยมสตรีฮินดีวิทยาลัย



BALIKA  (बालिका) แปลว่า เด็กผู้หญิง คู่กับ BALAKA (बालक) เด็กผู้ชาย ไทยเราไม่ได้รับคำศัพท์นี้มาใช้ ถ้าจะถอดเป็นไทยคงต้องเขียนตามรูปศัพท์ บาลิกา = เด็กหญิง  บาลกะ (บา-ละ-กะ) = เด็กชาย
บันทึกการเข้า
heha
ชมพูพาน
***
ตอบ: 174


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 16 เม.ย. 17, 10:15

ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
ดูในกูเกิล คำที่คล้าย Balika มีแต่ชื่อสกุล ผาลิกา


ส่วนชื่อแคว้น  Meghalaya  คำว่า megha=เมฆา
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 16 เม.ย. 17, 10:21

มีอีกคำหนึ่งซึ่งแปลอย่างเดียวกัน และไทยเรานำมาใช้คือ

DARAKA (दारक) แปลว่า เด็กชาย เราเอามาใช้เขียนว่า ทารก ในความหมายว่าเด็กแบเบาะ และ DARIKA (दारिका) แปลว่า เด็กหญิง เราเขียนว่า ทาริกา มีความหมายเช่นเดียวกันกับศัพท์เดิม

ส่วนชื่อแคว้น  Meghalaya  คำว่า megha=เมฆา

แค้วน Maghalaya (मेघालय) =  แคว้นเมฆาลัย  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.038 วินาที กับ 20 คำสั่ง