siamese
|
ความคิดเห็นที่ 30 เมื่อ 01 พ.ค. 16, 18:49
|
|
พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับที่พระที่นั่งอภิเษกดุสิตให้จิตรกรชาวต่างประเทศและจิตรกรชาวไทยวาดพระบรมสาทิศลักษณ์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Koratian
|
ความคิดเห็นที่ 31 เมื่อ 02 พ.ค. 16, 01:44
|
|
จิตรกรทั้งสองท่านในรูปคือ Cesare Ferro กับ หลวงสรลักษณ์ลิขิต
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Koratian
|
ความคิดเห็นที่ 32 เมื่อ 02 พ.ค. 16, 01:49
|
|
จิตรกรสามท่านต่อไปนี้อายุน้อยเกินกว่าที่จะเป็นผู้วาดภาพพระบรมรูปเขียน ๕ รัชกาลในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทได้ ขอตัดออกจากการพิจารณาก่อน
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Koratian
|
ความคิดเห็นที่ 33 เมื่อ 02 พ.ค. 16, 02:07
|
|
ยังเหลือทางเลือกจิตกรฝีมือระดับปรมาจารย์รุ่นใหญ่อีกเพียบ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Koratian
|
ความคิดเห็นที่ 34 เมื่อ 03 พ.ค. 16, 15:28
|
|
ในวลาดังกล่าว ภาพถ่าย ฉลองพระองค์ และ เครื่องราชฯ ที่ใช้เป็นแบบ รวมทั้งรูปดาบฝรั่ง และ ท่าทางชาวสยาม มีพร้อมแล้ว เหลือ ข้อมูลประกอบการจินตนาการลักษณะพระพักตร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Koratian
|
ความคิดเห็นที่ 35 เมื่อ 05 พ.ค. 16, 19:48
|
|
ในการหาข้อมูลเพื่อวาดภาพบุคคลที่ไม่สามารถมาเป็นแบบได้จริง จิตรกรอาจรวบรวมข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้นๆ เช่น ชีวประวัติ คำบรรยายลักษณะจากผู้ที่เคยพบเห็น ภาพถ่าย ข้อมูลสภาพแวดล้อม ครอบครัว ผู้เกี่ยวข้อง ในกรณีนี้หากได้รวบรวมภาพถ่ายของบุตรก็อาจเป็นประโยชน์ต่อการจินตนาการประกอบการทำแบบร่างต่อไป
ดังที่ได้เรียนไว้แล้วว่า การหาลักษณะของพ่อแม่จากบุตรทำได้ค่อนข้างยากเนื่องจากเป็นการแก้ปัญหาย้อนกลับ อย่างไรก็ตามในบางกรณีมีความเป็นไปได้ที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว
พิจารณากรณีสมมุติ ครอบครัวชาวสยามสมัยก่อน ชายคนหนึ่ง (A) มีภรรยาสี่ท่าน (B C D และ E) มีบุตรเกิดจาก ภรรยาแต่ละท่าน บุตรแต่ละคนจะมีลักษณะปรากฏที่ถ่ายทอดจากบิดามารดา อาจมีสัดส่วนมากน้อยต่างกัน
O1 = (x1)A + (y1)B O2 = (x2)A + (y2)C O3 = (x3)A + (y3)D O4= (x4)A + (y4)E
อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาลักษณะปรากฏของบุตรแล้ว มีความเป็นไปได้ที่จะสามารถแยกลักษณะเด่นของบิดาออกมาได้
O-bar = [O1 + O2 + O3 + O4]/4 = [(x1)A + (y1)B+ (x2)A + (y2)C + (x3)A + (y3)D + (x4)A + (y4)E]/4 = [( (x1) + (x2) + (x3) + (x4) )/4]A + [ (y1)B+ (y2)C + (y3)D + (y4)E]/4
O-bar = [x-bar] A + [(y1)B+ (y2)C + (y3)D + (y4)E]/4
ลักษณะเด่นปรากฏของบิดา (A) ยังคงปรากฏอยู่ใน ภาพจำลองลักษณะเฉลี่ยของบุตร แต่ลักษณะจากมารดาแต่ละท่านจะลดลงและอาจ “flat out” ในบางกรณี และหากมีจำนวนบุตรเยอะยิ่งทำให้การแยกลักษณะเด่นปรากฏของบิดาออกมาได้ง่ายขึ้น เราจะลองใช้วิธีนี้ในการจำลองภาพช่วยจินตนาการลักษณะเด่นปรากฏของบิดาต่อไป
สิ่งหนี่งที่มนุษย์ทำได้ดีกว่าเครื่องจักรกลคือการจินตนาการ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Koratian
|
ความคิดเห็นที่ 36 เมื่อ 10 พ.ค. 16, 11:25
|
|
ในกรณีของพระบรมรูปเขียน รัชกาลที่ ๓ จิตรกรเมื่อรวบรวมภาพของพระราชโอรส-พระราชธิดา ของรัชกาลที่ ๓ ไว้พิจารณาแล้ว อาจใช้จินตนาการในการดึงลักษณะเด่นของพระราชบิดา และถ่ายทอดออกมาในพระบรมรูปเขียนได้
จากโมเดลข้างต้น เราลองสร้างรูปประกอบจินตนาการ พระลักษณะของรัชกาลที่ ๓ เริ่มจากข้อมูลพระรูปถ่ายของพระราชโอรส-พระราชธิดา ๘ พระองค์ จะเห็นว่าเมื่อประสานภาพทั้งหมดเข้าด้วยกันลักษณะเด่นด้านปรากฏตามภาพซ้ายมือของแผนผังยังคงอยู่ ท้ายที่สุดเราจะได้ภาพประกอบจินตนาการว่า พระลักษณะรวมของพระราชบุตรที่มีลักษณะเด่นของพระราชบิดา เป็นอย่างไร
จากการเปรียบเทียบผมสรุปว่า จิตรกรผู้วาดต้นฉบับ มีฝีมือ และพรสวรรค์เป็นเลิศ สามารถถ่ายทอดพระลักษณะออกมาได้อย่างสมเหตุสมผล และ พระบรมรูปเขียนในพระที่นั่งจักรีสามารถใช้อ้างอิงได้ครับ
|
|
|
|
Koratian
|
ความคิดเห็นที่ 37 เมื่อ 10 พ.ค. 16, 19:33
|
|
กรณีพระบรมรูปเขียน รัชกาลที่ ๒
ใช้ข้อมูลภาพเฉลี่ยจาก พระรูปของพระราชโอรส ต่างพระมารดา จำนวน ๔ พระองค์ ได้ลักษณะเด่นปรากฏค่อนข้างชัดเจน
ได้รูปประกอบจินตนาการดังนี้ครับ จะเห็นได้ว่าจิตรกรสามารถวาดพระบรมรูปออกมาได้อย่างดียิ่ง
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Koratian
|
ความคิดเห็นที่ 38 เมื่อ 11 พ.ค. 16, 12:51
|
|
กรณีพระบรมรูปเขียน รัชกาลที่ ๓
คำนวณใหม่โดยใช้ข้อมูลภาพเฉลี่ยจาก พระรูปของพระราชโอรส ต่างพระมารดา จำนวน ๔ พระองค์
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Koratian
|
ความคิดเห็นที่ 39 เมื่อ 11 พ.ค. 16, 14:05
|
|
กรณี พระบรมรูปเขียน รัชกาลที่ ๑
ใช้วิธิที่แตกต่างออกไปเล็กน้อยในการสร้างรูปจำลองเพื่อการเปรียบเทียบ
ข้อสรุปยังคงเดิมคือ พระบรมรูปเขียนในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทมีความน่าเชื่อถือ จิตรกรสามารถสร้างผลงานออกมาได้ดีเยี่ยม เป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาติ
ผมคิดว่าได้นำเสนอข้อมูลตอบและคำถามนี้ในอีกมุมมองหนึ่งแล้ว ท่านอื่นจะมีข้อสรุปเป็นอย่างอื่นอย่างใด ก็สุดแท้แล้วแต่การพิจารณาของแต่ละบุคคลครับ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|