ราชาธิราชเป็นพงศาวดารมอญที่ถูกแปลเป็นไทยในช่วงทำ "พม่าศึกษา" ช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ส่วนข้าวซอย แกงฮังเล นั้นผมอยากจะเดาว่าเป็นอาหารของ "คนไท" เนื่องจากในประวัติศาสตร์นั้น กลุ่มรัฐไทซึ่งได้แก่ ล้านนา ไทยใหญ่(ชาน) สิบสองปันนา ลาว นั้นมีความสัมพันธ์กันใกล้ชิดกันมากกว่าสยามซึ่งอยู่ในลุ่มเจ้าพระยาครับ คงต้องวานผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารมาต่อมังครับ ไม่ทราบคุณพวงร้อยจะได้กลิ่นหรือยัง มาช่วยกันเปิดประเด็นต่อหน่อยสิครับ
ขอตั้งข้อสังเกตว่าการถ่ายทอดวัฒนธรรมของไทยกับพม่านั้นมีค่อนข้างจะน้อย ดูว่าส่วนที่พม่ารับจากไทยไปนั้นจะมีมากกว่าอันเนื่องมาจากการกวาดต้อนช่างฝีมือ นางละคร และสารพัดผู้เชี่ยวชาญจากโยเดียไปในช่วงการเสียกรุงทั้งสองครั้ง ที่ว่าการถ่ายทอดวัฒนธรรมมีน้อยนั้นขอตั้งข้อสังเกตไว้สองอย่างคือ
1.มีการสงครามกันระหว่างอยุธยากับพม่าอยู่เป็นส่วนมากของช่วงเวลาที่พม่าแข็งแกร่งมีอิทธิพลในลุ่มแม่น้ำอิรวดีและสาละวิน
2.ต่างฝ่ายมีเส้นทางการค้าของตนเอง ไม่ต้องพึ่งพากัน อยุธยาอาศัยอ่าวไทย ส่วนพม่าใช้อ่าวเมาะตะมะ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นจุดหนึ่งที่ทำให้เกิดความขัดแย้งกับสยามและพม่าบ่อยมาก ที่สำคัญคือ บริเวณนี้เป็นดินแดนของชาวมอญ
ในแง่ความสัมพันธ์ยุคใหม่ ผมไม่แน่ใจนักว่าพม่าจะรับวัฒนธรรมของไทยเข้าไปมากกว่าหรือไม่ เพราะไม่เคยเข้าไปในพื้นที่ที่เรีกว่า"เจริญ"ของพม่าปัจจุบัน ซึ่งคนอาจจะดู UBC กันอยู่ แต่เท่าที่เคยขับรถเข้าไปในแดนพม่าตรงด่านเจดีย์สามองค์ น่าสังเกตว่าคนพม่าแถวนั้นฟังภาษาไทยกันไม่เข้าใจ ต่างจากชายแดนลาว และเขมรที่เคยไปสัมผัสมา ถ้าจะให้เดาก็คงต้องเป็นเพราะไม่มีโทรทัศน์ดูกันแน่เลยครับ
