NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 30 เมื่อ 22 มี.ค. 16, 12:05
|
|
เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี เสนาบดีต่างประเทศของสยามก็มีหนังสือราชการกำกับไปด้วย ความว่า พระเจ้าจักรพรรด์ไกเซอร์แห่งเยอรมันนี ทรงมีพระราชหัตถเลขาไปถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องที่พระราชโอรสจะทรงอภิเษกสมรส และ พระเจ้าจักรพรรดิ์แห่งออสเตรียก็ทรงมีพระราชหัตถเลขาไปถวายพระเจ้าอยู่หัวเช่นเดียวกัน ในเรื่องที่มงกุฏราชกุมารของพระองค์จะทรงอภิเษกสมรส
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯให้หม่อมเจ้าปฤษฎางค์อัญเชิญพระราชหัตถเลขาของพระองค์ พร้อมทั้งเครื่องบรรณาการของขวัญไปพระราชทานเจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์
โอกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชบัญชาให้หม่อมเจ้าปฤษฎางค์เข้าพบท่านประธานาธิบดีแห่งประเทศฝรั่งเศสเพื่อแสดงพระราชไมตรีอันดีของพระองค์ และตัวท่านเองได้มอบหนังสือแนะนำหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ต่อรัฐมนตรีต่างประเทศมาให้ด้วย ความตามสำเนาที่แนบมาพร้อมกัน
ตามด้วยข้อความข้างล่างครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 31 เมื่อ 22 มี.ค. 16, 12:08
|
|
ผมชอบภาษาของท่านตรงนี้มาก แต่จะแปลแบบนุ่มๆสักหน่อยนะครับ
เมื่อหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ถึงปารีสแล้ว ขอท่านปฏิบัติอย่างดีที่สุดเพื่อแนะนำพระองค์ต่อท่านรัฐมนตรีต่างประเทศ เพื่อให้ท่านรัฐมนตรีหาโอกาสนัดหมายให้หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ได้เข้าพบท่านประธานาธิบดี เพื่อแสดงพระราชกระแสรับสั่งดังกล่าว และข้าพเจ้าขอให้สำนักงานของท่าน ช่วยเหลือตามความเหมาะสมในสิ่งใดที่หม่อมเจ้าปฤษฎางค์อาจจะทรงต้องการ ระหว่างที่ทรงประทับในปารีสด้วย
ตามสำนวนภาษาอังกฤษนั้น ท่านสั่งแบบนายสั่งลูกน้องจริงๆ นับถือ ๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
kui045
มัจฉานุ
 
ตอบ: 94
|
ความคิดเห็นที่ 32 เมื่อ 22 มี.ค. 16, 15:38
|
|
ขออนุญาตเข้าห้องครับ ขอนั่งแถวหลังตรงกลางครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Anna
|
ความคิดเห็นที่ 33 เมื่อ 22 มี.ค. 16, 22:11
|
|
มาสาย ย่องไปนั่งแถวหลังสุดดีกว่า 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 34 เมื่อ 23 มี.ค. 16, 09:19
|
|
ในปารีส พระสยามธุรานุรักษ์(M. Gréhan) กงสุลสยามสามารถจัดให้หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ได้เข้าเยี่ยมคำนับรัฐมนตรีต่างประเทศ แต่ไม่มีโอกาสได้พบกับท่านประธานาธิบดี เพราะท่านเพิ่งชนะการเลือกตั้งได้ครองตำแหน่งแทนคนเดิมในเวลาเพียงเดือนสองเดือนก่อนหน้านั้นนั่นเอง คงยังไม่พร้อมรับแขก มิน่า หนังสือของฝ่ายไทยเวลากล่าวถึงท่านประธานาธิบดีจึงมิได้ระบุชื่อ เพียงแต่เรียกตำแหน่งลอยๆไว้ผิดธรรมเนียมปฏิบัติ เพราะช่วงที่ออกหนังสือยังไม่รู้ใครจะเป็นหมู่เป็นจ่า นี่ผมเข้าไปค้นหาในเน็ตเข้าจึงได้ทราบ
ฝรั่งเศสจัดให้ท่านได้พบกับรัฐมนตรีว่าการสงคราม (Minister of War) และรัฐมนตรีว่าการทหารเรือ (Minister of Marine) แทน ผมคิดว่านี่เป็นการบอกใบ้นิดๆด้วยนะครับ ฝรั่งเศสกับสยามยามนั้นมีเขตแดนติดกันไปแล้ว เมื่อเขาเข้ามาฮุบเขมรและลาวไปหลังได้ญวณเป็นเมืองขึ้นไปแล้ว และชักจะมีปัญหากันอยู่บ้างแล้ว ต้องตัดไม้ข่มนามกันก่อน
โปรดสังเกตุนะครับ กระทรวงที่เกี่ยวกับการสงครามนี่ ปกติกระทรวงกลาโหม จะใช้ภาษาอังกฤษว่า(Ministry of Defense) ตามความหมายตรงๆว่าเพื่อการป้องกันประเทศ แต่สมัยนั้นมหาอำนาจจะใช้คำว่า(Minister of War)เป็นการเบ่งกล้ามกันตรงๆ
ภาพข้างล่างคือนาย Leon Gambetta ประธานาธิบดีฝรั่งเศสที่เพิ่งครองตำแหน่งดังกล่าว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 35 เมื่อ 23 มี.ค. 16, 10:02
|
|
หม่อมเจ้าปฤษฎางค์จึงอยู่ในปารีสแค่ ๓ วัน แล้วพาคณะนักเรียนไทยไปอังกฤษต่อ
ลอร์ดแกรนวิลล์ (Granville Leveson-Gower) รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษมิได้อยู่ในลอนดอนระหว่างนั้น ท่านจึงมอบหมายให้ปลัดกระทรวงไปรับรองและเชิญเจ้านายทั้งสองพระองค์ไปพำนักที่ Walmer Castle ปราสาทส่วนตัวของท่านลอร์ด
การเดินทางไปที่นั่นสะดวกสบายมาก ขึ้นรถไฟที่สถานี Charing Cross ในลอนดอนไปเพียงสามชั่วโมงก็ถึง ท่านลอร์ดได้ส่งรถม้าไปรอรับที่สถานี Walmer แล้ววิ่งไปอีกไม่กี่นาทีก็ถึงตัวปราสาท
ผมอยากเห็นภาพของปราสาทนี้ หาอยู่นานจึงจะเจอ เพราะหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ท่านเขียนชื่อปราสาทผิดไปว่า Wamour Castle
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 36 เมื่อ 23 มี.ค. 16, 10:14
|
|
Walmer Castle อยู่ชายทะเล บรรยากาศแสนจะรื่นรมณ์ ท่านลอร์ดได้มายืนรอต้อนรับการมาเยือนของเจ้าชายจากเมืองสยามอันไกลโพ้นอยู่ถึงหน้าประตูปราสาท เสียดายสมัยนั้นยังไม่มีฮอลิคอปเตอร์ มิฉะนั้นเจ้าบ้านคงจะจัดให้ทั้งสองท่านได้เสด็จขึ้นไปสำรวจปราสาทของท่านเยี่ยงวิหกเหิรหาว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 37 เมื่อ 23 มี.ค. 16, 11:01
|
|
ใกล้เวลาอาหารกลางวันแล้ว ท่านลอร์ดจึงนำอาคันตุกะทั้งสององค์ไปสู่ห้องเลี้ยงรับรอง และแนะนำกับบรรดาสหายของท่านที่ได้รับเชิญมาร่วมต้อนรับด้วยในครั้งนี้ เคาน์เตสแกรนวิลล์ ภรรยาท่านลอร์ดได้จูงพระหัตถ์ของพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณไปประทับนั่งใกล้กับท่าน จะพูดคุยอะไรกันบ้างไม่ทราบแต่หลังจากอาหารแล้วทั้งสองได้ออกไปเล่นเทนนิสกัน ผมอ่านๆเขียนๆถึงตรงนี้ยังรู้สึกจุกถึงหน้าอกไปด้วย
ลอร์ดแกรนวิลล์พาหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ไปนั่งกับท่านเสียอีกทางหนึ่งเพื่อจะพูดธุระกัน เรื่องก็มีประเด็นที่จะขอใช้เส้นก๋วยจั๊บของท่านฝากพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณให้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยดีๆหน่อย แล้วจึงปรึกษาความอันสำคัญเรื่องที่สยามอยากจะขอแก้สนธิสัญญาทางราชไมตรีเกี่ยวกับการค้าสุรา ซึ่งฝ่ายไทยเสียเปรียบอยู่ กับเรื่องเกี่ยวกับคนในบังคับของอังกฤษและสิทธิคุ้มครองที่คนพวกนี้ได้รับ รวมถึงเรื่องที่สยามอยากจะเพิ่มสัมพันธภาพกับอังกฤษ ด้วยการเปิดสถานทูตในลอนดอนและส่งคนมาประจำในฐานะอัครราชทูต ซึ่งอังกฤษจะต้องยกความสัมพันธ์จากระดับกงสุลมาอยู่ระดับเดียวกันด้วย ทั้งหมดนี้ลอร์ดแกรนวิลล์จะขอรับไปพิจารณา แล้วหันไปบอกลอร์ดสเปนเซอร์ รัฐมนตรีศึกษาธิการให้ช่วยรับเรื่องการศึกษาของพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณไปจัดการแทนให้ท่าน
ไม่ทราบว่าทรงพระสำราญหรือเครียด แต่ทั้งสองพระองค์กว่าจะเสด็จกลับถึงลอนดอนได้ก็เวลาประมาณสองทุ่ม
ภาพล่างลอร์ดแกรนวิลล์ได้เลื่อนขึ้นเป็นท่านเอิร์ลแล้วนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 38 เมื่อ 23 มี.ค. 16, 11:56
|
|
ในหนังสือกล่าวสรุปว่า นักเรียนไทยอีกเก้าคนที่ไปด้วยกันในคณะนี้ สองคนไปเรียนที่กรีนิช สามคนไปเรียนที่แฮมสเตด สองในปารีส และอีกสองได้เรียนที่เดียวกันกับพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ ทำให้ได้ช่วยเหลือพระองค์ในระหว่างการศึกษาเล่าเรียนด้วย
คงทราบกันแล้วนะครับ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณทรงได้เข้าศึกษากฎหมายจากเบลเลียลคอลเลจ ของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด แต่ยังไม่ทันจะจบการศึกษา พระองค์ต้องเสด็จกลับประเทศไทย ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 39 เมื่อ 24 มี.ค. 16, 07:50
|
|
ปัญญาเกี่ยวกับกงสุลต่างชาติในกรุงเทพ
เมื่อกระทำสญธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับสยามไปแล้ว นานาประเทศส่วนใหญ่ก็มาตั้งสถานกงสุลของตนขึ้นในกรุงเทพ ชาติมหาอำนาจที่มีอาณานิคมแถวนี้ก็ใช้สถานกงสุลเป็นที่แสดงบารมีของตน เช่น อังกฤษที่ยึดครองสิงคโปร ปีนัง และรัฐมลายูเข้าไปกว่าครึ่งแล้ว รวมถึงพม่าใต้ที่มีย่างกุ้งเป็นเมืองหลวง แล้วกำลังทางผนวกพม่าที่หนีไปตั้งราชอาณาจักรใหม่ทางเหนือด้วย ฝรั่งเศสก็ยึดครองญวนและดินแดนส่วนหนึ่งของลาวและเขมรที่อ้างว่าเป็นเมืองขึ้นของญวน ดัชท์มีอาณานิคมในชวา และปอร์ตุเกตมีอาณานิคมในมาเก๊า ประชาชนของเมืองขึ้นเหล่านี้ถือว่าเป็นคนในบังคับของชาติผู้ปกครอง
ปอร์ตุเกตได้เริ่มต้นรู้มากขึ้นก่อนเพราะคนจีนจากมาเก๊ามาอยู่เมืองไทยไม่มากนัก จึงรับเอาพวกจีนอพยพไม่เลือกหน้ามาเข้าสังกัด อังกฤษฝรั่งเศสก็เลยเอาอย่างบ้าง แม้กระทั่งสหรัฐอเมริกา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 40 เมื่อ 24 มี.ค. 16, 07:57
|
|
เมื่อรัฐบาลสยามประท้วงว่าคนจีนจำนวนมากมิได้เข้ามาจากเขตอาณานิคมของชาติเหล่านั้น ทั้งอเมริกาก็ไม่มีอาณานิคมในจีนเลย เรื่องนี้กงสุลอเมริกันก็ตอบหน้าตายง่ายๆว่าก็ประเทศจีนไม่มีกงสุลในสยาม แต่เมื่อจีนกับอเมริกาเป็นมิตรประเทศที่ดีต่อกัน คนจีนจึงต้องได้รับความคุ้มครองจากอเมริกันด้วย
ส่วนลูกจีนที่ทำมาค้าขายในเมืองไทยอยู่ แม้คนที่เกิดที่นี่ แต่ก็เห็นช่องทางที่จะได้ประโยชน์จากสิทธิพิเศษบางประการ และเห็นเกราะป้องกันมิให้ถูกเจ้าหน้าที่รีดไถเช่นแต่เคยมา ก็พากันไปสมัครเข้าเป็นคนในบังคับของชาติมหาอำนาจ โดยยอมเสียค่าธรรมเนียมที่คำนวณแล้วถูกกว่าที่จะต้องจ่ายภาษีให้สยาม แล้วยังไม่ต้องถูกหมายเกณฑ์ หลบเลี่ยงการจับกุม และไม่ต้องขึ้นศาลไทย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 41 เมื่อ 24 มี.ค. 16, 17:05
|
|
การค้าสุราก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง แต่ก่อนแต่ไรมารัฐบาลผูกขาดการกลั่นและการขายเหล้า นำมาซึ่งรายได้แผ่นดินจำนวนมหาศาลทุกปี ฝรั่งเศสและอังกฤษไม่สามารถจะนำเข้าไวน์และวิสกี้มาขายแข่งขันได้ ด้วยราคาที่แพงสุดโต่งเพราะค่าขนส่ง แต่ไม่ช้าไม่นานพวกกงสุลก็ค้นพบว่าเหล้าโรงที่กลั่นกันในอินโดจีนและชวาถูกกว่าและแรงกว่าเหล้าไทย การนำเหล้าพวกนี้เข้ามาขายก็ยอมแค่เสียภาษีตามสัญญาร้อยชักสามตามที่ตกลงกันไว้ เมื่อรัฐบาลสยามไม่ตกลงให้สิทธิคนต่างด้าวในเรื่องการค้าสุรา พวกเขาก็พริ้วไปออกทะเบียนและและหนังสือรับรองให้การคุ้มครองให้แก่คนในบังคับของตนแทน ในกิจการค้าขายสุรา รัฐบาลก็ไม่สามารถจะทำอะไรได้ เนื่องจากไม่มีอำนาจที่จะจับกุมคนในบังคับกงสุลต่างชาติ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 42 เมื่อ 24 มี.ค. 16, 17:40
|
|
แย่ยิ่งกว่านั้นอีก เพราะไม่ว่าอะไรที่รัฐบาลอยากจะทำ พวกกงสุลก็คอยแต่จะคัดค้าน อ้างว่าเป็นเรื่องที่ไม่ได้ระบุไว้ในสัญญา และกล่าวกับรัฐบาลไทยเป็นนัยๆ ประมาณว่าจะออกกฏหมายใดๆโดยไม่ได้รับความเห็นชอบของกงสุลก่อนไม่ได้ เพราะกฏหมายเหล่านั้นอาจส่งผลกระทบต่อชาวต่างประเทศที่พำนักอาศัยในสยาม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 43 เมื่อ 25 มี.ค. 16, 07:45
|
|
นายนิวแมน ผู้ที่ตามอ่านเรื่องที่ผมเขียนคงรู้จักนายคนนี้นะครับ ม.ล.มานิจท่านเขียนว่าเป็นกงสุลอังกฤษ แต่ความจริงน่าจะยังเพียงรักษาการกงสุลระหว่างที่นายน๊อกซ์ถูกเรียกไปปลดออกจากตำแหน่ง และรอนายวิลเลียม พัลเกรฟซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่บัลกาเรียให้มาเป็นกงสุลแทน นายนิวแมนโกรธรัฐบาลมากที่ออกกฏหมายว่าด้วยการพนันออกมา กระทบถึงคนในบังคับอังกฤษที่นำเกมเสี่ยงโชคมาตั้งล่อชาวบ้านชาวเมืองกันข้างถนนหนทาง เกมที่ว่านี้เป็นเกมโยนห่วงที่พ่อค้าอังกฤษนำเข้าโต๊ะมาขายให้คนจีนในบังคับ นำไปวางข้างถนน ล่อให้คนจ่ายเงินซื้อห่วงนำไปโยนให้คล้องลงบนเดือยไม้เล็กๆให้ได้ เพื่อชิงรางวัล คนไทยไม่เคยเห็นเกมอย่างนี้มาก่อนก็แห่กันไปมุง เล่นกันจนกระเป๋าแห้ง เงินไปตุงอยู่ในกระเป๋าของอาเฮียเจ้าของโต๊ะ แล้วไปจ่ายค่าต๋งให้กงสุลอังกฤษอีกที
เมื่อกระทรวงพระคลังออกกฏหมายฉบับใหม่ ห้ามมิให้เล่นเกมเสี่ยงโชคกันบนพื้นข้างถนน เข้าข่ายพระราชบัญญัติการพนัน นายนิวแมนก็ประท้วงว่าการห้ามเช่นนี้ไม่ได้ตกลงกันมาก่อนตามความในสญธิสัญญาทางพระราชไมตรี และกงสุลอังกฤษมิใด้รับแจ้งล่วงหน้า เขาจึงมีความเห็นว่ากฏหมายฉบับนี้เป็นโมฆะ ใช้บังคับไม่ได้ และเตือนเจ้าพนักงานตำรวจ ไม่ให้จับกุมคนในบังคับอังกฤษอย่างเด็ดขาด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 44 เมื่อ 26 มี.ค. 16, 08:34
|
|
เรื่องข้างบนมิได้เป็นเหตุยั่วยุกรณีย์เดียว การคุ้มครองสิทธิ์ที่เกินกว่าเหตุของชาวต่างชาติจะเกิดขึ้นทุกครั้งในคดีความระหว่างคนไทยกับคนในบังคับของกงสุล ซึ่งศาลกงสุลจะตัดสินให้คนของเขาเป็นฝ่ายชนะคดีทุกครั้ง และเมื่อรัฐบาลอุทธรณ์ ศาลก็จะวินิจฉัยไม่รับอุทธรณ์โดยอ้างว่าคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว และไม่ใช่ธุระของรัฐบาลที่จะเข้าแทรกแซงในคดีความส่วนบุคคลของประชาชน
เมื่อรัฐบาลสยามประท้วงเรื่องไปยังรัฐบาลของกงสุลเหล่านั้น เรื่องก็ต้องยื่นผ่านสถานกงสุลอีก กงสุลก็จะทำข้อแก้ตัวประกบไปยังรัฐบาลของตัวแบบเยาะเย้ยความเห็นของรัฐบาลสยามไปด้วย จึงไม่จำเป็นต้องกล่าวต่อที่คดีความจะทั้งหลายจะตกไปทุกคดี
ฝรั่งทำอย่างนี้กับทุกชาติที่ยังไม่ได้ถูกยึดครองเป็นเมืองขึ้นโดยสมบูรณ์ แต่จำเป็นต้องยอมให้ฝรั่งมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ภาพข้างล่างคือศาลกงสุลในเมืองจีน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|