เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10]
  พิมพ์  
อ่าน: 20825 พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 25 เม.ย. 16, 13:32

พวกฮ่อพร้อมอยู่ที่จะมอบตัวเข้าอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลสยาม ความร่วมมือร่วมใจของหลวงพระบางก็กำลังเข้มแข็ง การแต่งตั้งเจ้านายสักพระองค์หนึ่งไปทรงบัญชาการที่นั่น จะเป็นสิ่งที่สร้างเสริมให้ดีขึ้นไปอีก
การส่งกองกำลังสักสามสี่ร้อยนายไปที่นั่น จะแสดงให้พวกนั้นประจักษ์ความใส่พระทัยที่พระเจ้าอยู่หัวสยามทรงมีต่อพวกเขาอย่างเป็นรูปธรรม

แต่ทหารที่ส่งไปจะต้องอยู่ในระเบียบวินัยโดยเคร่งครัด และไม่ไปถือโอกาสข่มเหงพวกชาวบ้าน ทุกสิ่งที่เอาไปจากพวกเขาจะต้องจ่ายราคาให้ด้วย
ส่วนค่าใช้จ่ายในปฏิบัติการนี้ทั้งหมด หลวงพระบางจะเป็นผู้ชดเชยคืนให้ในภายหลัง

คำถามมากมายที่เกี่ยวข้องในกรณีย์นี้ไม่มีทางจะหาคำตอบได้ในกรุงเทพ แต่จะต้องมาดูกันยัง สถานที่จริง และภายใต้สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ตรงนั้น

หากเข้มแข็งเอาจริงเอาจัง บทสรุปอันน่าพึงพอใจจะเกิดขึ้นได้ โดยอาจไม่จำเป็นต้องใช้กระสุนแม้แต่นัดเดียว
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 25 เม.ย. 16, 13:42

หนังสือฉบับนี้ ม.ล.มานิจ ชุมสายท่านหมายเหตุไว้ว่า คงจะไม่มีใครมีโอกาสได้อ่านต้นฉบับอีกแล้ว เพราะถูกหมกอยู่ในห้องใต้ดินในสถานทูตที่ปารีสมายาวนานมาก ขนาดตอนที่ท่านไปพบ ข้อความที่เขียนด้วยหมึกก็เลอะเลือนเกือบจะอ่านไม่ออก ท่านจึงคัดลอกมาพิมพ์ไว้ด้วยเพื่อป้องกันสูญหาย

เดี๋ยวว่างแล้วผมจะเอาต้นฉบับภาษาอังกฤษมาลงไว้ให้ครับ ขณะนี้ยังไม่ได้ทานข้าวกลางวันเลย
บันทึกการเข้า
สองล้อ
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 25 เม.ย. 16, 15:36

กำลังสนุกครับคุณอา แต่ก็แอบง่วงเนื่องจากท้องอิ่มมากไปหน่อย อิอิ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 25 เม.ย. 16, 18:34

มาแล้วครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 25 เม.ย. 16, 18:34



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 25 เม.ย. 16, 18:35



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 25 เม.ย. 16, 18:36



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 26 เม.ย. 16, 09:21

แรงกดดันที่ฝรั่งเศสใช้กำลังรบรุกเข้ามา ทำให้พวกฮ่อได้หลบหนีออกมาทางสิบสองจุไท แล้วปล้นสะดมราษฎรในเขตบ้านนอกของเมืองเชียงขวางและหัวพัน รัฐบาลสยามได้ส่งกองทัพนำอาวุธทันสมัยขึ้นไปปราบ ในการนี้คณะสำรวจทำแผนที่ของนายแมคคาร์ธีได้ติดตามทหารขึ้นไปด้วยเพื่อทำงานต่อให้สำเร็จ
การปฏิบัติการครั้งนี้ ทหารไทยได้ขับไล่ฮ่อออกไปจากดินแดนสยามสำเร็จโดยฮ่อกลุ่มสุดท้ายได้ยอมมอบตัวโดยดี

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงยินดีต่อความสำเร็จของกองทัพสยามที่ยกไปปราบฮ่อในครั้งแรกมาก ในพระราชดำรัสที่ทรงมีต่อหมู่ข้าเฝ้าทั้งชาวไทยและต่างประเทศเนื่องในโอกาสวันฉัตรมงคล ๒๑ กันยายน ๑๘๘๔ ทรงกล่าวถึงเรื่องนี้อย่างยืดยาว สำเนาภาษาไทยคงอยู่ที่สถานทูต และ ม.ล. มานิจ คงจะแปลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อมาลงไว้ในหนังสือของท่าน ผมจะกล่าวแต่โดยย่อก็แล้วกัน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 26 เม.ย. 16, 10:40

ทรงกล่าวถึงเหตุผลที่ส่งกองทหารจำนวนไม่มากนักขึ้นไปปราบฮ่อ และให้นายช่างชาวอังกฤษที่ไว้ใจได้ขึ้นไปทำแผนที่แนวชายแดน ที่ทรงต้องการก็คือ ผลของการสำรวจพื้นที่บริเวณภูเขาและที่ราบลุมแม่น้ำโขงที่ยังไม่เคยศึกษามาก่อน ส่วนข้อจำกัดของการนี้นั้น คือเขตแดนที่ถูกต้องเป็นที่ยอมรับของคนในพื้นที่เหล่านั้น และต้องการทราบวิถีชีวิต ทรัพยากรธรรมชาติ และการคมนามคมติดต่อระหว่างกัน อันจะเป็นก้าวแรกที่จะอำนวยให้เกิดการทำมาค้าขาย ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และเป็นปัจจัยของความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ

การสำรวจที่มีเวลาแค่สองสามเดือนก่อนถึงหน้าฝนที่ผ่านมาก็ได้ผลเป็นที่พึงพอใจ ครบตามความต้องการของเรา เป็นที่น่าเสียใจอย่างยิ่งที่ฝนเมื่อต้นฤดูได้นำความเจ็บป่วยมาให้ และทหารหลายคนหนีทัพ เราได้สูญเสียนายทหารชาวยุโรปไปคนหนึ่ง ทำให้เราต้องยกกำลังกลับ

คณะสำรวจจะกลับไปทำงานนี้ต่อเมื่อสิ้นฤดูฝนแล้ว เพื่อลงรายละเอียดตามที่กำหนดไว้ และจะถอนกลับก่อนฤดูฝนที่จะมาในปีหน้า

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 26 เม.ย. 16, 11:34

ฝรั่งเศสกำลังติดพันกับสงครามตังเกี๋ยกับจีน จึงไม่มีเวลามาแทรกแซงเรื่องของสยาม ตอนนั้นก็เพียงแต่กะว่าถ้าเสร็จศึกด้านโน้นเมื่อไหร่ ก็จะโยกทหารมายึดครองดินแดนที่ตัวจะอ้างสิทธิ์ว่าเป็นเจ้าของแล้ว ก่อนที่ฝ่ายไทยจะกระดิกตัว

ครั้นเห็นพระราชดำรัสที่หนังสือพิมพ์ฝรั่งนำไปเสนอข่าว รักษาการกงสุลใหญ่ฝรั่งเศสในกรุงเทพ M. Lorgeou ก็เต้นผาง แล้วทำหนังสือลงวันที่ ๔ ตุลาคม ๑๘๘๔ ประท้วงอย่างรุนแรงมายังรัฐบาลสยามทันทีว่า การกระทำดังกล่าวบนพื้นที่ซึ่งเป็นของรัฐที่ส่งเครื่องราชบรรณาการแก่หลายประเทศนั้น ทำให้เขาจำต้องประท้วง ภายในขอบเขตของพันธกรณีย์อันดีที่มีต่อกัน และขอสงวนสิทธิ์ตามสากลปฏิบัติ ที่จักรวรรด์เวียตนามและฝรั่งเศสอันจะพึงมี ต่อเส้นแนวเขตที่จะแบ่งดินแดนกันระหว่างเวียตนามและสยาม


บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 26 เม.ย. 16, 14:16

เข้ามาลงชื่อว่าไม่ได้นั่งหลับหลังห้องนะครับ แต่แอบปั่นงานตัวเองไปด้วย  ยิงฟันยิ้ม

เนื้อหากำลังสนุกเลยแต่วันนี้ผมเบลอๆมืนๆนิดหน่อย นี่คือสงครามปราบฮ่อครั้งที่ 4 ใช่ไหมครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 27 เม.ย. 16, 07:12

ครั้งแรกเลยครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 27 เม.ย. 16, 10:23

นายแมคคาธีมองเห็นแล้วว่า แม้ว่าสยามจะส่งกำลังทหารออกปฏิบัติการ และทำแผนที่แล้วเสร็จตามคำแนะนำของเขา ก็ยังถือว่าสายเกิน

นายลอร์ซูว์ประท้วงแม้กระทั่งพระนามของพระมหากษัตริย์ไทย ที่มีสร้อยต่อท้ายพระปรมาภิไภยว่า พระเจ้าแผ่นดินแห่งพระราชอาณาจักรสยามเหนือใต้ และแผ่นดินลาวเฉียง ลาวกาว ฯลฯ ว่า ในหลวงน่าจะทรงทราบดีว่าคำว่าลาวใช้กันโดยทั่วไป และมีความหมายกว้าง ซึ่งในหลวงทรงไม่สามารถจะมีกรรมสิทธิ์ในแผ่นดินลาวทั้งหมดที่ฝรั่งเศสได้อ้างสิทธิ์ไว้ จนเป็นเหตุแห่งสงครามตังเกี๋ยได้ เพียงแต่ฝรั่งเศสยังไม่มีเวลาที่จะทำข้อตกลงเงื่อนไขกับสยาม แต่ยังยืนยันสงวนสิทธิ์ในดินแดนที่เกี่ยวข้องในทุกกรณีย์

ในขณะเดียวกัน นายเฮอร์มานก็ได้ทำรายงานยาวเหยียดถึงความเป็นไปได้ที่ฝรั่งเศสจะยึดครองที่ดินในภูมิภาคนี้
หลังจากนั้น กระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศสจึงทำหนังสือแจ้งนโยบาย ลงวันที่ ๖ เมษายน ๑๘๘๓ ว่า “ …นครรัฐแม่โขงจะต้องถูกจัดตั้งขึ้นโดยปราศจากข้อสงสัยในเขตแดนของทั้งสองประเทศ ภายในเร็ววันข้างหน้า…”

ฝรั่งเศสเริ่มคุกคามสยามอย่างหนักในสมัยที่พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงเป็นทูต ภาระในการที่จะยับยั้งให้สำเร็จได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความต้องการที่พวกเขาจะเรียกร้องในรูปแบบต่างๆ เช่นเรื่องความต้องการที่จะควบคุมการโทรเลขระหว่างกรุงเทพกับไซ่ง่อนโดยคนฝรั่งเศส และการเป็นผู้ควบคุมการทำประมงในโตนเลสาป
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.044 วินาที กับ 19 คำสั่ง