เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 17034 ถามเรื่องพระลักษณะของรัชกาลที่ ๑ ครับ
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 12 เม.ย. 16, 15:49


เปรียบเทียบภาพจำลอง O' กับภาพจริง O1
ของ หม่อมราชวงศ์จักรทอง ทองใหญ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

credit : ใช้โปรแกรม FotoMorph ดาวน์โหลดได้ฟรี

ต่อไปเราจะหาวิธีการคล้ายๆกันนี้ ลองแก้ปัญหาย้อนกลับดูว่า พระบรมรูปวาดของรัชกาลที่ ๒ และ ๓
และภาพจำลองจะมีความเหมือนหรือต่างกันประการใด


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 18 เม.ย. 16, 18:25


การแก้ปัญหาแบบย้อนกลับ (inverse problem) จะมีความซับซ้อนมากกว่าปัญหาปกติ
และ อาจได้คำตอบที่เป็นไปได้มากกว่าหนึ่งอย่าง หรือ เป็นคำถามปลายเปิดได้
ยกตัวอย่างเช่น
ปัญหา  6+5 = X  คำตอบคือ  X = 11

แต่ถ้าจะถามว่าผลบวก  A + B = 11 แล้ว  A เป็นเท่าใด คำตอบจะเป็นไปได้หลายกรณี

คล้ายๆ กัน ถ้าเรามีกลุ่มลักษณะของบุตร แล้วยังไม่สามารถหาตรงๆ ได้ว่า บิดา-มารดา มีลักษณะอย่างใด 
จำเป็นต้องใช้ข้อสมมุติฐานเพิ่มเติม

ยกตัวอย่างเช่น กรณีครอบครัวของหม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่ และ หม่อมลุดมิลา ทองใหญ่ ณ อยุธยา
ให้ บิดา = A  มารดา = B
สมมุติว่าบุตรแต่ละท่านมีลักษณะปรากฏของบิดาและมารดาในสัดส่วนที่แตกต่างกัน

O1 = (x1)A + (y1)B   เช่น  O1 = 0.5 A  + 0.5 B
O2 = (x2)A + (y2)B   เช่น  O2 = 0.6 A  + 0.4 B   
O3 = (x3)A + (y3)B
O4 = (x4)A + (y4)B

สมมุติเราหาลักษณะปรากฏบุตรเฉลี่ย
O-bar = (O1+O2+O3+O4)/4
         = (x-bar) A + (y-bar) B
ก็ยังไม่สามารถแยก A และ B ออกจากกันได้

กรณีลักษณะปรากฏ เราหาผลรวมเฉลี่ย (O1+O2)/2 ได้ แต่หาผลต่าง (O1-O2)/2 ไม่ได้
ดังนั้นเรายังไม่สามารถแก้ปัญหาย้อนกลับได้ว่า A และ B เป็นเท่าใด 

อย่างไรก็ตาม ปัญหาพระบรมลักษณะปรากฏ ของรัชกาลที่ ๒ และ รัชกาลที่ ๓
กลับกลายเป็นว่ายังมีแนวทางที่พอหาทางออกได้ และเป็นลักษณะพิเศษของราชสำนักทางตะวันออก
ซึ่งเราจะได้พิจารณาวิธีการและผลที่ได้ต่อไป
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 18 เม.ย. 16, 18:47


เราจะพยายามหาข้อสนับสนุนว่า พระบรมรูปวาด รัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๒ รัชกาลที่ ๓
ใน gallery of kings ของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ซึ่งวาดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕
มีความเหมือนจริง เป็นได้มากน้อยเพียงใด

ก่อนอื่น ลองสมมุติว่าเราเป็นจิตรกรชาวต่างประเทศ ถูกว่าจ้างให้วาด พระบรมรูปวาดดังกล่าว
เราจะต้องเตรียมตัว ทำ study อย่างไรบ้าง



บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 21 เม.ย. 16, 13:11


ขอนำภาพที่ได้จากผลการวิเคราะห์บางส่วนมาลงก่อน


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 22 เม.ย. 16, 13:51

พระบรมสาทิศลักษณ์รัชกาลที่ ๑ และ รัชกาลที่ ๓ ปรากฎหนังสือ ก.ศ.ร.


บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 22 เม.ย. 16, 14:18

ผมเข้าใจว่าพระบรมสาทิสลักษณ์ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท น่าจะวาดโดยอาศัยพระบรมรูปในปราสาทพระเทพบิดรเป็นแบบนะครับ ไม่น่าจะถึงขั้นไปเอาเชื้อสายมาเป็นส่วนในการตัดสินใจ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 23 เม.ย. 16, 07:05


จากรายละเอียดต่างๆ ของพระบรมรูปเขียนในพระที่นั่งจัถรี
เช่น ลักษณะพระพักตร ท่ายืนประทับ เครื่องทรง เครื่องประดับ
ค่อนข้างชัดเจนว่า ไม่ได้ใช้พระบรมรูปหล่อเป็นต้นแบบครับ
โดยเฉพาะพระบรมรูป รัชกาลที่ 2 และ รัชกาลที่ 3
ส่วนรัชกาลที่ 4 และ รัชกาลที่ 5 ใช้ถาพถ่ายเป็นแบบหลัก

จิตรกรผู้วาดภาพทั้ง 5 เป็นชาวต่างประเทศที่ปัจจุบัน
เราไม่ทราบว่าเป็นผู้ใดแน่ ต้องสืบหากันต่อไป
เรื่องนี้ผมสนใจมากพอสมควรเพราะพระบรมรูปเขียน
ในพระที่นั่งจักรีเป็นต้นแบบของรูปอื่นๆต่อไปอีกมากมาย
และถูกนำไปใช้อ้างอิงพระลักษณะสามรัชกาลกันอย่างแพร่หลาย

ถ้าเรามีวิธีตรวจสอบความถูกต้องของพระลัษณะได้
ก็จะเป็นการยืนยันความแม่นตรงของพระบรมรูปเขียนในพระที่นั่งจักรีได้เป็นอย่างดี
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 23 เม.ย. 16, 19:27


พระบรมรูปเขียนที่ประดับในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในคราวแรกสร้างนั้น
น่าจะมีการวาดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ทั้ง ๕ รัชกาล โดยจิตรกรชาวต่างประเทศ
ศิลปินอาจเป็นชาวอิตาลี หรือฝรั่งเศส ปัจจุบันเราไม่มีข้อมูลชัดเจน

พระรูปเขียนรัชกาลที่ ๔ ชัดเจนว่าใช้พระบรมฉายาลักษณ์เป็นแบบ



บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 24 เม.ย. 16, 07:49


การจัดวางองค์ประกอบของพระบรมรูปเขียนประทับยืนเป็นไปตามสมัยนิยมในขณะนั้น


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 24 เม.ย. 16, 15:25


จากรายละเอียดต่างๆ ของพระบรมรูปเขียนในพระที่นั่งจัถรี
เช่น ลักษณะพระพักตร ท่ายืนประทับ เครื่องทรง เครื่องประดับ
ค่อนข้างชัดเจนว่า ไม่ได้ใช้พระบรมรูปหล่อเป็นต้นแบบครับ
โดยเฉพาะพระบรมรูป รัชกาลที่ 2 และ รัชกาลที่ 3
ส่วนรัชกาลที่ 4 และ รัชกาลที่ 5 ใช้ถาพถ่ายเป็นแบบหลัก



ผมพูดถึงเฉพาะ ๓ รัชกาลแรกครับ

เรื่องท่ายืนหรือฉลองพระองค์ ส่วนตัวผมคิดว่าเป็นจุดที่ไม่น่านำมาพิจารณาครับ
เพราะอย่างไรเสียทั้ง ๓ รัชกาลแรกก็ไม่ได้มาทรงเอาพระองค์จริงมาเป็นแบบให้อยู่แล้ว จะวาดอย่างไรก็ได้ แค่ให้พระพักตร์และพระสรีระดูใกล้เคียง
โดยอาจจะมีผู้ที่เอาฉลองพระองค์ รวมถึงข้าวเครื่องใช้ต่างๆ มาเป็นแบบสำหรับจิตรกรแทน

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ อย่างไรเสียพระพักตร์ก็ต้องเอาจากพระบรมรูปในปราสาทพระเทพบิดรเป็นแบบครับ เพราะเป็นพระบรมรูปเพียงหนึ่งเดียวที่สร้างจากบุคคลที่เกิดทันพระองค์ให้ข้อมูล
ส่วนอีกสองรัชกาล เท่าที่ดูเอาก็มีความใกล้เคียงอยู่ ไม่ได้ต่างมากกมายขนาดนั้น อาจจะดูต่างเพราะพระบรมรูปเป็นทองและไม่มีดวงพระเนตร อีกทั้งการคาดคะเนพระสรีระของแต่ละองค์ ก็น่าจะเอาจากพระบรมรูปเป็นต้นแบบนั่นเอง ซึ่งก็เห็นได้อยู่ว่าในพระบรมสาทิสลักษณ์ของรัชกาลที่ ๓ ทรงพีกว่ารัชกาลที่ ๑ ครับ

และการอ้างอิงพระบรมรูปน่าจะเชื่อถือได้พอสมควร เพราะก่อนจะหล่อองค์จริงก็น่าทำแบบหล่อออกมาให้เหมือนที่สุดแล้ว โดยให้ผู้รู้ช่วยกันปรับแก้ไปให้เหมือนสุด ดังในพระบรมรูปรัชกาลที่ ๑ ซึ่งอีกสองรัชกาลไม่น่าจะต่างกัน
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 24 เม.ย. 16, 22:41


เรียนให้ทราบข้อสรุปของผมก่อนคือ พระบรมรูปเขียนในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
รัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๒ รัชกาลที่ ๓ ในส่วนของพระลักษณะพระพักตรนั้นน่าเชื่อถือและใช้อ้างอิงได้

ประเด็นคือ เราจะมีแสดงวิธีตรวจสอบย้อนกลับอย่างไร
การมองว่าเหมือนหรือไม่เหมือนบางครั้งต้องใช้ความรู้สึกและจิตวิทยารอบด้านเข้ามีอิทธิพลช่วยตัดสินใจ

ลองเปรียบเทียบ พระบรมรูปหล่อรัชกาลที่ ๔ กับพระบรมฉายาลักษณ์
พระบรมรูปนี้หล่อในคราวเดียวกันทั้ง ๔ องค์ และ บุคคลร่วมสมัยลงความเห็นว่าเหมือนมากที่สุด
ในเวลานั้น ช่างปั้นสยามยังเพิ่งเริ่มสะสมฝีมือปั้นรูปบุคคลจริง
จะเห็นได้ว่าแม้ว่าจะปั้นอย่างสุดฝีมือแล้ว ยังมีความแตกต่างจากพระบรมฉายาลักษณ์อยู่หลายส่วน

เห็นได้ชัดว่าจิตรกรผู้เขียนพระบรมรูปเขียน ๕ รัชกาลในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทมีความชำนาญมากพอ
ที่จะถ่ายทอดความเหมือนจริงจากภาพถ่ายนำใส่เข้าไปไว้ในภาพวาด
เมื่อเปรียบเทียบภาพแล้วก็ค่อนข่างชัดเจนว่า จิตรกรไม่ได้ใช้พระบรมรูปหล่อเป็นแบบหลัก
ในการสร้างสรรผลงานพระบรมรูปเขียน รัชกาลที่ ๒ และ รัชกาลที่ ๓

ส่วนกรณีพระบรมรูปเขียนรัชกาลที่ ๑ ขอยกไว้ก่อน จะขออภิปรายในภายหลัง
ช่วงนี้ขออภิปรายเรื่องพระบรมรูปเขียน รัชกาลที่ ๒ และ รัชกาลที่ ๓ ก่อนครับ

ผมเชื่อว่าจิตรกรได้วาดพระบรมรูปเขียนนี้ใน studio ต่างประเทศ
และใช้ข้อมูลหลักฐานภาพถ่ายต่างๆ ประกอบการจินตนาการ และได้ผลงานที่งดงามในที่สุด 


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 25 เม.ย. 16, 10:36


ขยายความเพิ่มเติม
จิตรกรมีฝีมือชนิดที่ว่าสามารถวาดภาพตามแบบพระบรมรูปหล่อให้ออกมาแบบตรงๆก็ได้
แต่จากผลงานที่ปรากฏ จิตรกรเลือกที่จะสร้างผลงานให้เหมือบุนคคลจริงมากไปกว่านั้นอีก
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 27 เม.ย. 16, 22:55


เท่าที่ทราบจิตรกรชั้นครูนั้นเขามักจะพิถีพิถันในการสร้างผลงานมาก
จะต้องรวบรวมข้อมูลเพื่อทำภาพร่างให้ถูกต้อง ถูกใจเสียก่อนที่จะลงมือวาดงานจริง




บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 29 เม.ย. 16, 16:30

หลังจากได้มีการหล่อพระบรมรูป ๔ รัชกาลเรียบร้อยแล้ว และระหว่างการก่อสร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทที่ได้เริ่มวางศิลฤกษ์ใน พ.ศ. ๒๔๑๘ เวลาผ่านมาได้ ๒ ปีแล้วตามพระราชกิจรายวัน พ.ศ. ๒๔๒๐
ทรงระบุว่ามีการปรึกษาหารือกันเรื่องรูปเขียนในพระที่นั่ง ว่าด้วยมิสเตอร์แคสเวลเข้ามาปรึกษาเรื่องจะเขียนรูปในพระที่นั่ง และตรัสถึงช่างไทยให้ไปร่ำเรียนไว้ นี่อาจจะเป็นข้อมูลเล็กๆ ให้ค้นหาต่อไป


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 01 พ.ค. 16, 13:34

มีการจัดงานนิทรรศการที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลชิดลม
ระหว่างวันที่ 6 มิถุนายน – 6 กรกฎาคม 2551
เป็นการย้อนรอยประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์   ผ่านงานศิลปะของ กาลิเลโอ คีนี
ซึ่งเป็นจิตรกรเอกชาวอิตาเลียน ผู้ซึ่งได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
ให้เขียนภาพจิตรกรรมตกแต่งภายในพระที่นั่งอนันตสมาคม


กาลิเลโอ คีนิ เข้ามาสยามพร้อมช่างปิดทอง และช่างปูนปั้น 2 คน (มาทำงาน ปี 2454-2456)
คีนิ ทำหน้าที่ช่างเขียน ติดต่อประสานงาน เพื่อให้รู้และเข้าใจและเป็นประโยชน์ต่อการทำงาน ตามสัญญาดำเนินงาน 30 เดือน
โดยภาพเขียนในพระที่นั่งอนันตสมาคมทั้งหมด เขียนจากเหตุการณ์สำคัญในพระราชวงศ์จักรี
อาทิ ภาพเขียนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 6
ภาพรัชกาลที่ 1 เสด็จกลับจากการสงคราม และสถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี
… ภาพรัชกาลที่ 5 ทรงเปิดการค้าสยามกับโลกตะวันตก การเลิกทาส และด้านหนึ่งเป็นพระที่นั่งอนันตสมาคมขณะก่อสร้าง
… และภาพรัชกาลที่ 4 ในฐานะทรงมีพระราชูปถัมภกต่อพระพุทธศาสนา



ในปีสุดท้ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาต
ให้เรียก กาลิเลโอ คินี จากประเทศอิตาลีเข้ามาเขียนจิตรกรรมประดับท้องพระโรง พระที่นั่งอนันตสมาคม
ซึ่งเขาเดินทางมาถึงสยาม เมื่อเดือนกันยายน 2454
ตรงกับปีแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทันเข้าร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในเดือนธันวาคม

กาลิเลโอ คีนิ จะเห็นภาพเมืองสยามเมื่อกว่า 100 ปีก่อน ซึ่งในวันนี้ได้กลายเป็นประวัติศาสตร์ไปแล้ว
ได้เก็บภาพในอดีตผ่านปลายพู่กันและสีสันตระการตา เพื่อบันทึกบรรยากาศที่เงียบสงบ เช่น ภาพเขียนในวัด ภาพบ้านที่สงบอยู่ริมน้ำ
หรือบางครั้งก็อาจจะเต็มไปด้วยพลังแห่งความเคลื่อนไหว เช่น ภาพวันตรุษจีนในเมืองพระนคร
รวมไปถึงสีขาว-ดำ ของภาพถ่ายโบราณในชุดภาพถ่ายสะสมของคีนิอีกด้วย

ในการจัดงานครั้งนี้ เปาลา โปลีโดริ คีนิ (Paolo Polidori Chini) ทายาทคนเดียวของกาลิเลโอ คีนิ
ได้มอบสมบัติหลายชิ้นของกาลิเลโอ คีนิ ให้กับประเทศไทย
เช่น ภาพถ่ายประวัติศาสตร์ทั้งหมดที่ กาลิเลโอ คีนิ ได้นำไปจากเมืองสยาม

นอกจากนี้จะมีการมอบภาพพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 1
ที่กาลิเอโอ คีนิ ได้เขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2455
สำหรับเตรียมการเขียนภาพจิตรกรรม ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม
ให้เป็นสมบัติของประเทศไทยต่อไปด้วย

ภาพรัชกาลที่หนึ่งทีวาดโดย คีนิ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 20 คำสั่ง