เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
อ่าน: 13325 เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 24 มี.ค. 16, 12:28

ตามอ่านแล้ว ด้วยความที่เพิ่งฟื้นไข้   อุณหภูมิร่างกายยังไม่ปกติ   เลยยังไม่สามารถเข้าใจได้

ส่งกระเช้ามาลีสีสดสวย
แนบมาด้วยฤทัยให้ห่วงหา
เจ็บป่วยไข้ไม่สบายให้สร่างซา
ให้กายาแกร่งดังเก่าท่านเจ้าเรือน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 24 มี.ค. 16, 14:15

รอให้หายไข้เสียก่อนดีกว่าครับ แล้วผมจะเรียบเรียงให้เข้าใจง่ายๆกันอีกที


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 24 มี.ค. 16, 19:30

ให้หายไข้ก่อนนะครับ  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 27 มี.ค. 16, 20:09

ทีมบริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชุดใหม่
1) ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ (อธิการบดี)
2) ศาสตราจารย์ นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม (รองอธิการบดี กำกับดูแลงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม)
3) ศาสตราจารย์ นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล
(รองอธิการบดี กำกับดูแลงานยุทธศาสตร์ แผน งบประมาณ และ เลขานุการสภาฯ)
4) รองศาสตราจารย์ ดร.บัญชา ชลาภิรมย์
(รองอธิการบดี กำกับดูแลงานพัฒนานิสิตและกิจการภายใน)
5) รองศาสตราจารย์ ดร.บุญไชย สถิตมั่นในธรรม
(รองอธิการบดี กำกับดูแลงานกายภาพ พัสดุ กฎหมาย สารสนเทศ)
6) รองศาสตราจารย์ ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล
(รองอธิการบดี กำกับดูแลงานทรัพย์สิน และนวัตกรรม)
7) รองศาสตราจารย์ วันชัย มีชาติ
(รองอธิการบดี กำกับดูแลการบริหารงานบุคคล)
เจ๋ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปมทอง มาลากุล ณ.อยุธยา
(รองอธิการบดี กำกับดูแลงานวิชาการ)
9) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์พนา ปีตธวัชชัย
(รองอธิการบดี กำกับดูแลงานการเงิน บัญชี คลัง)
10) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิรงรอง รามสูต
(รองอธิการบดี กำกับดูแลงาน ศิลปวัฒนธรรม สื่อสารองค์กร)
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 30 มี.ค. 16, 16:55

ยิ่งอ่านยิ่งงง
เป็นอันว่าจุฬาไม่ได้เข้าใจผิดอีกต่อไป  จุฬารู้ และยอมรับแล้วว่า เรือนโบราณที่มีชื่อเป็นทางการว่า "เรือนภะรตราชา"  ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับพระยาภะรตราชา แต่ในเมื่อใช้ชื่อนี้มาแต่แรก  ก็ยังคงใช้ชื่อนี้อยู่จนถึงปัจจุบัน
ส่วนเรือนที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับพระยาภะรตราชา เป็นอีกเรือนหนึ่ง ซึ่งไม่มีชื่อว่าภะรตราชา   จะเป็นชื่ออะไรอยู่ตรงไหน   ตามอ่านแล้ว ด้วยความที่เพิ่งฟื้นไข้   อุณหภูมิร่างกายยังไม่ปกติ   เลยยังไม่สามารถเข้าใจได้
รอคุณหมอเรือนไทยท่านใดก็ได้มาอธิบายอีกทีค่ะ

คาดว่าถึงวันนี้ ท่านคงจะค่อยยังชั่วแล้ว ผมจะขออธิบายสรุปให้ฟังอีกครั้งหนึ่ง ดังนี้ว่า

เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๖ – ๒๕๓๘ มหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้อาจารย์ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ท่านหนึ่งปรับปรุงอาคารเก่าหลังหนึ่ง โดยหลงผิดว่าเป็นอาคารเรือนที่พระยาภะรตราชา อดีตผู้บัญชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเคยพักอาศัยอยู่เป็นคนสุดท้าย  ดังนั้นเมื่อปรับปรุงเสร็จ จึงได้ติดป้ายชื่ออาคารนั้นว่า “เรือนภะรตราชา” เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่าน จะโดยตั้งใจหรือสำคัญผิดก็ตาม ทำให้อาคารนั้นถูกเรียกว่า “เรือนภะรตราชา” มาจนถึงปัจจุบัน

ผู้เขียนบันทึกนี้ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง คือนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ผู้เคยรับราชการในแผนกอาคารสถานที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทันรู้ทันเห็นเรือนพำนักผู้บัญชาการที่ยังปรากฎอยู่ในสภาพทรุดโทรมหนัก ก่อนจะถูกรื้อทิ้งไปในที่สุด จึงตระหนักดีว่า การติดป้ายชื่ออาคารที่ปรับปรุงขึ้นมาใหม่นั้นว่า “เรือนภะรตราชา”เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง จึงได้เคยทักท้วงด้วยวาจากับผู้ออกแบบบูรณะแล้ว และยังได้เคยบอกกล่าวไว้กับอาจารย์และข้าราชการหลายท่าน ทั้งที่มีบันทึกไว้เป็นหลักฐาน และไม่มี แต่ไม่ปรากฏว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สนองตอบต่อเรื่องนี้อย่างใด

จากข้อมูลและหลักฐานต่างๆระบุว่า สถานที่ตั้งของอาคารเรือนภะรตราชาของจริง จะอยู่บริเวณคอร์ดหลังสำนักงานอธิการบดี ใกล้กับอาคารจามจุรี ๒ และเป็นอาคารจามจุรี ๓ ในปัจจุบัน

ส่วนอาคารหลังปัจจุบันที่บูรณะใหม่ ติดป้ายชื่ออาคารว่า “เรือนภะรตราชา” นั้น เคยเป็นที่พักของ ศาสตราจารย์ทองระคน บุญเสรฐ อาจารย์ท่านหนึ่งของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์เคยพำนักอยู่ทั้งครอบครัว เป็นหลังหนึ่งในหลายในกลุ่มเรือนพักอาจารย์ ไม่ใช่หลังที่พระยาภะรตราชาเคยพำนัก สมัยเป็นผู้บัญชาการ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 30 มี.ค. 16, 17:03

อ้างถึง
จากข้อเท็จจริงนี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า อาคารที่มหาวิทยาลัยบูรณะปรับปรุงขึ้นนั้น เป็นเพียงอาคารพักอาศัยของอาจารย์หลังหนึ่งเท่านั้น มิใช่การบูรณะปรับปรุงอาคารที่พักของพระยาภะรตราชา

ทีเรียนเสนอมาทั้งหมดนี้ก็เพื่อมิอยากให้ประวัติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงแม้จะเป็นบางส่วนต้องคลาดเคลื่อน ผิดเพี้ยน และหากมีการอ้างอิงต่อๆกันมา ย่อมจะขยายความคลาดเคลื่อนมากขึ้น เช่น โรงเรียนสาธิต จุฬาฯ และสถาบันวิจัยสังคมศาสตร์ หากเขียนประวัติความเป็นมาของหน่วยงานตนว่าเริ่มก่อตั้งครั้งแรก ณ อาคารเรือนภะรตราชา ก็จะไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง สมาคมสถาปนิกสยามฯ ที่มอบรางวัลอนุรักษ์ดีเด่น อาจมองว่าเรือนภะรตราชาเป็นอาคารสำคัญของมหาวิทยาลัยด้วยหรือไม่ ถ้าเป็นบ้านพักอาจารย์ธรรมดา จะมอบรางวัลนี้ให้หรือไม่ อาจารย์จิ๋ว(รศ. วิวัฒน์ เตมียพันธ์) ที่ทำบันทึก FIELD TRIP มีรูปถ่ายประกอบ และเรียกชื่อว่า “เรือนภะรตราชา” ก็สำคัญผิด เพราะมหาวิทยาลัยระบุชื่อไว้ ณ อาคารนั้น ดังนั้น หากความจริงปรากฏขึ้นใหม่เช่นนี้ ก็ควรที่มหาวิทยาลัยต้องแก้ไข และหรือ แจ้งผู้หลงผิดให้ได้รับทราบความเป็นจริงที่ถูกต้องต่อไป

   จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา และหรือดำเนินการตามเหมาะสม เพื่อประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่ถูกต้องต่อไป

                  ขอแสดงความนับถือ
                   (นายสิน  พวงสุวรรณ)
                อดีต หัวหน้าสำนักงานอธิการบดี
                จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตรงนี้ผมขอใช้สิทธิ์ ตอบแทนสมาคมสถาปนิกสยามฯ ในฐานะถูกพาดพิง

เรื่องการบูรณะอาคารเก่าของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดังกล่าว ได้รับความสนใจจากคณะกรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยามมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๘ แล้ว เพราะกรรมาธิการคนหนึ่งในคณะคือผู้เดียวกับอาจารย์ที่ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยให้รับผิดชอบทำโครงการนี้ ซึ่งปีนั้นผมดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมาธิการ เมื่อพ้นวาระไปเป็นที่ปรึกษา ผมก็ยังเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการอย่างต่อเนื่อง และได้มีส่วนเห็นชอบให้อาคารที่บูรณะขึ้นมาแล้วเสร็จสวยงามนี้ ได้รับรางวัลอนุรักษ์ดีเด่นของสมาคมสถาปนิกสยามในปี ๒๕๔๐ ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีตัวแทนไปเฝ้ารับพระราชทานจากพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

ผมจึงสามารถจะเรียนได้ว่า รางวัลที่เรือนหลังนี้ได้รับ เป็นเพราะคุณค่างานอนุรักษ์สถาปัตยกรรม มิใช้ด้วยชื่อบุคคลที่นำมาใช้เป็นชื่ออาคาร การที่ระบุให้รางวัลแก่ “อาคารภะรตราชา” ก็เพราะเชื่อตามข้อมูลที่ได้รับจากผู้รับผิดชอบว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งชื่ออาคารเพื่อเป็นเกียรติแก่พระยาภะรตราชา ผู้เคยพำนักอยู่เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่าคณะกรรมาธิการทุกท่านจะมีความเห็นเหมือนผม ที่เห็นด้วยกับอาจารย์สิน พวงสุวรรณว่า “หากความจริงปรากฏขึ้นใหม่เช่นนี้ ก็ควรที่มหาวิทยาลัยต้องแก้ไข และหรือ แจ้งผู้หลงผิดให้ได้รับทราบความเป็นจริงที่ถูกต้องต่อไป”


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 30 มี.ค. 16, 19:05

อ้างถึง
จากข้อเท็จจริงนี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า อาคารที่มหาวิทยาลัยบูรณะปรับปรุงขึ้นนั้น เป็นเพียงอาคารพักอาศัยของอาจารย์หลังหนึ่งเท่านั้น มิใช่การบูรณะปรับปรุงอาคารที่พักของพระยาภะรตราชา

ทีเรียนเสนอมาทั้งหมดนี้ก็เพื่อมิอยากให้ประวัติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงแม้จะเป็นบางส่วนต้องคลาดเคลื่อน ผิดเพี้ยน และหากมีการอ้างอิงต่อๆกันมา ย่อมจะขยายความคลาดเคลื่อนมากขึ้น เช่น โรงเรียนสาธิต จุฬาฯ และสถาบันวิจัยสังคมศาสตร์ หากเขียนประวัติความเป็นมาของหน่วยงานตนว่าเริ่มก่อตั้งครั้งแรก ณ อาคารเรือนภะรตราชา ก็จะไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง สมาคมสถาปนิกสยามฯ ที่มอบรางวัลอนุรักษ์ดีเด่น อาจมองว่าเรือนภะรตราชาเป็นอาคารสำคัญของมหาวิทยาลัยด้วยหรือไม่ ถ้าเป็นบ้านพักอาจารย์ธรรมดา จะมอบรางวัลนี้ให้หรือไม่ อาจารย์จิ๋ว(รศ. วิวัฒน์ เตมียพันธ์) ที่ทำบันทึก FIELD TRIP มีรูปถ่ายประกอบ และเรียกชื่อว่า “เรือนภะรตราชา” ก็สำคัญผิด เพราะมหาวิทยาลัยระบุชื่อไว้ ณ อาคารนั้น ดังนั้น หากความจริงปรากฏขึ้นใหม่เช่นนี้ ก็ควรที่มหาวิทยาลัยต้องแก้ไข และหรือ แจ้งผู้หลงผิดให้ได้รับทราบความเป็นจริงที่ถูกต้องต่อไป

   จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา และหรือดำเนินการตามเหมาะสม เพื่อประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่ถูกต้องต่อไป

                  ขอแสดงความนับถือ
                   (นายสิน  พวงสุวรรณ)
                อดีต หัวหน้าสำนักงานอธิการบดี
                จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตรงนี้ผมขอใช้สิทธิ์ ตอบแทนสมาคมสถาปนิกสยามฯ ในฐานะถูกพาดพิง

เรื่องการบูรณะอาคารเก่าของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดังกล่าว ได้รับความสนใจจากคณะกรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยามมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๘ แล้ว เพราะกรรมาธิการคนหนึ่งในคณะคือผู้เดียวกับอาจารย์ที่ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยให้รับผิดชอบทำโครงการนี้ ซึ่งปีนั้นผมดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมาธิการ เมื่อพ้นวาระไปเป็นที่ปรึกษา ผมก็ยังเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการอย่างต่อเนื่อง และได้มีส่วนเห็นชอบให้อาคารที่บูรณะขึ้นมาแล้วเสร็จสวยงามนี้ ได้รับรางวัลอนุรักษ์ดีเด่นของสมาคมสถาปนิกสยามในปี ๒๕๔๐ ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีตัวแทนไปเฝ้ารับพระราชทานจากพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

ผมจึงสามารถจะเรียนได้ว่า รางวัลที่เรือนหลังนี้ได้รับ เป็นเพราะคุณค่างานอนุรักษ์สถาปัตยกรรม มิใช้ด้วยชื่อบุคคลที่นำมาใช้เป็นชื่ออาคาร การที่ระบุให้รางวัลแก่ “อาคารภะรตราชา” ก็เพราะเชื่อตามข้อมูลที่ได้รับจากผู้รับผิดชอบว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งชื่ออาคารเพื่อเป็นเกียรติแก่พระยาภะรตราชา ผู้เคยพำนักอยู่เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่าคณะกรรมาธิการทุกท่านจะมีความเห็นเหมือนผม ที่เห็นด้วยกับอาจารย์สิน พวงสุวรรณว่า “หากความจริงปรากฏขึ้นใหม่เช่นนี้ ก็ควรที่มหาวิทยาลัยต้องแก้ไข และหรือ แจ้งผู้หลงผิดให้ได้รับทราบความเป็นจริงที่ถูกต้องต่อไป”


แก้ไขก็น่าจะเติม "กลุ่ม" เข้าไปก็ได้นะครับจะได้ไม่สับสน จาก “อาคารภะรตราชา” เป็น "กลุ่มอาคารภะรตราชา" จะได้เป็นที่เข้าใจด้วยกันทั้งปวง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 31 มี.ค. 16, 07:27

คำว่า “เรือนภะรตราชา” นั้น ไม่ว่าชื่อจะได้มาโดยความเข้าใจอย่างไรก็ตาม ก็ดูเหมือนว่าจุฬาให้คำอธิบายอ้อมๆแอ้มๆว่า เรือนนี้จุฬาฯได้ทำการอนุรักษ์ไว้  แล้วตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแด่พระยาภะรตราชา อดีตผู้บัญชาการท่านหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มิได้หมายความว่าท่านเคยพำนักอยู่ในเรือนที่ว่า

เรื่องจึงไม่จบ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 31 มี.ค. 16, 07:31

ปัจจุบันเรือนพระยาภะรตใช้ประโยชน์เป็น "ภูมิปัญญาเมธีสโมสร" คือสถานที่จัดการประชุม สัมนาต่างๆ
ถ้าจุฬาจะเปลี่ยนชื่อเรือนเป็น "ภูมิปัญญาเมธีสโมสร ภะรตราชา" ก็คงจะได้

แต่ถ้ายังจะรักษาคำว่า “เรือนภะรตราชา” ไว้ ให้ตรงกับตราที่ได้รับพระราชทาน อาคารอนุรักษ์ดีเด่น ก็จำเป็นที่จะต้องเพิ่มป้ายขึ้นอีกป้ายหนึ่ง เพื่อเป็นถาวรวัตถุติดให้ผู้มาเยือนเห็นได้โดยง่าย ข้อความประมาณนี้

“เรือนภะรตราชา”หลังนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทำการอนุรักษ์เรือนหลังหนึ่งที่ยังคงเหลืออยู่  ในจำนวนกลุ่มอาคารเรือนพักผู้บัญชาการและอาจารย์ที่สร้างขึ้นแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ และได้ตั้งชื่อใหม่ให้เป็นเกียรติแก่พระยาภะรตราชา ผู้บัญชาการคนสุดท้ายที่พำนักอยู่ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 01 เม.ย. 16, 06:33


ผมยังมีข้อสงสัยบางประการครับ

มีหลักฐานยืนยันหรือไม่ว่า พระยาภะรตราชาเคยพักอาศัยอยู่ที่เรือนหลังใหญ่ที่ถูกรื้อไปแล้ว
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 01 เม.ย. 16, 07:52

^
ขณะที่ท่านได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการนั้น เรือนประจำตำแหน่งผู้บัญชาการมีอยู่ จะให้ท่านไปพำนักที่ไหนทำไมครับ


มหาอำมาตย์ตรี พระยาภะรตราชา (ม.ล.ทศทิศ อิศรเสนา) เป็นผู้บัญชาการ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๒ ถึงวันที่ ๑ กันยายน ๒๔๗๕ รวมเวลา ๒ ปี เกือบ ๑๐ เดือน
ก่อนหน้านั้นเป็นคณบดีอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์

ปี ๒๔๗๕ มีการระบุว่า เรือนหลังใหญ่ (ที่เคยตั้งตรงสำนักอธิการบดีในปัจจุบัน) เป็นที่เรียนของนิสิตสถาปัตยกรรมศาสตร์ไปแล้ว
หากข้อมูลนี้ถูกต้อง แปลว่า พระยาภะรตราชา ไม่น่าที่จะได้อยู่อาศัยในเรือนหลังนี้ตั้งแต่กลางปี ๒๔๗๕ แล้ว
อาจหมายถึง วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๒ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการ พระยาภะรตราชา ย้ายเข้าพักในเรือนใหญ่
               กลางปี ๒๔๗๕ ขณะยังเป็นผู้บัญชาการอยู่ได้ย้ายออกจากเรือนใหญ่ ไปอยู่ที่อื่น ?

ฟังดูแปลกๆ ครับ

ถ้าจะบอกว่า พระยาภะรตราชา ไม่เคยพักที่เรือนหลังใหญ่นี้เลยจะพอเข้าเค้ามากกว่า


ไม่น่าจะแปลกนะครับ วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๒ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการ พระยาภะรตราชา ย้ายเข้าพักในเรือนใหญ่ประจำตำแหน่ง จนถึงวันที่ ๑ กันยายน ๒๔๗๕ ซึ่งท่านลาออกไปเนื่องจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง  เรือนนั้นก็ว่างอยู่ นิสิตคณะสถาปัตยกรรมศสาตร์เมื่อแรกตั้งจึงถูกจัดให้ไปเรียนที่อาคารนั้น ซึ่งน่าจะเป็นปี ๒๔๗๖ แล้ว ตามประวัติของคณะดังนี้

อ้างถึง
ในปีพุทธศักราช 2475 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ สั่งการให้เปิดรับนิสิต จำนวน 11 คนเข้าศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรม ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลังจากมีตามพระราชกฤษฎีกา การจัดวางระเบียบราชการ สำนักงานและกรมในกระทรวงธรรมการนั้น ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 50 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีฐานะเป็นกรม ประกาศเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พุทธศักราช 2476 ให้สถาปัตยกรรม เป็นแผนกหนึ่งใน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมีการปรับหลักสูตรใหม่ ขยายระยะเวลาศึกษาเป็น 3 ปี เพื่อให้ ผู้สำเร็จการศึกษาได้รับอนุปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต


บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 01 เม.ย. 16, 10:00

พระยาภะรตราชามีบ้านพักที่จุฬาฯ แน่นอน มีภาพถ่ายท่านผู้หญิงขจรที่บ้านพักผู้บัญชาการด้วย
เรื่องนีถ้าเรียนถามท่านผู้หญิงทัศนีย์ ก็น่าจะได้ความ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 01 เม.ย. 16, 15:24


ก่อนปี 2472 ท่านเป็นคณบดีวิทยาศาสตร์ฯ ท่านก็พักในจุฬา ถูกต้องครับ
แต่ไม่ใช่ที่เรือนหลังใหญ่แน่ๆ

ถ้าท่านย้ายเข้าพักเรือนหลังใหญ่ทันที เรือนหลังเดิมที่เคยอยู่ก็ยังสามารถตั้งชื่อท่านได้
เรื่องนี้ยังไม่พิจารณาว่าเรือนหลังเดิมท่านอยู่ที่ไหน

ถ้าจดหมายร้องเรียนให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ปี 2475 เรือนหลังใหญ่ใช้เป็นที่เรียนแล้ว
แปลว่าท่านย้ายออกตั้งแต่กลางปี ก่อนที่จะลาออกใาเดือนกันยายน
ซึ่งฟังดูแปลกๆครับ

บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 01 เม.ย. 16, 15:36


ตามข้อมูลที่เห็น รับฟังได้ว่า ทางจุฬาฯ เชื่อว่า ท่านพระยาภะรตราชาเคยพักอาศัยอยู่ที่เรือนหลังเล็กครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 01 เม.ย. 16, 16:59


ก่อนปี 2472 ท่านเป็นคณบดีวิทยาศาสตร์ฯ ท่านก็พักในจุฬา ถูกต้องครับ
แต่ไม่ใช่ที่เรือนหลังใหญ่แน่ๆ

ถ้าท่านย้ายเข้าพักเรือนหลังใหญ่ทันที เรือนหลังเดิมที่เคยอยู่ก็ยังสามารถตั้งชื่อท่านได้
เรื่องนี้ยังไม่พิจารณาว่าเรือนหลังเดิมท่านอยู่ที่ไหน

ถ้าจดหมายร้องเรียนให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ปี 2475 เรือนหลังใหญ่ใช้เป็นที่เรียนแล้ว
แปลว่าท่านย้ายออกตั้งแต่กลางปี ก่อนที่จะลาออกใาเดือนกันยายน
ซึ่งฟังดูแปลกๆครับ


ก่อนปี 2472 ท่านเป็นคณบดีวิทยาศาสตร์ฯ ท่านก็พักในจุฬา ไม่ถูกต้องครับ ไม่มีหลักฐานเช่นนั้น ท่านอาจไม่ได้พักบ้านพักหลวงก็ได้ พระยาภะรตเป็นผู้มีฐานะดี ท่านมีบ้านหลังใหญ่อยู่ถนนราชดำเนิน เชิงสะพานมัฆวาฬรังสรรค์ ตรงที่เป็นศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพในปัจจุบัน
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ถือว่ากำเนิดในปี ๒๔๗๕ จริง แต่ในปีแรกนิสิตมีเพียงคน ๑๑ เรียนร่วมกับนิสิตปี ๑ คณะวิศวะ ยังไม่ได้ย้ายมาอยู่เรือนผู้บัญชาการ กว่าจะย้ายมาก็เป็นปี  ๒๔๗๖ แล้ว


ตามข้อมูลที่เห็น รับฟังได้ว่า ทางจุฬาฯ เชื่อว่า ท่านพระยาภะรตราชาเคยพักอาศัยอยู่ที่เรือนหลังเล็กครับ


ก็นั่นน่ะสิครับ ทางจุฬาฯ เชื่อว่า ท่านพระยาภะรตราชาเคยพักอาศัยอยู่ที่เรือนหลังเล็ก แต่มีหลักฐานอะไร
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.137 วินาที กับ 20 คำสั่ง