เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 5218 สืบเนื่องจากกระทู้ กบฎบวรเดช
นัทชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


 เมื่อ 29 ม.ค. 16, 13:45

๑๓ตุลาคม
เรือปืนสุโขทัยมีปืนที่ขนาดลำกล้อง๖นิ้ว มีอานุภาพการทำลายมากที่สุดในประเทศสมัยนั้น ผู้บัญชาการทหารเรือ นาวาเอกพระยาวิชิตชลธีท่านเลยไม่ยอมทำตามที่วังปารุสก์ต้องการ อ้างว่าปืนใหญ่เรือรบเป็นปืนวิถีราบ ไม่เหมาะจะยิงถล่มระยะๆไกลโดยไม่มีตารางการยิงและแผนที่บอกพิกัด เมื่อวังปารุสก์ยืนยันจะให้ยิงให้ได้ ทหารเรือจึงประกาศตนเป็นกลาง แล้วถอยร.ล.สุโขทัยไปจอดทอดสมอที่สรรพาวุธบางนา
คห.ที่ 30 หน้า 3 ถ้าเรือจอดที่ท่าราชวรดิษฐ์ระยะยิงประมาณ 20 กม.
 
บันทึกการเข้า
นัทชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 29 ม.ค. 16, 13:55

ค้นดูแล้วปืนเรือยิงไกลสุดประมาณ 16 กม.
รูปเรือ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
นัทชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 29 ม.ค. 16, 14:10

ทำไมถึงต้องไปที่บางนาครับ ถ้าฝ่ายรัฐบาลเพลี่ยงพล้ำก็สามารถยิงสกัดได้ที่ระยะยิงหวังผล
ความเป็นกลางหมายถึงอะไร
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 29 ม.ค. 16, 21:26

เป็นกลาง คือไม่เข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายผู้ที่ต้องการปฏิวัติ

เพื่อความชัดเจน จึงเคลื่อนเรือปืนนี้ออกไปจากตำแหน่งที่อาจถูกผู้ที่ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยึดครองได้ กรมสรรพาวุธทหารเรือ บางนา เป็นสถานที่ผบ.ทร.เห็นว่าเหมาะสมที่จะปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวครับ

บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 30 ม.ค. 16, 09:46

ปืนที่ติดบนเรือหลวงสุโทัยหน้าตาคล้ายกับรุ่น BL 6 inch Mk XII naval gun (152/50 มม.)ลำกล้องเดี่ยว แต่เอามาใส่ในป้อมปืนที่ปรับปรุงมาจากรุ่น 2 ลำกล้อง ถ้าเป็นปืนกระบอกนี้ระยะยิงไกลสุดที่มุม 20 องศาก็ประมาณ20 กิโลเมตรนั่นแหละครับ แต่ถ้ายิงด้วยมุม 45 องศา (ซึ่งสามารถทำได้แต่ส่วนใหญ่จะไม่ทำกัน) กระสุนจะไปได้ไกลกว่าก็น่าจะใกล้เคียง 25 กม. วังปารุสก์คิดแบบทหารบกคือยิงในแนวโค้ง แต่ทหารเรือคิดแบบทหารเรือคือเป็นปืนยิงในแนวราบ


แต่ถ้าเป็นปืนรุ่นอื่นอย่าง BL 6 inch Mk XI naval gun มาใส่ป้อมใหม่ก็จะมีระยะยิงที่ระยะยิงไกลสุดที่มุม 20 องศาก็ประมาณ 16 กิโลเมตร แต่ถ้ายิงด้วยมุม 45 องศาก็น่าจะได้ประมาณ 20 กิโลเมตร ไม่ได้ใช้วิชาทหารปืนใหญ่คำนวนนะครับ เทียบเอากับรุ่นลำกล้องคู่ที่พอจะมีข้อมูลบอกไว้บ้าง
บันทึกการเข้า
นัทชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 30 ม.ค. 16, 22:25

ขอบคุณมากครับที่ให้ความเห็นเพิ่มเติม ถ้าเช่นนั้นข้ออ้างของนาวาเอกพระยาวิชิตชลธีจึงฟังไม่ขึ้น
เพราะปืนใหญ่เรือสามารถใช้ระดมยิงฝั่งได้อยู่แล้ว หรือแม้จะไม่ยิงจริงแค่ประกาศว่าจะยิง ฝ่ายตรงข้ามต้องถอยอย่างแน่นอน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 31 ม.ค. 16, 07:57

เรื่องราวของพันตรี หลวงสรสิทธยานุการ(สิทธิ์ แสง-ชูโต)หายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ ผมตามเจอเพียงเล่มเดียวที่เอ่ยถึงท่านขณะต้องโทษจำคุกอยู่ที่บางขวาง ตามที่สำเนามาลงไว้ข้างท้าย

และหนังสือเล่มนี้มิได้เอ่ยชื่อท่านอีกเลย แม้เมื่อกล่าวถึงตะรูเตาและเกาะเต่าซึ่งรัฐบาลเอานักโทษการเมืองครั้งกบฏบวรเดชที่มีโทษสูงกว่า๑๕ปีไปกักขังไว้ มีการเอ่ยชื่อนักโทษหลายต่อหลายคน แต่ไม่ปรากฏชื่อท่าน แต่ก็มิได้แปลว่าท่านมิได้อยู่ที่นั่น เพราะผู้ที่มีโทษผิดคล้ายๆกันคือ นาวาเอกพระวิชิตชลธี ผู้บัญชาการทหารเรือ ศาลพิเศษ๒๔๗๕ ยังได้ระบุโทษถึงจำคุกตลอดชีวิต แต่ท่านหลังนี้โชคดีกว่า หลังจากอยู่บางขวางเพียง๘เดือนก็มีเหตุที่ทำให้หลุดคดีออกมาได้อย่างอัศจรรย์

ต้องเล่าซะหน่อยแล้ว

เมื่อท่านไม่ยอมนำเรือหลวงสุโขทัยขึ้นไปยิงถล่มดอนเมืองตามบัญชาของวังปารุสก์ อันหมายถึงพระยาพหลคนดีนายกรัฐมนตรีนั่นแหละ ก็สั่งให้เรือรบทุกลำ"ไปบางนา"เมื่อ๑๓ตุลาคม๒๔๗๖ ขณะเคลื่อนขบวนเรือในแม่น้ำ นาวาตรี หลวงศุภชลาศัย(บุง ศุภชลาศัย) ผู้ก่อการคนหนึ่งของคณะราษฏร์ก็นำรถรบจากวังปารุสก์ไปสกัดกั้นที่สะพานพระพุทธยอดฟ้า โดยสั่งให้ปิดสะพาน แต่ไม่ทัน จึงยิงสกัดไปที่เรือจูงบรรทุกนาวิกโยธิน แต่ถูกยิงสวนจนพลประจำรถตาย  เรือหลวงพาลีรั้งทวีป เรือหลวงสุริยมณฑล ทราบเหตุการณ์ปะทะจึงขออนุญาตไม่ร่วมขบวน เพราะเกรงจะถูกสกัดมิให้ผ่านไปได้  ต่อมา เห็นอนาคตสดใสก็อาสาไปช่วยรัฐบาลปราบกบฏ ทั้งที่อยุธยาและที่หินลับ ดังภาพที่ผมนำลงไปแล้ว

เมื่อจอดเติมเสบียงที่บางนาแล้ว ตัวผู้บัญชาการทหารเรือก็ลงหลวงสุโขทัยออกทะเลไปกับเรือหลวงเจ้าพระยาเพื่อตรวจอ่าวตามแผนเดิมที่มีอยู่แล้ว ครั้นมาถึงสงขลา ขณะทอดสมออยู่นอกฝั่งมีเรือเล็กวิ่งเข้าเทียบ ปรากฏว่าเป็นสมุหราชองครักษ์มาเพื่อแจ้งว่า ขณะนั้นพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับอยู่ที่สงขลาพร้อมเจ้านายฝ่ายในสูงพระชนมายุหลายพระองค์ ขออย่าให้ส่งทหารเรือขึ้นบกให้เป็นที่ตกพระทัย ท่านจึงตามไปเฝ้ากราบบังคมทูลว่ามิได้มาตามคำสั่งของรัฐบาล ทรงทราบทราบเช่นนั้นจึงขอให้ท่านอยู่ถวายอารักขาซึ่งท่านก็เต็มใจ แต่ขอให้ทรงแจ้งให้ทางฝ่ายรัฐบาลทราบพระราชประสงค์นี้ด้วย จึงทรงโทรเลขถึงวังปารุสก์แล้วพระราชทานสำเนาให้พระยาพระวิชิตชลธีเก็บไว้

เหตุดังกล่าวทำให้รัฐบาลไม่พอใจพระยาพระวิชิตชลธียิ่งขึ้น แม้ฝ่ายกบฏจะพ่ายไปแล้วแต่ยังคงไม่เสด็จกลับพระนครอีกหลายเดือน ความแตกแยกในวงการทหารเรือจึงได้ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจน มีการยุยงให้ทหารในเรือหลวงสุโขทัยและเรือหลวงเจ้าพระยาแข็งข้อต่อผู้บังคับบัญชาของตน จะให้นำเรือกลับโดยกล่าวหาว่าท่านเป็นกบฏ แต่พระยาวิชิตชลธี ก็สามารถระงับเหตุการณ์และจับพันจ่าโท จำรัส บุญญะสูต ตัวหัวหน้ากักขังไว้ เมื่อตามเสด็จกลับมาถึงฐานก็ส่งตัวเข้าเรือนจำทหารเรือ สร้างความไม่พอใจให้แก่กลุ่มของหลวงศุภชลาศัยเป็นอย่างมาก เรือเอกประเสริฐ ศุขสมัย ผู้บังคับกองร้อยคนหนึ่งได้นำทหารนาวิกโยธินหมวดตนเข้ายึดที่ทำการกองบังคับการกองทัพเรืออย่างอุกอาจ เมื่อ๙มกราคม๒๔๗๗  หลังสอบสวน เรือเอกประเสริฐซัดทอดหลวงศุภชลาศัยว่าอยู่เบื้องหลัง พระยาพหลจึงมีคำสั่งย้ายนายทหารเรือหัวรุนแรงคนนี้ไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา ส่วนนาวาเอกพระยาวิชิตชลธี สุภาพบุรุษแห่งราชนาวี แม้ลาออกจากราชการไปเพื่อให้ยุติเหตุร้าวฉานในกองทัพเรือ ก็ยังถูกจับในข้อหากบฏเมื่อ๒มีนาคม๒๔๗๗  และถูกจองจำทีบางขวาง ทุกครั้งที่มีการพิจารณาคดี เจ้าหน้าที่จะนำผู้ต้องหาใส่กุญแจมือลงเรือจากเมืองนนท์มาขึ้นที่ท่าช้าง ผ่านเรือรบลำใด จ่ายามจะเป่านกหวีดและทหารในเรือทุกคนจะยืนรายกราบแสดงความเคารพในขณะที่เรือบรรทุกนักโทษผ่านไป เพราะเรือลำนั้นมีอดีตผู้บังคับบัญชาผู้เสียสละตนเพื่อคนส่วนใหญ่ของพวกเขาอยู่ด้วย การกระทำนี้มาถึงหูของรัฐบาลเนืองๆ แต่จะหาเรื่องเอาผิดกับใครก็ไม่ได้

เมื่อใกล้พิพากษา วังปารุสก์เอาโผมาดูเห็นว่านักโทษรายพระยาวิชิตชลธีนี่ อยู่ในบัญชีที่ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต แต่ขณะนั้นคดีความของเรือเอกประเสริฐ ศุขสมัยยังค้างอยู่ที่ศาลทหารเรือเหมือนกันและทำท่าจะลามมาถึงหลวงศุภชลาศัย ดังนั้นเพื่อตัดไฟแต่ต้นลม จึงอ้างเหตุเพื่อความปรองดองของทหารเรือ ตัดจำหน่ายคดีเรือเอกประเสริฐ ศุขสมัย และเพื่อให้เจ๊ากันไป จึงเรียกอัยการศาลพิเศษมาถอนฟ้องพระยาวิชิตชลธีด้วย เมื่อ๑๘ ธันวาคม ๒๔๗๗

อ้อ หลวงสรสิทธยานุการ(สิทธิ์ แสง-ชูโต) มีชื่ออยู่ในรายนามวุฒิสภาชุดที่๒ พ.ศ.๒๔๘๙ ซึ่งเป็นรัฐบาลหลังสงครามโลกครั้งที๒เมื่อสิ้นอำนาจของรัฐบาลเผด็จการหลวงพิบูล แสดงว่าท่านหนังเหนียว รอดช่วงชีวิตอันขมขื่นมาได้อย่างอยู่ในสภาพดี 
อดีตนักโทษการเมืองครั้งกบฏบวรเดชลงมาเล่นการเมืองฉลองรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กันมาก และชนะการเลือกตั้งเข้าสภากันแบบยกทีม แต่ไม่นาน สภาก็ล่มอีก ไม่รู้เป็นอะไรสิน่า การเมืองไทย
 

คุณนัทชาคงคิดว่าที่ทหารเรือไม่เป็นกลาง เพราะมีใจอยู่ข้างรัฐบาล
ไม่ทราบว่าคุณอ่านเรื่องตามกระทู้นี้ครบหรือเปล่า เอางี๊ อ่านที่ผมคัดมาลงให้ซะหน่อยก็แล้วกัน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 31 ม.ค. 16, 08:51

คุณนัทชายังมีความรู้เรื่องปืนเรือน้อยมาก  พูดอย่างกับว่าปืนใหญ่ประจำร.ล.สุโขทัยติดตั้งระบบควบคุมการยิงด้วยคอมพิวเตอร์ ใช้ดาวเทียมเล็งเป้าไปที่ไหนก็แม่นราวกับจับวาง

ไม่ใช่หรอกครับ ปืนใหญ่เรือนั้น คุณ Superboy อุตส่าห์เข้ามาอธิบายขยายความว่า มีระยะยิงไกลสุดที่มุม 20 องศา ประมาณ20 กิโลเมตร ถ้ายิงด้วยมุม 45 องศา ก็จะไปได้ไกลกว่าก็น่าจะใกล้เคียง 25 กม. (นี่เอาตัวยิงไกลกว่ามาคิดนะครับ)

ผมต่อให้อีกหน่อย ระยะยิง ถ้ายิ่งไกลก็ยิ่งจะไม่แม่น จึงมีศัพท์กำหนด “ระยะยิงสูงสุด” ควบคู่กับ “ระยะยิงหวังผล”
ปืนใหญ่เรือออกแบบไว้สำหรับยิงต่อสู้เรือรบข้าศึกที่อยู่บนผิวน้ำด้วยกัน จึงต้องยิงเป็นวิถีราบ ระยะยิงหวังผลได้สักครึ่งเดียวของระยะยิงสูงสุด
แต่ถ้าระดมยิงชายฝั่ง สมัยนั้นก็ต้องการทำลายไม่จำกัดเป้า คือยิงวิถีโค้งสุ่มเข้าไปในเมือง กระสุนตกที่ไหนก็โดนที่นั่น อย่างนี้ก็อาจจะยิงโดยคำนวณสัก๗๐-๘๐ % ของระยะยิงสูงสุด  ไม่มีใครหรอกนะครับที่จะนำเรือไปยิงโดยห่างจากเป้าเท่ากับระยะยิงสูงสุดที่ผู้ผลิตระบุ

แต่แม่นอย่างไรก็ไม่แม่นพอที่จะไปยิงเป้าหมายเคลื่อนที่เป้าเล็กๆ  อย่างเช่นการรุกรบโจมตีของทหารราบ นอกจากว่าจะมีเรือไปร่วมระดมยิงนับสิบๆลำแบบปูพรม ก็จึงจะสะกัดศัตรูให้หาที่มุดหัวอยู่กับที่ได้ แต่ก็ชั่วครั้งชั่วคราว แต่ถ้าเขารบกันอยู่ในเมือง ขืนเอาปืนเรือไปยิงอีกฝ่ายหนึ่ง ก็อาจมีลูกหลงไปโดนฝ่ายของตัวเอง แต่ที่แน่ๆ ฝ่ายที่เสียหายที่สุดก็คือประชาชนผู้ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ที่ต้องวิบัติทั้งชีวิตและทรัพย์สินแน่นอน

ใครที่ออกคำสั่งให้เอาปืนเรือไปยิงเป้าหมายบนบกก็ถือว่าเหี้ยมแล้ว แต่นี่ วังปารุศก์ ซึ่งหมายถึงกองบัญชาการปราบกบฎคราวนั้น ที่ผบ.คือพันโท หลวงพิบูลสงคราม นายทหารปืนใหญ่  ได้สั่งการให้ทหารเรือนำร.ล.สุโขทัยเคลื่อนไปที่สะพานพระราม ๖ เพื่อยิงกองบัญชาการกองทัพอากาศ ดอนเมือง นี่ต้องถือว่าเข้าขั้นบ้า
หากทหารเรือบ้าตามคำสั่ง ชาวบ้านตามแนววิถีกระสุนคงต้องตายเป็นเบือ เพราะการยิงสมัยนั้น หากไม่มีแผนที่พิกัดแน่นอนก็เหมือนยิงไปในความมืด

ประเด็นที่ยังไม่เคยพูดกันก็คือ นักบินทหารอากาศซึ่งถูกหลอกให้เอาเครื่องบินรบมาชุมนุมที่ดอนเมืองตอนนั้น  เมื่อรู้ตัวว่าถูกหลอกให้มาร่วมปฏิวัติก็ใส่เกียร์ว่าง ประกาศความเป็นกลางสงบนิ่งอยู่ หากกระสุนปืนเรือนัดแรกมาตกแถวดอนเมืองเมื่อไหร่ก็คงเหมือนปาก้อนหินใส่รังมดแดง  ร.ล.สุโขทัยก็มีหวังโดนเครื่องบินรุมกินโต๊ะ กลายเป็นเศษเหล็กจมน้ำเช่นเดียวกับ ร.ล.ศรีอยุธยาในสมัยต่อมา

นาวาเอก พระยาวิชิตชลธี ท่านตัดสินใจถูกที่สุดแล้วในสถานการณ์อย่างนั้น

บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 31 ม.ค. 16, 13:30

สุภาพบุรุษแท้ ยังไงก็ยังคงความเป็นสุภาพบุรุษวันยังค่ำ ต่อให้มีพายุไต้ฝุ่นฟ้าคะนองแค่ไหน
บันทึกการเข้า
นัทชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 31 ม.ค. 16, 14:19

สรุปว่ายิงที่บริเวณสะพานพระราม 6 ระยะยิงประมาณ 14.5 กม. ที่กึ่งกลางสนามบินในปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
นัทชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 31 ม.ค. 16, 14:40

ผมไม่รู้เรื่องปืนใหญ่เรือ แต่พันโทหลวงพิบูลสงครามนายทหารปืนใหญ่จบจากฝรั่งเศสคงรู้ดีกว่าแน่ ๆ
เอารูปปืนใหญ่สนามที่มีชื่อเสียงในยุคสงครามเย็นมาให้ชมครับ 130 มม. m46 เป็นปืนวิถีราบ


บันทึกการเข้า
นัทชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 31 ม.ค. 16, 15:19

naval power
โล่งเหมือนกันไหมครับ
รูปที่สองสนามบินเฮนเดอร์สันบนเกาะกัวดาคะแนล
รูปที่สามกองเรือญี่ปุ่นยิงถล่มสนามบินในเวลากลางคืนนอกระยะยิงของปืนป้องกันฝั่ง
ตรงนี้น่าจะสำคัญ




คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 31 ม.ค. 16, 15:37

ตกลง ประเด็นของคุณคือ?
บันทึกการเข้า
นัทชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 31 ม.ค. 16, 16:42

ตกลง ประเด็นของคุณคือ?
ขอบคุณที่สนใจครับ
ผมกำลังพูดถึงสงครามทางอาวุธถัดไปเป็นสงครามจิตวิทยาครับ
ถ้าปรัชญาทางยุทธศาสตร์ของซุนจื่อ (sun tzu) ที่ว่ารู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง
ฝ่ายกบฎต้องมีคำตอบว่าจะทำอย่างไรกับกองเรือรบ
ถ้าเรือจอดที่ท่าราชวรดิษฐ์ระยะยิงประมาณ 20 กม. อาจต้องถกเถียงกันในด้านยุทธวิธี และ
ที่ฝ่ายกบฎเลือกดอนเมืองเป็นที่มั่นสำคัญก็คงเหมาะสมในหลายด้าน

บันทึกการเข้า
นัทชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 31 ม.ค. 16, 16:52

จากรูปหน้า 2
เชื่อแล้วว่ากองทัพบกสมัยนั้นสู้กองทัพเรือไม่ได้ สงครามครั้งนั้นปืนใหญ่เรือน่าจะถือเป็นอาวุธทางยุทธศาสตร์เลย
ว่าไหมครับ


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 20 คำสั่ง