เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 20862 พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 21 มี.ค. 16, 10:05

สารบรรณเรื่องราวในหนังสือมีดังนี้ครับ

๑ พระประวัติในวัยเริ่มต้น
๒ ปัญหากงสุลต่างชาติในกรุงเทพ
๓ ภารกิจพิเศษของพระองค์เจ้าปฤษฏางค์ที่เยอรมันและออสเตรียในปี ๑๘๘๑
๔ ได้รับแต่งตั้งเป็นอัครราชทูตพิเศษ มีอำนาจเต็ม
๕ การเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
๖ หน้าที่ของพระองค์เจ้าปฤษฏางค์ในลอนดอน
๗ การประชุมเจรจาเรื่องสุรากับอังกฤษ
๘ การประชุมเจรจากับฮอลแลนด์
๙ การประชุมเจรจากับสวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์กและเบลเยียม
๑๐ ภารกิจพิเศษที่เสปญและปอร์ตุเกต
๑๑ การประชุมเจรจากับฝรั่งเศส
๑๒ ข้อตกลงเรื่องการโทรเลข
๑๓ คอคอดกระ
๑๔ ฝรั่งเศสอ้างสิทธิ์บนอาณาเขตของสยาม
๑๕ การประมงในโตนเลสาปเขมร
๑๖ กิจกรรมของบรรดากงสุลในสยาม
๑๗ กงสุลเยอรมันในกรุงเทพ
๑๕ กงสุลอังกฤษในกรุงเทพ
๑๖ งานแสดงสินค้าไทยในฮอลแลนด์
๑๗ นักเรียนไทยในยุโรป
๑๘ ย้ายไปปารีส
๑๙ พระองค์เจ้าปฤษฏางค์ในปารีส
๒๐ เข้ายื่นเอกสารตราตั้งต่อประธานาธิบดีฝรั่งเศส
๒๑ กงสุลสยามในยุโรป
๒๒ ถนนสยาม
๒๓ เข้าเฝ้าพระเจ้าไกเซอร์ในปี ๑๘๘๔
๒๔ เข้าเฝ้าจักรพรรดิ์โยเซฟ ฟรานซิส โยเชฟ ที่ ๑
๒๕ เข้าเฝ้าพระเจ้าวิกเตอร์เอมมานูเอลที่ ๒ แห่งอิตาลี
๒๖ เข้าเฝ้าพระสันตปาปา
๒๗ การประชุมไปรษณีย์สากล ๑๘๘๕ ที่ลิสบอน
๒๘ การประชุมโทรเลขสากล ๑๘๘๕ ที่เบอร์ลิน
๒๙ การประชุมเจรจาเรื่องสุรากับเยอรมัน
๓๐ การประชุมกับออสเตรียฮังการี
๓๑ การประชุมกับเสปญ
๓๒ การประชุมและบันทึกความเข้าใจกับฝรั่งเศส
๓๓ การเรื่มต้นกิจการไปรณีย์และโทรเลขในสยาม
๓๔ ดวงตราไปรษณีย์แรกของสยาม
๓๕ เทวรูปของอินเดียจากกำแพงเพชร
๓๖ แฟนนีกับผู้สำเร็จราชการแผ่นดินสยาม
๓๗ อังกฤษผนวกพม่าเป็นเมืองขึ้น
๓๘ ข้อเสนอรัฐธรรมนูญฉบับแรกของสยาม (โดยสุเมธ ชุมสาย)
๓๙ กลับบ้าน
๔๐ ปัจฉิมลิขิต (โดยสุเมธ ชุมสาย)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 21 มี.ค. 16, 10:07

เชิญนักเรียนจองที่นั่งตามสะดวก  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 21 มี.ค. 16, 10:09

และเช่นเคย การเขียนของผมจะไม่ใช่การแปลแบบบรรทัดต่อบรรทัด แต่จะจับความมาย่อยให้อ่าน อะไรที่เคยเขียนแล้วรู้กันแล้วก็จะว่าแต่พอประมาณ ไปเน้นเอาเฉพาะเรื่องที่เราไม่เคยทราบกัน
บันทึกการเข้า
ศุศศิ
อสุรผัด
*
ตอบ: 32


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 21 มี.ค. 16, 11:15

มาครับ
บันทึกการเข้า
unicorn9u
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 21 มี.ค. 16, 11:33

มาลงทะเบียนเรียน ภาคค่ำครับ
กลางวันติดงาน
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 21 มี.ค. 16, 13:47


จองแถวหลังสุดติดหน้าต่างครับ
 เจ๋ง
บันทึกการเข้า
giggsmay
ชมพูพาน
***
ตอบ: 135


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 21 มี.ค. 16, 14:41

 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ;Dจองแถวหน้าสุดค่ะสายตาหนูสั้น ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
แพรวพิม
อสุรผัด
*
ตอบ: 19


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 21 มี.ค. 16, 19:34

นักเรียนหน้าใหม่มารายงานตัวเจ้าค่ะ ตามอ่านมานานแล้ว เพิ่งได้ฤกษ์สมัครสมาชิกเมื่อเร็วๆ นี้เอง  ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 21 มี.ค. 16, 19:41

ต้องขออนุญาตไปห้องนำ้บ่อย จองที่นั่งใกล้ประตูครับ
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 21 มี.ค. 16, 21:35

มาไม่ทันหลังห้องติดหน้าต่างแฮะ เอาไงดี
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 22 มี.ค. 16, 07:09

เอาไงก็ได้ฮะ ที่ไหน เมื่อไหร่ พร้อมแล้วก็ว่ามาเลย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 22 มี.ค. 16, 07:10

ผมขอข้ามพระประวัติในด้านการศึกษาของพระองค์ท่านไปเลย เพราะได้เคยเขียนไว้แล้ว ขออนุญาตลงระโยงไว้อีกทีหนึ่งสำหรับผู้ที่บังเอิญผ่านเข้ามาครั้งแรก

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/07/K8075368/K8075368.html
และ
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/08/K8264362/K8264362.html

แล้วต้องไม่พลาดอ่านเรื่องนี้ด้วย
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6360.0

ผมขอเริ่มตรงที่ว่า เมื่อ(เจ้า)พระยาภาสกรวงศ์ ราชเลขาธิการได้รับพระราชบัญชาจากพระเจ้าอยู่หัว ให้เป็นอัครราชทูตพิเศษนำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกไปถวายสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียและเจ้าชายแห่งเวลส์ และยังมีภารกิจอันสำคัญยิ่ง คือไปอธิบายรัฐบาลอังกฤษถึงปัญหาที่นายน๊อกซ์ กงสุลใหญ่สร้างขึ้นในสยามในคดีความของพระปรีชากลการลูกเขย ด้วยการนำไปพัวพันกับการเมืองระหว่างประเทศ ถึงขนาดสั่งการให้เรือรบจากสิงคโปร์เข้าไปจอดลอยลำอยู่ในกรุงเทพเพื่อข่มขู่พระเจ้าอยู่หัวให้ปล่อยตัวพระปรีชา คณะราชทูตชุดนี้ หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ได้มีโอกาสปฏิบัติราชการแทนล่ามประจำคณะในตำแหน่งเลขานุการเอก เพราะตัวจริงเกิดป่วยจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

ความในตอนนี้หาอ่านได้จากระโยงนี้ครับ
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6242.0

ม.ล.มานิจท่านเขียนว่า เมื่อเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ รัฐมนตรีต่างประเทศได้ไปลอนดอนเพื่อลงนามในข้อตกลงในปัญหาเกี่ยวกับเชียงใหม่ หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ในฐานะที่รู้ภาษาอังกฤษดี ได้ทรงถูกเรียกไปใช้ในฐานะเลขานุการเอกและล่ามประจำคณะราชทูต และได้ร่วมเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียและเจ้าชายแห่งเวลส์ที่พระราชวังวินเซอร์เป็นครั้งแรก ในโอกาสที่ท่านราชทูตได้นำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกไปทูลเกล้าถวายทั้งสองพระองค์
หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ได้กลับกรุงเทพครั้งแรก และได้ทำงานเป็นผู้ช่วยพระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ) ซึ่งขณะนั้นทรงเป็นราชเลขานุการในพระองค์


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 22 มี.ค. 16, 07:58

หม่อมเจ้าปฤษฎางค์อยู่เมืองไทยได้ปีเดียวก็เสด็จกลับไปยุโรปอีก โดยทรงเป็นผู้พาพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ (กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์)และนักเรียนไทยอื่นๆไปศึกษาต่อที่นั่น การไปครั้งนี้ ทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ทรงนำพระราชสารไปมอบให้กับประธานาธิบดีฝรั่งเศส และนำของขวัญพระราชทานไปถวายเจ้าชายวิลเฮล์มแห่งปรัสเซีย และองค์มกุฏราชกุมารแห่งออสเตรียในวโรกาสที่ทรงอภิเษกสมรสด้วย

ระหว่างที่เรือโดยสารจอดเทียบที่ท่าโคลัมโบระหว่างการเดินทางสู่ยุโรปนั้น  ท่านได้เสด็จขึ้นฝั่งและไปเที่ยววัดพรหมนันทวิหาร ได้พบท่านเจ้าอาวาสชื่อสิริสมณะ  ทรงพบว่าภิกษุองค์นี้เป็นพระสหายเก่าแก่ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ซึ่งยังคงเก็บรักษาพระบรมฉายาลักษณ์ และพระรูปของเจ้านายสยามอีกหลายพระองค์ที่ได้รับพระราชทานไว้จนบัดนั้น

คณะได้เดินทางถึงฝรั่งเศสและได้พบกับพระสยามธุรานุรักษ์(M. de Gréhan) กงสุลสยาม ซึ่งมารอรับที่เรือเมืองมาร์แซย์ ในการนี้ พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระอักษรส่วนพระองค์มาพระราชทานนายเกรอองด้วย
 
(มองซิเออร์ เดอ เกรออง ผู้นี้รับราชการมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ซึ่งทรงว่าจ้างให้เป็นกงสุลคนแรก ประจำอยู่ที่ปารีส)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 22 มี.ค. 16, 10:52

พระสยามธุรานุรักษ์


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 22 มี.ค. 16, 10:58

ซองพระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๔ พระราชทานพระสยามธุรานุรักษ์

จาก https://www.spink.com/lot-description.aspx?id=9018869


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 19 คำสั่ง