เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5]
  พิมพ์  
อ่าน: 13438 เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 02 เม.ย. 16, 06:43


ก่อนปี 2472 ท่านเป็นคณบดีวิทยาศาสตร์ฯ ท่านก็พักในจุฬา ไม่ถูกต้องครับ ไม่มีหลักฐานเช่นนั้น ท่านอาจไม่ได้พักบ้านพักหลวงก็ได้ พระยาภะรตเป็นผู้มีฐานะดี ท่านมีบ้านหลังใหญ่อยู่ถนนราชดำเนิน เชิงสะพานมัฆวาฬรังสรรค์ ตรงที่เป็นศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพในปัจจุบัน
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ถือว่ากำเนิดในปี ๒๔๗๕ จริง แต่ในปีแรกนิสิตมีเพียงคน ๑๑ เรียนร่วมกับนิสิตปี ๑ คณะวิศวะ ยังไม่ได้ย้ายมาอยู่เรือนผู้บัญชาการ กว่าจะย้ายมาก็เป็นปี  ๒๔๗๖ แล้ว


ตามข้อมูลที่เห็น รับฟังได้ว่า ทางจุฬาฯ เชื่อว่า ท่านพระยาภะรตราชาเคยพักอาศัยอยู่ที่เรือนหลังเล็กครับ


ก็นั่นน่ะสิครับ ทางจุฬาฯ เชื่อว่า ท่านพระยาภะรตราชาเคยพักอาศัยอยู่ที่เรือนหลังเล็ก แต่มีหลักฐานอะไร


เริ่มเห็นจุดร่วมจากทั้งสองฝั่งแล้วครับ สมมุติว่าเรื่องเรือนหลังใหญ่ยังไม่ต้องเอามาเกี่ยวข้อง
เนื่องจากจุฬายังไม่ได้ปฏิเสธเรื่องการเคยมีอยู่ของเรือนผู้บัญชาการหลังใหญ่
อีกทั้งจุฬาฯ ไม่ได้อ้างว่าเรือนหลังเล็กเคยใช้เป็นที่เรียนสถาปัตฯ
ดังนั้นจึงพอรับฟังได้ว่า จุฬาฯ ทราบดีว่าเรือนทั้งสองหลังไม่ใช่สถานที่เดียวกัน


ประเด็นข้อขัดแย้งจึงน่าจะอยู่ที่เรือนหลังเล็ก
ฝ่ายสนับสนุนจุฬาควรหาข้อมูลสนับสนุนว่าพระยาภะรตราชาเคยอยู่ที่นั่น
ในทางตรงข้าม
ฝ่ายคัดค้านควรหาข้อมูลหักล้างว่าพระยาภะรตราชาไม่เคยพักอาศัยในเรือนหลังนั้นเลย

แนวทางนี้พอไหวไหมครับ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 02 เม.ย. 16, 06:49

ขออภัย ตรงนี้ตัดต่อผิดครับ /ลบแล้ว  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 02 เม.ย. 16, 07:33

ขอแก้ไขในสิ่งผิดก่อนครับ

เมื่อวานเผลอไปเขียนว่าบ้านส่วนตัวของพระยาภะรตราชา อยู่เชิงสะพานมัฆวาน ขอแก้เป็นสะพานผ่านฟ้าลีลาศนะครับ แล้วเอาภาพถ่ายโบราญที่เห็นบ้านของท่านมาให้ชมด้วย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 02 เม.ย. 16, 07:56

อ้างถึง
เริ่มเห็นจุดร่วมจากทั้งสองฝั่งแล้วครับ สมมุติว่าเรื่องเรือนหลังใหญ่ยังไม่ต้องเอามาเกี่ยวข้อง
เนื่องจากจุฬายังไม่ได้ปฏิเสธเรื่องการเคยมีอยู่ของเรือนผู้บัญชาการหลังใหญ่
อีกทั้งจุฬาฯ ไม่ได้อ้างว่าเรือนหลังเล็กเคยใช้เป็นที่เรียนสถาปัตฯ
ดังนั้นจึงพอรับฟังได้ว่า จุฬาฯ ทราบดีว่าเรือนทั้งสองหลังไม่ใช่สถานที่เดียวกัน


ประเด็นข้อขัดแย้งจึงน่าจะอยู่ที่เรือนหลังเล็ก
ฝ่ายสนับสนุนจุฬาควรหาข้อมูลสนับสนุนว่าพระยาภะรตราชาเคยอยู่ที่นั่น
ในทางตรงข้าม
ฝ่ายคัดค้านควรหาข้อมูลหักล้างว่าพระยาภะรตราชาไม่เคยพักอาศัยในเรือนหลังนั้นเลย

แนวทางนี้พอไหวไหมครับ


ประเด็นคือ ขณะนี้ไม่มีข้อขัดแยังดังกล่าว คณะทำงานโครงการอนุรักษ์เรือนพักอาจารย์แล้วตั้งชื่อว่าเรือนภะรตราชา ยอมรับข้อมูลของอาจารย์สิน พวงสุวรรณว่า เรือนนั้นพระยาภะรตไม่เคยพำนักอยู่ แต่นำชื่อท่านมาตั้งให้เป็นเกียรติ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 02 เม.ย. 16, 08:27

ขออภัยที่ต้องเอาข้อมูลนี้มาลง เพื่อมิให้คุณคนโคราชต้องหาทางจะพิสูจน์อะไรอีกให้เสียเวล่ำเวลา

หลังจากผมตั้งกระทู้ขึ้นในเรือนไทย เรื่องนี้ได้มีการพูดคุยกันอยู่พักหนึ่งใน FB ของผู้ที่เกี่ยวข้องระดับวงในของคณะทำงานโครงการอนุรักษ์เรือนดังกล่าวในอดีต แต่ได้ลบทั้งเรื่องไปแล้วโดยที่ผมยังเซฟไว้ได้ ขอเอามาให้ดูเพียงแค่นี้

ภายในกลุ่ม”ผู้รู้” ของจุฬานั้น ข้อเท็จจริงเป็นที่ประจักษ์ตามที่ผมบอกแล้ว แต่ปัญหาอยู่ที่คณะผู้บริหารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ไม่เคยมีปฏิกิริยาอันใดทุกครั้งที่มีข้อเรียกร้องของอาจารย์สิน พวงสุวรรณ ซึ่งกระทำมาตลอดตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบัน


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 02 เม.ย. 16, 10:58


ยินดีด้วยครับ ที่จะลงเอยกันด้วยดี
แต่ถ้าผู้บริหารกลัวเสียหน้า ผมจะรับจ้างเถียงให้ต่อครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 02 เม.ย. 16, 12:04

ว๊า   หมดกัน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 02 เม.ย. 16, 13:17

บ้านส่วนตัวของพระยาภะรตราชา อยู่เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ

ที่มาภาพ วิลเลียมฮันท์ พศ. 2489


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 02 เม.ย. 16, 14:14

เยี่ยมเลย แต่ช่วงหลังสงครามท่านคงไม่ได้พักที่บ้านหลังนี้แล้ว ท่าจะทรุดโทรมมาก
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 02 เม.ย. 16, 15:51

พระยาภะรตราชาท่านลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี ๒๕๗๕  หลังจากนั้นหลายปีท่านจึงได้เป็นผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยในวันที่ ๑ มกราคม ปี ๒๔๘๖ โดยได้พำนักอาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้  เรียกว่าบ้านผู้บังคับการ นักเรียนวชิราวุธเรียกว่าบ้านผู้การ  เป็นเรือนไม้สักทองทั้งหลัง สมัยผมเป็นนักเรียนชั้นมัธยม พ.ศ. ๒๕๐๐-๒๕๐๗ บ้านหลังนี้มีค้างต้นไม้รอบบ้านร่มครึ้ม หลังบ้านมีมะม่วงอกร่องลูกดก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 02 เม.ย. 16, 15:57

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสมัยท่านเป็นผู้บัญชาการ มีอะไรคล้ายๆกับวชิราวุธวิทยาลัยซึ่งเป็นโรงเรียนประจำอยู่มาก เพราะนิสิตส่วนใหญ่จะพักอยู่ในหอ อันเป็นที่มาของคำว่านิสิต ซึ่งแปลว่านักศึกษาที่อยู่ประจำสถานศึกษา ดังนั้น ผู้บัญชาการจะต้องพำนักอยู่ที่มหาวิทยาลัยเพื่อปกครองดูแลนิสิตอย่างใกล้ชิด บ้านคณาจารย์ บางตำแหน่งเรียกอนุสาสก ก็ล้วนเกี่ยวข้องกับการดูแลศิษย์ที่อยู่ประจำ ไม่ใช่บ้านประจำตำแหน่งคณบดี หรืออาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับด้านวิชาการอย่างเดียว

พระยาภะรตราชาสมัยท่านเป็นผู้บังคับการโรงเรียนผม ท่านจะพำนักอยู่ในโรงเรียนใกล้ชิดกับเด็ก ครั้นปิดเทอมเด็กกลับบ้านหมดแล้ว ท่านจึงได้กลับไปบ้านของท่าน สมัยผมนั้น บ้านท่านอยู่ในซอยกล้วยน้ำไทย ถนนสุขุมวิท หลังที่เชิงสะพานผ่านฟ้าคงเปลี่ยนเจ้าของไปแล้ว มิตร ชัยบัญชาดาราหนังไทยผู้ยิ่งใหญ่ก็ได้เคยเป็นเจ้าของที่ดินผืนงามนี้ครั้งหนึ่งด้วย ก่อนที่จะเสียชีวิตและถูกธนาคารกรุงเทพบังคับจำนองไป

ในภาพที่ถ่ายหลังสงคราม ต้นมะม่วงที่ผมว่าโตแล้ว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 02 เม.ย. 16, 16:07

ไม่ไกลจากบ้านผู้การ มีโรงทึมเล็กๆหลังหนึ่งปิดตายไว้ตลอด เด็กพวกผมเคยไปส่องมองตามร่องตามรูเห็นรถคันเบ้อเร่อจอดจมฝุ่นอยู่คับห้อง สองสามปีต่อมาวันหนึ่งโรงรถถูกเปิดออกแล้วรถโบราญคันนั้นได้ถูกภารโรงชักลากออกมา ยางแบนแต๊ดแต๋ แต่ตัวถังนั้นพอล้างน้ำแล้วมันแปร้บสวยงามมาก ผมจำได้ว่าเป็นสีเขียวเข้มบังโกรนสีดำ ได้ความว่านักนิยมของเก่าคนหนึ่งมาทุ่มราคาซื้อจากท่านไป

รถคันนี้หวนเข้ามาในมโนภาพ ค้นเน็ทดูพบว่าเป็นยี่ห้อ Wolseley สมัยท่านอยู่เชิงสะพานผ่านฟ้า คงขับรถคันนี้ไปสอนหนังสือที่จุฬา คนอย่างท่านคงจะไม่ไปอยู่บ้านหลวงระดับอนุสาสก



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 02 เม.ย. 16, 16:11

ผู้บังคับการของผมเดิมท่านชื่อ หม่อมหลวง ทศทิศ อิศรเสนา เมื่อ พ.ศ.  ๒๔๔๖ ได้รับทุนกระทรวงธรรมการไปศึกษาวิชาครูที่ประเทศอังกฤษ โดยเข้าเรียนที่โรงเรียนพับบลิกสกูลที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ชื่อ เอาน์เดอล (Oundle) ก่อนสอบเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยลอนดอน

ท่านกลับมาเป็นครู จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาภะรตราชา ได้รับการแต่งตั้งให้ไปเป็นผู้ดูแลนักเรียนไทยในอังกฤษ ถือเป็นคนไทยคนแรกที่ทำหน้าที่นี้แทนฝรั่ง โดยท่านอยู่ที่นั่นระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๔ - พ.ศ. ๒๔๖๙ รวมเวลา ๕ ปี ก่อนจะกลับเมืองไทยแล้วไปเป็นคณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี ๒๔๗๐

ภาพของท่านและครอบครัวระหว่างเป็นผู้ดูแลนักเรียนไทยในอังกฤษ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 19 คำสั่ง