เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 20829 พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 26 มี.ค. 16, 09:11

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงมีพระราชดำริว่า หากรัฐบาลสยามสามารถส่งคนของตนไปอธิบายเหตุขัดแย้งต่างๆกับกงสุลได้ถึงตัวผู้หลักผู้ใหญ่ในรัฐบาลของเขา ก็จะได้รับผลทางยุติธรรมกว่าการที่จะต้องผ่านเรื่องไปทางคู่กรณีย์ ดังเช่นคราวที่พระยาภาสกรวงศ์ได้เป็นราชทูตพิเศษ เดินทางไปเจรจาความขัดแย้งกรณีย์นายน๊อกซ์ กงกุลใหญ่อังกฤษถึงลอนดอนกับรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของเขา แล้วได้รับผลสำเร็จอย่างน่าพึงพอใจ

ดังนั้น หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ซึ่งได้พิสูจน์ความรู้ความสามารถในครั้งนั้นด้วยในฐานะล่ามและเลขานุการเอก จึงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้ทรงเป็นอัครราชทูตสยามองค์แรก ประจำการที่ลอนดอนและรับผิดชอบประเทศคู่สัญญาอีกทั้งหมดรวม ๑๒ ประเทศ


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 26 มี.ค. 16, 14:46

ฮิฮิ ให้เวลาท่านอาจารย์ใหญ่กว่าถึงเดือนตุลา ในงานหนังสืองวดหน้า ออกเล่มใหม่เรื่องพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ รวมทุกมุมทุกรสชาติ จะได้พกเตารีดคันไถไปขอลายเซ็นได้ ถ้าตุลานี้ไม่ออกหละไม่ยอมจริงๆ ต้องมีอาละวาดกันแล้ว ยิ้ม
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 26 มี.ค. 16, 17:47

เขียนไปบอกที่สกุลไทยสิครับ อย่ามาเบ่งในห้องนี้ มันบ่มีผล
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 26 มี.ค. 16, 21:34

 โกรธ  โกรธ  โกรธ


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 27 มี.ค. 16, 07:59

ทางโน้นเลยทั่น ทางโน้นเลย มีงานทำแน่


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 27 มี.ค. 16, 08:03

แม้จะไม่ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกัน แต่ท่านราชทูตปฤษฎางค์ก็ได้ทรงเดินทางไปถวายพระราชสาส์นแสดงความปรารถนาดีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯต่อ กษัตริย์ ชาร์ลที่ ๑ แห่งโรมาเนียด้วย

กษัตริย์ของรัฐเอกราชอันไกลโพ้นอีกพระองค์หนึ่งที่เคยได้รับการถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกของสยามก็คือกษัตริย์กาลากะลัว แห่งฮาวาย คราวเสด็จมาสยามในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์ เพื่อแสวงหาพันธมิตรไปคัดง้างกับอเมริกา คราวนั้น หัวหน้าคณะผู้แทนพระองค์ถวายการต้อนรับคือหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ ผู้เพิ่งจะทรงสำเร็จการศึกษาจากอังกฤษด้วยคะแนนระดับเกียรตินิยม และกำลังเป็นคนโปรดของพระเจ้าอยู่หัวในช่วงนั้นทีเดียว

ผมเคยเขียนไว้ "เมื่อสยามรับเสด็จกษัตริย์ฮาวายในสมัยรัชกาลที่๕" ว่างๆลองไปเปิดอ่านนะครับ

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5767.0
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 27 มี.ค. 16, 08:05

หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ได้ทรงจัดตั้งสถานอัครราชทูตสยามขึ้นเป็นครั้งแรกที่ อาคารเลขที่ 8 Glendower Place, South Kensington แล้วย้ายไปอยู่หมายเลข 13 Ashburn Place และ 23 Ashburn Place เป็นที่สุดท้าย
จนกระทั่งปี ๑๙๖๕ สถานเอกอัครราชทูตไทยจึงได้ย้ายอีกครั้ง มายังที่อยู่ปัจจุบัน ณ อาคารเลขที่ 30  Queen’s Gate


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 27 มี.ค. 16, 08:46

ภารกิจพิเศษของหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ในออสเตรียและเยอรมันนี เมื่อปี ๑๘๘๑

ดังที่กล่าวมาแล้วว่า เมื่อก่อนที่จะได้รับโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งอัครราชทูต หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ทรงได้รับคำสั่งให้ไปเฝ้าถวายของขวัญพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แด่ พระราชโอรสของพระเจ้าจักรพรรด์ไกเซอร์แห่งเยอรมันนี ในวโรกาสที่ทรงอภิเษกสมรส และ พระมงกุฏราชกุมาร พระราชโอรสพระเจ้าจักรพรรดิ์แห่งออสเตรีย ในวโรกาสที่พระองค์ทรงอภิเษกสมรสเช่นเดียวกัน

คราวนั้น ท่านทรงเดินทางด้วยรถไฟจากปารีสไปสวิตเซอร์แลนด์  มุ่งไปเฝ้าดยุคแห่งเยนัวที่อิตาลีก่อน
ท่านดยุคนี้เป็นน้องเขยของกษัตริย์อิตาลีผู้เคยเสด็จไปประพาสเมืองไทยในฐานะพระราชอาคันตุกะ และหม่อมเจ้าปฤษฎางค์เคยได้รับพระราชบัญชาให้ถวายการต้อนรับระหว่างเสด็จอยู่ในสยาม การเดินทางครั้งนี้ทรงนำผู้ช่วยชื่อนายเสน่ห์ กับคนรับใช้อีกคนหนึ่งไปด้วย และทรงทำบันทึกประสบการณ์ครั้งนี้ไว้อย่างค่อนข้างจะละเอียด


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 28 มี.ค. 16, 08:52

เมื่อท่านเดินทางถึงสถานีรถไฟ Arona เคานต์โอลิเวรา จาก เวโรนา ได้มาต้อนรับ และพาไปวังท่านดยุคด้วยรถเทียมม้าสี่ตัว เมื่อถึงแล้วก็ได้รับการต้อนรับอย่างเก็นกันเอง ท่านดยุคได้แนะนำให้รู้จักท่านแม่ ก่อนที่จะพาไปยังห้องรับรอง ซึ่งเป็นห้องชุดหรูหราซึ่งจัดถวายพระราชินีแห่งอิตาลี ผู้เสด็จมาพำนักที่นั่นเมือสัปดาห์ที่ผ่านมา

เมื่อถึงเวลาค่ำ ท่านแม่ได้ให้ท่านคล้องแขนนำไปยังโต๊ะอาหาร และใช้เวลากันจนดึกดื่นด้วยการเล่นไพ่ และบิลเลียด  เช้าวันรุ่งขึ้นดยุคแห่งเยนัวได้นำท่านไปยังเรือกลไฟที่จอดเทียบท่าอยู่ที่ทะเลสาป หลังจากนั้นก็ให้ท่านเคานต์นำท่านนั่งรถม้าไปส่งยังสถานีอโรนา

ท่านดยุคยังคงประทับใจในไมตรีจิตอันอบอุ่นระหว่างที่อยู่ในสยาม และยินดีที่ได้ต้อนรับหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ในครั้งนี้ ท่านได้เมตตาเขียนหนังสือแนะนำตนในนามของหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ เพื่อถวายแด่กษัตริย์แห่งอิตาลี ซึ่งขณะนั้นกำลังเสด็จอยู่ในกรุงเวียนนาให้ด้วย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 28 มี.ค. 16, 08:54

หลังจากที่เดินทางออกจากอโรนาไปสู่เวียนนา หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ทรงต้องเจอปัญหาความล่าช้าของการเชื่อมต่อขบวนรถ ต้องเดินทางตลอดทั้งคืนเพื่อจะไปถึงเวียนนาอย่างฉุกละหุกในเช้าของวันที่กำหนดนัดจะเข้าเฝ้า
 
หลังจากได้พักหายใจหายคอได้ไม่นานก็จะถึงช่วงเวลาอันสำคัญ นาย Schönburger กงสุลสยามประจำเวียนนาได้เช่ารถม้าแบบแทกซี่ข้างถนน เพื่อที่จะนำท่านและผู้ช่วย ผู้ซึ่งแต่งเครื่องแบบเข้าเฝ้าอย่างเต็มยศ  เข้าวังไปพบกับกรมวังผู้ใหญ่ ก่อนที่จะนำเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ์ Franz Joseph I แห่งออสเตรีย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 29 มี.ค. 16, 09:41

หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ทรงมีบันทึกว่า การขาดความรู้ความเข้าใจของกงสุลที่สยามจ้างไว้คนนี้เป็นที่ชัดเจน ท่านจึงไม่ได้รับการต้อนรับที่สมควรแก่การ เพราะการจัดการล่วงหน้าที่ใช้ไม่ได้

สมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ์ทรงมีพระกรุณามาก แม้จะทรงแปลกพระทัยเพราะไม่ทรงทราบมาก่อนว่า ราชทูตพิเศษของสยามเดินทางมาเฝ้าพระองค์เพียงเพื่อจะถวายพระราชสาส์นของพระเจ้าอยู่หัวอย่างไม่เป็นทางการเท่านั้น
กงสุลสยามมิได้รับอนุญาตให้เข้าเฝ้าในครั้งนี้ แต่สำนักพระราชวังยอมให้หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ทรงมีล่ามได้ ในการนี้ นาย Schönburger ได้จัดให้พี่ชายของตนมาทำหน้าที่นั้น นายคนนี้ตื่นเต้นขนาดหนักจนเหงื่อแตกพลั่กๆต่อหน้าพระพักตร์ ซึ่งก็น่าจะทรงสังเกตุได้เห็นเช่นกัน

หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ทรงกราบบังคมทูลตามแบบฉบับทางการทูต ผมคงไม่ต้องแปล แต่ผู้อ่านคงถอดความได้ไม่ยาก


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 29 มี.ค. 16, 10:24

สมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ์ทรงตรัสตอบโดยไม่ทรงอ่านร่าง เนื้อหาว่าทรงมีความยินดีต่อความปรารถนาดีของพระเจ้าอยู่หัวสยามผู้ทรงเป็นทั้งเพื่อนและพี่น้องของพระองค์ ทรงพอพระทัยที่ได้ทรงทราบว่าท่านราชทูตผู้แทนพระองค์ในกรุงเทพได้ทำหน้าที่กระชับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศได้ดี  และทรงได้รับรายงานกล่าวถึงพระเจ้าอยู่หัวด้วยความนิยมชมชอบอยู่เสมอ ทรงยินดีต้อนรับหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ในฐานะราชทูตพิเศษท่านแรกที่มาเจริญสัมพันธไมตรี และทรงหวังว่าจะได้รับความสุขความเพลิดเพลินระหว่างพำนักอยู่ในกรุงเวียนนา

ค่ำวันนั้นหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ได้รับเชิญไปฟังคอนเสริต และได้ถูกเบิกตัวต่อสมเด็จพระราชินีที่เสด็จมาเป็นองค์ประธาน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 29 มี.ค. 16, 10:42

ในระหว่างที่เฝ้าอยู่ต่อหน้าพระพักตร์ หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ์ว่า สยามกำลังคิดจะสร้างป้อมปราการเพื่อป้องกันชายฝั่งของตนเอง และอยากจะเรียนรู้ว่าในออสเตรียนั้นได้กระทำไว้อย่างไร สมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ์ทรงสนองตอบโดยทันทีว่าพระองค์ทรงอนุญาต แต่หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ยังไม่สะดวก ณ เวลานั้นเพราะยังมีภารกิจต้องเสด็จไปเยอรมันต่อ จึงกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตที่จะกลับไปลอนดอนก่อน แล้วจึงจะกลับมาอีกครั้ง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 29 มี.ค. 16, 11:10

หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ได้เดินทางต่อไปยังกรุงเบอร์ลิน เมื่อถึงเวลานัดหมาย กรมวังผู้ใหญ่ได้นำรถม้าของสำนักพระราชวังไปรับท่านและคณะ และนำมายังสถานที่เข้าเฝ้าอย่างสมเกียรติ

เมื่ออยู่เบื้องพระพักตร์แล้วท่านราชทูตสยามได้กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงสยามทรงมีพระราชบัญชาให้ท่านนำพระราชสาส์นแสดงความยินดี ซึ่งบรรจุอยู่ภายในกล่องที่สร้างขึ้นด้วยศิลปหัตถกรรมสยาม ในวโรกาสที่พระราชนัดดาของพระองค์ทรงอภิเษกสมรส ในครั้งนี้..

ส่วนข้อความตามสำนวนปฏิบัติทางการทูตก็ตามที่นำมาลงไว้ให้เป็นการศึกษานะครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 29 มี.ค. 16, 11:45

สมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ์ไกเซอร์ได้มีพระราชดำรัสด้วยพระกรุณาอย่างยาวนาน และทรงเชิญให้กลับไปในงานเลี้ยงพระราชทานตอนค่ำ ทรงสัญญาว่าจะสั่งการให้ทหารจัดพาท่านไปชมกิจการและอาวุธยุทโธปกรณ์ หลังจากที่จะไปเวียนนามาแล้ว

กว่าหม่อมเจ้าปฤษฎางค์จะกลับมาอีกได้ก็ประมาณเดือนหนึ่งให้หลัง ที่ออสเตรียนั้น ได้เสด็จไปดูป้อมปราการป้องกันทางฝั่งทะเลตอนใต้ โดยมีท่านอาร์ค ดยุก คาล์ล สตีเฟนได้ร่วมเดินทางไปในเรือกลไฟลำเดียวกันด้วย ท่านอาร์ค ดยุกชอบใจท่านราชทูตมาก จึงได้เชิญไปพำนักที่ปราสาทของท่านและยังได้พาไปชมที่ตั้งทางทหารอื่นๆที่ปกติ ไม่เป็นที่เปิดเผยแก่ชาวต่างชาติ

หลังจากนั้น จึงได้เสด็จไปเบอร์ลินอีกครั้งตามนัดหมาย  และทรงมีหนังสือเล่าความไปยังกงสุลสยามในเวียนนาถึงเรื่องราวที่เบอร์ลินว่า การศึกษางานของท่านเป็นไปด้วยดี และทรงได้รับเกียรติเชิญให้ไปในงานพระราชทานเลี้ยงอีกครั้งพร้อมกับราชทูตของตุรกี ซึ่งนำเครื่องราชย์มาถวายสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ์ไกเซอร์ ในโอกาสนี้ท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อินทร์แดง (The Order of the Red Eagle)จากพระเจ้าไกเซอร์
นายทหารคนสนิทของรัฐมนตรีสงครามผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้นำท่านไปดูที่ตั้งทางการทหารต่างๆนั้น พูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลย ทำให้ต้องพูดจากันผ่านล่ามตลอดเวลา การไปเยี่ยมชมนี้จึงไม่เป็นที่พึงพอใจเลย

ไม่ทราบว่าท่านเอ่ยถึงล่ามขึ้นมาเพื่อจะเปรียบเปรยไปกระทบตัวกงสุลกับพี่ชายหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 19 คำสั่ง