เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 20857 พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 29 มี.ค. 16, 11:46

อาจารย์ครับ จากคำกราบบังคมทูล ที่ว่า  

"The King of Siam, my August Sovereign,..."

คำว่า August ในประโยคนี้ หมายถึงอะไรครับ ในกรณีนี้ คงไม่ได้หมายถึงชื่อเดือนกระมังครับ ?


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 29 มี.ค. 16, 12:30

แหะ ๆ
รอท่านอาจารย์ใหญ่เทาชมพู ท่านหายไข้แล้วเข้าตอบก็แล้วกันนะครับ

ขอตัวแว็บ  ฟิ๊ววววว
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 29 มี.ค. 16, 13:23

August มีความหมายในสองสิ่ง
คือเดือนสิงห์คุณนริศคิดความหมาย
คือสูงส่งน่าเคารพนบนอบกาย
August Sovereign หมาย "บรมราชา" น่าจะตรง
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 29 มี.ค. 16, 13:43

ขอบพระคุณครับ
ถ้าอย่างนั้น ผมสันนิษฐานว่า มาจากชื่อเจ้าของเดือน August คือ Augustus Caesar (63 B.C.–A.D. 14)
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 29 มี.ค. 16, 13:53

ความรู้ใหม่เอี่ยมเลย ขอบคุณอาจารย์ใหญ่ทุกท่านครับ ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 29 มี.ค. 16, 15:28

ย่องกลับเข้ามานั่งเป็นนักเรียนมั่ง

เท่าที่หาเจอในเน็ทมีพระจักรพรรคิ์แห่งญี่ปุ่นเท่านั้น ที่ฝรั่ง(อเมริกัน)ใช้คำว่า August Sovereign of Japan
อาจารย์หมอเพ็ญพอจะหากษัตริย์พระองค์อื่นที่ทรงใช้ August Sovereign ได้อีกไหมครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 29 มี.ค. 16, 15:45

ความหมายของ august ที่ใช้เป็น adjective คือ
noble, great, kingly, grand, excellent, imposing, impressive, superb, distinguished, magnificent, glorious, splendid, elevated, eminent, majestic, dignified, regal, stately, high-ranking, monumental, solemn, lofty,

น่าทึ่งอยู่เหมือนกันกับคนที่ประดิษฐ์คำๆนี้มาประกอบพระนามพระเจ้าแผ่นดินสยาม ซึ่ง(ผมว่า)ไม่เกี่ยวกับ Augustus Caesarแต่อย่างใด
เพียงแต่หลีกเลี่ยงไม่ใช้คำ เช่น Great Sovereign หรือ Glorious Sovereign ฯลฯ ซึ่งอาจจะฟังว่ายกพระองค์จนเกินไป

บางที อาจจะนำความคิดมาจากการที่นายพลเรือเพอรรี่ ใช้คำๆนี้กับสมเด็จพระจักรพรรดิ์ญี่ปุ่นในสนธิสัญญาเปิดประเทศ ซึ่งถือเป็น case studyในสมัยนั้น และผ่านตาคนไทยอยู่ จึงนำมาใช้บ้าง


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 29 มี.ค. 16, 19:12


ความรู้ใหม่สำหรับผมเหมือนกันครับ

"the august sovereign of ..." น่าจะแปลว่าเจ้าเหนือหัว
ลงค้นดู ... มีตั้งแต่

Spain Siam China German England France ไปจนถึง Mosquito  ยิงฟันยิ้ม
 
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 30 มี.ค. 16, 07:48

การแต่งตั้งหม่อมเจ้าปฤษฎางค์เป็นราชทูตพิเศษ และอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม

เมื่อกลับจากแผ่นดินใหญ่ยุโรปมาถึงลอนดอนแล้ว ทรงได้รับคำสั่งจากกรุงเทพว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯให้ท่านเป็นราชทูตพิเศษประจำทุกราชสำนักในยุโรปและสหรัฐอเมริกา มีหนังสือของเจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดีกำกับมาว่า พระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชบัญชายังตัวท่านให้แจ้งความมาทูลให้ทราบว่า ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ท่านเป็นราชทูตพิเศษ และอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม พระสยามธุระพาหะเป็นเลขานุการต่างประเทศ หลวงนายเดชเป็นเลขานุการ ขุนปฏิภาณพิจิตรกับนายร้อยเอกเพียรเป็นผู้ติดตาม บุคคลเหล่านี้กำลังเดินทางมาสมทบ ส่วนงานของท่านอันเกี่ยวกับการขอแก้ไขสัญญาว่าด้วยการค้าสุรานั้น ก็ตามที่ได้เคยทรงมีพระราชกระแสรับสั่งกับท่านไว้แล้ว

เอกสารประจำตัวที่จะต้องนำขึ้นถวายยังราชสำนักต่างๆนั้น ได้ถูกจัดส่งมากับหลวงนายเดชและคณะที่มาจากกรุงเทพ ซึ่งมากันเป็นคณะใหญ่เพราะโปรดเกล้าฯให้นำนักเรียนไทยอีก ๘ คน มาเรียนต่อในยุโรปด้วย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 30 มี.ค. 16, 08:01

หน้าที่ของราชทูตสมัยนั้นจึงรวมไปถึงการเป็นผู้ปกครองเด็กไปด้วยเป็นงานฝาก จึงถือว่าหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ทรงเป็นผู้ดูแลนักเรียนไทยประจำยุโรปองค์แรกด้วย  ทรงจัดการให้นักเรียนคณะนั้นเข้าเรียนใน ๔ ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และออสเตรีย ในอังกฤษนั้น ทรงจ้างครูคนหนึ่งให้ตระเวนเยี่ยมนักเรียนซึ่งมีอยู่มากคนแล้ว เพื่อประเมินผลการเรียนและให้คำแนะนำต่างๆกับเด็กในด้านการศึกษาเล่าเรียน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 30 มี.ค. 16, 08:18

พระบรมราชโองการแต่งตั้งราชทูตพิเศษ และอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มทำให้กงสุลใหญ่สยามในอังกฤษไม่พอใจ นายเมสัน (D.K Mason) หรือพระสยามธุระพาหะ ต่อมาได้เป็นพระยา ผู้ที่เคยเป็นพ่อค้าและมีห้าง ชื่อห้างเมสันตามชื่อของตนเองนี้แหละ ทำมาค้าขายอยู่ในกรุงเทพตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ ต่อมาทรงจ้างให้ไปเป็นกงสุลของสยามประจำอยู่ในลอนดอน แต่ห้างนั้นก็ยังคงดำเนินการต่อ

นายเมสันถือว่าเป็นคนเก่าแก่ แต่ตำแหน่งใหม่ที่เขาได้รับคือเลขานุการต่างประเทศนั้นกระจ๋อนเกินไป ไม่สมศักดิ์ศรี จึงทำหนังสือขอเกษียณทางทางราชการ อ้างว่าชราภาพแล้ว ขอรับพระราชทานบำนาญอยู่กินกับบ้านดีกว่า
ท่านทูตปฤษฎางค์ก็ทรงเข้าใจเป็นอันดี แต่ทรงขอร้องให้เขาอยู่ช่วยท่านในระยะเริ่มต้นนี้ก่อน โดยจะแต่งตั้งตำแหน่งให้ใหม่เป็นที่ปรึกษา ซึ่งนายเมสันก็พอใจ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 31 มี.ค. 16, 08:19

มีเรื่องปวดหัวประดังมาแทรกซ้อน

คณะของหลวงนายเดชผู้จะมาเป็นเลขานุการสถานทูต ได้นำข้าราชการและนักเรียนทั้งแปดไปหลงทางเสียตั้งแต่ลงจากเรือที่ยุโรป แต่แรกนั้นท่านทูตปฤษฎางค์รับสั่งให้มองซิเออร์ เกรออง กงสุลสยามในฝรั่งเศสไปรอรับคณะที่ท่าเรือเมืองมาร์แซย์  แต่คณะคนไทยนี้ไปลงเสียที่เนเปิล  ต้องโทรเลขไปๆมาๆกันหลายตลบกว่าจะได้ความว่า ณ จุดสุดท้ายที่ติดต่อกันนั้น  ทั้งหมดได้ขึ้นรถไฟจากเนเปิลไปแล้ว มุ่งหน้าจะไปลงที่เวียนนา ท่านทูตปฤษฎางค์จึงทรงสั่งการให้กงสุลฝรั่งที่นั่นไปคว้าตัวมาให้ได้ แล้วให้ประกบขึ้นรถไฟมาที่โดเวอร์ และลงเรือข้ามฟากมาลอนดอนด้วย

สุดท้ายหลวงนายเดชก็มาถึงที่หมายได้ และนำหนังสือของกรมหมื่นเทววงศ์ ราชเลขาธิการส่วนพระองค์ทรงมีถึงมองซิเออร์ เกรออง กงสุลสยามในฝรั่งเศส แจ้งเรื่องที่สยามได้จัดตั้งสถานอัครราชทูตขึ้นในลอนดอน และขอให้กงสุลที่ฝรั่งเศสคอยรับรองและช่วยเหลือในกิจการที่ท่านทูตจะพึงมีในอนาคต

แน่นอน เมื่อเรื่องนี้ถึงมือ มองซิเออร์ เกรออง ก็ไม่พอใจ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 31 มี.ค. 16, 08:52

กรมหมื่นเทววงศ์ทรงได้รับหนังสือตอบจากมองซิเออร์ เกรออง แสดงความไม่เห็นด้วยที่จะให้หม่อมเจ้าปฤษฎางค์จะจัดตั้งสถานทูตในลอนดอนแทนที่จะเป็นปารีส เพราะฝรั่งเศสเป็นประเทศมหาอำนาจยิ่งใหญ่ ถ้ามีสถานทูตในอังกฤษโดยไม่มีในฝรั่งเศสด้วยก็เท่ากับดูถูกกัน

กรมหมื่นเทววงศ์ทรงตอบกลับไปอย่างเรียบๆว่า สยามเป็นประเทศเล็กๆ ที่ยังไม่สามารถจะมีสถานทูตหลายๆแห่งได้

หม่อมเจ้าปฤษฎางค์จึงได้ทรงเป็นอัครราชทูตไทยองค์แรกประจำราชสำนักเซนต์เจมส์  เข้าถวายพระราชสาส์นตรงตั้งต่อพระนางเจ้าวิกทอเรียที่พระราชวังวินเซอร์ ในวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๑๘๘๒ แต่กว่าจะได้เข้าพบประธานาธิบดีฝรั่งเศส ก็ล่วงเลยไปจนในวันที่ ๙ ธันวาคม ๑๘๘๒  อย่างไรก็ตาม ในเวลาประมาณสองปีให้หลัง สยามจึงจำเป็นต้องจัดตั้งสถานทูตขึ้นในปารีสด้วย
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 31 มี.ค. 16, 13:26

กรมหมื่นเทววงศ์ทรงได้รับหนังสือตอบจากมองซิเออร์ เกรออง แสดงความไม่เห็นด้วยที่จะให้หม่อมเจ้าปฤษฎางค์จะจัดตั้งสถานทูตในลอนดอนแทนที่จะเป็นปารีส เพราะฝรั่งเศสเป็นประเทศมหาอำนาจยิ่งใหญ่ ถ้ามีสถานทูตในอังกฤษโดยไม่มีในฝรั่งเศสด้วยก็เท่ากับดูถูกกัน

[/b][/u][/b][/u]


อ่านมาถึงตรงนี้แล้วปรี๊ดเลย...เจตนาจะหาเรื่องชัดๆ ในกรมฯท่านก็คงต้องอดกลั้นน่าดูเลยนะคะ




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 31 มี.ค. 16, 15:35

ใจเย็นๆครับ เรื่องมันผ่านไปแล้ว
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 19 คำสั่ง