เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 5085 ครู นักเรียน และการศึกษาในชนบทห่างไกล
walai
มัจฉานุ
**
ตอบ: 64


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 21 ม.ค. 16, 06:37

 : ยิ้มกว้างๆ  ข้อเขียนของคุณ naitang คงจะกระทบต่อม ความภาคภูมิใจ ความปิติยินดี ของคุณครูในชนบททุกท่าน เป็นเสมือนน้ำทิพย์ให้ความชุ่มชื่นใจอย่างแท้จริงค่ะ ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 21 ม.ค. 16, 19:17

ครับ  ก็เป็นความตั้งใจที่จะเปิดประตูวิถีชีวิตของครูในชนบทให้ได้รับทราบกัน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 21 ม.ค. 16, 19:40

ครั้งหนึ่งผมไปทำงานในพื้นที่ของ อ.แม่จริม จ.น่าน  ช่วงเวลาหลังจากเกิดเหตุปะทะกันระหว่างไทย-ลาว ไม่นานนัก ก็เป็นพื้นที่ติดชายแดนผมทราบว่า มีครูผู้หญิงคนหนึ่งเพิ่งบรรจุใหม่ เดินขึ้นเขาคนเดียวไปเพื่อสอนนักเรียนในหมู่บ้านสร้างใหม่ของทางราชการ พวกผมยังสงสัยเลยว่าแล้วไม่กลัวอะไรบ้างหรือ  ครั้นพอสิ้นเดือนก็ต้องเดินลงมาเข้าเมืองเพื่อรับเงินเดือนและจัดการกับระบบทางการเงินของทางราชการ  ปฎิบัติเช่นนี้ทุกๆเดือน

ในพื้นที่อื่นๆก็มีครับ แต่มักจะเห็นเป็นครูผู้ชายคนเดียว หรือไม่ก็มีครูผู้ชายคนหนึ่งกับครูผู้หญิงอีกคนหนึ่ง (หรือสองสามคน)  ครูผู้ชายก็เลยต้องรับหน้าที่เข้าเมืองเพื่อรับเงินเดือนแทน

ผมไม่ทราบหรอกครับว่า ค่าใช้จ่ายในเดินทางนั้นจะเบิกได้หรือไม่ บางแห่งก็ต้องลงมาค้างคนในหมู่บ้าน แล้วรอรถประจำทาง ที่มีวิ่งวันละเที่ยว หากเป็นหน้าฝนรถวิ่งไม่ได้ก็ต้องเดินเอา
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 21 ม.ค. 16, 20:01

ไม่ว่าจะเป็นการใช้รถหรือการเดิน ก็เป็นการใช้เวลาครั้งละหลายวัน  แถมอาจจะมีการเรียกประชุม หรือมีงานทางราชการอื่นๆอีกสารพัด เวลาของการสอนก็จะจำกัดลง ฯลฯ 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 21 ม.ค. 16, 20:46

ขอชื่นชมคนเล็กๆอย่างครูชนบท ที่เป็นมือยิ่งใหญ่ในการประคับประคองเยาวชนของชาติค่ะ

อ่านแล้วทั้งๆรู้ว่าเป็นเรื่องเกิดนานมาแล้ว   ป่านนี้ครูผู้หญิงที่เดินทางเดี่ยวคนนั้นอาจจะเกษียณ หรือย้ายไปประจำที่อื่นแล้ว   ก็ยังอดใจหายแทนไม่ได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 22 ม.ค. 16, 09:10

ครูดีมีอยู่ทุกกาลสมัย   ยิงฟันยิ้ม

ครูดอยไม่ใช่แค่คนที่สอนหนังสือ แต่ยังเป็นพ่อ-แม่ เป็นหมอ เป็นช่างตัดผม เป็นทุก ๆ อย่าง ภาพวันนี้ครูรัชนก เงินงามมีสุข ครูดอย กศน.อ.ท่าสองยาง ขณะกำลังแบกนักเรียนที่ป่วยอาเจียนหมดแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ ตอนนี้นำส่งโรงพยาบาลท่าสองยางถึงมือแพทย์แล้ว ครูขึ้นดอยนำนักเรียนส่งหมอแม้จะเป็นช่วงเวลาวันหยุดของครูดอย ในโลกนี้ยังมีคนดี ๆ อีกมากที่คุณไม่รู้ว่าพวกเขาทำอะไรอยู่

เรื่องและภาพจาก เฟซบุ๊กของคุณภาณุ วงษ์ถาวรเรือง


บันทึกการเข้า
walai
มัจฉานุ
**
ตอบ: 64


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 22 ม.ค. 16, 16:08

คุณภาณุ วงษ์ถาวรเรือง ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อ.ท่าสองยาง จ.ตาก คงมีเรื่องราวเกี่ยวกับงานการศีกษานอกโรงเรียนสำหรับชาวเขา และ เรื่องที่น่ารับรู้ของ ครูดอย เล่าให้ฟังมากมาย ท่านผู้เยือนเรือนไทยบางท่าน  อาจมีความประทับใจและช่วยเสริมคุณ naitang บ้างนะคะ อายจัง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 22 ม.ค. 16, 19:28

ขอบคุณสำหรับ...เม้นท์ต่างๆครับ

เรามักใช้คำว่า ครูดอย และ ครูบ้านนอก  เป็นคำเรียกแทนครูที่สอนอยู่ในพื้นที่ชนบทห่างไกล  ซึ่งบางครั้งทั้งสองคำนั้นก็ใช้สื่อความหมายไปในทางที่ไม่ดี   

ครูในพื้นที่ชนบทห่างไกลนี้เอง คือ กลไกที่สำคัญอย่างยิ่งในกระบวนความมั่นคงของรัฐ ทั้งในด้านเศรษกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม การสาธารณสุข และการป้องรักษาความเป็นมนุษย์   แต่น่าเสียดายที่บรรดาครูผู้ที่เสียสละและมีความรับผิดชอบสูงกลับถูกละเลยค่อนข้างมากในเรื่องของการสนับสนุนในเกือบจะทุกด้าน

ดังที่คุณเพ็ญชมพูว่าไว้ละครับ แม้ว่าครูในชนบทมีหน้าที่ในการสอนหนังสือ แต่ครูต้องเป็นบุคคลที่ต้องทำได้ทุกอย่าง   ครูในชนบทจึงเป็นเสมือนตัวแทนของงานราชการทุกกระทรวง  ในปัจจุบันนี้อาจจะต้องเลยเถิดไปเป็นเสมือนตัวแทนขององค์กรอิสระและองค์กรเอกชนต่างๆ

ครับ เป็นงานที่ต้องลงแรงทำ ไม่มีค่าตอบแทน ไม่มีงบฯ ไม่มีเครื่องมืออุปกรณ์สนับสนุนอย่างพอเพียง ไม่มี.... 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 22 ม.ค. 16, 19:46

โรงเรียนใดมีขนาดใหญ่หน่อย ก็อาจมีบ้านพักครูอยู่ในพื้นที่ของโรงเรียน  แต่ก็สร้าง..โน่นแนะครับ..อยู่ท้ายโรงเรียน ชิดป่าดงไปเลย  ไฟก็ไม่มี น้ำก็ไม่มีประปา ต้องไปตักเอาจากบ่อน้ำ โดดเดี่ยวก็โดดเดี่ยว ว้าเหว่พึลึก??  จะหาซื้ออาหารก็ต้องเดินเข้าหมู่บ้าน แต่ตลาดหรือร้านขายของก็ไม่มี โชคดีก็อาจมีชาวบ้านหาบผักหาบเนื้อมาร้องขาย

แล้วจะไม่ให้ครูรู้สึกอยากมีพาหนะของตนเองบ้างหรือ ??  หรือไม่อยากจะให้มีอะไรที่มันสร้างความสุนทรีย์ให้กับชีวิตบ้างหรือไร ?? .......
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 24 ม.ค. 16, 18:07

ภาพของอำเภอที่ไม่มีตลาดสด แต่มีพ่อค้าแม่ค้าหาบผักหาบเนื้อมาเร่ขายตามบ้านคนนี้ ยังเคยเห็นที่ในตัว อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ.2520+ (ช่วงเวลากำลังเริ่มก่อสร้างเขื่อนเขาแหลม)    ผักที่หาบมาเดินขายนี้ ทั้งหมดจะเป็นแม่ค้า  ส่วนเนื้อนั้นจะเป็นพ่อค้า  เนื้อไม่ได้มีขายทุกวัน ขึ้นอยู่กับว่าจะมีการล้มหมูหรือล้มวัวกันในวันไหน ก็อาจจะเป็นสองสามสัปดาห์ครั้งหนึ่ง หรือเป็นเดือนหรือหลายเดือนก็ได้  เนื้อสัตว์จึงเป็นสิ่งที่ชาวบ้านต้องออกไปหา ผู้ใดได้มาก็จะแบ่งปันกัน ให้กันบ้าง ขายกันบ้าง

ครูในถิ่นห่างไกลจะมีผักมีเนื้อกินได้ก็จากการปันของชาวบ้านนี้แหละ     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 24 ม.ค. 16, 18:56

อีกเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรับรู้และการก้าวทันกับข้อมูลข่าวสารต่างๆ   หนังสือพิมพ์ก็ไม่มี แม้จะได้รับมาก็ยังไม่ต่อเนื่องกัน (วันเว้นเจ็ดวัน..อะไรทำนองนี้)  แถมยังเป็นกรอบเช้าบ้าง กรอบบ่ายบ้างอีกต่างหาก  หลายเรื่องราวจึงกระโดดไปมา

ข่าวสารที่ได้รับที่จะเท่าทันเหตุการณ์มากที่สุดก็คือจากวิทยุ  ซึ่งก็อุดมไปด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับสรรพคุณของบรรดายาต่างๆและเครื่องประทินผิว มากกว่าจะเป็นข่าวสารที่มีสาระก้าวทันโลก  ก็ยังโชคดีครับ ที่ยังมีการกระจายเสียงด้วยคลื่น AM ซึ่งสัญญาณสามารถแพร่ไปได้ไกลในทุกสภาพภูมิประเทศ     

ในปัจจุบันนี้ คลื่น AM ก็ยังมี แต่รับได้กระท่อนกระแท่นมาก เพราะเครื่องรับวิทยุพื้นฐานสำหรับสัญญาณ AM ไม่ได้มีการพัฒนาเท่าที่ควร หันไปพัฒนาสำหรับคลื่น FM กันหมด ซึ่งคลื่นในระบบ FM นี้ไม่ค่อยจะกระจายไปถึงพื้นที่ไกลปืนเที่ยง แถมส่วนมากก็มีแต่เพลง มีข่าวสั้น 1-2 นาทีคั่นเป็นช่วงๆ (ฟังออกแต่ไม่รู้เรื่องราว) และข่าวที่ส่งกระจายออกมา...(ก็แล้วแต่จะวิพากษ์นะครับ)   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 24 ม.ค. 16, 19:35

ก็มีตัวจักรกลที่สำคัญตัวหนึ่งที่ทำให้ระบบต่างๆในชนบทห่างไกลมันเดินได้ มีการไหลเวียนขององค์ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และการเชื่อมโยงผูกพันกันในเรื่องต่างๆ (ความมั่นคง ความปลอดภัย การศึกษา สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ)  ...ตชด. ครับ

ผมเข้าไปทำงานในพื้นที่ห่างไกลอยู่นาน ก็เห็น ครู กับ ตชด. นี่แหละที่เป็นกาวช่วยปะ ช่วยเชื่อม ช่วยปะติดปะต่อความต่างและความห่างระหว่างสังคมเมืองกับสังคมชนบท ให้สามารถเดินไปได้ด้วยกันตามสมควรแก่เหตุ       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 25 ม.ค. 16, 20:28

ตชด. ถูกส่งไปประจำการและปฏิบัติการอยู่ในพื้นที่ตะเข็บชายแดน ในพื้นที่แนวเขตประมาณไม่เกิน 25 กม.จากชายแดน ?? 

เขามีฐานอยู่เป็นจุดๆ แต่ก็มีการเดินตระเวณไปตามชุมชนบ้านต่างๆ 

หน้าที่หลักก็คือการสร้างและรักษาความมั่นคง ส่วนหน้าที่รองนั้นมีหลากหลาย ตั้งแต่การข่าว การพัฒนาชุมชน การสอนหนังสือ การพ้ฒนาอาชีพ การสาธารณสุข  .....ฯลฯ มากมายจริงๆ

แต่หนึ่งในนั้นที่ผมเห็นก็คือ ตชด.เป็นเสมือนเส้นเลือดที่ทำให้เกิดการถ่ายเทไหลไปไหลมาของข้อมูลข่าวสาร  รวมถึงยาบำรุงที่ทำให้ร่างกายส่วนปลายทั้งหลายยังคงยังดำเนินวิถีต่อไปได้ ฯลฯ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 26 ม.ค. 16, 18:49

เล่าเลยเถิดมาถึง ตชด. ก็เพียงเพื่อจะบอกว่า ในชนบทห่างไกลใกล้พื้นที่ชายแดนนั้น มีเพียงครูกับ ตชด.เท่านั้นที่เป็นผู้ดำเนินภารกิจเสมือนหนึ่งเป็นตัวแทนของส่วนราชการส่วนกลางทุกๆหน่วย  ทั้งสองจึงมีความเชื่อมโยงและผูกพันกันอย่างฉันมิตร   ในพื้นที่ ครูจะได้รับการสนับสนุนจาก ตชด.ในเกือบจะทุกเรื่อง    เป็นภาพคล้ายๆกับว่า ตชด.เป็น messenger ครูเป็นผู้ deliver

แท้จริงแล้ว ภาพของชนบทห่างไกลในพื้นที่ไกลปืนเที่ยงทั้งหลาย ที่เราเห็นทั้งในเชิงของรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายเหล่านั้น เกือบจะกล่าวได้ว่ามาจากการปฎิบัติการ (execute) ของครูและ ตชด. เพียงไม่กี่คนในพื้นที่นั้นๆ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 26 ม.ค. 16, 19:11

ด้วยที่ว่าพอจะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร  เมื่อครั้งยังทำงานเข้าป่าดงอยู่นั้น ผมจะซื้อหนังสือพิมพ์หลากหลายฉบับ และขนมสำหรับเด็กติดตัวไปด้วยเสมอ  หนังสือพิมพ์นั้นเมื่อมีเวลาว่าง ทุกคนในคณะก็จะอ่าน อ่านซ้ำไปซ้ำมา อ่านทุกหน้าและแทบจะทุกตัวอักษร แล้วก็จะพับเก็บสะสมไว้อย่างดี มันเป็นเครื่องแก้เหงาได้อย่างดีทีเดียว  เมื่อผ่านโรงเรียนก็ส่งต่อให้ครู อย่างน้อยก็ช่วยแก้เหงาให้ครู และครูก็พอจะติดตามข่าวคราวต่างๆได้บ้าง  ส่วนขนมเด็กนั้นก็แจกเด็กในหมู่บ้านไปตามวาระอันควร

ปัจจุบันนี้สภาพต่างๆเปลี่ยนไปมากแล้ว ครูทั้งหลายเข้าถึงข่าวสารได้ง่าย แต่มันก็เป็นข่าวสารทางไกลที่น่ากลัว มั่วไปหมด มีทั้งจริง มีทั้งเท็จ มีทั้งสร้างขึ้น มีทั้งบิดเบือน 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.039 วินาที กับ 19 คำสั่ง