เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 2940 ช้าไปสองวัน ... ระบอบแบบ "อา" อายุครบ 69 ปี
นกข.
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 27 มิ.ย. 01, 10:36

24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุง คณะราษฎร์ได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีหมุดที่พื้นลานพระบรมรูปกับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นที่ระลึก การดำเนินการของคณะราษฎรในวันนั้นเป็นเรื่องที่ยังสามารถวิจารณ์ถกกันได้อีกนาน (เดี๋ยวนี้ก็ยังมีคนถกกันอยู่) ว่า เมืองไทยพร้อมหรือยัง ทำการเร็วไป หรือทำการช้าไป ในหลวง ร.7 กำลังจะพระราชทานอยู่แล้ว หรือว่าถ้าไม่ทำการ กลุ่มอำนาจ สมบูรณาญาสิทธิราย์ก็จะไม่ยอมให้อำนาจอยู่ดี หรือ ฯลฯ
24 มิถุนา เคยเป็นวันชาติไทยสมัยหนึ่ง และเคยมีการร้องเพลงในวันนี้ ที่ไม่ทราบท่านผู้ใดเป็นคนแต่ง ว่า -
...24 มิถุนา          ยนมหาศรีสวัสดิ์
ปฐมฤกษ์เบิกรัฐ-       ธรรมนูญของไทย
สร้างระบอบแบบอา -     รยะประชาธิปไตย...

ด้วยความเคารพท่านผู้แต่ง ผมต้องขอเรียนตรงๆ ว่า แฮ่ะๆ ระบอบแบบอานี่เป็นยังไงครับ...
บันทึกการเข้า
อ้อมรัก
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 27 มิ.ย. 01, 00:26

เพิ่งอ่านพระนิพนธ์ "สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น "ในหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล  และหนังสืออื่นๆอีกหลายเล่ม
แล้วได้คำตอบกับตัวเองว่า...วันที่ ๒๔ มิย. ๗๕ ไม่ใช่เรื่องที่เกิดเร็วไป  หรือเกิดแบบกะทันหันไม่พร้อมจะเกิด
 แต่มันเป็นช่วงสุกงอมของสถานการณ์หลายอย่างมาบรรจบกัน
ไม่เกิดในวันนี้ก็คงเกิดในวันใดวันหนึ่งถัดมา ไม่ช้าก็เร็ว
แต่เป็นผลดีหรือเสียแค่ไหน  อีกเรื่องหนึ่ง

โดยส่วนตัว  คิดว่าเป็นการเปลี่ยนอำนาจจากคนกลุ่มหนึ่งไปยังคนอีกกลุ่มหนึ่ง   มากกว่าจะเปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาฯมาเป็นประชาธิปไตย
บันทึกการเข้า
จันทร์
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 27 มิ.ย. 01, 05:28

พี่ นกข ครับ ผมเห็นพี่ใช้คำว่า คณะราษฎร์ กับ คณะราษฎร ในความเห็นของผมคิดว่าน่าจะใช้คำหลังมากกว่าครับ 69ปีที่มาผ่านผมเห็นด้วยกับคุณอ้อมรัก ว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเป็นการเปลี่ยนผ่านกลุ่มอำนาจมากกว่าที่เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง มีการชกชิงความได้เปลี่ยน มีการแลกผลประโยชน์ มีเบื้องหลัง มีสิ่งแอบแฝง มีวาระที่ซ้อนเร้นมากมาย การกระทำบางอย่างของคนหลายกลุ่มๆที่มีบทบาทในสถานะต่างๆ มีการแสดงที่หลอกลวง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 27 มิ.ย. 01, 13:25

กลับไปตรวจสอบเอกสาร   ต้นฉบับเดิมของประกาศสะกดว่า
"คณราษฎร" ค่ะ  
ไม่ใช่ คณะ แต่สะกดว่า คณ   ส่วน ร  ไม่มีการันต์
"...ด้วยบัดนี้ "คณราษฎร" ได้จับพระบรมวงษานุวงษ์ไว้เป็นตัวประกันแล้ว..."
แต่เวลาเอ่ยถึงอย่างไม่เป็นทางการ  เรามักเรียกว่า "คณะราษฎร์" คงจะย่อมาจาก ราษฎร
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 27 มิ.ย. 01, 17:36

ไม่ทราบว่าหมุดที่พื้นลานพระรูปทรงม้าใช้อย่างไรนะครับ
ชื่อคณะผู้ก่อการคงจะมีการคลี่คลายพัฒนามาเรื่อยๆ แต่เข้าใจว่าในที่สุดลงตัวที่คำว่า คณะราษฎร์ หรือถ้าไม่ได้ลงตัวรับชื่อนี้เป็นทางการ อย่างน้อยในการเรียกหาทั่วไปก็เรียกกันอย่างนั้นทั่วไปหมดแล้ว

อย่างน้อยๆ ตั้งแต่สมัยกบฏบวรเดชมาแล้ว ฝ่ายตรงข้ามกับคณะราษฎร์ก็เรียกตนเองว่า คณะชาติ ซึ่งน่าจะเป็นการเลียนหรือล้อเสียงเรียกคณะราษฎร์
บันทึกการเข้า
ด.เด็ก
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 27 มิ.ย. 01, 18:11

ผมเคยได้ยินตำรวจแก่ในวังสวนพุดตานบอกแบบนี้ครับ
"พระยาพหลฯเป็นต้นเหตุ
พระยาทรงสุรเดชเป็นต้นเรื่อง
ไล่เจ้าเข้าป่า จับหมามานั่งเมือง"
แกคงแค้นน่าดูสำหรับกบฏบวรเดชที่พยายามลุกฮือขึ้นต่อสู้กับคณะราษฎร์แต่น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ ไม่อยากนึกถึงตอนจบเลย
บันทึกการเข้า
ยามะธิดา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 27 มิ.ย. 01, 19:11

หมุดที่ฝัง  ณ. ลานพระบรมรูปทรงม้า  ตรงจุดที่หัวหน้าคณะราษฏรยืนอ่าน  แถลงการณ์ประกาศการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  เมื่อวันที่  24  มิถุนายน ๒๔๗๕
มีว่า...."  ณที่นี้  คณะราษฏรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ "

ข้อความนี้ ล้อมรอบ วงกลม  ตรงกลาง เขียนว่า
" ๒๔  มิถุนายน 2475  เวลาย่ำรุ่ง  "
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 27 มิ.ย. 01, 22:36

การผลัดเปลี่ยนอำนาจเป็นธรรมดาของโลก เพราะไม่มีใครอยู่ได้ค้ำฟ้า สำคัญว่ามีวิธีถ่ายโอนอำนาจอย่างไรเท่านั้น

สมัยก่อนเราอาจจะใช้การสืบราชสมบัติกับการชิงราชสมบัติเป็นกลไกเปลี่ยนผู้คุมอำนาจ ในส่วนของการสืบราชสมบัติเองก็มีกลไกย่อยอีกเยอะแยะ ต่อมาเราเปลี่ยนระบบ จากราชาธิปไตยเป็นอย่างอื่น สมัยแรกๆ ที่ประชาธิปไตยไม่เต็มใบ ก็ยังใช้กลไกการเปลี่ยนแปลงผู้กุมอำนาจได้หลายอย่าง เช่นการทำปฏิวัติเป็นวิธีหนึ่ง ในระบบประชาธิปไตย (เต็มใบ) การเลือกตั้งก็เป็นวิธีหนึ่งในการเปลี่ยนถ่ายอำนาจ และตตามทฤษฎีน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด

คุณลุงตำรวจของคุณ ด.เด็กป่านนี้ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ก็ไม่ทราบ ถ้ายังอยู่ การเปลี่ยนถ่ายโอนอำนาจครั้งล่าสุดคุณปู่ตำรวจอาจจะร้องเล่นได้ว่า สะตอต้องกินแห้ว ส่วนแม้วได้นั่งเมือง...
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 24 มิ.ย. 06, 17:04

 เวลาผ่านไป และผ่านไป ดังคำที่ว่า กาลเวลาย่อมกลืนกินสรรพสิ่งทั้งสิ้นรวมทั้งตัวมัน (เวลา) เอง

วันนี้ 24 มิถุนายน 2549 ระบอบประชาธิปไตยสถาปนาขึ้นมาได้ 74 ปี

พัฒนาการอันลุ่มๆ ดอนๆ ของการเมืองยุคหลังไม่กี่เดือนมานี้อาจจะทำให้เราต้องนั่งลง ทำใจให้ว่าง แล้วก็ย้อนระลึกทบทวนดู ว่าเราได้ก้าวหน้ามาแล้วแค่ไหน หลงเป๋เฉไฉออกนอกทางกันบ้างหรือเปล่า ถ้ามีหลงบ้าง ตรงไหน และจะทำยังไงจึงจะกลับไปสู่วิถีทางที่ควรจะเป็นเพื่อประโยชน์ของมหาชนได้อย่างราบรื่นเรียบร้อยที่สุด

หลัก 6 ประการอันเป็นอุดมคติของคณะราษฏร บัดนี้ 70 กว่าปีผ่านไปแล้ว ตอนนี้ไปถึงไหนแล้วบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักการว่าด้วยการศึกษา เราล้มเหลวรึเปล่า แล้วหลักอื่นๆ ล่ะ?  

"เรา" ในที่นี้ไม่ใช่แค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เป็นพวกเราทั้งหมดที่ถือกันว่าเป็นทั้งเจ้าของประเทศและมีหน้าที่ความรับผิดชอบต่อประเทศด้วยกันในฐานะคนไทย ตามพระราชดำรัสพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงถือพระองค์เช่นกันว่าทรงเป็นคนไทยผู้หนึ่ง เมื่อไม่กี่วันมานี้

(วันนี้มาแบบซีเรียสครับ)
บันทึกการเข้า
ทูรวาสี
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 24 มิ.ย. 06, 23:21

 ผมอาจจะเป็นเด็กคนหนึ่งนะที่ไม่มีความรู้ ความคิดอะไรมากนัก
แต่สำหรับผม ผมไม่เคยคิดว่าคณะรา๋ษฎร์ คือคณะราษฎร แต่เป็น
กลุ่มคนกลุ่มนึงซึ่งกระหายอำนาจเท่านั้น การปฏิวัติที่ทำขึ้นนั้น ก็ไม่ต่างอะไร
กับการปล้นพระราชอำนาจอันเป็นของพระองค์โดยชอบทำ
และเหตุผลต่างๆที่คนกลุ่มพวกนั้นกล่าวถึง ผมก็เห็นว่าล้วนแล้วแต่เป็นข้ออ้่าง
ปัญหาต่างๆ ที่พูดถึง ก็ไม่สามารถแก้ได้
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 25 มิ.ย. 06, 11:18

 ขออนุญาตออกความเห็นข้อที่ว่า
"ผมไม่เคยคิดว่าคณะรา๋ษฎร์ คือคณะราษฎร แต่เป็น
กลุ่มคนกลุ่มนึงซึ่งกระหายอำนาจเท่านั้น การปฏิวัติที่ทำขึ้นนั้น ก็ไม่ต่างอะไรกับการปล้นพระราชอำนาจอันเป็นของพระองค์โดยชอบธรรม
และเหตุผลต่างๆที่คนกลุ่มพวกนั้นกล่าวถึง ผมก็เห็นว่าล้วนแล้วแต่เป็นข้ออ้่าง ปัญหาต่างๆ ที่พูดถึง ก็ไม่สามารถแก้ได้"

นะครับ

สาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ 24 มิ.ย. 2475 ขึ้น ผมมองว่าไม่ใช่เพราะการกระหายอำนาจเพียงอย่างเดียวครับ
ยังมีสาเหตุอื่น เช่น การเป็นอภิสิทธิ์ชนของคณะเจ้า เป็นต้น
จริง ๆ ยังมีประเด็นให้คุยอีกมากครับ แต่วันนี้พอเท่านี้ก่อนครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
tuka007
พาลี
****
ตอบ: 291


คนจับจอบจับเสียม


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 25 มิ.ย. 06, 15:37

 อโยธยา  ศรีราม  เทพนคร
เคยสั่นคลอน  เมื่อหงสา  มาตีพ่าย
คราครั้งนั้น  บรรพชน  หล่นล้มตาย
เพราะเพลิงพ่าย  ฝ่ายสงคราม  ลามแผ่นดิน

    สมเด็จพระ  นเรศวร  มหาราช
มิยอมให้  ประเทศชาติ  เอกราชสิ้น
จึงทรงหลั่ง  ทักษิโณทก  ตกแผ่นดิน
กำหลาบสิ้น  อริราช  ชาติศัตรู

             วิจิตรวาทะลักษณ์(นฤมิตรเทวากร)
บันทึกการเข้า

จงยิ้มให้โลก...แล้วโลกจะยิ้มให้เรา
tuka007
พาลี
****
ตอบ: 291


คนจับจอบจับเสียม


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 25 มิ.ย. 06, 15:39

 อีกครั้งครา  อโยธยา  มาแตกพ่าย
ก็เพราะฝ่าย  หงสา  มาหาญสู้
เอกราช  อโยธยา  น่าเชิดชู
ต้องตกอยู่  ใต้หงสา  ข้าแผ่นดิน

    องค์สมเด็จ  พระเจ้าตากสิน  มหาราช
ทรงกู้ชาติ  กู้กรุง  มุ่งคืนถิ่น
อโยธยา  ศรีราม  นามแผ่นดิน
ตราบถึงกรุง  รัตนโกสินทร์  มิสิ้นบุญ

    จนบัดนี้  ศรีสวัสดิ์  รัตนโกสินทร์
เอกราช  ของแผ่นดิน  มิสิ้นสูญ
ควรหรือให้  ใครประท้วง  ทวงบุญคุณ
ว่าจะหนุน  เอกราช  คืนชาติไทย

    รัตน  โกสินทร์  ถิ่นสยาม
ควรฤาให้  ใครมาหยาม  ตามใจได้
ด้วยมิเคย  สิ้นเอกราช  แก่ชาติใด
แล้วทำไม  ต้องประกาศ  กู้ชาติชน

    ประการหนึ่ง  ที่สำคัญ  กว่านั้นชัด
วีรกษัตริย์  กู้ชาติเช่น  จึ่งเห็นผล
ตรึกไหมนั่น  ท่านคือใคร  ในเหล่าชน
กล้าเทียมตน  เทียบพระบาท  องค์กษัตรา

           วิจิตรวาทะลักษณ์(นฤมิตรเทวากร)
บันทึกการเข้า

จงยิ้มให้โลก...แล้วโลกจะยิ้มให้เรา
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง