เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
อ่าน: 5201 สืบเนื่องจากกระทู้ กบฎบวรเดช
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 01 ก.พ. 16, 20:20

แผนที่ในปัจจุบันนี้ ทำมาจากภาพถ่ายทางอากาศเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ผลิตมาเป็นแผนที่ตามมาตราส่วนมาตรฐานที่กล่าวถึงนั้นด้วยระบบ Photogrammetry เมื่อประมาณ พ.ศ.2546 จัดว่ามีข้อมูลและความละเอียดที่มีความถูกต้องในระดับที่ใช้ได้

กระนั้นก็ตาม สำหรับแผนที่มาตราส่วน 1:250,000 นั้น ขนาด 1 มิลิเมตรในแผนที่จะเท่ากับ 250 เมตรในพื้นที่จริง และเส้นชั้นความสูงแต่ละเส้นแทนระดับความสูงที่ต่างกัน 100 เมตร    หรือสำหรับมาตราส่วน 1:50,000 นั้น ขนาด 1 มิลิเมตรในแผนที่จะเท่ากับ 50 เมตรในพื้นที่จริง และแต่ละเส้นชั้นความสูงจะแทนระดับที่ต่างกัน 20 เมตร 

พิกัดที่ตั้งตัวปืนและพิกัดเป้าหมายในแผนที่จึงไม่ค่อยจะสอดคล้องกับจุดพื้นที่จริง ยิงผิดพลาดและไกลเป้าหมายได้ง่ายมากๆ 
 
ก็จนหลังสงครามเวียดนามมาสักพักหนึ่งจึงได้มีการนำใช้ระบบ GPS มาใช้กัน ซึ่งจะบอกพิกัดที่ผิดเพี้ยนกันในระดับเซ็นติเมตร และยังบอกระดับความสูงพร้อมกันไปอีกด้วย  ส่วนแผนที่นั้นก็มีการปรับเปลี่ยนไปเป็น DTM (Digital Terrain Map) และมีการใช้ระบบ GIS (Geographical Information System) เข้ามาร่วมอีก   ยังผลให้เกิดสภาพยิงทีหนึ่งแล้วก็ต้องพับฐานย้ายหาที่ยิงใหม่ มิฉะนั้นจะถูกสวนมลายหายไปเลย

ไม่ถูกต้องประการใดก็ขออภัยเซนเซทั้งหลายด้วยครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 02 ก.พ. 16, 07:09

ในความเห็นที่ ๒๕  คุณNaris ท่านมาให้ความเห็นไว้ว่า ส่วนตัวแล้ว ผมมองว่า ในยุคนั้น ทหารแต่ละเหล่าทัพ ต่างก็มีความรู้ความชำนาญอยู่เฉพาะแต่วิธีการรบในเหล่าของตน

เป็นเรื่องจริงอย่างที่ท่านกล่าวไว้ครับ  เพราะเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง  คณะกรรมการาษฎรในเวลานั้นได้ยุบเลิกสายการบังคับบัญชาหน่วยทหารระดับกองทัพน้อยที่มีอยู่ ๓ กองทัพ  กองพล และกรมไปจนหมด  คงเหลือแต่กำลังทหารในระดับกองพันเท่านั้น  นายทหารที่มียศชั้นนายพลถูกปลดออกจากราชการหมด  เหลือแต่นายทหารยศนายพันเอกเป็นสูงสุดในแต่ละเหล่าทัพ

เมื่อแรกปรับลดกำลังพลลงยังไม่เห็นผลอะไร  จนเกิดสงครามอินโดจีนขึ้นจึงได้ตระหนักว่า ลำพังหน่วยระดับกองพันนั้นสามารถทำการเป็นอิสระแก่กันได้  แต่เมื่อต้องสนธิกำลังหลายหน่วยเข้าปฏิบัติการ  กลับไม่มีผู้บังคับบัญชาและฝ่ายเสนาธืการที่จะวางแผนและสั่งการสนธิกำลังเข้าปฏิบัติได้  จึงได้มีการรื้อฟื้นการจัดตั้งหน่วยบังคับบัญชาระดับ กรม กองพล และกองทัพขึ้นมาอีกครั้งในช่วงสงครามอินโดจีน  และในช่วงเวลานี้จึงได้เห็นผู้ที่เคยพูดว่านายทหารชั้นนายพลไม่จำเป็นสำหรับกองทัพสยามได้เลื่อนยศเป็นพลเอก และจอมพลกันเป็นทิวแถว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 ก.พ. 16, 11:09 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 02 ก.พ. 16, 15:14

ผมลองกลับไปอ่านกระทู้เดิม
อ้างถึง
หลวงพิบูลได้รับแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพปราบกบฏ  ออกคำสั่งให้เคลื่อนทหารจากลานพระบรมรูปทรงม้าไปยังลานสินค้าของบริษัทปูนซีเมนต์สยามที่สถานีรถไฟบางซื่อ ยันกับทางฝ่ายคณะกู้บ้านเมืองซึ่งยึดสถานีรถไฟบางเขนห่างกันห้ากิโลเมตรเศษๆ แล้วหลวงพิบูลได้สั่งการให้เอาปืนใหญ่ภูเขาแบบ๖๓มาตั้งเรียงรายเป็นตับบนถนนประดิพัทธิ์ ตั้งแต่ถนนเทิดดำริติดทางรถไฟไปถึงสะพานแดงในปัจจุบัน แล้วตนเองลงไปเป็นผู้อำนวยการยิงในฐานะทหารปืนใหญ่จบจากฝรั่งเศส โดยเริ่มยิงตั้งแต่เวลาห้าโมงเย็นไปจนพลบค่ำ ปรากฏว่ายิงไป๔๐นัด กระสุนตกลงในท้องทุ่งท้องนาหมด

ซึ่งปืนใหญ่ภูเขาแบบ 63 นั้น
อ้างถึง
และอีกวัตถุจัดแสดงที่โดดเด่นอยู่ด้านหน้าทางเข้าพิพิธภัณฑ์ ปืนใหญ่ภูเขา ชื่อเต็มว่า ปืนใหญ่ภูเขาแบบ 63 ใช้ในระดับกองพล เข้ามาประจำการในกองทัพบกไทยเมื่อปี 2463 ในสมัยรัชกาลที่ 6 จ.ส.อ.นพนันท์ให้รายละเอียดว่าปืนนี้ปากลำกล้องกว้าง 75 มม. ภายในบรรจุด้วยเกลียวทั้งหมด 32 เกลียว ยิงได้ไกลที่สุด 6 กิโลเมตร ใช้พลยิงทั้งหมด 5 คน ทำหน้าที่ยิงลั่นไก ป้อนกระสุน รับส่งวิทยุ หาตำแหน่งข้าศึก ปืนใหญ่ภูเขาที่นำมาตั้งจัดแสดงไว้ด้านนอกนี้ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันปลดประจำการแล้ว
ที่มา : http://www.weloverta.org/site/2013/10/%e0%b8%8a%e0%b8%a1%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%84%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%97%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%81%e0%b8%9a/

หากข้อมูลนี้ถูกต้อง แสดงว่า หลวงพิบูล ท่านตั้งปืนเกือบสุดระยะยิงไกลสุดของปืนเลยครับ และหากตั้งปืนใหญ่ในลักษณะนี้

คงมีแต่ปืนกระบอกแรกๆ ที่อยู่ใกล้สี่แยกเท่านั้น ที่ยิงถึงกระบอกที่อยู่ห่างออกไป ระยะย่อมไกลขึ้น นี่อาจจะเป็นที่มาที่ทำให้สี่สิบนัดพลาดหมดก็ได้ครับ 
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 02 ก.พ. 16, 15:23

ข้อสังเกตของผมก็คือ ในเมื่อฝ่ายรัฐบาลทราบแน่แก่ใจอยู่แล้ว ว่าฝ่ายทหารหัวเมือง ไม่มีกระสุนจริง (ซึ่งก็ต้องเป็นเช่นนั้น เพราะฝ่ายรัฐบาลเป็นผู้ออกคำสั่งให้เก็บกระสุนจริงมาก่อนหน้านี้แล้ว) เหตุใดจึงตั้งปืนใหญ่เสียไกลเกือบสุดระยะอย่างนั้น

เหตุผลที่พอจะเป็นไปได้ก็คือ จุดนี้ เป็นเพียงจุดเดียวที่สามารถวางกำลังได้ แม้จะอยากเข้าไปให้ใกล้กว่านี้ ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะในตอนนั้น ทุ่งดอนเมืองน้ำเจิ่งนอง ไม่มีที่พอตั้งปืน

ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ก็แสดงว่า หลวงพิบูล ท่านย่อมทราบดีว่า ปืนของฝ่ายตนก็ยิงไม่ถึง หรือถึงก็ตกแถวๆ ส่วนหน้าของแนวฝ่ายหัวเมือง ไม่ได้มีผลร้ายแรงอะไร

ฉะนั้น เป็นไปได้หรือไม่ที่การสั่งยิงในครั้งนั้น เป็นเพียงแค่การแสดงความเหนือกว่าของฝ่ายรัฐบาล เป็นการบอกให้ฝ่ายทหารหัวเมืองทราบว่า พวกท่านมาไกลกว่านี้ไม่ได้แล้วนะ เข้ามาอีกเจอปืนนะเอ้อ ส่วนที่ต้องยิงถึงสี่สิบนัด ก็เพื่อโชว์ว่า ฝ่ายรัฐบาลมีกระสุนเหลือเฟือ ยิงทิ้งยิงขว้างเล่นก็ได้ใครจะทำไม พวกนายมีแบบนี้อ๊ะป่าว 55555

อีกแนวคิดหนึ่งของผมคือ หลวงพิบูล ท่านอาสาออกมาทำงาน เมื่อออกมาถึงที่แล้ว ก็ต้องโชว์อะไรบางอย่างให้ผู้ใหญ่เห็นว่า ท่านเริ่มงานแล้วนะ การยิงครั้งนี้ ก็คือการโชว์การทำงานอย่างที่ว่า ใช่หรือไม่ ส่วนสาเหตุที่ยิงไม่แม่น ผมคิดว่า การยิงปืนใหญ่ของทหารบกนั้น ถ้าจะให้แม่นยำ ก็จำเป็นที่จะต้องมีผู้ตรวจการหน้า (เอ่อ หรือ ตรวจการณ์) ทำหน้าที่รายงานตำบลกระสุนตก ให้ชุดยิงทราบ เพื่อปรับแก้วิถีการยิงให้แม่นยำขึ้นในนัดต่อๆไป

แต่ปัญหาคือ สภาพภูมิประเทศ ที่น้ำท่วมทุ่ง ระหว่างแนวฝ่ายเรา กับแนวฝ่ายตรงข้าม มีเพียงแค่ทางแคบๆ เท่ารางรถไฟสองราง และโล่งมากก การส่ง ผ.ต.น. เข้าไป ย่อมไม่สามารถทำได้ สรุปว่า รายการนี้ก็เป็นการยิงแบบตาบอดเหมือนกัน แต่คุณหลวงท่านไม่สน เพราะจะ ขู่ จะโชว์ และจะ Work ดังที่ได้กล่าวมาแล้วครับ        
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 02 ก.พ. 16, 16:43

เป็นสมมติฐานที่น่าสนใจครับ

อย่างน้อยก็แสดงว่าหลวงพิบูลไม่ได้งี่เง่าที่สั่งยิงอย่างไร้ประโยชน์
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 02 ก.พ. 16, 22:55

 
   ช้าก่อน
   สถานีรถไฟบางเขน อาจอยู่ในระยะหวังผลของปืนใหญ่ภูเขาครับ ถ้ายิงจากบางซื่อ-ถนนประดิพัทธ์ (5 กิโลเมตร)
   จากแผนที่ หลวงพิบูลฯ บอกได้ว่าถ้าเรือสุโขทัยมาอยู่ที่สะพานพระรามหก ระยะยิงจะสูสีกัน (ุ6 กิโลเมตร)
   เมื่อทหารเรือไม่ร่วมเสี่ยงยิงกบาลชาวบ้านด้วย เหลือปืนใหญ่ภูเขา (พิสัย 7 กิโลเมตร ที่มุมยิง 40 องศา)
   ผลออกมาเหมือนหลับหูหลับตายิงแทบไม่เข้าเป้า ชาวบ้านรับกรรมไป


https://en.wikipedia.org/wiki/Type_41_75_mm_Mountain_Gun

The Type 41 75 mm mountain gun is a Japanese license-built copy of the Krupp M.08 mountain gun.   
   
Designer   Krupp
Manufacturer   Osaka Arsenal 

Weight   544 kg (1,199 lb)
Length   4.31 m (14 ft 2 in)
Barrel length   1.1 m (3 ft 7 in) L/19.2
Width   1.219 m (4 ft)
Crew           13
Caliber   75 mm (2.95 in)
Breech   interrupted screw
Recoil   hydro-spring
Carriage   box trail
Elevation   -18° to +40°
Traverse   6°
Muzzle velocity   435 m/s (1,427 ft/s)
Maximum firing range   7,022 m (7,679 yd)


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 19 คำสั่ง