เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 13326 เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 23 มี.ค. 16, 10:55

พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์  กรมขุนชัยนารทนเรนทร อธิบดีกรมมหาวิทยาลัย จึงเสนอต่อเสนาบดีกระทรวงธรรมการว่า เห็นควรให้ใช้บ้านหลังใหญ่ เป็นบ้านพักของผู้บัญชาการมหาวิทยาลัย และเป็นที่ทำการของกรมมหาวิทยาลัยไปพร้อมกัน โดยเสนอให้มีการรับขยายพื้นที่บางส่วน
เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ จึงเริ่มใช้การตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๖๐ และกำหนดบ้านเลขที่ ๕๐๑ ถนนพญาไทขึ้นเป็นสำคัญ

+++

จากข้อมูลด้านบนทำให้ทราบว่า เรือนภะรตราชา ของเดิมมีบ้านเลขที่ 501 ด้วยนะครับเนี่ย ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 23 มี.ค. 16, 14:05

ถ้าเข้าใจผิดกันจริง   เรื่องนี้ก็ต้องเคลียร์กันให้ชัดเจนนะคะ
เพราะเป็นประวัติส่วนหนึ่งของจุฬาเลยทีเดียว
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 23 มี.ค. 16, 15:41

ถ้าเข้าใจผิดกันจริง   เรื่องนี้ก็ต้องเคลียร์กันให้ชัดเจนนะคะ
เพราะเป็นประวัติส่วนหนึ่งของจุฬาเลยทีเดียว

เบื้องต้นทราบว่า หลังจากมีวารสารจามจุรีได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ไว้แล้วตามข้อความนี้ครับ

"....ในการอนุรักษ์เรือนภะรตราชา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนเรือนภะรตราชา เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๘   และได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จฯ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา เสด็จพระราชดำเนินเสวยพระสุธารส อีกทั้ง ได้รับรางวัลประเภทอาคารอนุรักษ์ดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี ๒๕๔๐
นอกจากนี้  ยังมีบ้านพักอนุสาสกเหลืออีกหนึ่งหลัง อยู่ริมถนนพญาไทเช่นกัน ปัจจุบันได้รับการบูรณะใช้เป็นที่ทำการของหอพักนิสิตจุฬาฯ

   เพื่อให้อาคารมีการใช้สอยให้เกิดประโยชน์ ไม่ถูกทิ้งร้าง มหาวิทยาลัยจึงมีวัตถุประสงค์หลังจากเปิดการใช้เรือนภะรตราชา เป็นเรือนรับรองและสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆ พบว่ามีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ที่ไม่สามารถรองรับคนจำนวนมากได้   จึงมีการก่อสร้างเรือนจุฬานฤมิตเมื่อ พ.ศ ๒๕๔๒ เคียงข้างกับเรือนภะรตราชา โดยสถาปนิกออกแบบให้กลมกลืนต่อเนื่องกัน


ดังนั้น เรือนภะรตราชา ที่มีอยู่ในปัจจุบัน คู่กับเรือนจุฬานฤมิตนั้น ไม่ใช่บ้านพักผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยที่ถูกรื้อไปแล้ว หากเป็นกลุ่มเรือนไม้ที่สร้างขึ้นพร้อมกันอีกห้าหลัง เพื่อเป็นที่พักของผู้บัญชาการ ข้าราชการ และอาจารย์ชาวต่างประเทศ ซึ่งเป็นแบบที่นิยมสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้  มีรูปแบบตะวันตกที่ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนชื้นของไทย ผังพื้นเป็นรูปเหลี่ยม ใต้ถุนสูง ชั้นล่างโล่ง โครงสร้างเสาก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่  ชั้นบนเป็นไม้ มีหน้าต่างและระเบียงโดยรอบ หลังคาจั่วหรือปั้นหยามุขชัน ยื่นชายคาโดยรอบ ที่เชิงชายประดับด้วยไม้ฉลุเช่นเดียวกับการตกแต่งราวบันไดและระเบียง .."




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 23 มี.ค. 16, 15:55

เบื้องต้นทราบว่า หลังจากมีวารสารจามจุรีได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ไว้แล้วตามข้อความนี้ครับ

"....ในการอนุรักษ์เรือนภะรตราชา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนเรือนภะรตราชา เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๘   และได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จฯ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา เสด็จพระราชดำเนินเสวยพระสุธารส อีกทั้ง ได้รับรางวัลประเภทอาคารอนุรักษ์ดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี ๒๕๔๐
นอกจากนี้  ยังมีบ้านพักอนุสาสกเหลืออีกหนึ่งหลัง อยู่ริมถนนพญาไทเช่นกัน ปัจจุบันได้รับการบูรณะใช้เป็นที่ทำการของหอพักนิสิตจุฬาฯ

   เพื่อให้อาคารมีการใช้สอยให้เกิดประโยชน์ ไม่ถูกทิ้งร้าง มหาวิทยาลัยจึงมีวัตถุประสงค์หลังจากเปิดการใช้เรือนภะรตราชา เป็นเรือนรับรองและสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆ พบว่ามีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ที่ไม่สามารถรองรับคนจำนวนมากได้   จึงมีการก่อสร้างเรือนจุฬานฤมิตเมื่อ พ.ศ ๒๕๔๒ เคียงข้างกับเรือนภะรตราชา โดยสถาปนิกออกแบบให้กลมกลืนต่อเนื่องกัน


ดังนั้น เรือนภะรตราชาที่มีอยู่ในปัจจุบัน คู่กับเรือนจุฬานฤมิตนั้น ไม่ใช่บ้านพักผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยที่ถูกรื้อไปแล้ว หากเป็นกลุ่มเรือนไม้ที่สร้างขึ้นพร้อมกันอีกห้าหลัง เพื่อเป็นที่พักของผู้บัญชาการ ข้าราชการ และอาจารย์ชาวต่างประเทศ ซึ่งเป็นแบบที่นิยมสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้  มีรูปแบบตะวันตกที่ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนชื้นของไทย ผังพื้นเป็นรูปเหลี่ยม ใต้ถุนสูง ชั้นล่างโล่ง โครงสร้างเสาก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่  ชั้นบนเป็นไม้ มีหน้าต่างและระเบียงโดยรอบ หลังคาจั่วหรือปั้นหยามุขชัน ยื่นชายคาโดยรอบ ที่เชิงชายประดับด้วยไม้ฉลุเช่นเดียวกับการตกแต่งราวบันไดและระเบียง .."

อ่านแล้วเหมือนสำนวนศรีธนนชัย

ข้อความนี้แปลว่าอะไรครับ เรือนภะรตราชาที่มีอยู่ในปัจจุบัน คู่กับเรือนจุฬานฤมิตนั้น ไม่ใช่บ้านพักผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยที่ถูกรื้อไปแล้ว หากเป็นกลุ่มเรือนไม้ที่สร้างขึ้นพร้อมกันอีกห้าหลัง เพื่อเป็นที่พักของผู้บัญชาการ ข้าราชการ และอาจารย์ชาวต่างประเทศ  

ผมแปลว่า เรือนที่จุฬาอัญเชิญเจ้านายเสด็จไปเยือนนั้น เป็นเรือนที่พระยาภะรตราชาเคยอยู่จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าเรือนนั้นจะเป็นเรือนที่ผู้บัญชาการมหาวิทยาลัย(คนอื่นๆ)พำนักอยู่

เอ้า เลอะกันไปใหญ่
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 23 มี.ค. 16, 16:44

เบื้องต้นทราบว่า หลังจากมีวารสารจามจุรีได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ไว้แล้วตามข้อความนี้ครับ

"....ในการอนุรักษ์เรือนภะรตราชา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนเรือนภะรตราชา เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๘   และได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จฯ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา เสด็จพระราชดำเนินเสวยพระสุธารส อีกทั้ง ได้รับรางวัลประเภทอาคารอนุรักษ์ดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี ๒๕๔๐
นอกจากนี้  ยังมีบ้านพักอนุสาสกเหลืออีกหนึ่งหลัง อยู่ริมถนนพญาไทเช่นกัน ปัจจุบันได้รับการบูรณะใช้เป็นที่ทำการของหอพักนิสิตจุฬาฯ

   เพื่อให้อาคารมีการใช้สอยให้เกิดประโยชน์ ไม่ถูกทิ้งร้าง มหาวิทยาลัยจึงมีวัตถุประสงค์หลังจากเปิดการใช้เรือนภะรตราชา เป็นเรือนรับรองและสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆ พบว่ามีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ที่ไม่สามารถรองรับคนจำนวนมากได้   จึงมีการก่อสร้างเรือนจุฬานฤมิตเมื่อ พ.ศ ๒๕๔๒ เคียงข้างกับเรือนภะรตราชา โดยสถาปนิกออกแบบให้กลมกลืนต่อเนื่องกัน


ดังนั้น เรือนภะรตราชาที่มีอยู่ในปัจจุบัน คู่กับเรือนจุฬานฤมิตนั้น ไม่ใช่บ้านพักผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยที่ถูกรื้อไปแล้ว หากเป็นกลุ่มเรือนไม้ที่สร้างขึ้นพร้อมกันอีกห้าหลัง เพื่อเป็นที่พักของผู้บัญชาการ ข้าราชการ และอาจารย์ชาวต่างประเทศ ซึ่งเป็นแบบที่นิยมสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้  มีรูปแบบตะวันตกที่ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนชื้นของไทย ผังพื้นเป็นรูปเหลี่ยม ใต้ถุนสูง ชั้นล่างโล่ง โครงสร้างเสาก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่  ชั้นบนเป็นไม้ มีหน้าต่างและระเบียงโดยรอบ หลังคาจั่วหรือปั้นหยามุขชัน ยื่นชายคาโดยรอบ ที่เชิงชายประดับด้วยไม้ฉลุเช่นเดียวกับการตกแต่งราวบันไดและระเบียง .."

อ่านแล้วเหมือนสำนวนศรีธนนชัย

ข้อความนี้แปลว่าอะไรครับ เรือนภะรตราชาที่มีอยู่ในปัจจุบัน คู่กับเรือนจุฬานฤมิตนั้น ไม่ใช่บ้านพักผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยที่ถูกรื้อไปแล้ว หากเป็นกลุ่มเรือนไม้ที่สร้างขึ้นพร้อมกันอีกห้าหลัง เพื่อเป็นที่พักของผู้บัญชาการ ข้าราชการ และอาจารย์ชาวต่างประเทศ  

ผมแปลว่า เรือนที่จุฬาอัญเชิญเจ้านายเสด็จไปเยือนนั้น เป็นเรือนที่พระยาภะรตราชาเคยอยู่จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าเรือนนั้นจะเป็นเรือนที่ผู้บัญชาการมหาวิทยาลัย(คนอื่นๆ)พำนักอยู่

เอ้า เลอะกันไปใหญ่

หมายถึง เจ้านายได้เสด็จไปเยือนเรือนภะรตราชาที่มีอยู่ในปัจจุบัน (ที่ติดป้ายอยู่ตอนนี้) และอาคารอื่นๆที่ทรงเดียวกันครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 23 มี.ค. 16, 16:49

ก็ใช่น่ะสิขอรับ
คือจุฬาไปกราบทูลว่า เรือนที่เชิญเสด็จไปเยือนนี้ เป็นเรือนที่พระยาภะรตราชาเคยพำนักอยู่ไง

แต่ความจริงมันไม่ใช่นี่
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 23 มี.ค. 16, 16:53

พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์  กรมขุนชัยนารทนเรนทร อธิบดีกรมมหาวิทยาลัย จึงเสนอต่อเสนาบดีกระทรวงธรรมการว่า เห็นควรให้ใช้บ้านหลังใหญ่ เป็นบ้านพักของผู้บัญชาการมหาวิทยาลัย และเป็นที่ทำการของกรมมหาวิทยาลัยไปพร้อมกัน โดยเสนอให้มีการรับขยายพื้นที่บางส่วน

เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ จึงเริ่มใช้การตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๖๐ และกำหนดบ้านเลขที่ ๕๐๑ ถนนพญาไทขึ้นเป็นสำคัญ

ในเว็บของหอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความสำคัญตอนหนึ่งว่า มีผู้บัญชาการเพียง ๒ ท่าน ก่อนที่ตำแหน่งดังกล่าวจะถูกเปลี่ยนไปเรียกว่า อธิการบดี
http://www.memohall.chula.ac.th/history/%E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B5/

กล่าวคือ
๑ มหาอำมาตย์ตรี พระยาอนุกิจวิธูร (สันทัด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นผู้บัญชาการ ตั้งแต่วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๔๖๓ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๔๖๘ รวมเวลา ๕ ปี เกือบ ๗ เดือน
และ ๒ มหาอำมาตย์ตรี พระยาภะรตราชา (ม.ล.ทศทิศ อิศรเสนา) เป็นผู้บัญชาการ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๒ ถึงวันที่ ๑ กันยายน ๒๔๗๕ รวมเวลา ๒ ปี เกือบ ๑๐ เดือน

แล้วทำไมจุฬาจึงให้ความสำคัญว่า เรือนของผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่บูรณะขึ้นมาใหม่นั้น จะต้องชื่อ เรือนภะรตราชา ทั้งๆที่ท่านไม่ใช่คนแรกที่ได้พำนักอาศัย และอยู่สั้นกว่ากันกว่า ๓ ปี

ที่แปลกก็คือ ความตามอ้างถึงข้างบนนั้น กล่าวว่า การก่อสร้างบ้านดังกล่าวแล้วเสร็จ และเริ่มใช้การตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๖๐
คำถามคือ แล้วใครได้เข้าไปพำนักในเรือนผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยตามนั้น แล้วอยู่ในฐานะอะไร
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 23 มี.ค. 16, 17:07

เรือนผู้บัญชาการที่พระยาภะรตราชาเคยพำนักอยู่ ภาพจากFB ของคุณรัชดา โชติพานิช ซึ่งกำลังเปิดประเด็นเรื่องนี้ขึ้นมาเหมือนกัน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 23 มี.ค. 16, 17:20

มหาอำมาตย์ตรี พระยาอนุกิจวิธูร (สันทัด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นผู้บัญชาการ ตั้งแต่วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๔๖๓ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๔๖๘ รวมเวลา ๕ ปี เกือบ ๗ เดือน

ข้อมูลข้างบนไม่ตรงกับประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ ๓๔ หน้า ๒๓ วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ตั้งมหาอำมาตย์ตรี พระยาอนุกิจวิธูร (สันทัด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 23 มี.ค. 16, 17:31

ถ้าเช่นนั้น หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ผิดพลาดอีก

เป็นอันว่าพระยาอนุกิจวิธูรที่เป็นผู้บัญชาการคนแรก และพำนักอยู่ที่บ้านหลังนั้นนานยิ่ง น่าจะเป็นผู้ได้รับเกียรติ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 23 มี.ค. 16, 17:42

มหาอำมาตย์ตรี พระยาภะรตราชา (ม.ล.ทศทิศ อิศรเสนา) เป็นผู้บัญชาการ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๒ ถึงวันที่ ๑ กันยายน ๒๔๗๕ รวมเวลา ๒ ปี เกือบ ๑๐ เดือน

คำสั่งตั้งมหาอำมาตย์ตรี พระยาภะรตราชา (ม.ล.ทศทิศ อิศรเสนา) เป็นผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 23 มี.ค. 16, 18:43


มหาอำมาตย์ตรี พระยาภะรตราชา (ม.ล.ทศทิศ อิศรเสนา) เป็นผู้บัญชาการ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๒ ถึงวันที่ ๑ กันยายน ๒๔๗๕ รวมเวลา ๒ ปี เกือบ ๑๐ เดือน
ก่อนหน้านั้นเป็นคณบดีอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์

ปี ๒๔๗๕ มีการระบุว่า เรือนหลังใหญ่ (ที่เคยตั้งตรงสำนักอธิการบดีในปัจจุบัน) เป็นที่เรียนของนิสิตสถาปัตยกรรมศาสตร์ไปแล้ว
หากข้อมูลนี้ถูกต้อง แปลว่า พระยาภะรตราชา ไม่น่าที่จะได้อยู่อาศัยในเรือนหลังนี้ตั้งแต่กลางปี ๒๔๗๕ แล้ว
อาจหมายถึง วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๒ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการ พระยาภะรตราชา ย้ายเข้าพักในเรือนใหญ่
               กลางปี ๒๔๗๕ ขณะยังเป็นผู้บัญชาการอยู่ได้ย้ายออกจากเรือนใหญ่ ไปอยู่ที่อื่น ?

ฟังดูแปลกๆ ครับ

ถ้าจะบอกว่า พระยาภะรตราชา ไม่เคยพักที่เรือนหลังใหญ่นี้เลยจะพอเข้าเค้ามากกว่า
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 23 มี.ค. 16, 19:35

เรือนผู้บัญชาการที่พระยาภะรตราชาเคยพำนักอยู่ ภาพจากFB ของคุณรัชดา โชติพานิช ซึ่งกำลังเปิดประเด็นเรื่องนี้ขึ้นมาเหมือนกัน

เรือนหลังนี้ปัจจุบันยังอยู่และปรับปรุงสวยงามและได้รับเกียรติใหม่่ว่า "เรือนภะรตราชา"

เรือนหลังนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับพระยาภะรตราชาเลย หากแต่เป็นเรือนหลังน้อยของคณาจาราย์ที่จุฬาจัดให้พำนักและเคยเป็นอาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียนสาธิตจุฬามาสักระยะหนึ่ง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 23 มี.ค. 16, 19:45

คำบอกเล่าของสถาปนิกในยุคบุกเบิก

พวกเราผ่านการสอบคัดเลือกมาได้ 10 มาจากโรงเรียนเตรียมอุดมฯ 10 คน โดยไม่ต้องสอบคัดเลือก(ดีจัง) พอวันเปิดเทอมเราก็เข้าไปเรียนที่แผนกสถาบัตยฯ เป็นบ้าน 3 ชั้น เก่าๆ นอกรั้วจุฬาฯ (บ้านเจ้าคุณภะรตฯ) ซึ่งถูกรื้อมาเป็นตึกสำนักงานเลขาฯเดี๋ยวนี้ โดยอาจารย์ศิววงษ์ กุญชร ณ อยุธยา เป็นหัวหน้าแผนก
ชั้นล่างของบ้านเป็น Studio ของปี 1 พอเราเข้าไปก็เห็นโต๊ะเขียนแบบอยู่ 50 ตัว เราจึงรู้ว่าเป็นโต๊ะของพวกพี่ๆ ที่รอจะเรียนพร้อมเราอยู่ 30 คน!!
ชั้น 2 ของตัวตึกเป็น Studio ของปี 2 และห้องทำงานของอาจารย์ 4-5 คนอยู่ในห้องเดียวกัน มีอาจารย์ศิววงษ์,  อาจารย์เฉลิม, อาจารย์แหลมฉาน, อาจารย์รำไพ ฯลฯ
ชั้น 3 เป็นห้องวาดหุ่น (มีชีวิตและไม่มีชีวิต) ห้องนี้พวกพี่ๆ ชอบกันมากกับหุ่นที่มีชีวิต บางทีก็เจอะหุ่นลุงจันทร์ (ภารโรงเก่าแก่ของเรา)
ออกจากตึกไปเป็นโรงเรือนไม้ยาวๆ Studio 3 และ 4 อยู่ที่ปีก 2 ข้าง ตรงกลางเป็นห้องโล่งๆ มีโต๊ะปิงปอง 1 ตัว ผู้เล่นต้องเป็นผู้ชนะเท่านั้น ผู้ที่แพ้ต้องออกไปให้ผู้อื่นเข้ามาเล่นบ้าง โดยมีกองเชียร์เยอะแยะ และพวกกองเชียร์ก็หาโอกาสเข้าไปเล่นเหมือนกัน แต่ต้องมือดีนะถึงได้เล่นนานๆ


เรือนพระยาภะรตราชา สร้างเป็นที่พักของผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในสมัยหนึ่งที่ต้องอยู่ประจำ เพื่อดูแลนิสิตที่ต้องอยู่หอพักเช่นกัน หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ผู้ใหญ่ในคณะราษฎร์ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งนั้นแทนโดยไม่สนใจจะเข้าอยู่ในเรือนพัก ชื่อเรือนจึงไม่เปลี่ยนแต่ตัวพระยาภะรตต้องระเห็จไปเป็นอาจารย์พิเศษสอนในวชิราวุธวิทยาลัย ก่อนจะขึ้นเป็นผู้บังคับการ และลงตัวในตำแหน่งดังกล่าวจนถึงแก่อนิจกรรม จุฬาฯได้ทำการอนุรักษ์เรือนพระยาภะรตไว้ ปัจจุบันใช้ประโยชน์เป็น "ภูมิปัญญาเมธีสโมสร" คือสถานที่จัดการประชุม สัมนาต่างๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 24 มี.ค. 16, 11:29

ยิ่งอ่านยิ่งงง
เป็นอันว่าจุฬาไม่ได้เข้าใจผิดอีกต่อไป  จุฬารู้ และยอมรับแล้วว่า เรือนโบราณที่มีชื่อเป็นทางการว่า "เรือนภะรตราชา"  ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับพระยาภะรตราชา แต่ในเมื่อใช้ชื่อนี้มาแต่แรก  ก็ยังคงใช้ชื่อนี้อยู่จนถึงปัจจุบัน
ส่วนเรือนที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับพระยาภะรตราชา เป็นอีกเรือนหนึ่ง ซึ่งไม่มีชื่อว่าภะรตราชา   จะเป็นชื่ออะไรอยู่ตรงไหน   ตามอ่านแล้ว ด้วยความที่เพิ่งฟื้นไข้   อุณหภูมิร่างกายยังไม่ปกติ   เลยยังไม่สามารถเข้าใจได้
รอคุณหมอเรือนไทยท่านใดก็ได้มาอธิบายอีกทีค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 20 คำสั่ง