เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
อ่าน: 13437 เรือนภะรตราชา จุฬาเข้าใจผิดหรือเปล่า ?
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


 เมื่อ 21 มี.ค. 16, 16:45

คุณสมชาย สถาพรดำรงค์ เพือนร่วมรุ่นสถาปัตยกรรมศาสตร์ อดีตหัวหน้าแผนกอาคารสถานที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่งเอกสารนี้มาให้ผม ถามว่าผมสนใจไหม

เชิญอ่านดูก่อนครับ
หรือถ้าอ่านต้นฉบับลำบาก ผมก็คัดลอกความให้อ่านแล้วในหน้าถัดๆไป


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 21 มี.ค. 16, 16:45

ต่อ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 21 มี.ค. 16, 16:46



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 21 มี.ค. 16, 16:48

                     659/107 จรัญสนิทวงศ์ 41 อรุณอมรินทร์
                     บางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700

               วันที่ 28 เมษายน 2557

เรื่อง  เรือนภะรตราชา
เรียน อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สิ่งที่ส่งมาด้วย    1. สำเนาบทความ “ทัศนีย์เล่าเรื่อง ‘ถาปัตย์เจ้าเก่า”
      2. สำเนา “เรียบเรียงจากบทสัมภาษณ์ หม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี โดย ดร. สุรพล วิรุฬรักษ์”
      3. สำเนาประวัติคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
      4. สำเนารูปภาพอาคารเรือนภะรตราชา
      5. ภาพแผนที่สังเขปวิทยาเขตจุฬาฯ สมัยกำเนิดสถาปัตย์
   
   สืบเนื่องจากปรากฏพบบทความที่เกี่ยวข้องกับ “เรือนภะรตราชา” (บางแห่งเรียก “บ้านพระยาภรต” หรือ อาคารเจ้าคุณภรต) มีอยู่ในเอกสารและหนังสือหลายฉบับ เช่น ในประวัติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในหัวข้อเรื่อง “สถาปัตยกรรมที่สำคัญในมหาวิทยาลัย”, ข้อมูลใน Google, ข้อมูลการมอบรางวัล อาคารอนุรักษ์ดีเด่นของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี 2540 , ในบันทึก FIELD TRIP ของอาจารย์จิ๋ว 4-12 กรกฎาคม 2552 : Colonial style Architecture, ในหนังสือจามจรีปีที่ 15 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2556  ซึ่งมีการเผยแพร่สู่สายตาประชาชนอย่างกว้างขวาง หลายเอกสารได้ลอกเลียนกันต่อๆมา โดยที่ต้นฉบับที่ลอกเลียนมานั้น ไม่ถูกต้อง จึงเป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อๆกันมา ซึ่งมูลเหตุมาจาก เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2536-2538 มหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้อาจารย์ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ท่านหนึ่งปรับปรุงอาคารเก่าหลังหนึ่ง ซึ่งอยู่ด้านเหนือของโรงพิมพ์จุฬาฯ ปัจจุบันโดยหลงผิดว่าเป็นอาคารเรือนภะรตราชาเดิม และเมื่อปรับปรุงเสร็จ จึงได้ติดป้ายชื่ออาคารนั้นว่า “เรือนภะรตราชา” จะโดยตั้งใจหรือสำคัญผิดก็ตาม อาคารนั้นจึงถูกเรียกว่า “เรือนภะรตราชา” มาจนถึงปัจจุบัน

   ที่ระบุไม่ถูกต้องนั้น เนื่องจากมีข้อสันนิษฐาน ข้อมูลหลักฐานและพยานบุคคล โดยเฉพาะพยานบุคคลระบุได้อย่างชัดเจน กล่าวคือ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 21 มี.ค. 16, 16:49

1.   ขนาดของอาคาร
การจะออกแบบและก่อสร้างอาคารที่พักของ “ผู้บัญชาการมหาวิทยาลัย” ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงความเพียงพอในการพักอาศัยประจำ ซึ่งคงจะไม่ใช่สำหรับ “ผู้บัญชาการ” แต่เพียงผู้เดียว คงจะต้องคำนึงถึงครอบครัวด้วย นอกจากนั้นยังจะต้องคำนึงถึงพื้นฐานที่จะต้องมีกิจกรรม ต้องมีพื้นที่ใช้สอยเพิ่มมากขึ้น ตามภารกิจของ “ผู้บัญชาการ” เช่น ห้องสำหรับการต้อนรับแขกผู้มาเยือน อีกทั้งจะต้องมีความสมศักดิ์ศรี สมฐานะของผู้บัญชาการมหาวิทยาลัย เหล่านี้น่าจะเป็นสามัญสำนึกของบุคคลทั่วไปได้ว่า อาคารที่ได้ชื่อว่าเรือนภะรตราชาจะมีขนาดของอาคารเท่าที่ปรากฏในปัจจุบันนี้หรือ
   มีข้อมูลสนับสนุนจากบทความ ประวัติคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหนังสือ 60 ปี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ระบุไว้ว่า เรือนภะรตราชา ในช่วงปี 2475-2483 และ 2478-2483 ใช้เป็นที่เรียนของนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จำนวน 3 ชั้นปี ย่อมแสดงว่าอาคารดังกล่าวจะต้องมีขนาดใหญ่พอสมควร คงมิใช่ขนาดของเรือนภะรตราชาปัจจุบันอย่างแน่นอน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 21 มี.ค. 16, 16:50

2.    ตำแหน่งที่ตั้งอาคารเรือนภะรตราชา (อาคารเดิม)
2.1 จากข้อมูลในหนังสือที่ระลึก 60 ปี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีบทความเรื่อง “ทัศนีย์เล่าเรื่อง ‘ถาปัตย์เจ้าเก่า” มีข้อความที่บ่งบอกที่เชื่อถือได้มากเกี่ยวกับเรือนภะรตราชา กล่าวคือ
1) เรือนภะรตราชา เคยเป็นที่เรียนของนิสิตสถาปัตยกรรมศาสตร์ รุ่นแรก ๆ (ในหน้า 99)
2) บริเวณเรือนภะรตราชา ได้แปรสภาพไปเป็นอาณาบริเวณสำนักงานอธิการบดีไปเสียตั้งนานมาแล้ว (ในหน้า 99)
3) เป็นอาคารขนาดใหญ่โตสมเกียรติของท่านผู้บัญชาการ และสามารถจุนิสิตเรียนได้ทั้ง 3 ชั้นปี พร้อมห้องทำงานคณาจารย์และอื่นๆ (ในหน้า 130)
4) สถานที่ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของตรอกแป๊ะกงซัน และคลองไผ่สิงโต (ตรอกและคลองติดกันและอยู่ขนานกัน) และอยู่ฝั่งตรงข้ามของสนามหน้าหอประชุม (ยังไม่มีหอประชุมในแผนที่) ตามภาพแผนผังสังเขป วิทยาเขตจุฬาฯ สมัยกำเนิดสถาปัตย์ (หน้า 102)
2.2 ผู้เขียนบันทึกนี้ รับราชการในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในช่วงที่เรือนภะรตราชายังมีอยู่ ช่วงสุดท้ายของการถูกรื้อเพราะทรุดโทรมหนัก เคยเป็นที่พักอาศัยของหัวหน้าคนงาน 2 ครอบครัวคือ
1) นายสวัสดิ์ นาคเกตุ เป็นหัวหน้าคนงานในสมัย ม.ร.ว. แหลมฉาน หัสดินทร์ เป็นหัวหน้าแผนกเบ็ดเตล็ด และ
2) นายประหยัด นาคเกตุ น้องนายสวัสดิ์ เป็นหัวหน้าคนงานถัดมา ในสมัยที่ผู้เขียนเป็นหัวหน้าแผนกอาคารสถานที่ (ชื่อแผนกเปลี่ยนมาจากแผนกเบ็ดเตล็ด) และอาจมีคนงานอื่นที่แอบแฝงอาศัยอยู่อีก แต่ผู้เขียนจำไม่ได้

       สิ่งที่ไม่ถูกต้องดังกล่าว ผมได้เคยทักท้วงด้วยวาจากับผู้ออกแบบบูรณะแล้ว และยังได้เคยบอกกล่าวไว้กับอาจารย์และข้าราชการหลายท่าน เช่น รศ. ต่อพงศ์ ยมนาค, อาจารย์สวัสดิ์ และ ฯลฯ โดยมิได้มีบันทึกไว้เป็นหลักฐาน และการบอกกล่าวนั้นน่าจะเป็นที่มาของบทความในหน้า 75 ของหนังสือจามจุรี ปีที่ 15 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2556 โดยมีคณะอาจารย์ร่วมสนทนากับธิดาและหลานของพระยาภะรตราชา เมื่อ 30 เมษายน  2556 ซึ่งน่าจะสรุปได้ว่า ไม่ใช่การปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเดิม และสิ่งสำคัญในบทความดังกล่าวอีกประการหนึ่งคือ ที่ตั้งของอาคารมิได้ถูกระบุว่าอยู่ที่ใดตรงกับที่ตั้งเดิมหรือไม่ ซึ่งเป็นสาระสำคัญอย่างยิ่งที่จะยืนยันได้ว่าอาคารดังกล่าวเป็นอาคารที่ถูกต้องหรือไม่

        และในหลายบทความนี้ มหาวิทยาลัยมีบันทึกไว้ว่า “...หลังจากการการชำรุดตามกาลเวลา เรือนหลังนี้จึงได้รับการบูรณะเพื่อเป็นอนุสรณ์สถาน และเป็นการระลึกถึง พระยาภะรตราชา (ม.ล. ทศทิศ อิศรเสนา) อดีตผู้บัญชาการมหาวิทยาลัย ที่เคยพำนัก ณ เรือนแห่งนี้ ...” (การบูรณะโดยอาจารย์คณะ สถาปัตย์ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536-2538 แต่ข้อเท็จจริง อาคารเรือนภะรตราชาจริงถูกรื้อไปก่อนหน้านี้แล้ว คาดว่าก่อนปี พ.ศ. 2531 ตรวจสอบได้จากการสร้างอาคารจามจุรี 3 เพราะต้องรื้อเรือนจึงจะสร้างอาคารได้)

   แม้กระทั่ง ประวัติคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหนังสือที่ระลึก 60 ปี คณะสถาปัตย์ฯยังมีข้อผิดพลาด คาดว่าเนื่องมาจากการลอกเลียนต่อๆกันมา ซึ่งระบุข้อความในหน้า 18 ว่า “..โดยได้เปิดทำการสอนที่บ้านพักผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยเดิม เป็นการชั่วคราว (เคยเป็นอาคารอำนวยการโรงเรียนสาธิต จุฬาฯ ปัจจุบันเป็นที่ทำการของสถาบันวิจัยสังคมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)” ข้อความในวงเล็บนี้ ไม่น่าถูกต้อง ตามข้อมูลหลักฐานที่กล่าวได้ข้างต้น ควรที่คณะสถาปัตย์ฯ ต้องแก้ไขโดยการลบข้อความในวงเล็กออก ก็จะไม่มีปัญหาผิดพลาดและลอกเลียนกันต่อไป

   จากข้อมูลข้างต้น น่าจะสรุปได้ว่า สถานที่ตั้งของอาคารเรือนภะรตราชาของจริงหลังเดิม จะอยู่บริเวณคอร์ดหลังสำนักงานอธิการบดี ใกล้กับอาคารจามจุรี 2 และเป็นอาคารจามจุรี 3 ในปัจจุบันมิใช่อาหารหลังปัจจบันที่เข้าใจกันตามเอกสารหลายๆ ฉบับที่เผยแพร่อยู่ในขณะนี้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 21 มี.ค. 16, 16:50

3.ความจริงของอาคาร “เรือนภะรต” ปัจจุบัน
อาณาบริเวณที่ตั้งสำนักอธิการบดี เดิมเรียกว่า สำนักงานเลขาธิการ ในช่วงที่ผู้เขียนบันทึกนี้ เริ่มเข้าทำงาน (พ.ศ. 2508) ด้านทิศเหนือของอาคารปัจจุบันเป็นสำนักงานจัดการทรัพย์สิน และโรงพิมพ์จุฬาฯ จะมีบ้านพักอยู่ 3 หลัง เรียงลึกเข้าไปจากถนนพญาไท บ้านหลังแรกอยู่บริเวณสำนักงานจัดการทรัพย์สินฯ ในปัจจุบัน ผู้อาศัยในช่วงนั้นคือ ผอ. กองคลัง (คุณพิมล บุญอาภา และภรรยาคุณรุจา บุญอาภา ซึ่งต่อมามีตำแหน่ง ผอ. กองการเจ้าหน้าที่ ) บ้านหลังที่ 2 ผู้พักอาศัยคือ คุณอุดร ชื่นกลิ่นธูป ผอ. กองกลาง บ้านหลังที่ 3 ผู้เขียนจำไม่ได้
   ทางด้านทิศเหนือของบ้าน 3 หลังดังกล่าว ห่างไม่มากนัก เป็นคลองไผ่สิงโต คลองนี้จะตัดผ่านถนนพญาไท ผ่านหน้าตึกสถาปัตย์ ออกสู่คลองอรชรริมถนนสนามม้า (ถนนอังรีดูนังต์ ปัจจุบัน) ติดกับรั้วจุฬาฯ ด้านทิศตะวันออก ช่วงคลองไผ่สิงโต ผ่านถนนพญาไทจะมีสะพานข้ามคลองตามแนวถนนพญาไท ชื่อ สะพานอุเทนถวาย ข้างคลองจะมีทางเดินเรียกกันว่า ตรอกแป๊ะกงซัน ตามชื่อศาลเจ้าจีนซึ่งอยู่กลางซอย (ดูภาพแผนผังสังเขปวิทยาเขตจุฬา สมัยกำเนิดสถาปัตย์ หน้า 102 หนังสือที่ระลึก 60 ปี สถาปัตย์ ) ตามแนวตรอกแป๊ะกงซัน จะมีบ้านพักอาจารย์อยู่ 2 หลัง เรียงลำดับจากถนนพญาไทหลังแรกจะเป็นที่พักของ อาจารย์เมือง เสนียวงศ์ ณ อยุธยา ขณะนั้นเป็นอาจารย์คณะพาณิชยศาสตร์การบัญชี หลังที่ 2 เป็นที่พักของ อาจารย์ทองระคน บุญเสรฐ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
   จากข้อมูลดังกล่าว (จากคุณรุจา บุญอาภา อดีต ผอ. กองการเจ้าหน้าที่) ตำแหน่งที่ตั้งอาคารที่ถูกเรียกว่า เรือนภะรตราชาในปัจจุบัน ควรจะเป็นที่พักเดิมของอาจารย์ทองระคน บุญเสรฐ (เพราะถ้าเป็นบ้านอาจารย์เมือง จะอยู่ใกล้ถนนพญาไทมาก) ดังนั้น จึงเป็นอีกข้อมูลหนึ่งที่บ่งชี้ว่า เรือนภะรตราชา หลังปัจุบันมิใช่ของจริงหลังเดิม ที่พระยาภะรตราชาเคยพำนัก
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 21 มี.ค. 16, 16:51

จากข้อเท็จจริงนี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า อาคารที่มหาวิทยาลัยบูรณะปรับปรุงขึ้นนั้น เป็นเพียงอาคารพักอาศัยของอาจารย์หลังหนึ่งเท่านั้น มิใช่การบูรณะปรับปรุงอาคารที่พักของพระยาภะรตราชา

   ทีเรียนเสนอมาทั้งหมดนี้ก็เพื่อมิอยากให้ประวัติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงแม้จะเป็นบางส่วนต้องคลาดเคลื่อน ผิดเพี้ยน และหากมีการอ้างอิงต่อๆกันมา ย่อมจะขยายความคลาดเคลื่อนมากขึ้น เช่น โรงเรียนสาธิต จุฬาฯ และสถาบันวิจัยสังคมศาสตร์ หากเขียนประวัติความเป็นมาของหน่วยงานตนว่าเริ่มก่อตั้งครั้งแรก ณ อาคารเรือนภะรตราชา ก็จะไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง สมาคมสถาปนิกสยามฯ ที่มอบรางวัลอนุรักษ์ดีเด่น อาจมองว่าเรือนภะรตราชาเป็นอาคารสำคัญของมหาวิทยาลัยด้วยหรือไม่ ถ้าเป็นบ้านพักอาจารย์ธรรมดา จะมอบรางวัลนี้ให้หรือไม่ อาจารย์จิ๋ว(รศ. วิวัฒน์ เตมียพันธ์) ที่ทำบันทึก FIELD TRIP มีรูปถ่ายประกอบ และเรียกชื่อว่า “เรือนภะรตราชา” ก็สำคัญผิด เพราะมหาวิทยาลัยระบุชื่อไว้ ณ อาคารนั้น ดังนั้น หากความจริงปรากฏขึ้นใหม่เช่นนี้ ก็ควรที่มหาวิทยาลัยต้องแก้ไข และหรือ แจ้งผู้หลงผิดให้ได้รับทราบความเป็นจริงที่ถูกต้องต่อไป

   จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา และหรือดำเนินการตามเหมาะสม เพื่อประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่ถูกต้องต่อไป

                  ขอแสดงความนับถือ

   
                     (นายสิน  พวงสุวรรณ)
                อดีต หัวหน้าสำนักงานอธิการบดี
                           จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



หมายเหตุ  - เอกสารและข้อมูลบางส่วนได้รับความช่วยเหลือและค้นหาจากคุณอาภากร โพธิเย็น ศูนย์พัฒนกิจและศิษย์เก่าสัมพันธ์ , คุณรัชดา โชติพานิช คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และคุณรุจา บุญอาภา อดีต ผอ. กองการเจ้าหน้าที่ จุฬาฯ

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 21 มี.ค. 16, 17:06

เอาละครับ

ผมเองก็งงกับภาพเก่าของเรือนภะรตราชานี้มาก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 21 มี.ค. 16, 17:10

เหตุไฉนหลังการบรูณะจึงได้ผิดแผกไปจากของเดิมอย่างเห็นได้ชัด
ถามใคร ทุกคนก็ได้แต่แสดงความแปลกใจ ไม่มีใครตอบได้ชัดเจนเท่าพี่สิน พวงสุวรรณ ตามเอกสารข้างบน


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 22 มี.ค. 16, 08:04

สอดคล้องกับแผนที่ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2453 เรื่องศาลเทพารักษ์อยู่ไหน ?

ศาลนี้ตั้งอยู่ริมคลองที่เอกสารของจุฬาอ้างว่าชื่อ "คลองไผ่สิงโต" ซึ่งเป็นแนวยาวผ่านหน้าตึกสถาปัตยกรรม และมีการสร้างสะพานอุเทนถวายสร้างอยู่


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 22 มี.ค. 16, 08:17

ค้นหาคำตอบเรื่องคลองบริเวณจุฬาลงกรณ์ มาให้ อา Navarat.C แล้วนะครับ
๑. คลองนางใบ้ จากคลองสวนหลวงวิ่งมายังศาลเทพารักษ์ (จุดเหลือง)

๒. คลองสะพานสูง ด้านทิศเหนือ จากด้านหอพักนิสิต (มาบุญครอง) ลงมาชนที่ตั้งโรงพักพลตระเวนย่อยหัวลำโพง

๓. คลองอุเทน ด้านตะวันออก วิ่งจากโรงพักพลตระเวนย่อยหัวลำโพง ผ่านหน้าคณะสถาปัตยกรรม ไปออกคลองอรชร


นั่นหมายความว่าครั้งหนึ่งคลองนางใบ้และคลองอุเทน (เรียกกันช่วง พศ. 2464) ได้ถูกเรียกต่อกันมาเป็น "คลองไผ่สิงโต" ในระยะหลัง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 22 มี.ค. 16, 08:49

อ้างถึง
ตำแหน่งที่ตั้งอาคารเรือนภะรตราชา (อาคารเดิม)

สถานที่ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของตรอกแป๊ะกงซัน และคลองไผ่สิงโต (ตรอกและคลองติดกันและอยู่ขนานกัน) และอยู่ฝั่งตรงข้ามของสนามหน้าหอประชุม

จากข้อมูลข้างต้น น่าจะสรุปได้ว่า สถานที่ตั้งของอาคารเรือนภะรตราชาของจริงหลังเดิม จะอยู่บริเวณคอร์ดหลังสำนักงานอธิการบดี ใกล้กับอาคารจามจุรี 2 และเป็นอาคารจามจุรี 3

เรือนภะรตราชาน่าจะเป็นกลุ่มอาคารที่อยู่ในบริเวณพื้นที่สี่เหลี่ยมที่ผมประมาณไว้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 22 มี.ค. 16, 09:01

น่าจะเป็นเรือนนี้หรือเปล่า


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 22 มี.ค. 16, 09:04

อ้างถึง
คลองไผ่สิงโต คลองนี้จะตัดผ่านถนนพญาไท ผ่านหน้าตึกสถาปัตย์ ออกสู่คลองอรชรริมถนนสนามม้า (ถนนอังรีดูนังต์ ปัจจุบัน) ติดกับรั้วจุฬาฯ ด้านทิศตะวันออก ช่วงคลองไผ่สิงโต ผ่านถนนพญาไทจะมีสะพานข้ามคลองตามแนวถนนพญาไท ชื่อ สะพานอุเทนถวาย ข้างคลองจะมีทางเดินเรียกกันว่า ตรอกแป๊ะกงซัน ตามชื่อศาลเจ้าจีนซึ่งอยู่กลางซอย

สะพานอุเทนถวาย ตามภาพครับ เดี๋ยวนี้ไม่เหลือแม้แต่ทราก


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 4.178 วินาที กับ 20 คำสั่ง