เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 3986 สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
นัทชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


 เมื่อ 27 ม.ค. 16, 14:07

ท่าทีของปรีดีกับกบฏพระยาทรงสุรเดชมีว่าอย่างไรบ้างครับ
ขณะนั้นปรีดีเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (พ.ศ.2481-พ.ศ.2484)
และทราบแต่เพียงว่าพระยาทรงสุรเดชขัดแย้งกับปรีดีเรื่องสมุดปกเหลือง
บันทึกการเข้า
นัทชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 27 ม.ค. 16, 15:29

ขอยก คห.มาพิจารณาครับ

คห.108 รัฐบาลหลวงพิบูลสงครามเข้าบริหารราชการได้เพียงเดือนเดียว  ก็เริ่มปฏิบัติการกวาดล้างเสี้ยนหนามทางการเมืองทันที โดยพันเอกหลวงอดุลยเดชจรัส เพื่อนร่วมรุ่นโรงเรียนนายร้อยของหลวงพิบูล ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจและรัฐมนตรีมหาดไทย ออกคำสั่งให้ลงมือปฏิบัติการพร้อมกันทุกสายในเช้ามืดของวันที่ 29 มกราคม 2482 ให้ทำการจับกุมผู้ต้องสงสัยจำนวน 51 คน และจับตายผู้ที่คิดว่าเป็นสายเจ้า หรือสายพระยาทรง 3 คน

คห.111 พอรับทราบคำสั่งแล้ว พระยาทรงก็ยินยอมให้นายทหารที่มาควบคุมตัวเข้ากรุงเทพทันที รัฐบาลหลวงพิบูลแถลงว่า เพื่อตอบแทนคุณงามความดีจึงได้สั่งให้เนรเทศไปอยู่ในอินโดจีน
ผมเห็นในบันทึกของพันเอกพระอินทรสรศัลย์ ที่พี่สรศัลย์ แพ่งสภานำรูปมาพิมพ์ไว้ในหนังสือของท่านระบุว่า วันที่ 30 มกราคม 2481 ท่านมีกิจกรรมในวันนั้นคือไป “ส่งพระยาทรงไปญวน” แต่พี่สรศัลย์บอกว่า คนไปส่งถูกทหารกันไว้ไม่ให้เข้าไปในสถานีรถไฟ แต่นักข่าวที่ได้สัมภาษณ์พระยาทรงเขียนไว้ว่า “ไม่รู้เนื้อรู้ตัวว่าถูกปลดด้วยเรื่องอะไร และไม่สนใจด้วยว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป รู้สึกขอบคุณรัฐบาลที่ให้ไปพักผ่อน ดีเหมือนกัน จะได้ใช้ชีวิตอย่างสงบสุขเสียที”

คห.117 ก่อนหน้าที่หลวงพิบูลจะลงมือปฏิบัติการกวาดล้างบุคคลน้อยใหญ่ที่ตนระแวง วันหนึ่งพระยาฤทธิ์อัคเณย์กำลังปฏิบัติราชการในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการอยู่ที่กระทรวงเกษตรธิการ พ.ต.ท.ขุนศรีศรากร (ชลอ  ศรีธนากร) ผู้บังคับการตำรวจสันติบาลและลูกน้องอีกคนหนึ่งได้เข้าพบเพื่อแจ้งว่า “เจ้าคุณพหลให้เชิญใต้เท้าไปประชุมที่วังปารุสกวันเดี๋ยวนี้”
พระยาฤทธิ์ฯรู้สึกงงเล็กน้อย เมื่อพบกันแล้วพระยาพหลบอกว่าหลวงพิบูลจะเอาเรื่อง พระยาฤทธิ์เองก็ดูเหมือนจะรู้ตัวดีอยู่ เพราะหลวงพิบูลเคยเรียกไปกล่าวหาตรง ๆ ว่า มีใจร่วมกับพวกกบฏบวรเดช

คห.118 พระประศาสน์เป็นผู้ที่ถูกหลวงพิบูลหมายหัวอยู่ด้วยอีกคนหนึ่งเพราะเห็นว่าสนิทสนมกับพระยาทรงมาก หลวงประดิษฐ์รู้ข่าวก็รีบไปขอกับหลวงพิบูลในฐานะที่ตนเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศให้ไปเป็นเอกอัครราชทูตที่เยอรมัน เลยรอดตัวไปได้อย่างฉิวเฉียด

คห.119 ส่วนพระยาพหลสี่เสือคนหัวปี หลวงพิบูลเมื่อเป็นนายกรัฐมนตรีสมใจนึกแล้ว ก็ขจัดท่านออกจากทุกตำแหน่งโดยเอาไปขึ้นหิ้งไว้ในตำแหน่ง “เชษฐบุรุษ”

คห.143 ปีต่อมา มีการเปลี่ยนรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง นายปรีดี พนมยงค์เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการตราพระราชบัญญัติคืนยศ บรรดาศักดิ์ เครื่องราชอิสสริยาภรณ์ และสิทธิในการรับเบี้ยหวัดบำเหน็จและบำนาญ พ.ศ.2489 และฉบับที่ 2 ในปีพ.ศ.2491 ให้รัฐบาลนำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานคืนยศ บรรดาศักดิ์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และสิทธิในการรับเบี้ยหวัด บำเหน็จและบำนาญ แก่บุคคลที่ต้องโทษทางการเมืองหรือเสียสิทธิเพราะการกระทำทางการเมืองในคดีดังกล่าวทุกคน
นั่นเป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้วเท่าที่ผู้ก่อการคณะราษฎร์ส่วนหนึ่ง จะชดเชยต่อการกระทำของผู้ก่อการคณะราษฎร์อีกส่วนหนึ่งได้ ทุกอย่างต่อจากนั้นให้เลิกแล้วกันไป...อโหสิ

คห.154 (จำกัด พลางกูร) เดินรี่เข้ามาถามผมว่า ผมเป็นบุตรพระยาทรงสุรเดชใช่ไหม พอผมตอบรับเขาก็คุยจ้อ พูดกันแต่เรื่องประชาธิปไตยในไทยและในอังกฤษ ไม่มีเรื่องอื่นเลย เขาบอกว่าน่าเสียดายที่พระยาทรงไม่ร่วมรัฐบาล และที่หลวงประดิษฐ์ไม่อยู่ในฐานะที่จะเร่งรัดให้ประชาธิปไตยในไทยก้าวหน้าไปเร็ว ๆ เขาเกรงว่าหลวงพิบูลจะหันเหจากอุดมการณ์ของคณะราษฎร เขาชื่นชมประชาธิปไตยในอังกฤษ

คห.161 ระหว่างการรอคอยคำตอบจากปารีสที่ผ่านไปอย่างเชื่องช้านั้น พระยาทรงได้ทำหนังสือถึงประธานสภาผู้แทน ขอลาออกจากการเป็น ส.ส.ประเภท 2 ต่อมาได้อ่านข่าวเจอว่า จากจดหมายฉบับนั้นของท่าน เป็นโอกาสให้ ส.ส.ประเภท 1 ตั้งกระทู้ถามรัฐบาลว่าเกิดอะไรขึ้นกับพันเอกพระยาทรงสุรเดช ทำไมรัฐบาลจึงได้ขับไล่ไสส่งท่านไปโดยไม่มีเบี้ยหวัดเบี้ยบำนาญ แต่รัฐบาลไม่ตอบกระทู้นี้ และหลังจากนั้น ก็ไม่มีใครเอ่ยถึงท่านอีก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 27 ม.ค. 16, 16:53

ท่าทีของปรีดีกับกบฏพระยาทรงสุรเดชมีว่าอย่างไรบ้างครับ
ขณะนั้นปรีดีเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (พ.ศ.2481-พ.ศ.2484)
และทราบแต่เพียงว่าพระยาทรงสุรเดชขัดแย้งกับปรีดีเรื่องสมุดปกเหลือง
ความขัดแย้งเรื่องสมุดปกเหลืองนั้นจบไปนานหลายปีแล้ว หลวงพิบูลจึงได้ยึดอำนาจขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีโดยกำจัดผู้ก่อการคณะราษฎรสายทหารที่มีฉายาว่าสี่ทหารเสือออกไปจากวงโคจรทางการเมือง นายปรีดีเป็นผู้ก่อการฝ่ายพลเรือนจึงไม่เกี่ยวกับเขา และท่านก็น่าจะฉลาดพอที่จะไม่เข้าไปขวางทางปืน

แต่เมือสาบานไว้ว่าจะไม่ฆ่ากัน พระยาทรงสุรเดชและพระยาฤทธ์อัคเนย์จึงถูกเนรเทศ มีข่าวว่าพระประศาสน์พิทยายุทธก็จะโดนเช่นนั้นด้วย แต่นายปรีดีได้เข้าไปขอร้องหลวงพิบูล ให้แต่งตั้งไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำจักรวรรดิไรช์ที่สามแทน พระประศาสน์พิทยายุทธจึงพ้นจากภัยการเมือง แม้จะต้องอพยพอย่างฉุกละหุกไปอยู่กรุงเบอร์ลินพร้อมกับครอบครัวในขณะที่สงครามโลกใกล้ระเบิดเต็มที แต่ก็เป็นถิ่นเดิมที่คุ้นเคย มีเงินเดือนตำแหน่งหน้าที่มีเกียรติ ถือว่าชะตากรรมดีกว่าเพื่อนผู้ก่อการทั้งสองมาก

การที่หลวงพิบูลยอมนายปรีดีตรงนี้ ก็แสดงให้เห็นถึงสัมพันธภาพอันราบเรียบของทั้งคู่ อย่างน้อยก็ยังไม่ขัดใจกันเรื่องของอำนาจและวิถีทางการเมืองคราวนั้น
บันทึกการเข้า
นัทชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 27 ม.ค. 16, 23:22

ถ้าเช่นนั้น ผมพอจะเข้าใจท่าทีของปรีดีในตอนนั้นแล้วล่ะครับ
ด้วยหลักนำทางการเมืองที่ถูกต้อง ปรีดีคงยืนหยัดต่อสู้คัดค้านรัฐบาลเผด็จการนี้
แต่เวลานั้นการต่อต้านเผด็จการเป็นรูปแบบของสงครามที่มิใช่เพียงการต่อต้านโดยตรง
โดยในช่วงที่เกิดสงครามอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในปี พ.ศ.2483
ปรีดีกลับมีนโยบายที่เรียกร้องให้มีการใช้สันติวิธีโดยการเจรจาทางการทูตแทนการทำสงคราม
บันทึกการเข้า
นัทชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 28 ม.ค. 16, 07:16

บางทีอาจมีสิ่งที่ยังไม่รู้

รัฐประหารในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2476
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุการณ์ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 โดยที่พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา

เหตุสืบเนื่องจากการนำเสนอเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ ฉบับที่เรียกว่า "สมุดปกเหลือง" ที่ถูกหลายฝ่ายมองว่าเป็นคล้ายกับเค้าโครงเศรษฐกิจของคอมมิวนิสต์ บ้างถึงกับกล่าวว่าถ้านายปรีดีไม่ลอกมาจากสตาลิน สตาลินก็ต้องลอกมาจากนายปรีดี ก่อให้เกิดความเห็นขัดแย้งกันอย่างรุนแรงในหมู่คณะราษฎรด้วยกันเองและบรรดาข้าราชการ ซึ่งพระยาทรงสุรเดช 1 ใน 4 ทหารเสือผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้นำพระยาฤทธิอัคเนย์ และ พระประศาสน์พิทยายุทธ ทหารเสืออีก 2 คน สนับสนุนพระยามโนปกรณ์ฯ ซึ่งคัดค้านเค้าโครงเศรษฐกิจฉบับนี้ แต่ในส่วนของบรรดานายทหารคณะราษฎรส่วนใหญ่ยังคงให้การสนับสนุนนายปรีดีอยู่

โดยความตอนหนึ่งในคำแถลงการณ์ปิดสภาฯของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ความว่า

   
...ในคณะรัฐมนตรี ณ บัดนี้ เกิดการแตกแยกเป็น ๒ พวก มีความเห็นแตกต่างกัน ความเห็นข้างน้อยนั้นปรารถนาที่จะวางนโยบายเศรษฐกิจไปในทางอันมีลักษณะเป็นคอมมิวนิสต์ ความเห็นข้างมากนั้นเห็นว่านโยบายเช่นนั้นเป็นการตรงกันข้ามแก่ขนบประเพณีชาวสยาม และ เป็นที่เห็นได้โดยแน่นอนทีเดียวว่านโยบายเช่นนั้น จักนำมาซึ่งความหายนะแก่ประชาราษฎร และเป็นมหันตภัยแก่ความมั่นคงของประเทศ...สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเวลานี้เล่า ก็ประกอบขึ้นด้วยสมาชิกที่แต่งตั้งขึ้นมาตามรัฐธรรมนูญ สภานี้มีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ จนกว่าจะมีสภาใหม่โดยราษฎรเลือกตั้งสมาชิกขึ้นมา สภาประกอบด้วยสมาชิกที่แต่งตั้งขึ้นมาชั่วคราวเช่นนี้ หาควรที่ไม่จะเพียรวางนโยบายทางเศรษฐกิจใหม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงของเก่าอันมีใช้อยู่ประดุจการพลิกแผ่นดิน ส่วนสภาในเวลานี้จะอ้างว่าไม่ได้ทำ หรือยังไม่ได้ทำกฎหมายอันมีลักษณะไปในทางนั้นก็จริงอยู่ แต่เป็นที่เห็นได้โดยชัดเจนแจ่มแจ้งว่าสมาชิกเป็นจำนวนมากคน มีความปรารถนาที่จะทำเช่นนั้น และมีความเลื่อมใสศรัทธาต่อรัฐมนตรีอันมีจำนวนข้างน้อยในคณะรัฐมนตรี...


สำหรับตัวพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเองนั้น ไม่เห็นด้วยกับเค้าโครงเศรษฐกิจฉบับนี้ คณะนายทหารที่สนับสนุนพระยามโนปกรณ์ฯ โดย พระยาทรงสุรเดชจึงขู่ฝ่ายที่สนับสนุนนายปรีดีโดยการใช้กำลังทหารพร้อมอาวุธปืนและลูกระเบิดตรวจค้นสมาชิกสภาฯ ก่อนจะเข้าที่ประชุม ดังที่วิเทศกรณีย์บันทึกไว้ว่า

   
ก่อนการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อเวลา 09.35 น. นั้น พระยาทรงสุรเดชได้นำเอาทหาร 1 กองร้อยพร้อมสรรพด้วยอาวุธและนัยว่าได้เอาลูกระเบิดมือติดตัวมาด้วย ทหาร 1 กองร้อยดังกล่าวนี้ได้ยืนอยู่ที่เชิงบันไดสภาผู้แทนราษฎร เพื่อทำการตรวจค้นอาวุธที่บรรดาสมาชิกพกติดตัวมา ถ้าใครพกปืนติดตัวมาก็เก็บเอาไว้เสียทันที การกระทำเช่นนี้ไม่เป็นที่พอใจของสมาชิกเป็นส่วนมาก


[1]

และยกพวกไปล้อมบ้านพักของนายปรีดี เป็นเหตุให้ต้องใช้พระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ซึ่งถือได้ว่าเป็นการ รัฐประหารเงียบ พร้อมบีบบังคับนายปรีดีไปที่ประเทศฝรั่งเศส และได้ออกพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2476 ออกมาใช้ด้วย มีการกวาดล้างจับกุมชาวเวียดนามที่สงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ขณะเดียวกันคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์สยามก็ถูกจับและถูกจำคุก ทั้งนี้มีบันทึกที่ไม่เป็นทางการว่า พระยามโนปกรณ์นิติธาดา และ พระยาทรงสุรเดช ร่วมมือกันในการขจัดบทบาททางการเมืองของคนสำคัญในคณะราษฏรเอง เช่น นายปรีดี พนมยงค์ และหลวงพิบูลสงคราม เป็นต้น

เหตุความขัดแย้งขึ้นยังคงดำเนินต่อมา นำไปสู่การปิดหนังสือพิมพ์บางฉบับที่ให้การสนับสนุนคณะราษฎร จนทำให้เกิดเหตุรัฐประหารอีกครั้งด้วยกำลังทหารในอีก 69 วันต่อมา ซึ่งตรงกับวันที่ 20 มิถุนายน ปีเดียวกั
บันทึกการเข้า
นัทชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 28 ม.ค. 16, 07:19

และ

รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476 เป็นรัฐประหารในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 นำโดย พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจการปกครองของนายกรัฐมนตรี พระยามโนปกรณ์นิติธาดา

รัฐประหารครั้งนี้มีขึ้นหลังเกิดความตึงเครียดเมื่อพระยามโนปกรณ์นิติธาดาประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาฯ และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา หลังจากมีความขัดแย้งกันในหมู่รัฐบาลคณะราษฎร อันสืบเนื่องจากการยื่น "สมุดปกเหลือง" เสนอเค้าโครงเศรษฐกิจของศาสตราจารย์ ปรีดี พนมยงค์ ที่ถูกหลายฝ่ายมองว่าเป็นคล้ายกับเค้าโครงเศรษฐกิจของคอมมิวนิสต์ จึงนำไปสู่การปิดหนังสือพิมพ์บางฉบับที่ให้การสนับสนุนคณะราษฎร และมีการบีบบังคับให้นายปรีดีเดินทางออกนอกประเทศ กลับไปยังประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 12 เมษายน ปีเดียวกัน เวลา 18.00 น. ที่ท่าเรือบีไ
บันทึกการเข้า
นัทชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 28 ม.ค. 16, 07:45

ขออภัยครับ

บันทึกการเข้า
นัทชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 28 ม.ค. 16, 07:47

บันทึกการเข้า
นัทชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 28 ม.ค. 16, 07:54

ระบบขัดข้อง เดี๋ยวผมจะพยายามโพสใหม่นะครับ เบื้องต้นให้ดูต่อที่วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประเด็นคำถามใหม่ของผม จากข้อความในวิกิพีเดียนี้ อธิบายได้ว่าอย่างไร

ซึ่งการรัฐประหารครั้งนี้ ผู้ก่อการต้องกระทำ หาไม่แล้ว อาจจะถูกจัดการหมดทั้งคณะจากกลุ่มที่นิยมระบบการปกครองแบบเก่าก็ได
บันทึกการเข้า
นัทชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 28 ม.ค. 16, 11:12

ต่อ คห.ที่ 667 ครับ ขออภัยอีกครั้ง

บันทึกการเข้า
นัทชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 28 ม.ค. 16, 11:24

จากท่าทีของปรีดีผมไม่อยากจะเชื่อแต่คิดว่า 4 ทหารเสือของคณะราษฎรมีแนวคิดเสรีนิยมที่มีท่าทีประนีประนอม
ขณะที่ปรีดีและจอมพล ป.มีแนวคิดสังคมนิยม และแตกต่างกันอีกที่ปรีดีเป็นนักสังคมนิยมประชาธิปไตย ส่วนจอมพล ป.
กลายเป็นเผด็จการทหาร
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 28 ม.ค. 16, 11:31

ระบบขัดข้อง

ปัญหาอยู่ที่ "[ตัวเลข]"  คุณนัทชาลองลบออกทั้งวงเล็บและตัวเลข ข้อความที่หายไปจะปรากฏ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
นัทชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 28 ม.ค. 16, 11:40

รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476 เป็นรัฐประหารในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 นำโดย พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจการปกครองของนายกรัฐมนตรี พระยามโนปกรณ์นิติธาดา

รัฐประหารครั้งนี้มีขึ้นหลังเกิดความตึงเครียดเมื่อพระยามโนปกรณ์นิติธาดาประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาฯ และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา หลังจากมีความขัดแย้งกันในหมู่รัฐบาลคณะราษฎร อันสืบเนื่องจากการยื่น "สมุดปกเหลือง" เสนอเค้าโครงเศรษฐกิจของศาสตราจารย์ ปรีดี พนมยงค์ ที่ถูกหลายฝ่ายมองว่าเป็นคล้ายกับเค้าโครงเศรษฐกิจของคอมมิวนิสต์ จึงนำไปสู่การปิดหนังสือพิมพ์บางฉบับที่ให้การสนับสนุนคณะราษฎร และมีการบีบบังคับให้นายปรีดีเดินทางออกนอกประเทศ กลับไปยังประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 12 เมษายน ปีเดียวกัน เวลา 18.00 น. ที่ท่าเรือบีไอและถึงขั้นวิกฤตเมื่อ "4 ทหารเสือ" คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา, พระยาทรงสุรเดช, พระยาฤทธิอัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธ ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ปีเดียวกัน โดยอ้างเหตุผลว่าเพื่อพักผ่อนหลังจากตรากตรำทำงานราชการจนสุขภาพเสื่อมโทรม

จากนั้น ในเวลาหัวค่ำของคืนวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 คณะทหารบก, ทหารเรือ กองทัพอากาศ และพลเรือน นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา, หลวงพิบูลสงคราม และหลวงศุภชลาศัย ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา โดยให้เหตุผลว่า

   
ด้วยคณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดิน ณ บัดนี้ ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ โดยเริ่มต้นปิดสภาผู้แทนและงดใช้รัฐธรรมนูญเป็นหลายบท คณะทหารบก, ทหารเรือ กองทัพอากาศ และพลเรือน จึงเห็นเหตุจำเป็นเข้ายึดอำนาจการปกครองเพื่อให้มีการเปิดสภาผู้แทนดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ


เมื่อรัฐบาลสิ้นสุด ผู้สนับสนุนรัฐบาลชุดที่แล้ว เช่น พระยาทรงสุรเดช ถูกกีดกันออกจากแวดวงการเมือง ด้านพระยามโนปกรณ์นิติธาดาต้องเดินทางไปที่ปีนัง พระยาพหลพลพยุหเสนามอบหมายให้เจ้าพระยาพิชัยญาติ ประธานสภาผู้แทนราษฎร นำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ วังไกลกังวล หัวหิน เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้เปิดประชุมสภาฯ พร้อมถวายรายงานเรื่องการยึดอำนาจ

ซึ่งการรัฐประหารในครั้งนี้ มีบันทึกของพระยาพหลพลพยุหเสนาไว้ว่า ง่ายดายกว่าเมื่อครั้งปฏิวัติวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 มาก ในขณะที่เรื่องของการบีบบังคับนายปรีดีไปยังประเทศฝรั่งเศสนั้น มีบันทึกไว้ว่า หลวงพิบูลสงคราม และพระยาพหลพลพยุหเสนาได้กระซิบกับทางนายปรีดีโดยผ่านทางหลวงอดุลเดชจรัส ว่าให้เดินทางออกไปก่อน และ "เพื่อนฝูงจะแก้ไขให้กลับมาภายหลัง" ซึ่งการรัฐประหารครั้งนี้ ผู้ก่อการต้องกระทำ หาไม่แล้ว อาจจะถูกจัดการหมดทั้งคณะจากกลุ่มที่นิยมระบบการปกครองแบบเก่าก็ได้
บันทึกการเข้า
นัทชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 28 ม.ค. 16, 11:43

 อายจัง
บันทึกการเข้า
นัทชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 28 ม.ค. 16, 11:44

ระบบขัดข้อง

ปัญหาอยู่ที่ "[ตัวเลข]"  คุณนัทชาลองลบออกทั้งวงเล็บและตัวเลข ข้อความที่หายไปจะปรากฏ  ยิงฟันยิ้ม
อายจัง
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.088 วินาที กับ 19 คำสั่ง