เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 20863 พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับงานบุกเบิกทางการทูตของสยามในยุโรป
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


 เมื่อ 20 มี.ค. 16, 08:41

หลังจากจบกระทู้ “พระองค์เจ้าปฤษฎางค์-ชีวิตลับที่ทรงเผยไม่ตลอด” ในเรือนไทยไปแล้ว หลายท่านคงทราบว่า ผมได้เอาเนื้อหาในทั้งเรื่องนี้และใน “ชีวิตดั่งนิยาย-พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กระดูกสันหลังพระปิยะมหาราช ? ”กระทู้เก่าที่ผมเคยเขียน ไปเรียบเรียงอีกครั้งเป็นบทความ เพื่อนำลงในคอลัมน์ “ประวัติศาสตร์มีชีวิต” ของสกุลไทยรายสัปดาห์เป็นตอนๆ  ซึ่ง ณ วันนี้ก็เป็นตอนที่ ๑๐ ใน ๑๓ ตอนที่ผมส่งต้นฉบับไปแล้ว

ระหว่างนั้น ผมได้รับโทรศัพท์จากสถาปนิกรุ่นพี่ที่ผมเคารพนับถือท่านเป็นครูบาอาจารย์ของผม คือ ดร.สุเมธ ชุมสาย ได้โทรมาคุยกับผมเรื่องของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ เนื้อหาสาระก็เป็นเรื่องราวต่างๆที่ตอนนั้นท่านคิดว่าผมยังไม่ทราบ ครั้นมาถึงต้นสัปดาห์นี้ ท่านก็ได้มีอีเมล์มาถึงผมอีก พร้อมกับข้อความแนบ

เรียน ม.ล. ชัยนิมิตร  นวรัตน
ขอส่งเรื่องเกี่ยวกับพระองค์เจ้าปฤษฎางค์มาให้

ด้วยความรฤกที่ดีเสมอ
จากพี่สุเมธ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 20 มี.ค. 16, 08:49

เรื่องที่ท่านส่งมาให้นั้น คือเรื่องราวในหนังสือ
Prince Prisdang’s Files
on
His Diplomatic Activities in Europe 1880-1886

หรือแปลเป็นไทยคือ  เอกสารของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์  เกี่ยวกับงานการทูตของพระองค์ในยุโรป ค.ศ.1880-1886

หนังสือฉบับดังกล่าวเขียนโดย ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย บิดาของท่าน
ผมอ่านแล้วเห็นว่า หลายบทหลายตอนในหนังสือท่านมิได้ทรงเขียนเล่าละเอียดในพระประวัติ จึงไม่เคยผ่านตาผมมาก่อน  ถือเป็นเรื่องน่าสนใจ สำหรับผู้ที่ติดตามเรื่องราวชีวประวัติดั่งนวนิยายของพระองค์ท่าน ผมสมควรจะนำมาเผยแพร่ เพื่อให้จะแจ้งว่าในช่วงชีวิตรุ่งโรจน์อันแสนสั้นของท่านนั้น ท่านได้สร้างผลงานในแผ่นดินที่สยามไม่เคยคุ้นเคยมาก่อน จนเป็นคุณานุคุณแก่ประเทศชาติไว้อย่างไร


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 20 มี.ค. 16, 09:57

ขอแนะนำอาจารย์สุเมธของผมสักเล็กน้อย

ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา เป็นสถาปนิกไทยระดับศิลปินแห่งชาติ เจ้าของผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมดีเด่นจนมีชื่อเสียงในระดับโลก และเป็นผู้ใฝ่ใจในการอนุรักษ์อาคารสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทย  ผมเคยมีโอกาสได้ร่วมงานในกิจกรรมอาษากับท่านในส่วนหลังนี้อยู่หลายโครงการในระยะกว่าสิบปี

ดร.สุเมธได้ติดตามบิดา ม.ล. มานิจ ชุมสาย บิดาซึ่งไปทำงานที่กรุงปารีส ทำให้ได้ใช้ชีวิตนักเรียนนักศึกษาอยู่ในทวีปยุโรปยาวนาน ถึง ๑๗ ปี ทั้งที่ฝรั่งเศสและอังกฤษ จนกระทั่งจบการศึกษาสถาปัตยกรรมระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ท่านจึงเดินทางกลับมารับราชการเป็นการใช้ทุน ก.พ.ที่กรมโยธาธิการ และสำนักผังเมือง กระทรวงมหาดไทย จนพ้นเงื่อนไขแล้วจึงได้ลาออกเพื่อมาทำกิจการของตนเอง และเคยไปเป็นอาจารย์สอนสถาปัตยกรรมที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์อยู่หลายปี ก่อนจะกลับมาประกอบวิชาชีพสถาปนิกอิสระอย่างจริงจังในประเทศไทย

ระหว่างรับราชการ ได้เป็นผู้คิดริเริ่มโครงการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โครงการอนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ โครงการอนุรักษ์จวนเจ้าเมืองเก่าสงขลา โครงการอนุรักษ์กำแพงเมืองเก่าที่ยังเหลืออยู่ในทุกจังหวัด โครงการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมและอาคารทรงคุณค่าต่างๆทั่วประเทศ งานเหล่านี้ใช้ระยะเวลายาวนานกว่าผู้มีอำนาจจะเข้าใจและยินยอมปฏิบัติ แต่ละโครงการกว่าจะสัมฤทธิ์ผลต้องใช้ความานะพยายามของบุคคลผู้ร่วมอุดมการณ์มากมาย  สมบัติของชาติเหล่านี้จึงถูกสงวนรักษาไว้ได้ดังที่เห็นในปัจจุบัน

จะว่าไป การท่องเที่ยวที่บูมบามขึ้นนั้นเองที่มีส่วนทำให้เกิดความสำเร็จในงานอนุรักษ์อาคารสถานที่เชิงประวัติศาสตร์ เพราะผู้มีอำนาจเห็นว่ามันมีค่า สามารถจะทำเงินได้จากนักท่องเที่ยว  จึงยินดีจัดหางบประมาณมาให้ทำโดยคิดแบบลงทุนเพื่อแสวงหากำไร ที่ซาบซึ้งในนามธรรมที่นักอนุรักษ์พยายามอธิบายก็คงจะมีบ้าง แต่ไม่น่าจะมาก
 
ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติหลายอย่างหลายประการนับไม่ถ้วน ที่สำคัญๆคือ ได้รับรางวัลนักอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๓  ได้รับพระราชทานกิตติบัตรบุคคลตัวอย่างด้านส่งเสริมงานอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรม เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๖  ได้รับรางวัลคริสเติล อวอร์ด ด้านศิลปและวัฒนธรรม ของ The World Economic Forum (WEF) ประจำปี ๒๕๔๒ ที่เมืองดาโวส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๒
บันทึกการเข้า
walai
มัจฉานุ
**
ตอบ: 64


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 20 มี.ค. 16, 10:29

 :)เปิดประตู หน้าต่างชั้นเรียนเรียบร้อยแล้วนะคะ จองโต๊ะหน้า แถวกลาง แล้วนะคะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 20 มี.ค. 16, 11:12

ยินดีต้อนรับครับ

ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ท่านสืบสายอัจฉริยะของราชสกุลชุมสายมาจากบิดา ม.ล.มานิจ ชุมสาย ผู้สอบชิงทุนคิง (King’s scholarship)ได้รับพระราชทานทุนเล่าเรียนหลวง ไปศึกษาอักษรศาสตร์ จากทรินิตี้คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ จนสำเร็จการศึกษา กลับมารับราชการกระทรวงศึกษาธิการ ทำงานด้านการพัฒนาการศึกษาของชาติระดับต่างๆ ตั้งแต่อนุบาลศึกษาไปจนจบระดับมัธยม จนกระทั่งท่านอายุ ๔๒ ปี องค์การยูเนสโกก็ได้ขอตัวไปรับราชการประจำ อยู่ ณ กรุงปารีส ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้เชี่ยวชาญการตำรา และเป็นเจ้าหน้าที่พิเศษช่วยเหลือการศึกษาในประเทศด้อยพัฒนาอยู่หลายปี ก่อนย้ายให้กลับมาเป็นรองผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชีย ประจำที่กรุงเทพ จึงได้เป็นผู้จัดทำโครงการก่อตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ระหว่างทำงานให้ยูเนสโกในยุโรปนี้เอง ม.ล.มานิจ ชุมสาย ได้เริ่มเก็บรวบรวมหลักฐานต่างๆเกี่ยวกับสยาม ไม่ว่าจะเขียนโดยคนไทยหรือโดยชาวต่างชาติ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนรัตนโกสินทร์ ทั้งที่เป็นหนังสือ เอกสาร รูปภาพ หรือสำเนาไมโครฟิล์ม 

หลังเกษียณอายุราชการ ท่านได้หันมาทำงานค้นคว้าประวัติศาสตร์เพิ่มเติม โดยไปอยู่ลอนดอน ๓ ปี พบแฟ้มเก่าๆ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ ที่ ๕ เจอเรื่องราวอันมีค่าในประวัติศาสตร์มากมาย ตั้งแต่คราวที่เซอร์จอห์น เบาวริงมาทำสญธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับกรุงสยาม
กลับมาเมืองไทยแล้วระยะหนึ่งก็กลับไปปารีสอีก เพราะจำได้ว่าท่านเคยเห็นแฟ้มที่เขาโยนๆ ลงไปเก็บใต้ถุนสถานทูตไทย โดยไม่มีใครสนใจที่จะรู้เรื่อง อาศัยจังหวะที่ลูกสาวไปเรียนหนังสืออยู่ที่นั่นจึงตามไปเช่าบ้านอยู่ด้วย แล้วขออนุญาตท่านทูตลงไปกวาดขี้ฝุ่น โรยยาฆ่าหนู มดแมลง กว่าจะลงไปรื้อค้นจนอ่านได้  แต่หาเอกสารประวัติศาสตร์ทางการทูตไม่พบ กลับไปพบที่ใต้ถุนสถานทูตไทย ที่กรุงบอนน์ ประเทศเยอรมนี
ท่านกล่าวถึงสาเหตุที่เอกสารอยู่ผิดที่ว่า “คงจะย้ายไปเมื่อปารีสถูกโจมตีสมัยสงครามโลก อยู่ครบหมดเชียว จึงบอกให้เขาเอามาเก็บที่กระทรวงการต่างประเทศ ในกรุงเทพ เพราะของนี้มีค่ามาก”

ของมีค่าชุดหนึ่งที่พบคือเอกสารและไดอารี่ของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ผู้มีศักดิ์เป็นลุงของท่าน พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้ทำบันทึกภาษาไทยเพื่อรายงานต่อเสนาบดีการต่างประเทศ และหนังสือกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ตั้งแต่พระองค์ท่านทรงเป็นราชทูตอยู่ในกรุงลอนดอน และปารีส ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๒๔- พ.ศ. ๒๔๒๙ ซึ่งต่อมาได้จัดพิมพ์เป็นเล่ม ในภาคภาษาไทยว่า “ประมวลจดหมายของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ราชทูตองค์แรกของไทยประจำทวีปยุโรป”


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 20 มี.ค. 16, 11:22

บิดาและบุตร

ม.ล.มานิจ ชุมสาย ซ้าย และ ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ขวา
ภาพถ่ายขณะอยู่ในวัยใกล้เคียงกัน


บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 20 มี.ค. 16, 19:40

รายงานตัวครับ จองโต๊ะหลังห้องใกล้ประตูหลังห้อง จากเด็กหลังห้องที่อยากเป็นคนขยันกับเขาบ้าง ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 20 มี.ค. 16, 20:46

นอกเรื่องนิดนึง งานหนังสือปีนี้ท่านอาจารย์ใหญ่กว่ามีกำหนดไปแจกลายเซ็นต์วันไหน ตอนกี่โมงบ้างครับ เผื่อจะได้ถือโอกาสพกเตารีด คันไถไปขอกราบสวัสดีที่งานได้ครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 21 มี.ค. 16, 07:29

งานสัปดาห์หนังสือที่จะถึงนี้ ไม่่มีหนังสือใหม่ของผมออกครับ เลยไม่มีคิวไป
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 21 มี.ค. 16, 07:30

หนังสือเล่มนั้น ม.ล. มานิจท่านเริ่มในบทนำว่า แม้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าจะได้ทรงกระทำสญธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับหลายชาติในยุโรปไปแล้ว แต่พระองค์ก็ยังไม่ทรงสามารถที่จะส่งทูตไปประจำยังประเทศเหล่านั้นได้ จวบจนกระทั่งรัชกาลต่อมา พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงได้รับโปรดเกล้าให้เป็นอัครราชทูตประจำชาติอันทรงอำนาจดังกล่าว รวมถึงสหรัฐอเมริกาด้วย ทำให้ชาติตะวันตกเหล่านั้นค่อยรู้สึกหน่อยว่าสยามมีตัวมีตนตนอยู่จริง

แต่ผู้ที่รู้จักพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ยังมีน้อยคนมาก บันทึกต่างๆที่ท่านทรงทิ้งไว้ในแฟ้มที่สถานทูตไทยในกรุงลอนดอน ถูกทำลายทิ้งไปอย่างมิได้ตั้งใจในปี 1965 การขาดแคลนข้อมูลเกี่ยวกับพระองค์ท่านยิ่งเห็นได้ชัด  ในช่วงหลังจากที่เสด็จกลับมากรุงเทพในปี 1886 แล้ว ความขัดแย้งระหว่างท่านกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าก็ได้บานปลายไปถึงขั้นที่ทรงสมัครใจลาออกจากทางราชการ แล้วเนรเทศพระองค์เองไปบวชเป็นพระภิกษุที่ซีลอน ซึ่งชีวิตที่นั่นแม้จะแตกต่างกับที่ท่านทรงเป็นในยุโรป ทว่า ก็มีความโดดเด่นไม่แพ้กัน


(ผมเป็นคนให้ตัวหนาในประโยคข้างบนเองครับ เพื่อหาโอกาสกลับมาเติมเต็มข้อมูลที่ค้นพบใหม่ในภายหลัง)
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 21 มี.ค. 16, 07:42

แม้บันทึกส่วนใหญ่ของสถานทูตได้ถูกทำลายไปแล้ว แต่ก็ยังพบว่ามีแฟ้มอยู่สามปึกยังหลงเหลืออยู่ที่ลอนดอน และอีกมากพอสมควรที่สถานทูตไทยในปารีส เป็นหนังสือที่ทรงเขียนโต้ตอบกับรัฐบาลอังกฤษและฝรั่งเศส และที่ยังอาจจะค้นหาเพิ่มเติมได้อีกมากจากห้องเก็บเอกสารสาธารณะและห้องจดหมายเหตุของกระทรวงการต่างประเทศในปารีส รัฐบาลฝรั่งเศสยังคงเก็บรักษาต้นฉบับประวัติอย่างเป็นทางการของพระองค์ท่าน ซึ่งทรงยื่นต่อท่านประธานาธิดีในปี 1882

พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ยังทรงมีบทบาทสำคัญ ในการเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างพระราชวงศ์ไทยและพระราชวงศ์ต่างๆของยุโรป ซึ่งเจ้านายทั้งหลายที่นั่นก็ทรงยินดีและยอมรับท่านในฐานะที่เป็นเจ้าด้วยกัน ด้วยเหตุนั้น จึงทำให้ทรงสามารถทูลขอให้ทรงช่วยประเทศสยามได้ในหลายโอกาส

ทรงฝากนักเรียนไทยให้เข้าเรียนในโรงเรียนต่างๆหลายประเทศ ในเยอรมันและออสเตรียนั้น พระจักรพรรดิ์ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้นักศึกษาไทยเข้าเรียนโรงเรียนนายทหารได้เป็นครั้งแรก พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงได้รับอนุญาตให้ดูการจัดกองทัพ และส่งออกเครื่องอาวุธกับเครื่องกระสุนให้สยาม และทั้งสองประเทศยินยอมให้นายทหารของตนมาฝึกหัดทหารให้ด้วย

(ผมไม่เคยผ่านสายตาว่ามีนายทหารเยอรมันและออสเตรียมารับราชการในกองทัพสยาม นอกจากในช่วงนั้นกรมโทรเลขและไปรษณีย์จะว่าจ้างคนเยอรมันมาเป็นที่ปรึกษา และนายท่า(Port Master)เป็นคนเยอรมัน ส่วนงานด้านการป้องกันประเทศ พระเจ้าอยู่หัวทรงตัดสินพระทัย เลือกเดนมาร์กมหาอำนาจอันดับรอง ให้มารับราชการช่วยปฏิรูปกองทัพ)
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 21 มี.ค. 16, 07:46

ทรงนำความทันสมัยทางตะวันตกมาปรับเข้ากับสยาม ทรงริเริ่มแนวความคิดใหม่ๆสำหรับงานสาธารณะ ยกตัวอย่าง ทรงมีส่วนร่วมในการจัดตั้งโรงพยาบาลศิริราช โดยทรงเป็นองค์ประธานคู่กับสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ทรงมีส่วนช่วยในการจัดสร้างโรงงานสรรพาวุธทหาร  และพัฒนาการไปรณีย์โทรเลข  ซึ่งพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงเคยเป็นผู้แทนของสยามไปร่วมการประชุมไปรษณีย์สากลนานาชาติที่เวียนนาในปี 1883

ทรงเดินทางตลอดเวลาระหว่างลอนดอนไปปารีส แมดริด ลิสบอน โรม เวียนนา เบอร์ลิน ปรัสเซลส์ กรุงเฮก สต๊อกโฮล์ม โคเปนเฮเกน เพื่อเข้าพบบุคคลสำคัญๆทั้งหลายในสมัยนั้น ทรงจัดตั้งสถานกงสุลสยามขึ้นในหลายประเทศของยุโรป และเครือจักรภพ ดังนั้น ไม่เฉพาะงานบุกเบิกกิจกรรมด้านการทูตที่กระทำกันสืบเนื่องต่อมาทั้งหมด ในยามที่ท่านเดินทางออกจากยุโรปนั้น สยามมีสถานภาพพอที่จะดำเนินการเจรจากับรัฐบาลต่างๆได้โดยผ่านกงสุลของตนเอง

ม.ล. มานิจท่านใช้อุตสาหะมากที่จะปะติดปะต่อผลงานอันโดดเด่นในด้านการทูตในยุโรปยุคแรก โดยใช้หลักฐานจากข้อมูลอันมีที่มาดังกล่าวไปแล้ว ผนวกกับเอกสารในราชสกุลของท่านยังพอมีหลงเหลืออยู่ ซึ่งจะครอบคลุมสิ่งที่พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงกระทำในยุโรปทั้งหมดระหว่างปี 1880-1886

(กงสุลเหล่านี้เป็นคนของแต่ละประเทศนั้น แต่ไม่เรียกกงลุลกิตติมศักดิ์ เพราะรับเงินเดือนเป็นข้าราชการประเภทหนึ่งของกระทรวงต่างประเทศสยาม)
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 21 มี.ค. 16, 09:02

พี่ Superboy แย่งที่นั่งผม (ฮ่า)
บันทึกการเข้า
ninpaat
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 21 มี.ค. 16, 09:42

มาขานชื่อ ตามระเบียบ และขอนั่งโต๊ะ ติดหน้าต่างห้อง แถวสอง มองเห็นวิวนอกโรงเรียน ครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 21 มี.ค. 16, 10:04

เตรียมมาหลับกันใหญ่ เอาน่า สนุกนะ ไม่ธรรมดาหรอกลองดูสารบรรณก่อน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 19 คำสั่ง