เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
อ่าน: 30898 อยากรู้เรื่องคำผวน ว่ามีที่มา และประวัติอย่างไร
CrazyHOrse
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 31 ก.ค. 01, 19:28

ไม่มาสักตัวสิครับเห็นชัดแจ๋วเลย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 30 ส.ค. 17, 15:23

มีคำ ๆ หนึ่งมักใช้ประกอบคำผวนคือคำว่า "หู" จนบางครั้งแม้ไม่มีคำประกอบให้ผวน ก็ยังมีความหมายนัย ๆ เป็นอีกคำหนึ่งจนได้ เช่น "สั้นเสมอหู"  และ "คันหู"

การนำคำว่า "หู" มาใช้ประกอบคำผวน อาจเป็นเรื่องใหญ่ ดังเช่นกรณีศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ประจำปี ๒๕๕๙ และ นักเขียนรางวัลซีไรต์ประจำปี ๒๕๓๐ ไพฑูรย์ ธัญญา หรือ รองศาสตราจารย์ ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์  แต่งกลอนชื่อ "คดีหู"

หากไม่ระบุชื่อเจ้าของหู อาจจะดูมีชั้นเชิงมากกว่านี้  ยิ้มเท่ห์



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 31 ส.ค. 17, 12:12

กระทู้นี้แน่นิ่งอยู่ 16 ปี  เพิ่งมาหายใจต่อ เพราะคุณไพฑูรย์ ธัญญานี่เอง
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 01 ก.ย. 17, 14:04

การผวนคำในภาษาอื่นๆ เขาทำกันอย่างไรครับ มีวิธีการเหมือนหรือต่างจากภาษาไทยเราหรือไม่ อย่างไรครับ

ของเรา ใช้การสลับตำแหน่งพยัญชนะ กับสระ
ต้น ไม้
ต้ ม้

ถ้ามีสามพยางค์ จะเว้นพยางค์กลาง
า หนึ่ง ตั
มัว หนึ่ง

ของภาษาอื่นๆเขาผวนกันอย่างไรครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 01 ก.ย. 17, 14:34

ฝรั่งก็เล่นคำผวนกัน แต่ไม่มากมายเป็นเรื่องเป็นราวเท่าไทย เรียกว่า Spoonerism เช่น a half-formed wish in my mind - - a half-warmed fish in my mind ถือเป็นการพูดพลาดมากกว่าจงใจพูดให้เป็นเรื่องขัน (จนออกมาเป็นหนังสือได้ทั้งเล่ม) อย่างไทย

คำผวนฝรั่ง หรือ spoonerism  ต่างกับคำผวนไทยตรงที่ของไทยสลับสระและตัวสะกด ส่วนคำผวนฝรั่งสลับเพียงพยัญชนะต้น

a half-formed wish in my mind - - a half-warmed fish in my mind
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 01 ก.ย. 17, 14:43

มีวิธีเล่นคำอีกอย่างหนึ่งที่เป็นการกลับไปกลับมาที่ฝรั่งชอบเล่นมากกว่าคำผวนมาก แต่ไทยไม่ค่อยเล่น หรือที่จริงผมไม่เคยเห็นไทยเล่นเลย คือการเรียงลำดับตัวอักษร โดยที่ภาษาอังกฤษอักษรเขาไม่มีสระพยัญชนะแยกจากกัน เป็นตัวอักษรเหมือนกันหมดจึงเล่นอย่างนี้ง่าย

อย่างนโปเลียนที่ว่าถูกจับติดเกาะ Elba นั้นก็ไม่เชิงเป็นคำผวน เพียงแต่เรียงอักษรสลับจากหลังไปหน้าเท่านั้นเป็น Able นมผงยี่ห้อหนึ่งเคยตั้งชื่อว่า Klim ก็ Milk กลับหลังนั่นแหละ หรือที่เป็นโจ๊กในสงครามโลกครั้งที่สองคือ เรด้าร์ RADAR เป็นระบบใหม่ที่อังกฤษเพิ่งคิดได้ตอนนั้น ถือเป็นความลับทางทหารขั้นลับสุดยอด จึงมีการเสนอให้ทางกองทัพสั่งว่า ห้ามพูดถึงเรดาร์ตรงๆ เดี๋ยวเยอรมันจับได้ เวลาจะเอ่ยถึงเรดาร์ให้เข้ารหัสเสียชั้นหนึ่งก่อน โดยเขียนย้อนจากหลังไปหน้าแทน ผู้ใหญ่ในกองทัพเกือบจะบ้าจี้สั่งไปยังงั้นจริงๆ แล้วแต่มาดูอีกที่ RADAR เขียนจากหน้าไปหลังหรือหลังไปหน้ามันก็ยังเป็น RADAR อยู่ดี...

คำประเภท RADAR นึ้ ฝรั่งเรียก พาลินโดรม คือ มีการเรียงอักษรแบบที่ทำให้อ่านออกมาได้เหมือนเดิมไม่ว่าจะอ่านตรงหรืออ่านย้อนกลับหลัง และฝรั่งชอบเล่นกันมาก พาลินโดรมที่ดังๆ มี

Ma'am, I 'm Adam.

A man, a plan, a canal - Panama

Was it a bar or a bat  I  saw?

บางคนเขาจัดว่า พาลินโดรม นี่ก็เป็น คำผวน หรือ ประโยคผวนของฝรั่งเหมือนกัน

พาลินโดรมภาษาไทยก็พอจะเล่นได้อยู่ แต่ก็ไม่ค่อยมีความหมายเท่าไรนัก ยิงฟันยิ้ม

ฝึกสมองลองปัญญา : คุณแต่งประโยคภาษาไทยที่เป็นพาลินโดรมได้หรือไม่ ?
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2006/12/K5003477/K5003477.html
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 02 ก.พ. 20, 09:34

สุขสันต์วันพาลินโดรม ยิงฟันยิ้ม

02-02-2020



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 02 ก.พ. 20, 19:31

คำที่เป็นพาลินโดรม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 12 ก.พ. 21, 18:37

สุขสันต์วันตรุษจีน-วันพาลินโดรม ยิงฟันยิ้ม

12-02-2021


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 01 มี.ค. 21, 17:14

นานทีปีหน ตัวเลขรางวัลที่ ๑ จะออกมาเป็นพาลินโดรม  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
กรรณะ
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 13 ธ.ค. 21, 22:11

ไม่น่าเชื่อว่ากระทู้นี้อายุได้ 20 เศษแล้ว เวลาช่างผ่านไปไวเหลือเกิน...
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 22 ก.พ. 22, 11:46

สุขสันต์วันพาลินโดรม ยิงฟันยิ้ม

22-02-2022


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 22 ก.พ. 22, 12:01

        วันนี้ 22 ก.พ. 2022 ถูกเรียกว่าเป็น วัน Palindrome และ วัน Ambigram
ด้วยตัวเลข 22022022 นั้นสามารถอ่านได้เหมือนกันทั้งไปหน้าแล้วย้อนหลัง - Palindrome
        วันที่ที่มีลักษณะเป็นพาลินโดรมนี้ ในรอบ 100 ปี จะเกิดขึ้นไม่ถึง 30 ครั้ง
        สำหรับศตวรรษที่ 21 (ค.ศ.2001-2100) นี้ มีทั้งหมด 29 ครั้ง ครั้งแรกคือ 10 ก.พ. 2001 (10022001)
และ ครั้งสุดท้ายของศตวรรษนี้คือ 29 ก.พ. 2092 (29022092)

        นอกจากจะเป็นพาลินโดรมแล้ว 22022022 เมื่อเขียนหรือพิมพ์ออกมาในลักษณะตัวเลขดิจิทัลแล้ว
ยังเป็นแอมบิแกรมด้วย
        โดยแอมบิแกรม นับเป็นพาลินโดรมชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะสมมาตร ที่กลับหัว แล้วยังได้ออกมาเป็นคำเดิม

เท่านี้ยังไม่พอ, บ้างยังเรียกวันนี้ที่มีตัวเลข 2 มากเป็นพิเศษว่า Twosday ด้วย


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 07 พ.ค. 22, 11:35

ร้านขายน้ำ สั่งไม่ได้ถ้าไม่รู้จัก "คำผวน"

หมายเหตุ : บางคำผวนไม่ถูก เช่น

น้ำเย็นชา    ควรเป็น น้ำเช็นยา    คือ น้ำชาเย็น
น้ำเยิ๊กโก่    ควรเป็น น้ำเหยิดโก  คือ น้ำโยเกิร์ต
น้ำลี่เบอร์ลู้  ควรเป็น น้ำบลี่เบอร์ลู่ คือ น้ำบลูเบอร์ลี่

ที่ไม่มีเค้าคำผวนก็มี

น้ำดังแมงเหล็ก อาจตั้งใจหมายถึง น้ำดั๊กแมงแลง ซึ่งผวนได้เป็น น้ำแดงแมงลัก

ภาพจาก ผู้บริโภค


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 08 พ.ค. 22, 10:35

มีรายการน้ำดื่ม ก็ต้องมีรายการอาหาร (ในวงเล็บคือคำผวนที่ถูกต้อง)

ข้าวน้ำพูปลาทริก  (น้ำพรูปลาทิก)  -   ข้าวน้ำพริกปลาทู
ข้าวคิกกะปลุก     (คลิกะปุก)       -   ข้าวคลุกกะปิ
ข้าวน้ำเพรือลงริก                     -   ข้าวน้ำพริกลงเรือ
ข้าวน้ำพ่วงมะมริก (น้ำพร่วงมะมิก) -   ข้าวน้ำพริกมะม่วง
  


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 20 คำสั่ง