เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 27058 ขอเรียนถามการใช้คำว่า "ทันกาล ทันการณ์ ทันการ" ครับ
Wu Zetian
ชมพูพาน
***
ตอบ: 120


 เมื่อ 29 ม.ค. 16, 13:53

ผมสงสัยว่า คำว่า ทันกาล ทันการณ์ ทันการ จะใช้แทนที่กันได้เสมอไป ไหมครับ
ผมเลือกตอบข้อ ง. ครับ
ตัวอย่างประโยคบริบท
เขาเริ่มลงมือแก้ปัญหาตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงแก้ปัญหาดังกล่าวได้...
ก. ทันกาล
ข. ทันการณ์
ค. ทันการ
ง. ถูกทุกข้อ

ขอบคุณครับ สำหรับทุก ๆ ข้อเสนอแนะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 29 ม.ค. 16, 17:45

ทันกาล = ทันเวลา
ทันการณ์  = ทันเหตุการณ์
ทันการ  = ทันงาน  ทันเรื่องที่ทำ
ค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 01 ก.พ. 16, 10:35

มีผู้วิสัชนาการใช้ทั้ง ๓ คำนี้ ใน คอลัมน์ "ภาษาไทย...ขัดใจปู่" โดย ทิดกร ให้ความเห็นว่าคำว่า "ทันการ" ไม่น่าจะมีที่ใช้ในภาษาไทย  ยิงฟันยิ้ม

ทันกาล, ทันการณ์ และ ทันการ   

คำที่ผมยกมาเป็นหัวข้อในวันนี้เป็นคำที่มีผู้ใช้สับสนกันมากครับ โดยทั้งสามคำเป็นคำพ้องเสียง อ่านเหมือนกันหมดว่า /ทัน-กาน/ แต่มีวิธีการสะกดต่างกัน และมีการใช้ต่างกันด้วย นอกจากนี้ ในจำนวนสามคำนี้ยังมีคำหนึ่งที่ (น่าจะ) เป็นคำที่ผิดและไม่มีใช้ในภาษาไทย ส่วนจะเป็นคำใดนั้นเชิญติดตามอ่านกันได้เลยครับ

ก่อนอื่นเรามาดูความหมายของสามคำนี้ก่อน ทั้งสามคำประกอบขึ้นจากคำว่า "ทัน" ซึ่งเป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เป็นไปตามเวลาที่กำหนด คำว่า "กาล" หมายถึง เวลา, คราว, ครั้ง ดังนั้น คำว่า "ทันกาล" จึงหมายถึง ทันเวลา, ดำเนินการเสร็จสิ้นตามกำหนดเวลา เช่น อย่ามัวชักช้าเดี๋ยวงานจะเสร็จไม่ทันกาล คำว่า "การณ์" หมายถึง เหตุ, เค้า มูล ดังนั้น คำว่า "ทันการณ์" จึงน่าจะหมายถึง ทันต่อเหตุการณ์ เช่น ปัจจุบันเราสามารถรายงานข่าวได้รวดเร็วทันการณ์ เพราะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ส่วนคำว่า "การ" หมายถึง งาน, สิ่งหรือ เรื่องที่ทำ, ธุระ, หน้าที่

ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานไม่พบคำว่า "ทันการ" บันทึกอยู่เลย แต่พจนานุกรมนอกราชบัณฑิตยฯ โดยสำนักพิมพ์มติชน ได้เก็บคำว่า "ทันการ" เป็นคำกิริยา โดยให้ความหมายว่า พอดีกับงาน เหมาะแก่เวลา ซึ่งผมพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่น่าจะถูก เพราะ "พอดีกับงาน" ไม่น่าจะใช่ความหมายของคำว่า "ทัน" และ "เหมาะแก่เวลา" น่าจะเป็นความหมายของคำว่า "ทันกาล" ดังตัวอย่างข้างต้นมากกว่า อีกทั้งคำดังกล่าวยังไม่น่าจะเป็นคำกิริยาอีกด้วย หากคุณผู้อ่านลองนำคำว่า "ทันการ" ไปแต่งประโยคโดยให้เป็นคำกิริยาดู คงจะได้ประโยคใจความประหลาดไม่น้อย ผมจึงสันนิษฐานว่าคำว่า "ทันการ" น่าจะไม่มีที่ใช้ในภาษาไทย เป็นเพียงคำที่มีผู้สะกดผิดหรือเข้าใจผิดมาจากคำว่า "ทันกาล" หรือ "ทันการณ์" มากกว่า หรือหากท่านผู้อ่านมีความเห็นต่างไปจากนี้ ก็ขอเชิญเขียนเข้ามาร่วมอภิปรายกันได้ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 01 ก.พ. 16, 12:11

คุณเพ็ญชมพูมีความเห็นอย่างไร เชิญวิสัชนา
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 01 ก.พ. 16, 14:58

ในบรรดาคำทั้งสามคำนี้ มี "ทันกาล" คำเดียวที่ปรากฏในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต ในความหมายของคำว่า "ทัน" คือ  เป็นไปตามเวลาที่กําหนด, เป็นไปพอดีกับเวลาที่กําหนด, เช่น ทันกาล ทันเวลา  ส่วนคำว่า "ทันการณ์" แม้ไม่มีในพจนานุกรมแต่ก็เป็นที่เข้าใจตรงกันทั้งคุณทิดกรและคุณเทาชมพูว่าหมายถึง ทันเหตุการณ์

คำที่มีปัญหาคือ "ทันการ" คำนี้เป็นคำวิเศษณ์ ไม่ใช่ คำกิริยา อย่างมติชนว่า คุณเทาชมพูให้ความหมายว่า ทันงาน ทันเรื่องที่ทำ อยากจะเห็นตัวอย่างประโยคซึ่งแต่งโดยใช้คำคำนี้
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 01 ก.พ. 16, 15:03



ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535

หมวด 3

การควบคุมและการจำหน่ายพัสดุ

ส่วนที่ 1

การยืม

ข้อ 149 การยืมพัสดุประเภทใช้สิ้นเปลืองระหว่างส่วนราชการ ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อส่วนราชการผู้ยืมมีความจำเป็นต้องใช้พัสดุนั้นเป็นการรีบด่วน จะดำเนินการจัดหาได้ไม่ทันการ และส่วนราชการผู้ให้ยืมมีพัสดุนั้น ๆ พอที่จะให้ยืมได้ โดยไม่เป็นการเสียหายแก่ราชการของตน และให้มีหลักฐานการยืมเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ โดยปกติส่วนราชการผู้ยืมจะต้องจัดหาพัสดุเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกันส่งคืนให้ส่วนราชการผู้ให้ยืม

บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 01 ก.พ. 16, 15:10


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 156/2506

โจทก์ประมูลทำการประมงในคลองที่พิพาทได้ จำเลยและราษฎรอีกมากเป็นเจ้าของนาหลายพันไร่ต้องอาศัยใช้น้ำในคลองนี้ทำนา ตอนปากคลองมีทำนบปิดกั้นน้ำไว้เพื่อใช้ทำนา ถัดออกไปเป็นที่ตั้งจิบสำหรับจับปลาของโจทก์ เมื่อน้ำในคลองเริ่มลดลง ราษฎรเจ้าของนายื่นคำร้องขอให้เปิดทำนบเพื่อกักน้ำไว้หล่อเลี้ยงต้นข้าวก่อนนายอำเภอสั่งให้ปิดทำนบ ราษฎรเกรงว่าถ้ารอช้าต้นข้าวจะเสียหาย จำเลยกับเจ้าของนาหลายคนจึงช่วยกันปิดทำนบเสีย น้ำจึงไม่ไหลไปยังจิบของโจทก์ โจทก์จับปลาไม่ได้ การที่จำเลยปิดทำนบนี้จะรอให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งอาจจะไม่ทันการ และเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่กสิกรรม กฎหมายให้ปิดเองได้ ตามพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 มาตรา 22 ซึ่งมีมาตรา 10 วรรค 2 สนับสนุนด้วย

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 01 ก.พ. 16, 15:21

ข้อ 149 การยืมพัสดุประเภทใช้สิ้นเปลืองระหว่างส่วนราชการ ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อส่วนราชการผู้ยืมมีความจำเป็นต้องใช้พัสดุนั้นเป็นการรีบด่วน จะดำเนินการจัดหาได้ไม่ทันการ

คำว่า "ทันการ" ในประโยคนี้ น่าจะต้องการให้หมายถึง ทันเวลา มากกว่า ทันงาน ทันเรื่องที่ทำ หากใช้ "ทันกาล" น่าจะตรงมากกว่า

การที่จำเลยปิดทำนบนี้จะรอให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งอาจจะไม่ทันการ

ในประโยคนี้ "ทันการ" น่าจะต้องการให้หมายถึง ทันเหตุการณ์ หรือไม่  หากใช้ "ทันการณ์" น่าจะถูกต้องมากกว่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 01 ก.พ. 16, 16:37

ค้านกระทั่งหนังสือราชการเชียวนะคะ คุณหมอ
ดิฉันเห็นด้วยกับข้อความที่คุณคนโคราชยกมาค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 01 ก.พ. 16, 16:45

หนังสือราชการก็ใช่ว่าจะเขียนถูกเสมอไป  ยิงฟันยิ้ม

อันคำว่า "เคหะสถาน" นั้นเขียนผิด
เรียนสักนิด "คำสมาส" อาจได้ผล
คำบาลีสองคำนั้นมาชน
"สระอะ"พ้นคำไปไม่ใช้เอย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 01 ก.พ. 16, 17:21

ข้อ 149 การยืมพัสดุประเภทใช้สิ้นเปลืองระหว่างส่วนราชการ ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อส่วนราชการผู้ยืมมีความจำเป็นต้องใช้พัสดุนั้นเป็นการรีบด่วน จะดำเนินการจัดหาได้ไม่ทันการ

ทันการ ในที่นี้ หมายถึง ทันการยืมพัสดุ

การที่จำเลยปิดทำนบนี้จะรอให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งอาจจะไม่ทันการ

ทันการ ในที่นี้ หมายถึง การปิดทำนบ
บันทึกการเข้า
พี่น็อต
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 07 มี.ค. 18, 11:31

ผมใช้ทั้ง 3 แบบแต่ใช้คำว่า 'ทันกาล' น้อยที่สุด และใช้คำว่า 'ทันการ' มากที่สุดครับ

ทันกาล ผมใช้ในความว่า ทันต่อเวลา (ทันเวลา)   ความหมายเต็มคือ ตอบสนองได้ทันต่อเวลาใดที่ต้องกระทำการนั้นให้สำเร็จ  ลักษณะการใช้เป็น คำกริยาวิเศษณ์
ทันการณ์ ผมใช้ในความว่า ทันต่อเหตุการณ์   ความหมายเต็มคือ ตอบสนองได้ทันต่อเหตุการณ์ใดที่ต้องพึ่งการจัดการนั้น    ลักษณะการใช้เป็น คำกริยาวิเศษณ์
ทันการ ผมใช้ในความว่า ทันต่อการใช้งาน   ความหมายเต็มคือ ตอบสนองได้ทันเวลาลงมือกระทำการใดที่ต้องพึ่งการจัดการนั้น    ลักษณะการใช้เป็น คำกริยาวิเศษณ์

ทันกาล เน้นที่ ลงมือทันเวลา
ทันการณ์ เน้นที่ ทันเหตุการณ์
ทันการ เน้นที่ การตัดสินใจทันเวลา ตัดสินใจไม่เชื่องช้างุ่มง่าม สื่อความรู้สึกว่า ทันกิน หรือ ไม่ล่าช้าจนเสียเรื่อง ประมาณนั้นครับ

'การละคำแต่คงความ' มีในทุกภาษาใหญ่ๆนะครับ ยังไง (อย่างไร)​ ก็ขอให้เปิดใจกันบ้าง เพราะภาษาที่เราใช้ยังไม่ตาย ฝากไว้ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 20 คำสั่ง