เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10
  พิมพ์  
อ่าน: 20756 พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 19 เม.ย. 16, 06:49

เอกสารที่ค้นพบใต้ถุนสถานทูตมีสำเนาที่แสดงว่าเกือบปีหนึ่งต่อมากงสุลกรียองยังได้รับหนังสือเตือนซ้ำอีกว่า ในการติดต่อกับผู้ใดในเรื่องนี้ก็ตาม ให้พึงระมัดระวังเสมอว่าเขาไม่ได้มีอำนาจหน้าที่อันใดที่จะไปเกี่ยวข้องหรือรับข้อตกลงที่จะทำให้ตนต้องตกเป็นฝ่ายผิด

และอีกหกเดือนให้หลังกงสุลกรียองยังถูกแจ้งเพื่อทราบอีกว่า ให้ปรึกษาพระองค์เจ้าปฤษฎางค์เสมอเพื่อที่จะได้รับความเห็นที่ถูกต้องในทุกกรณีย์ ตัวเขาไม่ควรที่จะมีหนังสือถึงรัฐบาลสยามโดยพลการโดยที่ท่านอัครราชทูตมิได้ทรงทราบเรื่องราวด้วย
อีกฉบับหนึ่งนั้น ท่านราชเลขาทรงเขียนตอบนายกรียองว่า หากเมื่อใดพระเจ้าอยู่หัวจะทรงมีพระราชประสงค์ให้ฝรั่งเศสได้สัมปทานนี้แล้วละก็ ขอให้เขามั่นใจได้เลยว่าจะทรงแจ้งให้เขาทราบโดยทันทีมิชักช้า

อ่านตรงนี้แล้วพวกเราคงจะเห็นว่า คอคอดกระเป็นประเด็นร้อนเพียงใดในการเมืองเรื่องผลประโยชน์ระหว่างประเทศที่บีบคั้นสยาม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 19 เม.ย. 16, 11:44

แต่แล้วความกดดันทั้งหมดก็มลายไปสิ้น

สยามค่อยหายใจหายคอโล่งปอดเมื่อกัปตันเบลลิยองรายงานผลสำรวจ ว่าภูมิประเทศในแนวทางที่จะขุดคลองคอคอดกระนั้น หนีไม่พ้นเทือกเขาสูงๆต่ำๆกว้างใหญ่ไพศาลจนไม่สามารถจะทำการขุดคลอง ความเป็นไปได้ทางเทคนิคประมาณว่าศูนย์ ดังนั้นจึงไม่ต้องพูดถึงขนาดการลงทุน แล้วจะคุ้มหรือไม่คุ้ม

นายทุนเมือไม่เห็นกำไรก็สิ้นความละโมบในเรื่องนี้ หันไปมองหาเหยื่อชิ้นอื่นเขมือบต่อไป
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 19 เม.ย. 16, 11:46

พระเจ้าอยู่หัวทรงมีน้ำพระทัยต่อความผิดหวังของเฟอร์ดินาน เดอ เลสเซปส์ จึงทรงมีพระราชบัญชาให้ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปยังพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ เพื่อให้ทรงมอบแก่วิศวกรใหญ่ท่านนี้ ในฐานะผู้มีชื่อเสียงและสร้างคุณประโยชน์แก่ชาวโลก คลองสุเอซที่เขาขุดไว้ได้ทำให้ยุโรปกับเอเชียสามารถติดต่อถึงกันได้ง่ายขึ้น และสยามได้รับประโยชน์จากการนี้ด้วย

พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้จัดงานเลี้ยงรับรองเพื่อเป็นเกียรติต่อเฟอร์ดินาน เดอ เลสเซปส์ โดยเชิญข้าราชการสถานทูตและมิตรสหายมาร่วมอย่างคับคั่ง ในการมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์(น่าจะใช่มงกุฎสยาม)ดังกล่าว ทรงกล่าวสุนทรพจน์ ซึ่งผมไม่แปลดีกว่า ภาษาทูตนี่พรรณนายาว แต่ใจความนิดเดียวตามที่ผมกล่าวในย่อหน้าที่แล้ว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 23 เม.ย. 16, 08:26

ฝรั่งเศสอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนสยาม

ความสนใจของฝรั่งเศสในดินแดนที่แม่น้ำโขงไหลผ่านนั้นได้เริ่มขึ้นมาระยะหนึ่งแล้ว หลังจากที่คิดว่ามันสามารถจะใช้เป็นเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงเมืองขึ้นของพวกเขาไปยังดินแดนจีนตอนใต้ได้  

ในสมัยที่พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงเป็นทูตนั้น กงสุลใหญ่ในสยามก็ได้ใช้พยายามอย่างหนักในการที่จะคัดค้านอำนาจการปกครองของสยามเหนือดินแดนสิบสองจุไท และดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงทั้งหมด โดยพยายามหาข้อมูลทั้งหลายมาพิสูจน์ว่าสยามไม่มีสิทธิ์ในพื้นที่ดังกล่าว และเร่งเร้ารัฐบาลฝรั่งเศสให้เข้าดำเนินการ ระหว่างนั้น พวกเขาก็ใช้อำนาจเท่าที่มีอยู่ในมือเข้าประจันหน้ากับส่วนราชการของสยามในภูมิภาคดังกล่าว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 23 เม.ย. 16, 08:29

จุดอ่อนอย่างหนึ่งของฝ่ายไทยที่กงสุลใหญ่ฝรั่งเศสค้นพบว่าจะเอาเปรียบได้ก็คือ รัฐบาลสยามไม่มีแผนที่แสดงราชอาณาเขตที่ชัดเจน เส้นแบ่งแดนนั้นเพียงแต่กำหนดไว้โดยคร่าวๆ
เมื่อปี ๑๘๘๐ นายอามองด์กงสุลใหญ่ได้ทำรายงานกลับไปยังปารีสว่า เราควรจะแสดงความยินดีกับตัวเองได้ว่า ในเร็ววันนี้ เราจะสามารถฉกฉวยความได้เปรียบจากความคลุมเครือนี้ ว่าดินแดนของฝ่ายเราอยู่ภายในแนวเขตที่สยามชี้

ฝรั่งเศสเริ่มกลับคำเรื่องเมืองพระตะบองและเสียมราษฎร์ ซึ่งสมัยพระเจ้านโปเลียนที่ ๓ ยอมให้เป็นของสยาม เมื่อได้เขมรเป็นเมืองขึ้น แต่ ณ วันนั้นแล้ว เขาอ้างว่าเป็นของเขา


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 24 เม.ย. 16, 09:12

ดังที่ได้เล่าไปแล้วว่า ฝรั่งเศสได้อ่อยเหยื่อให้สยามโดยอาสาจะวางสายโทรเลขให้จากพระตะบองมากรุงเทพ ในการนั้นรัฐบาลได้ส่งหม่อมราชวงศ์แดงเป็นตัวแทนไปร่วมปฏิบัติงานและตรวจตราการก่อสร้าง แต่หม่อมราชวงศ์แดงกลับนำตัวเข้าไปผูกพันกับบุตรสาวของพระยาคฑาธร ท่านเจ้าเมือง หลังจากสมประสงค์แล้วก็ทิ้งเธอไปโดยไม่ยอมแต่งงานด้วย จึงเป็นไปได้ว่านั่นคือเหตุผลที่พระยาคฑาธรน้อยใจสยามแล้วมีท่าทีสนิทชิดเชื้อกับกษัตริย์เขมรเมืองขึ้นฝรั่งเศส

กงสุลอามองด์ได้รับข่าวนี้ด้วยความยินดีปรีดา มันเป็นโอกาสทองที่ฝรั่งเศสจะได้พระตะบองไปด้วยโดยแทบจะไม่ต้องออกแรงอะไรเลย เมื่อฟังว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการให้มาเข้าเฝ้าที่กรุงเทพ แล้วพระยาคฑาธรปฏิเสธ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 24 เม.ย. 16, 09:13

กงสุลอามองด์หมายใจว่าสยามจะส่งกองทัพขึ้นไปปราบพระตะบองแน่ จึงทำหนังสือไปถึงข้าหลวงใหญ่อินโดจีนฝรั่งเศสให้เตรียมกำลังอาวุธไว้ให้พร้อมเพื่อให้การช่วยเหลือทหารพระตะบอง  
แต่การณ์กลับปรากฏว่าสยามไม่ได้คิดที่จะส่งทหารไทยเข้ายึดครองเมืองพระตะบอง หรือลงโทษพระยาคฑาธรแม้น้อย สิ่งที่รัฐบาลกระทำคือ จับกุมตัวหม่อมราชวงศ์แดงส่งไปติดคุกที่พระตะบอง และส่งพระศรีสหเทพไปเป็นตัวแทนรัฐบาลสยามคนใหม่ ประสานงานเรื่องการติดตั้งสายโทรเลขต่อ  

เหตุการณ์จึงจบลงในยกนี้อย่างง่ายๆ แบบว่ากงสุลอามองด์หน้าแตกเสียโฉม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 24 เม.ย. 16, 09:16

ผมไปหาข้อมูลจากคุณวิกี้ได้ความมาว่า พระยาคทาธรธรณินทร์ ที่ท่านอาจารย์หม่อมหลวงมานิจเขียนถึง นามเดิมชื่อ เยีย อภัยวงศ์ เป็นบุตรของพระยาอภัยภูเบศร (นอง) เข้ารับราชการในครั้งแรกได้เป็นหลวงอภัยพิทักษ์ ต่อมาเมื่อบิดาถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๓ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้รักษาราชการในพระตะบองแทน แล้วเลื่อนให้เป็นพระยาคทาธรธรณินทร์ กระทั่งวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๐๗ จึงได้เป็นเจ้าพระยาคทาธรธรณินทร์ รามนรินทร์อินทราธิบดี ศรีสยามกัมโพชเกษตราภิบาล ปรีชาญาณยุติธรรมาธยาไศรย อภัยพิริยบรากรมพาหุ ผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบอง

ช่วงปลายชีวิตของท่านขณะเป็นเจ้าเมืองพระตะบองนั้น ฝรั่งเศสพยายามขยายอำนาจเข้ามาจากเขมร ทำให้สยามระแวงว่าพระตะบองจะแข็งเมืองหรือไปเข้ากับเวียดนาม คุณวิกี้เขียนว่า เจ้าพระยาคทาธรได้แสดงความจงรักภักดีต่อสยามอย่างเสมอต้นเสมอปลาย จนถึงแก่กรรมใน พ.ศ. ๒๔๓๕ บุตรชายของท่านคือเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์ ตามภาพ) ขึ้นเป็นเจ้าเมืองแทน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 24 เม.ย. 16, 09:30

จะต้องบอกต่อไหมละครับว่า เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์)นี้ คือท่านบิดาของนายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรี ๔ สมัยของประเทศไทย
ผมเชื่อในความจงรักภักดีที่บรรพชนของสกุลนี้จะถวายต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ในสิ่งที่พระองค์ทรงกระทำ สืบมา


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 25 เม.ย. 16, 08:27

ความจำเป็นที่จะต้องมีแผนที่แสดงแนวพระราชอาณาเขตอย่างแน่ชัดจึงเป็นเรื่องเร่งด่วน พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงมีหนังสือมายังกระทรวงว่า ขณะนั้นฝรั่งเศสกำลังมีข้อขัดแย้งกับจีนในมณฑลตังเกี๋ย เมื่อใดที่ปัญหานี้ยุติ ชายแดนญวนของฝรั่งเศสจะติดต่อกับเขตสยามทางด้านสิบสองจุไททันที แล้วจะสร้างเชื้อให้เกิดข้อขัดแย้งใหม่ในรูปแบบเดิมขึ้นมาอีกครั้งกับสยาม ดังนั้นรัฐบาลจะต้องจัดทำแผนที่ที่ชัดเจนขึ้นมาโดยเร็วที่สุด

พระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นด้วย จึงโปรดเกล้าให้จ้างนายช่างสำรวจรางวัดชาวอังกฤษชื่อแมคคาร์ธี (พระวิภาคภูวดล) ให้รีบปฏิบัติงานนี้


บันทึกการเข้า
สองล้อ
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 25 เม.ย. 16, 09:41

กว่าจะหาทางเข้าได้ยากเหลือเกิน เลยได้สมัคร Login ใหม่

กราบสวัสดี คุณอานวรัตน์ ครับ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 25 เม.ย. 16, 10:31


หนังเรื่องนี้ ฝรั่งที่เป็นฝ่ายพระเอกมีไม่ค่อยเยอะ
หลังจาก เดอ ลามาร์ ก็มี แมคคาร์ธี นี่เหละ ที่เป็นพระเอกได้  เจ๋ง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 25 เม.ย. 16, 11:08

พระเอกอีกท่านหนึ่งน่าจะเป็น "นายพลอองเดร" (André du Plésis de Richelieu)  คนเขียนบทละครเรื่อง "ชาติพยัคฆ์" คงประทับใจท่านมากถึงกับเอาชื่อมาเป็นตัวละครตัวหนึ่ง  แถมยังมีหน้าคล้ายกันเสียด้วย  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 25 เม.ย. 16, 13:20

โอ้ กำลังวังเวงอยู่ทีเดียวครับ นึกว่าหายไปกันหมดแล้ว สวัสดีคุณสองล้อด้วย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 25 เม.ย. 16, 13:24

นายแมคคาร์ธีคงเป็นพระเอกฝ่ายฝรั่งได้ทีเดียว คู่กับพระยาสุรศักดิ์มนตรีพระเอกฝ่ายไทย

ไม่นานเขาก็ทำหนังสือทูลพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร อธิบดีกรมสำรวจรางวัดลงมาจากหน้างานว่า ประชาชนชาวฝรั่งเศสได้ออกเสียงแสดงประชามติ มากกว่าสิบล้านคงสนับสนุนให้รัฐบาลประกาศสงครามในตังเกี๋ย ทหารฝรั่งเศสจึงเคลื่อนพลเข้าพื้นที่เพื่อปฏิบัติการ ทำให้พวกฮ่ออพยพหนีภัยเข้ามาในเขตของสยาม เกิดข่าวที่พูดกันทั่วไปว่า ทหารฝรั่งเศสจะเดินหน้าเข้ากวาดล้างพวกฮ่อต่อจนถึงหลวงพระบาง แต่ขณะนี้ตามชายแดนมิได้ปรากฏกองกำลังไม่ว่าจะฝ่ายใดให้เห็น และดูเหมือนทหารฝรั่งเศสพอใจที่จะหยุดทัพอยู่ลึกเข้ามาในดินแดนของสยาม

ดังนั้น รัฐบาลควรจะทำหนังสือท้วงอย่างเป็นกิจจะลักษณะ แม้จะทราบกันดีว่าสยามได้อ้างสิทธิ์เหนือดินแดนที่พวกฮ่อเคยถือครองอยู่ก็ตาม  แต่หากสยามไม่ยืนยันอย่างหนักแน่น ฝรั่งเศสก็คงถือโอกาสกล่าวอ้างกินแดนมากยิ่งขึ้นไปอีก ดังนั้นเรื่องการสำรวจรางวัดจึงเป็นประเด็นรองเนื่องจากสถานการณ์ข้างต้น ขณะนี้งานที่ทำได้ก็เพียงแต่ตระเวนดูพื้นที่ที่กำลังมีปัญหาในลักษณะการหาข่าวเท่านั้น

ฝรั่งเศสนั้น ต้องการเวลาอย่างน้อยสี่ห้าปีหลังจากการยึดครองดินแดนของญวน ก่อนที่จะมีเวลามายุ่งกับเรื่องการปรับเส้นแผนที่ตามแนวชายแดน ความยุ่งยากลำบากของฝรั่งเศสนี้คือข้อได้เปรียบอย่างเดียวที่สยามพึงฉกฉวย แต่ถ้าสยามกระทำการล่าช้าไปแม้แต่ปีเดียวก็อาจจะสูญเสียข้อได้เปรียบที่ว่าได้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 19 คำสั่ง