เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10
  พิมพ์  
อ่าน: 20849 พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 14 เม.ย. 16, 07:05

ฝรั่งเศสเองก็กระตือรือล้นอยากให้สยามจบข้อตกลงกับตน เพื่อจะได้ใช้งานติดต่อทางโทรเลขเสียที โดยจะต้องเห็นพ้องต่อข้อกำหนดในเรื่องวิธีการ ค่าธรรมเนียม และระเบียบต่างๆที่จะปฏิบัติต่อกันของทั้งสองประเทศ มิใช่ใครอยากจะส่งโทรเลขอะไรก็ส่งไป แต่จะต้องมีการลงบันทึกจำนวนครั้งที่ส่ง เป็นจำนวนคำกี่คำ จุดหมายปลายทางที่ไหน ฯลฯ ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บต่อกันก็จะเนื่องมาจากบัญชีดังกล่าวที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องแสดงรายละเอียด ในการนี้ตกลงกันว่าเงินฝรั่งเศส ๑ ฟรังก์ มีค่าเท่ากับเงินไทย ๑ เฟื้อง
โอโห สมัยนั้นเงินไทยแข็งมากนะครับ เพราะ ๘ เฟื้องเท่ากับ ๑ บาท  ปัจจุบันนี้ ฟรังก์หนึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นเงินไทยได้ถึง ๖ บาททีเดียว
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 14 เม.ย. 16, 07:15

อาจารย์NAVARAT.Cเข้าบรรยายเช้าดีจัง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 14 เม.ย. 16, 07:26

รีบๆทำครับ เดี๋ยวจะไม่จบ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 14 เม.ย. 16, 07:29

การเข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์โทรเลขสากลไม่ใช่เรื่องยากเหมือนเรื่องภาษีสุรา ส่วนในข้อตกลงกับฝรั่งเศสก็บรรลุได้ในเวลาไม่ช้า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯได้เสด็จไปเปิดที่ทำการโทรเลขของสยาม(ในภาพ)อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๑๘๘๓  และทรงมีพระราชโทรเลขไปยังปารีสถึงประธานาธิบดีฝรั่งเศส และถึงข้าหลวงใหญ่อินโดจีนในกรุงไซ่ง่อน ทรงส่งความปรารถนาดีและขอบคุณในความร่วมมือฉันท์มิตร ทรงหวังว่าสายโทรเลขนี้จะช่วยสร้างเสริมสัมพันธภาพระหว่างทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
พระราชโทรเลขนี้ กระทำผ่านนายโทรเลขฝรั่งเศส ซึ่งสยามได้ว่าจ้างไว้ทั้งหมด ๘ คน เพื่อดำเนินการกรมโทรเลข

พระองค์เจ้าปฤษฎางค์คงไม่รู้พระองค์ในตอนนั้นหรอกครับ ว่าจะต้องมาขับเคี่ยวกับคนพวกนี้เพื่อจะเปลี่ยนเป็นคนเยอรมัน หลังจากที่เสด็จกลับเมืองไทยเมื่อพ้นหน้าที่ทางการทูตแล้ว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 15 เม.ย. 16, 10:16

คอคอดกระ สเต็กที่สองมหาอำนาจจ้องจะขย้ำ

ฝรั่งเศสและอังกฤษได้แสดงความสนใจอย่างยิ่งยวดที่จะขุดคลองผ่าคอคอดกระ เพื่อลดค่าใช้จ่ายของการเดินเรือเชื่อมมหาสมุทรอินเดียกับแปซิฟิก ในการนี้ M. Gréhan กงสุลสยามในปารีสได้ออกหน้าที่จะให้รัฐบาลสยามสนับสนุนพยายามของกลุ่มทุนชาติเดียวกับเขา อารัมภบทในหนังสือที่นายคนนี้มีมายังกระทรวงการต่างประเทศส่อให้เห็นว่า เขาต้องมีผลประโยชน์ก้อนใหญ่ในการที่เข้าไปสมาคมกับบริษัทนั้น เห็นได้ชัดจากที่เขากล่าวหา Mr. Mason กงสุลในลอนดอนว่าสมคบกับบริษัทอังกฤษแห่งหนึ่งเช่นกัน

ผู้ที่เริ่มต้นให้ความสนใจโครงการคอคอดกระคนแรกชื่อ  M. Deloncle เป็นนักการเมืองระดับรองประธานสภาผู้แทนของฝรั่งเศส เขาคือผู้ที่ก่อตั้งบริษัทร่วมกับเฟอร์ดินาน เดอ เลสเซปส์ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกในฐานะผู้ขุดคลองสุเอซ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงปฏิเสธข้อเสนอของเขา นายคนนี้ก็กระทำตนเป็นศัตรูใต้ดิน คอยยุยงส่งเสริมให้นักการเมืองและข้าราชการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับเมืองขึ้น ให้จัดการกับสยามเสีย

พระเจ้าอยู่หัวทรงดำเนินพระราโชบายอย่างสุขุมรอบคอบต่อความพยายามของทั้งสองมหาอำนาจที่อยากจะได้สิทธิ์ในการขุดคอคอดกระ ทรงเห็นว่าถ้าให้สัมประทานแก่ประเทศใดประเทศหนึ่งไป ก็จะทำให้อีกประเทศหนึ่งเสียหน้า นอกจากนั้น หากมีคลองเกิดขึ้นและสยามต้องยกเอกสิทธิ์บนที่ดินนั้นแก่ชาติอื่น ก็จะหมิ่นเหม่ต่อการสูญเสียอธิปไตยของชาติในภาคใต้ของสยามทั้งหมด


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 16 เม.ย. 16, 06:33

ขอเบรกนิดนึงนะครับ

พอดีได้อ่านเรื่อง “ประธานาธิบดีอเมริกันนั่งเรือเมล์มาเฝ้า ร.๕!ทรงปรึกษาเรื่องคนไทยกินเหล้ามาก คำแนะนำใช้มาจนทุกวันนี้!!” เขียนโดยคุณโรม บุนนาค ตามเว็บนี้

http://manager.co.th/OnlineSection/ViewNews.aspx?NewsID=9590000037608

ข้อความบางตอนเกี่ยวเนื่องกับเรื่องความพยายามของสยามที่จะแก้ข้อตกลงเรื่องภาษีสุรา ดังที่ผมได้เขียนไปแล้วในกระทู้นี้ น่าจะสืบเนื่องจากการที่อดีตประธานาธิบดียูลิซิส ซิมป์สัน แกรนท์ ของอเมริกามาเยือนกรุงเทพในคราวนั้น แล้วพระเจ้าอยู่หัวทรงรับรองเต็มที่ โดยจัดให้พำนักที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อมีโอกาส ก็ทรงปรึกษาท่านอดีตประธานาธิบดีอเมริกันในเรื่องจะขอแก้ไขเรื่องภาษีสุรากับประเทศต่างๆที่ลงนามในสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีกันไว้ ในฐานะที่อเมริกันไม่มีผลประโยชน์ด้านการนำสุราราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้านมาขายให้คนไทย

อยากให้อ่านดูครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 16 เม.ย. 16, 06:36

ในการไปเยี่ยมประธานาธิบดีแกรนท์ที่วังสราญรมย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุ ๒๖ พรรษา จะทรงรับสั่งถึงเรื่องอะไรบ้างนั้นไม่เป็นที่เปิดเผย แต่เรื่องหนึ่งที่ทรงมีพระราชหัตถเลขาไปถึงเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ลงวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๒๒ ได้ทรงเล่าถึงการพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาที่คนไทยกินเหล้ามาก เพราะเหล้าราคาถูกมาจากต่างประเทศ ดังมีข้อความตอนหนึ่งว่า
       
       “...คนยุโรปซึ่งอยู่ในกรุงเทพฯนี้ ก็พูดหลายคนว่าทุกวันนี้มีคนเมาเดินตามถนนมากขึ้นกว่าแต่ก่อน เพราะสุราขายถูก คนกินมาก เมื่อเยเนอราลแกรนท์เอกซ์เปรสิเดนต์อเมริกันเข้ามาในกรุงเทพฯ ฉันได้ไปปฤกษาด้วยเรื่องสุราในเมืองไทย
       
       เยเนอราลแกรนท์พูดว่า การสุรานี้ธรรมดาทุกประเทศต้องคิดจัดรักษาพลเมืองของตัวเอง เพื่อจะไม่ให้เมามายมาก ถ้าสุราขายถูกคนซื้อได้โดยง่าย ก็จะเป็นคนเมาเหลือเกินไปเสียโดยมาก การเรื่องสุรานี้เป็นการสำคัญของประเทศยุโรปแลอเมริกาที่ยังต้องคิดจัดการอยู่เสมอ
       
       การเรื่องสุราในเมืองไทยนี้ เขาก็ได้ทราบว่าคนไทยเสียไปมากด้วยเรื่องสุรา เห็นว่าควรคอเวอนเมนต์จะคิดห้ามปรามคนกินสุราที่เมาเดินตามถนนให้แข็งแรงขึ้น แลอย่าคิดเลยที่จะขอต่อประเทศที่เป็นไลเซนซ์ฤาสิ่งใดเล็กๆน้อยๆ ควรจะคิดจัดการเป็นของคอเวอนเมนต์ให้ตลอด แต่ถ้าจะพูดแล้วอย่าให้ยกที่เงินภาษีอากรตกขึ้นพูด ให้ยกเอาข้อที่บ้านเมืองจะเสียไปเพราะคนกินเหล้ามากขึ้นมาพูดแต่อย่างเดียว ต้องคิดจัดการให้มีที่ขายเฉพาะแห่ง ต่อรับไลเซนซ์จึงจะขายได้ทั้งคนไทยและคนต่างประเทศ กะราคาให้แพงพอสมควรแก่ที่จะปิดไม่ให้คนกินมากได้ ถ้าคิดการตลอดอย่างนี้แล้ว พูดกับกงสุลต่างประเทศเสียแต่พอเป็นที่ที่พูดกับคอเวอนเมนต์ต่างประเทศทีเดียว เห็นว่าคงจะมีผู้เห็นด้วยมาก ด้วยเป็นการจำเป็นที่จะต้องคิดรักษาเมือง การเห็นจะสำเร็จไปได้ ถ้าไม่คิดจัดการเรื่องนี้เสียให้เรียบร้อย บ้านเมืองคงจะต้องเสียเพราะเรื่องเหล้า ประเทศอื่นๆ เขาได้คิดระวังการเรื่องนี้หนัก
       
       ฉันเห็นว่า เยเนอราลแกรนท์เป็นคนราชการสำคัญ เคยปกครองรักษาแผ่นดินมา เขาพูดแนะนำดังนี้ ก็เห็นว่าควรจะต้องตรึกตรองการดูให้ตลอด ควรจะจะพูดอย่างไรได้ ก็จะต้องคิดจัดไปตามสมควร
       
       การที่เยเนอราลแกรนท์พูดนี้ ฉันก็ได้บอกกับสมเด็จเจ้าพระยาฯ เมื่อไปรดน้ำสงกรานต์ไว้โดยย่อ มีราชการอื่นเสียก็หาได้ชี้แจงให้ท่านทราบตลอดไม่ เห็นว่าในขณะนี้พระยาภาสกรวงษ์ยังอยู่ที่ลอนดอน ถ้าเสร็จราชการที่ออกไปแล้ว จะให้พูดจาชี้แจงการขัดข้องของเราประการใดประการหนึ่งต่อคอเวอนเมนต์อังกฤษก็เห็นจะได้ แต่การพูดเรื่องไลเซนซ์นั้น เธอก็ได้พูดครั้งหนึ่งแล้วไปติดเงียบหายอยู่เสีย ไม่ทราบว่าจะจัดการอย่างไรต่อไป การครั้งนี้ขอให้เธอตริตรองดูตามสมควรเถิด”



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 16 เม.ย. 16, 06:44

อ่านตรงนี้แล้ว ทำให้เห็นกุศโลบายที่สยามใช้ในการเจรจากับชาติต่างๆในยุโรปนั้น จะไม่อ้างว่าจะทำให้สยามเสียผลประโชน์จากภาษีอากรสุรามี่เคยได้รับ แต่จะเน้นว่าการที่สุรามีราคาถูกเข้ามาขายนท้องตลาดมาก ทำให้พลเมืองสยามกลายเป็นคนขี้เหล้าเมายา บ้านเมืองคงจะต้องเสียเพราะเรื่องเหล้า

เมื่ออ้างเหตุผลดังนี้ ชาติที่เจริญแล้วคงค้านไม่ออก ทำให้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงประสบความสำเร็จในการเจรจากับทุกประเทศ ด้วยการไปเยือนเพียงครั้งเดียวแทบจะทั้งสิ้น

ภาพล่าง อดีตประธานาธิบดียูลิซิส ซิมป์สัน แกรนท์


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 17 เม.ย. 16, 07:38

กลับมาที่คอคอดกระ

ตามประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศสเป็นคนแรกที่สนใจจะทำโครงการใหญ่ ด้วยการขุดคลองเชื่อมอ่าวไทยกับทะเลอันดามันมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์ วิศวกรหนุ่มลูกผู้ดีคนนี้ชื่อเดอ ลามาร์

เมื่อเชอร์วาเลียร์  เดอ  โชมองต์ เป็นราชทูตฝรั่งเศสเดินทางมากรุงศรีอยุธยา ด้วยเรือปืนชื่อ ลัวโซ กับเรือฟรีเกตชื่อ ลา มาลีญ พาคณะบุคคลมาหลายคน หนึ่งในนั้นมีช่างทำแผนที่ชื่อ  เดอ ลามาร์ มาด้วย เพื่อทำแผนผังตัวเมืองชายฝั่งที่ผ่านไปและแผนที่ประเทศสยาม  เพื่อส่งกลับไปถวายพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ต่อมานายคนนี้ถูกส่งไปยังซิงกอรา ซื่อที่ฝรั่งเรียกแผลงมาจากชื่อไทยว่าสงขรา เดี๋ยวนี้เขียนสงขลา เพื่อปักหลักสำรวจ เพราะสมเด็จพระนารายณ์ยกเมืองให้ตามคำแนะนำของออกญาวิชาเยนทร์

วิศวกรคนนี้เฉียบคมมาก อายุของเขาตอนนั้นไม่น่าจะถึงสามสิบด้วยซ้ำ เขาทำรายงานขึ้นไปว่า เมืองนี้น่าสนใจ เพราะสามารถจะขุดคลองจากทะเลสาปที่นั่นทะลุตามแม่น้ำออกไปเชื่อมต่อกับทะเลอันดามันได้ ไม่รู้ว่าเขารู้ได้อย่างไรในสมัยที่ แผนที่ก็ยังไม่มี
แผนที่ข้างล่าง เดอ ลามาร์เขียนขึ้นภายหลัง

โชคดีที่สมเด็จพระเพทราชาทรงทำรัฐประหาร แล้วขับไล่ชาวฝรั่งเศสกลับประเทศไปก่อนที่จะตั้งตัวได้ทันตามแผนที่คบคิดกันไว้ฝรั่งขุนนางไทย มิฉะนั้นแล้ว ถึงคลองลัดคอคอดอาจจะไม่เกิด แต่สยามคงต้องเสียดินแดนให้ฝรั่งเศสโดยถาวรแน่ๆ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 17 เม.ย. 16, 08:13

ผ่านมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ นาย Deloncle เดินทางมาขอเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๑๘๘๒ เพื่อทูลขอสัมปทาน พระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิเสธอย่างนิ่มนวล เหตุผลที่ทรงอรรถาธิบายแสดงถึงพระปรีชาเป็นที่ยิ่ง ทรงกล่าวว่าก่อนที่จะทรงตัดสินใจให้สัมปทานดินแดนของสยามส่วนนั้น จะต้องทรงแน่พระทัยเสียก่อนว่าการขุดคลองในภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยภูเขานั้นจะมีความเป็นไปได้ทางเทคนิค และคุ้มค่าในการลงทุน  จึงขอให้มีการสำรวจเส้นทางอย่างจริงจังก่อน

เมื่อจนในเหตุผลของพระองค์ นาย Deloncle ก็ต้องกลับไปตั้งหลักใหม่แล้วส่งกัปตัน Bellion นำคณะมาในวันที่ ๑๒ มกราคม ๑๘๘๓ เพื่อดำเนินการรังวัดสำรวจในนามของ บริษัท The Suez Co. เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นพร้อมๆบริษัทของอังกฤษชื่อเป็นลูกครึ่งชอบกลๆว่า Le Febvre of London ได้ประกาศความสนใจที่จะลงทุนขุดคอคอดกระเช่นกัน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 17 เม.ย. 16, 08:58

เรื่องนี้ กงสุลGréhan ก็พยายามเกลี้ยกล่อมให้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ยอมพบกับเฟอร์ดินาน เดอ เลสเซปส์ วิศวกรใหญ่ตั้งแต่ต้น แต่ทรงปฏิเสธ  แม้กงสุลGréhanจะลงทุนจัดงานเลี้ยงอย่างใหญ่แล้วเชิญท่านราชทูตสยามไปร่วม เพื่อหวังจะให้เจอกับเดอ เลสเซปส์แบบไม่ได้ตั้งใจ แต่ทรงรู้แกวจึงปฏิเสธว่าทรงติดนัดที่อื่นแล้ว แต่ก็ย้ำว่าอย่าพยายามนัดหมายหรือจัดการใดๆให้เป็นมลทินต่อสถานะภาพอัครราชทูตเป็นอันขาด

กงสุลGréhanจึงต้องแสดงเองด้วยการทำหนังสือของตนไปยังรัฐบาลสยามเพื่อสนับสนุนโครงการขุดคอคอดกระ อวยกลุ่มทุนของฝรั่งเศสและพาดพิงกงสุลเมสันตามที่ได้กล่าวไปแล้ว ในกรุงเทพเวลานั้น  M. Harmand ผู้เป็นกงสุลใหญ่ฝรั่งเศสประจำกรุงเทพก็ประสานเสียง ทำหนังสือกดดันรัฐบาลสยามให้ให้สิทธิ์โน่นนี่นั่นแก่บริษัทของฝรั่งเศส และยังทำหนังสือกระตุ้นให้รัฐบาลฝรั่งเศสเองมีบทบาทในการสนับสนุนบริษัทชาติของตนด้วย สร้างความอึดอัดต่อรัฐบาลสยามอย่างยิ่ง

จะเห็นได้ว่านานมาแล้ว นายทุนมีอิทธิพลต่อข้าราชการ นักการเมืองและรัฐบาลอย่างไร ตอนนั้นถ้าสามารถใช้เงินสั่งปลดพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้ นายทุนข้ามชาติก็คงจะทำไปแล้ว บังเอิญว่ามันคนละระบอบกัน จึงวิ่งเต้นไม่ได้ ต้องใช้อำนาจข่มขู่เอาอย่างเดียว
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 17 เม.ย. 16, 11:10


ขอแทรกเล็กน้อยครับ

ในช่วงเวลาไม่นานที่ เดอ ลามาร์ อยู่ในสยาม
เขาได้ทิ้งผลงานสำรวจ วางผัง และผลงานวิศวกรรมไว้ทั่วหัวเมืองสำคัญของสยาม
ในขณะที่พระเพทราชาทำรัฐประหาร เดอ ลามาร์ ก็ยังทำงานสำรวจอยู่ในสยาม
ใช้เส้นทางหลบหนี เดินเท้าไปยังฝั่งอันดามัน
นับเป็นบุคคลที่น่าสนใจยิ่งในประวัติศาสตร์

ส่วนฝรั่งเศสที่รวมกลุ่มออกไปทางเรือ เช่น เด ฟาร์จ กลับไปไม่ถึงฝรั่งเศส
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 18 เม.ย. 16, 07:02

ผลงานของ เดอ ลามาร์ที่ยังอยู่ในสงขลา ที่ปลายเขาแดงก่อนจะขึ้นสะพานติณสูลานนท์ ยังปรากฏสมบูรณ์อยู่นะครับ เป็นป้อมปืน กรมศิลปากรตั้งชื่อว่าป้อมปืนเขาม่วง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 18 เม.ย. 16, 07:03

ในวันที่ ๒๖ มีนาคม ๑๘๘๒ กงสุลGréhanได้รับหนังสือตอบจากราชเลขานุการในพระองค์ตามที่ผมได้นำต้นฉบับมาให้ชมก่อนจะแปล ดังนี้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 18 เม.ย. 16, 08:05

ความในหนังสือมีว่าหนังสือที่นายกรียองทำหนังสือกราบบังคมทูลมาพร้อมกับสำเนาสัญญาให้สัมปทานการขุดคลองลัดคอคอดกระนั้น แผนดังกล่าวทรงได้รับแล้ว

แต่นายกรียองก็ทราบดีว่ารัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่มีความประสงค์จะให้สัมปทานแก่ผู้ใด โดยมิได้รับฟังความเห็นอย่างเต็มที่ จากชาติมหาอำนาจที่กระทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีต่อกันไว้ และมีความสนใจไม่มากก็น้อยต่อโครงการดังกล่าว  ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการพิจารณานานกว่าจะได้ข้อยุติ

สยามจะไม่กระทำการใดๆเพื่อที่จะฉกฉวยความได้เปรียบ หากการกระทำนั้นอาจสร้างความเสียหายแก่ชาติอื่น และหากจะเกิดประโยชน์แท้จริงแก่นานาชาติส่วนใหญ่แล้ว แม้สยามจะต้องสูญเสียอะไรไปบ้างก็เสียสละได้เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ตามหน้าที่ของมนุษยชนอันพึงกระทำ
นายกรียองคงจะเห็นว่าท่านไม่มีสิ่งใดแอบแฝงอยู่เบื้องหลังในคำอรรถาธิบายอย่างตรงไปตรงมานี้

ทรงลงพระนามอย่างเต็ม เทวะวงศ์วโรปการ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.09 วินาที กับ 19 คำสั่ง