เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 13436 เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 22 มี.ค. 16, 09:29

เป็นอันว่า
ตามข้อมูลของอาจารย์สิน พวงสุวรรณ อดีตหัวหน้าอาคารสถานที่ เรือนภะรตราชาถูกกำหนดขึ้นใหม่ห่างออกไปสองร้อยกว่าเมตร จากเรือนเดิมของอดีตท่านผู้บัญชาการที่เคยพำนักอยู่จริง

อาจารย์สิน ทำหนังสือเรียนท่านอธิการบดีไปแล้วตั้งแต่วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๗ จนถึงบัดนี้ยังไม่มีปฏิกิริยาใดๆจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ท่านจะช่วยคิดก็ได้ครับ หากท่านเป็นผู้บริหาร ท่านจะทำอย่างไรดี


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 22 มี.ค. 16, 09:54

เรื่องของเรื่อง เผื่อใครยังไม่เข้าใจ เกริ่นคร่าวๆว่า เรือนภะรตราชาที่อยู่ในจุฬาปัจจุบันนี้เป็นตึกที่ผิดจากความเป็นจริงทำให้เกิดการสับสนของที่มา ทางคณะกรรมการสถาปัตยจุฬาลงการสำรวจและทำหนังสือไปยังจุฬาลงกรณ์ขอให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขและหาความจริงของเรือนภะรตราชาในอดีตกลับคืนมา

ซึ่งคาดว่าเรือนภะรตราชาหลังดั้งเดิมอาจจะอยู่บริเวณอาคารจามจุรี 3 (ตามแผนที่)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 22 มี.ค. 16, 11:14

ภาพถ่ายสมัยหลังสงครามโลกอีกภาพหนึ่ง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 22 มี.ค. 16, 12:28

เปรียบเทียบของเดิม กับของใหม่ชัดๆอีกรูปหนึ่ง


บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 22 มี.ค. 16, 13:55

ถ้าอย่างนั้นแล้ว เรือนหลังปัจจุบัน คือเรือนอะไรละครับ
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 22 มี.ค. 16, 14:17

เรือนหลังปัจจุบัน เคยเป็นบ้านพักอาจารย์

นิสิตเก่ารุ่นพ่อเล่าไว้ว่า เรือนพระยาภรตราชาเคยเป็นที่ทำการสมาคมนิสิตเก่าจุฬา ชั้นล่างมีโต๊ะบิลเลียด อันนี้ฟังมาไม่ทันได้เห็นเอง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 22 มี.ค. 16, 14:31

แนบแผนที่สำรวจ พ.ศ.2468 และพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2475 โดยกรมแผนที่ทหาร และเผยแพร่โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงตำแหน่งของอาคารสำคัญริมถนนพญาไท

ที่ในสมัยนั้นเป็นที่ตั้งห้องสมุดด้วยนะครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 22 มี.ค. 16, 15:00

เอามาตราส่วนที่ใหญ่กว่านี้มาให้ชมได้ไหมครับ ที่เห็นหอประชุมหรือคณะอักษรศาสตร์ด้วยน่ะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 22 มี.ค. 16, 16:20

อาลองอ่านจับใจความดูว่า เรือนบัญชาการ ควรจะหมายถึงที่เดียวกันนี่ไหม

เครดิทเอกสารประวัติศาตร์สถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์ฯ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 22 มี.ค. 16, 16:24

ความในหนังสือก็สมบูรณ์อยู่ เป็นที่เข้าใจได้ดี แต่คำว่าเรือนบัญชาการอยู่ตรงไหนครับ เห็นแต่คำว่าบ้านผู้บัญชาการ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 22 มี.ค. 16, 16:43

ความในหนังสือก็สมบูรณ์อยู่ เป็นที่เข้าใจได้ดี แต่คำว่าเรือนบัญชาการอยู่ตรงไหนครับ เห็นแต่คำว่าบ้านผู้บัญชาการ

เบื้องต้นทราบว่าการติดชื่ออาคารภะรตราชาในที่ปัจจุบันเป็นการตั้งชื่อให้กับกลุ่มอาคารที่มีสถาปัตยกรรมแบบเดียวกันที่สร้างในยุค พ.ศ. 2460 ว่าเป็นกลุ่มเรือนภะรตราชา ซึ่งวารสารจามจุรีได้เคยนำเสนออธิบายไว้ถึงที่มาเรียบร้อยแล้วว่าเรือนหลังนี้ไม่ใช่หลังเก่าแต่เป็นกลุ่มอาคารที่จุฬาตั้งให้เพื่อเป็นที่ระลึกดังกล่าว....ที่มา จากการคุยกับคุณรัชดา ครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 22 มี.ค. 16, 17:53

ขอยกมาลงซ้ำอีกทีครับ

จากข้อเท็จจริงนี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า อาคารที่มหาวิทยาลัยบูรณะปรับปรุงขึ้นนั้น เป็นเพียงอาคารพักอาศัยของอาจารย์หลังหนึ่งเท่านั้น มิใช่การบูรณะปรับปรุงอาคารที่พักของพระยาภะรตราชา

   ทีเรียนเสนอมาทั้งหมดนี้ก็เพื่อมิอยากให้ประวัติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงแม้จะเป็นบางส่วนต้องคลาดเคลื่อน ผิดเพี้ยน และหากมีการอ้างอิงต่อๆกันมา ย่อมจะขยายความคลาดเคลื่อนมากขึ้น เช่น โรงเรียนสาธิต จุฬาฯ และสถาบันวิจัยสังคมศาสตร์ หากเขียนประวัติความเป็นมาของหน่วยงานตนว่าเริ่มก่อตั้งครั้งแรก ณ อาคารเรือนภะรตราชา ก็จะไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง สมาคมสถาปนิกสยามฯ ที่มอบรางวัลอนุรักษ์ดีเด่น อาจมองว่าเรือนภะรตราชาเป็นอาคารสำคัญของมหาวิทยาลัยด้วยหรือไม่ ถ้าเป็นบ้านพักอาจารย์ธรรมดา จะมอบรางวัลนี้ให้หรือไม่ อาจารย์จิ๋ว(รศ. วิวัฒน์ เตมียพันธ์) ที่ทำบันทึก FIELD TRIP มีรูปถ่ายประกอบ และเรียกชื่อว่า “เรือนภะรตราชา” ก็สำคัญผิด เพราะมหาวิทยาลัยระบุชื่อไว้ ณ อาคารนั้น ดังนั้น หากความจริงปรากฏขึ้นใหม่เช่นนี้ ก็ควรที่มหาวิทยาลัยต้องแก้ไข และหรือ แจ้งผู้หลงผิดให้ได้รับทราบความเป็นจริงที่ถูกต้องต่อไป

   จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา และหรือดำเนินการตามเหมาะสม เพื่อประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่ถูกต้องต่อไป

                      ขอแสดงความนับถือ

   
                     (นายสิน  พวงสุวรรณ)
                อดีต หัวหน้าสำนักงานอธิการบดี
                           จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 23 มี.ค. 16, 08:29

อาคารจามจุรี ๒  เห็นบ้านพักผู้บัญชาการอยู่ด้านหลัง
ที่มา ห้องปฏิบัติการแผนที่และเอกสารประวัติศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 23 มี.ค. 16, 09:23

ใหญ่กว่าเรือนภะรตราชาหลังใหม่เยอะเลย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 23 มี.ค. 16, 09:33

ขอนำข้อมูลจากเอกสารจามจุรี พิมพ์เผยแพร่เรื่องเรือนภะรตราชาดังนี้

บ้านพักของผู้ปกครองหรือเรือนผู้ปกครองที่จะก่อสร้างนี้  มีขนาดกว้าง ๘ ศอก ยาว ๓ วา ๒ ศอก  หรือเท่ากับ กว้าง ๔ เมตร ยาว ๗ เมตร พื้นที่รวม ๒๘ ตารางเมตร ยังมีครัว ขนาดกว้าง  ๒.๕๐ เมตร ยาว ๕ เมตร  และเรือนคนรับใช้อีก ๑ หลัง ตัวเรือนเป็นโครงสร้างเป็นไม้ หลังคามุงจาก    


อย่างไรก็ตามจากการศึกษาเอกสารประวัติศาสตร์  พบว่า น่าจะมีการก่อสร้างบ้านพักอื่นในบริเวณมหาวิทยาลัยอีกไม่น้อยกว่า ๗ หลัง   ด้วยพบเอกสารการจ้างช่างรับเหมามาติดไฟฟ้าในบ้านอาจารย์ ๗ หลังด้วยกัน  (แต่ข้อมูลในเอกสาร มีเพียง ๖ หลัง คือบ้านหลังใหญ่ ๒ หลัง และบ้านพักอาจารย์ ๖ หลังของพระยาอนุวัตร์ฯ พระยาวิทยาฯ (พระยาวิทยาปรีชามาตย์) พระภักดีฯ  พระเทพฯ  ครูเหลี่ยม และขุนจรรยา


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 20 คำสั่ง