เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 3984 สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 28 ม.ค. 16, 13:43

ถ้าเช่นนั้น ผมพอจะเข้าใจท่าทีของปรีดีในตอนนั้นแล้วล่ะครับ
ด้วยหลักนำทางการเมืองที่ถูกต้อง ปรีดีคงยืนหยัดต่อสู้คัดค้านรัฐบาลเผด็จการนี้
แต่เวลานั้นการต่อต้านเผด็จการเป็นรูปแบบของสงครามที่มิใช่เพียงการต่อต้านโดยตรง
โดยในช่วงที่เกิดสงครามอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในปี พ.ศ.2483
ปรีดีกลับมีนโยบายที่เรียกร้องให้มีการใช้สันติวิธีโดยการเจรจาทางการทูตแทนการทำสงคราม

ความเห็นต่างในเรื่องนโยบายต่างประเทศกับฝรั่งเศสในครั้งนั้น ไม่เกี่ยวกับอุดมการณ์ทางการเมืองภายในของท่านผู้ใดครับ
เพียงแต่ฝ่ายหลวงพิบูลและกุนซือเชื่อว่าเยอรมันและญี่ปุ่นจะเป็นฝ่ายชนะ จึงต้องการชิงความได้เปรียบกับอินโดจีนฝรั่งเศสในขณะที่ประเทศแม่ในยุโรปถูกเยอรมันยึดครองไปแล้ว ส่วนนายปรีดีเห็นว่าชัยชนะของฝ่ายอักษะจะเป็นการชั่วคราว มีตัวแปรคืออเมริกา ซึ่งยังมิได้ประกาศสงครามกับฝ่ายใด ผลสุดท้ายของสงครามอาจจะไม่เป็นอย่างที่ฝ่ายทหารคิดก็ได้

อีกประการหนึ่ง ฝ่ายหลวงพิบูลอาจเห็นว่า การก่อสงคราม(แม้โดยไม่ประกาศ)กับประเทศเพื่อนบ้าน จะสามารถสลายขั้วทางการเมืองภายใน ซึ่งเกิดจากการกวาดล้างฝ่ายอนุรักษ์นิยมเดิมกับฝ่ายสี่ทหารเสืออดีตพวกเดียวกันได้ ซึ่งตรงนี้ได้ผล แม้ผลการรบสยามจะบอบช้ำสูญเสียมากแต่ก็พอจะกล้อมแกล้มได้ว่าเป็นฝ่ายชนะ เพราะได้ดินแดนเขมรและลาวบางส่วนคืนมา เมื่อกระตุ้นด้วยแรงโฆษณาชวนเชื่อก็ส่งให้หลวงพิบูลได้รับความนิยมจากประชาชนโดยไม่มีใครทาบรัศมีได้ จึงได้เป็น"ท่านผู้นำ"เผด็จการเสียเกือบสิบปี
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 28 ม.ค. 16, 14:05

ประเด็นคำถามใหม่ของผม จากข้อความในวิกิพีเดียนี้ อธิบายได้ว่าอย่างไร

ซึ่งการรัฐประหารครั้งนี้ ผู้ก่อการต้องกระทำ หาไม่แล้ว อาจจะถูกจัดการหมดทั้งคณะจากกลุ่มที่นิยมระบบการปกครองแบบเก่าก็ได้

ผมเชื่อตามความเห็นของ ม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน ผู้ต้องโทษการเมืองในข้อหาว่าเป็นกบฏ (๒๔๗๖) ว่า
"ข้าพเจ้าเชื่อว่าในบรรดาผู้คิดปฏิวัตินั้น ไม่มีใครเลยที่คิดจะรื้อฟื้นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ขึ้นมาใช้ใหม่  ทุกๆคนเข้าใจว่าระบอบนั้นล้าสมัยเป็นเครื่องลายครามที่สมควรส่งเข้าพิพิธภัณฑ์เท่านั้น"

เมื่อเชื่อดังนี้ก็มีความเห็นว่า ผู้ที่ถูกให้สีว่ากลุ่มที่นิยมระบบการปกครองแบบเก่าความจริงก็คือ ผู้ที่เล่นเกมประชาธิปไตยในฝั่งตรงข้ามกับคณะผู้ก่อการเท่านั้นเอง แต่การต่อสู้กันในสภาผู้ที่ถืออาวุธมักจะมีความอดทนน้อย และยอมไม่ได้ที่จะเป็นฝ่ายแพ้

ดังนั้นการกระทำรัฐประหารจึงเกิดขึ้น แล้วแก้ตัวด้วยคำอธิบายข้างต้น
(ขอให้คุณย้อนกลับไปอ่านใหม่ ว่าสาเหตุของการปฏิวัติซึ่งจบลงด้วยการเป็นกบฏ ๒๔๗๖ หรือกบฏบวรเดชนั้น แท้จริงเป็นอย่างไร)

แล้วอ่านเรื่องนี้ต่อด้วยนะครับ กบฎบวรเดช นี่ทหารการเมืองเขาเล่นอะไรกัน?

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5194.0
บันทึกการเข้า
นัทชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 28 ม.ค. 16, 19:11

จากท่าทีของปรีดีผมไม่อยากจะเชื่อแต่คิดว่า 4 ทหารเสือของคณะราษฎรมีแนวคิดเสรีนิยมที่มีท่าทีประนีประนอม
ขณะที่ปรีดีและจอมพล ป.มีแนวคิดสังคมนิยม และแตกต่างกันอีกที่ปรีดีเป็นนักสังคมนิยมประชาธิปไตย ส่วนจอมพล ป.
กลายเป็นเผด็จการทหาร
ช่วยวิพากษ์ คห.นี้ด้วยครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 28 ม.ค. 16, 21:02

จากท่าทีของปรีดีผมไม่อยากจะเชื่อแต่คิดว่า 4 ทหารเสือของคณะราษฎรมีแนวคิดเสรีนิยมที่มีท่าทีประนีประนอม
ขณะที่ปรีดีและจอมพล ป.มีแนวคิดสังคมนิยม และแตกต่างกันอีกที่ปรีดีเป็นนักสังคมนิยมประชาธิปไตย ส่วนจอมพล ป.กลายเป็นเผด็จการทหาร


ผมไม่เชื่อว่าทหารสมัยนั้นจะมีอุดมการณ์ในแนวทางประชาธิปไตยมากไปกว่าต้องการความเสมอภาคที่ถูกเจ้านายผูกขาดตำแหน่งผู้บังคับบัญชาระดับสูงไว้หมด จนสามัญชนมีโอกาสน้อยมาก นอกจากจะเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยจริงๆจึงจะมีสิทธิ์ติดยศระดับนายพลและมีตำแหน่งหน้าที่สูง

๔ ทหารเสือของคณะราษฎรต้องการเพียงจะเปลี่ยนแปลงตรงนี้เท่านั้น แต่มิได้ล่วงลึกไปขนาดจะโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่วนการเมืองการปกครองก็ต้องการมอบให้ฝ่ายพลเรือนว่ากันไปโดยทหารจะเป็นผู้กำกับดูแลอีกที

จอมพล ป. แต่แรกก็คงมีแนวคิดคล้ายกับ ๔ ทหารเสือ แต่เรื่องสถาบันสูงสุดนั้นจะเป็นอย่างไรก็ได้
ครั้นโลกพลิกความนิยมจากระบอบประชาธิปไตยมาทึ่งในตัวท่านผู้นำอย่างฮิตเลอร์และมุสโสลินี ผู้กอบกู้เยอรมันและอิตาลีจากชาติที่มีฐานะล้มละลายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ กลับมาเป็นชาติมหาอำนาจในเวลาเพียงไม่กี่ปี จอมพล ป.ก็มีใจอยากจะเป็นอย่างนั้น แต่ก็มิได้ปรารถนาที่จะขึ้นเป็นประมุขของชาติตราบเท่าที่ยังสั่งให้ผู้สำเร็จราชการซ้ายหันขวาหันได้ เผด็จการที่อ้างอิงประชาธิปไตยนี้ เป็นพวกกษัตริย์ที่ไร้มงกุฎ แต่มีอำนาจราชศักดิ์ไม่แพ้กษัตริย์

ส่วนที่ว่านายปรีดีเป็นนักสังคมนิยมประชาธิปไตยนั้น ผมว่าระบอบสังคมนิยมกับระบอบประชาธิปไตยมันขัดแย้งกันในตัว โดยเฉพาะสำหรับชาติเพิ่งจะผลัดเปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ใช้ปกครองประเทศและประชาชนมาเฉียดๆพันปี
ระบอบสังคมนิยมต้องการอำนาจรัฐที่เข้มเข็งเด็ดขาด และโหดร้ายในบางเรื่องเป็นระยะเวลาต่อเนื่องยาวนานอย่างน้อยก็ห้าปีสิบปี จึงจะเปลี่ยนแปลงสังคมได้ หากเคารพหลักการประชาธิปไตยไปด้วยแล้ว ถ้าประชาชนโหวตพรรคอื่นที่มีแนวคิดตรงกันข้าม พวกตนพ้นจากอำนาจรัฐไป ทุกสิ่งก็คงถอยหลังกลับที่เดิม

ดังนั้นสังคมนิยมที่ปฏิวัติสังคมสำเร็จจำต้องเป็นเผด็จการ อย่างเช่นโซเวียต จีน คิวบา เกาหลีเหนือ เวียตนามและลาว เป็นต้น ส่วนชื่อประเทศเขาจะเขียนว่าเป็นสังคมประชาธิปไตยก็ว่าไป ในความเป็นจริงชาติอยู่ใต้นโยบายของพรรคเดียว ประชาชนคนไหนไม่พอใจ ออกมาวิพากษ์รัฐบาลก็มีหวังถูกเอาตัวไปทำปุ๋ยเท่านั้น

อาจจะเป็นเพราะนายปรีดีเป็นนักสังคมนิยมประชาธิปไตยดังที่สานุศิษย์นิยามให้ก็ได้ นายปรีดีจึงพ่ายแพ้ในเกมการเมืองให้แก่คู่ต่อสู้ คำพูดที่ว่า "เมื่อข้าพเจ้ามีอำนาจ ข้าพเจ้าไม่มีประสบการณ์ เมื่อข้าพเจ้ามีประสบการณ์ ข้าพเจ้าไม่มีอำนาจ" จริงๆแล้วท่านหมายถึงใครอย่าไปฟันธงนะครับ อาจจะผิดก็ได้

บันทึกการเข้า
นัทชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 29 ม.ค. 16, 08:17

สรุปว่าปี 2476 มีรัฐประหารเดือน เม.ย. มิ.ย. และ ต.ค.มีกบฏ ซึ่งนับเป็นสงคราม
ถ้าวัตถุประสงค์ของสงครามคือวัตถุประสงค์ทางการเมือง แล้ววัตถุประสงค์ทางการเมืองของทั้งสองฝ่ายคืออะไร ?
เป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ?
ถ้าเศรษฐกิจเป็นรากฐานสังคมเบื้องล่างการเมืองเป็นโครงสร้างชั้นบน และถ้าปรีดีใช้ระบบเศรษฐกิจแนวสังคมนิยม
อีกฝ่ายใช้ระบบเศรษฐกิจใด ?
ผมพอจะเห็นเค้าลางของเผด็จการประชาธิปไตยในปี 2476 จนกลายเป็นชะตากรรมของพระยาทรงสุรเดชฯ ที่ผมงุงงง
ในทีแรก
ถ้าปี 2489 ถือว่าปรีดีบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเมืองด้วยการเลือกตั้ง และมีพรรคประชาธิปัตย์ พรรคแนวรัฐธรรมนูญ
พรรคสหชีพ หรือพรรคอื่น ๆ แล้วถือว่าเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ ?
น่าเศร้ามากที่ประเทศของเรา ซึ่งถือว่าบอบช้ำน้อยกว่าประเทศอื่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กลับสะดุดลงหลังจากนั้น
ถ้ารัฐบาลของหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์อยู่ครบ 4 ปี แล้วเลือกตั้งใหม่ บางทีพรรคการเมืองที่คุณนวรัตนิยมอาจจะได้รับเลือก
แต่ไม่ว่าจะเป็นพรรคใด ด้วยวิถีแห่งประชาธิปไตยแล้ว ประเทศของเราคงรุดหน้าอย่างแน่นอน

บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 29 ม.ค. 16, 08:45


ตรงนี้ เราต้องมองในข้อเท็จจริงว่า
ในบั้นปลายชีวิต คุณปรีดียอมรับกลายๆว่า มีความนิยมตามแนวทาง
สังคมนิยม Marxism
เรื่องประชาธิปไตยหลัง 2475 ยังเป็นแค่ภาพฝัน ในทุกกรณี
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 29 ม.ค. 16, 21:50

สรุปว่าปี 2476 มีรัฐประหารเดือน เม.ย. มิ.ย. และ ต.ค.มีกบฏ ซึ่งนับเป็นสงคราม
ถ้าวัตถุประสงค์ของสงครามคือวัตถุประสงค์ทางการเมือง แล้ววัตถุประสงค์ทางการเมืองของทั้งสองฝ่ายคืออะไร ?
เป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ?


ทั้งสองฝ่ายต่างอ้างว่าตนเป็นประชาธิปไตย อีกฝ่ายหนึ่งไม่ใช่ กล่าวคือฝ่ายที่ต้องการปฏิวัติอ้างว่ารัฐบาลคณะราษฎรเป็นคณาธิปไตย เล่นพวกเล่นพ้อง ถือพวกตนเองเป็นใหญ่ ในขณะที่ฝ่ายรัฐบาลกล่าวหาพวกที่ทำการปฏิวัติว่าเป็นฝ่ายเจ้าที่ต้องการยึดอำนาจคืน เพื่อนำชาติกลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 29 ม.ค. 16, 21:51

ถ้าเศรษฐกิจเป็นรากฐานสังคมเบื้องล่างการเมืองเป็นโครงสร้างชั้นบน และถ้าปรีดีใช้ระบบเศรษฐกิจแนวสังคมนิยม
อีกฝ่ายใช้ระบบเศรษฐกิจใด ?


คำว่าอีกฝ่ายคือฝ่ายไหนครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 29 ม.ค. 16, 21:52

ถ้าปี 2489 ถือว่าปรีดีบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเมืองด้วยการเลือกตั้ง และมีพรรคประชาธิปัตย์ พรรคแนวรัฐธรรมนูญ
พรรคสหชีพ หรือพรรคอื่น ๆ แล้วถือว่าเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ ?


เป็นครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 29 ม.ค. 16, 21:54

น่าเศร้ามากที่ประเทศของเรา ซึ่งถือว่าบอบช้ำน้อยกว่าประเทศอื่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กลับสะดุดลงหลังจากนั้น
ถ้ารัฐบาลของหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์อยู่ครบ 4 ปี แล้วเลือกตั้งใหม่ บางทีพรรคการเมืองที่คุณนวรัตนิยมอาจจะได้รับเลือก
แต่ไม่ว่าจะเป็นพรรคใด ด้วยวิถีแห่งประชาธิปไตยแล้ว ประเทศของเราคงรุดหน้าอย่างแน่นอน


ผมขอประท้วงนะครับ คำว่าพรรคการเมืองที่คุณนวรัตนิยม หมายถึงพรรคใด แล้วคุณรู้ได้อย่างไรว่าผมนิยมพรรคนั้น

อันที่จริงแล้ว พ.ศ.ที่ว่า ผมยังไม่เกิดเลย จะไปนิยมพรรคอะไรได้
ถ้าจะว่าผมมองย้อนประวัติศาสตร์แล้วนิยมพรรคโน้นพรรคนี้ ในข้อเขียนของผมมีตรงไหนหรือครับที่ผมแสดงออกเช่นนั้น
บันทึกการเข้า
นัทชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 30 ม.ค. 16, 19:20

สรุปว่าปี 2476 มีรัฐประหารเดือน เม.ย. มิ.ย. และ ต.ค.มีกบฏ ซึ่งนับเป็นสงคราม
ถ้าวัตถุประสงค์ของสงครามคือวัตถุประสงค์ทางการเมือง แล้ววัตถุประสงค์ทางการเมืองของทั้งสองฝ่ายคืออะไร ?
เป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ?


ทั้งสองฝ่ายต่างอ้างว่าตนเป็นประชาธิปไตย อีกฝ่ายหนึ่งไม่ใช่ กล่าวคือฝ่ายที่ต้องการปฏิวัติอ้างว่ารัฐบาลคณะราษฎรเป็นคณาธิปไตย เล่นพวกเล่นพ้อง ถือพวกตนเองเป็นใหญ่ ในขณะที่ฝ่ายรัฐบาลกล่าวหาพวกที่ทำการปฏิวัติว่าเป็นฝ่ายเจ้าที่ต้องการยึดอำนาจคืน เพื่อนำชาติกลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ผมแค่กำลังแสวงหาความจริง อ่านหนังสือแล้วทดลองหาความจริง ซึ่งแท้จริงแล้วมีผู้พบความจริงก่อนผมมากมาย และคงตอบได้ดีกว่านี้
ตรงนี้ดูเหมือนจะเข้าใจตรงกันว่าฝ่ายเจ้าเป็นประชาธิปไตยทางนิตินัย
ส่วนคณะราษฎรจะเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ทั้งทางนิตินัยและพฤตินัย
ซึ่งผมเข้าใจว่า ระยะแรกจำต้องเป็นเผด็จการประชาธิปไตยของราษฎร ที่ใช้อำนาจเผด็จการบังคับเฉพาะกลุ่มบุคคลจำนวนน้อยที่เป็นปฏิกิริยา
บันทึกการเข้า
นัทชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 30 ม.ค. 16, 19:21

ถ้าเศรษฐกิจเป็นรากฐานสังคมเบื้องล่างการเมืองเป็นโครงสร้างชั้นบน และถ้าปรีดีใช้ระบบเศรษฐกิจแนวสังคมนิยม
อีกฝ่ายใช้ระบบเศรษฐกิจใด ?


คำว่าอีกฝ่ายคือฝ่ายไหนครับ

ฝ่ายเจ้าขอรับ
บันทึกการเข้า
นัทชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 30 ม.ค. 16, 19:26

น่าเศร้ามากที่ประเทศของเรา ซึ่งถือว่าบอบช้ำน้อยกว่าประเทศอื่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กลับสะดุดลงหลังจากนั้น
ถ้ารัฐบาลของหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์อยู่ครบ 4 ปี แล้วเลือกตั้งใหม่ บางทีพรรคการเมืองที่คุณนวรัตนิยมอาจจะได้รับเลือก
แต่ไม่ว่าจะเป็นพรรคใด ด้วยวิถีแห่งประชาธิปไตยแล้ว ประเทศของเราคงรุดหน้าอย่างแน่นอน


ผมขอประท้วงนะครับ คำว่าพรรคการเมืองที่คุณนวรัตนิยม หมายถึงพรรคใด แล้วคุณรู้ได้อย่างไรว่าผมนิยมพรรคนั้น

อันที่จริงแล้ว พ.ศ.ที่ว่า ผมยังไม่เกิดเลย จะไปนิยมพรรคอะไรได้
ถ้าจะว่าผมมองย้อนประวัติศาสตร์แล้วนิยมพรรคโน้นพรรคนี้ ในข้อเขียนของผมมีตรงไหนหรือครับที่ผมแสดงออกเช่นนั้น

ขออภัยทุกกรณี ด้วยมิตรครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 30 ม.ค. 16, 19:50

ขอชัดๆอีกที ฝ่ายเจ้านั้น คุณหมายถึงฝ่ายพระองค์บวรเดชที่พยายามปฏิวัติล้มล้างรัฐบาลคณะราษฎร หรือคณะรัฐมนตรีของพระยามโนปกรณ์นิติธาดาที่ถูกคณะราษฎร์ปฏิวัติออกจากอำนาจ หรือทั้งคู่ครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 30 ม.ค. 16, 19:52

น่าเศร้ามากที่ประเทศของเรา ซึ่งถือว่าบอบช้ำน้อยกว่าประเทศอื่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กลับสะดุดลงหลังจากนั้น
ถ้ารัฐบาลของหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์อยู่ครบ 4 ปี แล้วเลือกตั้งใหม่ บางทีพรรคการเมืองที่คุณนวรัตนิยมอาจจะได้รับเลือก
แต่ไม่ว่าจะเป็นพรรคใด ด้วยวิถีแห่งประชาธิปไตยแล้ว ประเทศของเราคงรุดหน้าอย่างแน่นอน


ผมขอประท้วงนะครับ คำว่าพรรคการเมืองที่คุณนวรัตนิยม หมายถึงพรรคใด แล้วคุณรู้ได้อย่างไรว่าผมนิยมพรรคนั้น

อันที่จริงแล้ว พ.ศ.ที่ว่า ผมยังไม่เกิดเลย จะไปนิยมพรรคอะไรได้
ถ้าจะว่าผมมองย้อนประวัติศาสตร์แล้วนิยมพรรคโน้นพรรคนี้ ในข้อเขียนของผมมีตรงไหนหรือครับที่ผมแสดงออกเช่นนั้น

ขออภัยทุกกรณี ด้วยมิตรครับ

ให้อภัยครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 19 คำสั่ง