เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 4909 ขอเรียนถามคำว่า "ข้าวห่อไข่" กับ "กระดังงาลนไฟ" ครับ
Wu Zetian
ชมพูพาน
***
ตอบ: 120


 เมื่อ 15 เม.ย. 16, 22:41

ผมสงสัยว่า
1. คำว่า "ข้าวห่อไข่" (Omurice) ในภาษาไทย ทำไมไม่พูดว่า "ไข่ห่อข้าว" เพราะว่าคำกริยา ห่อ / คลุม ในภาษาไทย ใช้กับสิ่งของที่เป็นแผ่นๆ เช่น ผ้าคลุมรถ ไข่(ไข่เจียว)ห่อข้าว ภาษาจีน ใช้ว่า "ตั้นเปาฟั่น" (蛋包饭) ตั้น = ไข่, ไข่ไก่ ; เปา = ห่อ ; ฟั่น = ข้าว เหตุผล เป็นเพราะว่าคนไทยนิยมเรียกอาหารจานเดียวขึ้นต้นด้วยคำว่า "ข้าว+กับข้าว" ใช่ไหมครับ
2. ทำไมคนไทยจึงเปรียบเปรย"กระดังงาลนไฟ" ว่าเป็นผู้หญิงที่เคยผ่านผู้ชายมาแล้วครับ "ดอกกระดังงา" "ลนไฟ" แล้วกลิ่นหอมขจรขจายไปไกล ประหนึ่งว่า ผู้หญิงที่มีกลิ่นไอของเสน่ห์ที่แพรวพราวตราตรึงจิตใจผู้ชายทั่วหล้า ความหมายทำนองนี้ หรือเปล่าครับ

ขอบพระคุณครับสำหรับคำชี้แนะครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 16 เม.ย. 16, 07:31

เหตุผล เป็นเพราะว่าคนไทยนิยมเรียกอาหารจานเดียวขึ้นต้นด้วยคำว่า "ข้าว+กับข้าว" ใช่ไหมครับ

คงไม่ใช่อย่างนั้น มีอาหารที่ขึ้นต้นด้วย "ข้าวห่อ" อีกหลายชนิด เช่น "ข้าวห่อใบบัว" "ข้าวห่อสาหร่าย" ที่มีข้าวนำหน้าเนื่องจากส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดในอาหารเหล่านี้คือ "ข้าว" นั่นเอง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 16 เม.ย. 16, 07:47

"ดอกกระดังงา" "ลนไฟ" แล้วกลิ่นหอมขจรขจายไปไกล ประหนึ่งว่า ผู้หญิงที่มีกลิ่นไอของเสน่ห์ที่แพรวพราวตราตรึงจิตใจผู้ชายทั่วหล้า ความหมายทำนองนี้ หรือเปล่าครับ

การลนไฟดอกกระดังงาเพื่อให้กลิ่นน้ำมันหอมในดอกระเหยออกมาได้กลิ่นหอมมากขึ้น  "ไฟ" คือ กามคุณ "กระดังงา" คือ หญิงสาว ส่วน "กลิ่นหอม" คือ ชั้นเชิงทางปรนนิบัติและเอาอกเอาใจ ท่านรอยอินจึงสรุปความหมายของสำนวนนี้ว่า "หญิงที่เคยแต่งงานหรือผ่านผู้ชายมาแล้ว ย่อมรู้จักชั้นเชิงทางปรนนิบัติและเอาอกเอาใจผู้ชายได้ดีกว่าผู้หญิงที่ยังไม่เคยแต่งงาน"

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 16 เม.ย. 16, 09:24

อ้างถึง
ผมสงสัยว่า
1. คำว่า "ข้าวห่อไข่" (Omurice) ในภาษาไทย ทำไมไม่พูดว่า "ไข่ห่อข้าว" เพราะว่าคำกริยา ห่อ / คลุม ในภาษาไทย ใช้กับสิ่งของที่เป็นแผ่นๆ เช่น ผ้าคลุมรถ ไข่(ไข่เจียว)ห่อข้าว ภาษาจีน ใช้ว่า "ตั้นเปาฟั่น" (蛋包饭) ตั้น = ไข่, ไข่ไก่ ; เปา = ห่อ ; ฟั่น = ข้าว เหตุผล เป็นเพราะว่าคนไทยนิยมเรียกอาหารจานเดียวขึ้นต้นด้วยคำว่า "ข้าว+กับข้าว" ใช่ไหมครับ

ความหมายที่แท้จริงของศัพท์แบบนี้  คือมีคำว่า "ด้วย" ที่คนไทยเว้นไว้ เพราะเข้าใจได้เอง   แต่คนต่างชาติอาจจะงง
คุณ Wu  ลองเติมคำว่า "ด้วย" ลงไปอีกคำหนึ่ง แล้วจะเข้าใจความหมาย ค่ะ

ข้าวห่อไข่  = ข้าวห่อ(ด้วย)ไข่
ข้าวห่อสาหร่าย = ข้าวห่อ(ด้วย)สาหร่าย
ข้าวห่อใบบัว  = ข้าวห่อ(ด้วย)ใบบัว

ส่วน ผ้าคลุมรถ เป็นคนละอย่างกัน   เอาคำว่า ด้วย มาขยายไม่ได้    มันไม่ใช่ ผ้าคลุมด้วยรถ   
แต่ถ้ามีประโยคว่า  รถคลุมผ้า ๑ คัน  จอดอยู่ในโรงรถ     คุณเติมคำว่า ด้วย ลงไป ก็จะเข้าใจความหมาย  ค่ะ
บันทึกการเข้า
Wu Zetian
ชมพูพาน
***
ตอบ: 120


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 16 เม.ย. 16, 09:45

@ท่านอาจารย์เพ็ญชมพู @ท่านอาจารย์เทาชมพู
ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 17 เม.ย. 16, 00:44

ข้าวราดแกง ก็มาแบบเดียวกับ ข้าวห่อไข่
มันเป็นคำประสม  ที่เอาคำมารวมกันเกิดเป็นคำใหม่ 
เวลาอธิบายให้ชาวต่างชาติฟัง(ที่เรียนภาษาไทย)  ก็บอกไปเลยว่า  คำเหล่านี้ "ต้องจำเอา"  ไม่ต้องคำนึงถึงรูปประโยค ประธาน-กริยา-กรรม
เยอะแยะเลยครับ  คำพวกนี้  ถกกันไม่ไหวทีเดียว
น้ำจิ้มไก่  ไม่รู้อะไรจิ้มอะไรกันแน่
สนามบิน  อันนี้ถ้าถอดเป็นภาษาอังกฤษแบบคำต่อคำ  ฝรั่งขำกลิ้ง

ขันทองคำลงยา กับ ขันลงหิน  คู่นี้ก็แปลกนะ
ลงยา เป็นคำกริยาในลักษณะเดียวกับ ลงรัก
ลงหิน เป็นคำกริยาในลักษณะเดียวกับ ลงค้อน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 17 เม.ย. 16, 07:08

มีอาหารที่ขึ้นต้นด้วย "ข้าวห่อ" อีกหลายชนิด เช่น "ข้าวห่อใบบัว" "ข้าวห่อสาหร่าย" ที่มีข้าวนำหน้าเนื่องจากส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดในอาหารเหล่านี้คือ "ข้าว" นั่นเอง

อาหารบางอย่างก็ให้ความสำคัญของส่วนประกอบไม่เหมือนกันแล้วแต่เหตุผลของแต่ละคน เช่น

น้ำปลาพริก  (ไม่เคยเรียกพริกน้ำปลา)   ถ้ากินอาหารไทยแล้วขาดน้ำปลาพริก  มันเหมือนขาดเครื่องปรุงสำคัญ


พริกน้ำปลา เครื่องปรุงรสเคียงคู่อาหารไทย... ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 17 เม.ย. 16, 08:45

ปัญหาของโครงสร้างภาษาไทย คือเอากฎเกณฑ์ตายตัวไม่ได้     แม้บางอย่างจะคล้ายภาษาอังกฤษ เช่น ประธาน+กริยา+ กรรม
แต่พอมาถึงศัพท์อย่างข้างบนนี้  กฎเกณฑ์ก็ไม่ครอบคลุม   
คนไทยเราเข้าใจศัพท์ต่างๆด้วยความเคยชินมากกว่าจะมานึกถึงความผิดถูกของการเรียงศัพท์

ศัพท์จำนวนมา   เว้นคำไว้ในฐานที่เข้าใจ   คนไทยเข้าใจเอาเองได้ไม่ยาก   แต่พอคนต่างชาติมาเรียนก็เกิดปัญหา อย่างข้าวห่อไข่  ถ้าเติมคำว่า ด้วย ลงไป เขาก็เข้าใจง่ายขึ้น
น้ำปลาพริก หรือพริกน้ำปลา       เติมคำว่า "ใส่" ลงไป อาจเข้าใจความหมายว่ามันก็ใช้ได้ทั้งสองคำ
น้ำปลา(ใส่)พริก    หรือ พริก(ใส่)น้ำปลา
ถ้ารินน้ำปลาใส่ลงในถ้วย  ตักพริกใส่ลงไป   ก็เป็นน้ำปลา(ใส่)พริก
ถ้าตักพริกใส่ถ้วยก่อน   เติมน้ำปลาลงไป  ก็เป็น พริก(ใส่)น้ำปลา
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 17 เม.ย. 16, 10:43

เจอพริกน้ำปลาแบบนี้ต้องเจอ "ข้าวราดแกง" หรือ "แกงราดข้าว"  ตกใจ อิอิ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 17 เม.ย. 16, 10:55

ข้าวราด(ด้วย)แกง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 17 เม.ย. 16, 11:09

มีอีกคำหนึ่งที่มีความหมายคล้าย ๆ คำข้างบน คือ "ข้าวแกง" ซึ่งไม่มีการเรียกว่า "แกงข้าว" เด็ดขาด

มีอาหารญี่ปุ่นอยู่รายการหนึ่งคนไทยเรียกว่า "ข้าวแกงกะหรี่ญี่ปุ่น" (kare raisu -  カレーライス) จริง ๆ แล้วหน้าตาของอาหารรายการนี้ดูดี ๆ ไม่ใช่ "ข้าวราดด้วยแกงกะหรี่" เลย เพราะข้าวกับแกงต่างคนต่างอยู่ในจานเดียวกัน แต่ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทยหรือญี่ปุ่น คำสำคัญในชื่ออาหาร คือ ข้าว หรือ  raisu เนื่องจากเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาหาร

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 17 เม.ย. 16, 11:13

เค้าอยู่ด้วยกันตั้งนานแล้วละตัว  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 17 เม.ย. 16, 11:29

หากค้นภาพจาก คุณกุ๊ก ด้วยคำว่า カレーライス จะได้ภาพข้าวแกงกะหรี่ญี่ปุ่นต้นตำรับขนานแท้  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 17 เม.ย. 16, 12:07

เหมือนอย่างในสมัยรัชกาลที่ ๔ การประทับตราในพระราชสาส์นทั้งหลายโบราณเรียกว่า "ปิดตรา" คือการผนึกประทับตราครั่งแดงบนเอกสาร จนรัชกาลที่ ๔ ทรงประกาศให้ข้าราชการอย่าได้เรียก "ปิดตรา" เลยเหมือนเอามือมาปิดมาบังไม่เหมาะ ควรเรียกว่า "ตีตรา"


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 17 เม.ย. 16, 13:25

อาหารที่ขึ้นต้นด้วย "ข้าว" อีกอย่างหนึ่ง "ข้าวต้มมัด" น่าสงสัยว่าคำว่า "ต้ม" อยู่ขั้นตอนไหน ในคลิปแสดงวิธีทำจะเห็นแต่ขั้นตอน "ผัด" กับ "นึ่ง"

บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 20 คำสั่ง