เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 6436 ภาษาอเมริกันวันละคำ Reflecting มองอดีตเพื่อค้นหาอนาคต
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 30 ธ.ค. 15, 08:52

ถ้าลูกหลานของเรายังอยู่ในวัยเรียน   เราควรจะถามตัวเองว่า   เราอยากให้เขาได้รับการศึกษาอบรมจากครูบาอาจารย์ในแบบที่จะส่งเสริมพัฒนาการทางความคิดของเขา   ทำให้เขาเติบโตขึ้นมาเป็นบุคลากรที่มีทักษะเพียบพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจแบบดิจิตอล    หรือเราอยากให้เขาได้รับแต่การศึกษาที่เน้นเรื่องท่องจำเป็นหลัก    ซึ่งจะไม่เอื้อแต่อย่างใดเลยต่อการคิดหรือวิเคราะห์ปัญหาที่เขาจะต้องเผชิญในชีวิตประจำวันเมื่อเขาเติบโตเข้าสู่วัยทำงานแล้ว    เราอยากให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งกำเนิดของการเรียนรู้   เป็นโรงบ่มเพาะความคิดอ่านของลูกหลานเราให้เปิดกว้าง   หรือเป็นเครื่องมืออีกชนิดหนึ่งสำหรับการควบคุมความคิดของเขาให้อยู่แต่ในกรอบแบบเดิมๆ  ในขณะที่โลกรอบตัวเขามันหมุนเวียนเปลี่ยนไปทุกวันจนผู้ใหญ่อย่างเราเองก็ตามไม่ทัน             

เราก็ต้องถามตัวเองด้วยว่ามีอะไรบ้างที่เราควรงด ละเว้น หรือหยุดทำ  การเลิกให้การศึกษาแก่เด็กในแบบที่เน้นให้พวกเขาท่องจำตะพึดตะพือก็อาจจะเป็นสิ่งหนึ่งที่เราต้องเลิก   เพราะมันจะไม่ช่วยให้เขาสามารถวิเคราะห์ปัญหาและคิดนอกกรอบได้แน่ๆ   และถ้าเราอยากให้ลูกหลานของเราเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีความคิดสร้างสรรค์  มีทักษะที่จะช่วยให้เขาเอาตัวรอดได้ในระบบเศรษฐกิจที่จะพึ่งพาข้อมูลและเทคโนโลยีมากขึ้น  การอบรมสั่งสอนให้เขาเอาแต่เชื่อฟังผู้ใหญ่ ไม่เถียง ไม่คิดเอง  ไม่กล้าแสดงออก  ก็คงไม่ช่วยให้เขาได้สั่งสมหรือสร้างทักษะและความคิดอ่านในแบบที่เราอยากให้เขามีเป็นแน่     

ความเป็นจริงก็คือ ผู้ใหญ่ที่มีหน้าที่จัดการศึกษากำลังกระทำกับลูกหลานของเราสวนทางกับปรัชญาข้างต้น  ร้องไห้

คุณครูคับ ความคิดของผมถูกไหมคับ  รูดซิบปาก

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000100918

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 30 ธ.ค. 15, 09:45

จนได้...
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 30 ธ.ค. 15, 09:58

ขอบคุณคุณ SILA ค่ะ  อยา่กจะบอกว่าเพลงนี้เป็นเพลงโปรดเพลงหนึ่งของดิฉันสมัยเด็ก ๆ ก็กลัวคนอื่นจะรู้หมดว่าเราอายุเท่าไหร่ 555

       ถึงไม่บอกชื่อเพลงโปรดสมัยเด็กๆ แต่เรื่องราวข้อคิดจากบทความที่เขียน, คนอ่านก็พอจะนึกรู้ได้
ว่าผู้เขียนไม่ใช่มือใหม่ ครับ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 30 ธ.ค. 15, 10:06


ในสายวิทยาศาสตร์ ที่ผมเรียนมาก็เน้นอ่านเขียนให้เยอะๆ และท่องจำให้มากๆด้วย
จึงจะนำไปใช้ได้ทันท่วงที

นักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงท่านหนึ่งเคยกล่าวว่า วิธีการสอนปรัชญาวิทยาศาสตร์ มีสองวิธีคือ

แบบบาบิโลน และ แบบกรีก

แบบบาบิโลน นักเรียนต้องหัด อ่านหนังสือ ท่องจำ เลียนแบบ ทำแบบฝึกหัดแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้ครบทุกปัญหา ทุกแนว
ฝึกฝนทุกโจทย์ที่เคยมีมาในโลก จึงจะสามารถจบการศึกษาได้

แบบกรีก มุ่งให้นักเรียนเข้าใจเฉพาะหลักการ และทฤษฎีที่สำคัญให้ถ่องแท้ แล้วนำไปประยุกต์ใช้ต่อไปภายหน้า

ปรากฏว่าปัจจุบันการสอนทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงในมหาวิทยาลัยชั้นนำใช้แบบบาบิโลนกันหมด
ส่วนสายอื่นผมไม่ทราบว่าสอนกันอย่างไร
บันทึกการเข้า
ปัญจมา
อสุรผัด
*
ตอบ: 100


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 30 ธ.ค. 15, 10:40


ในสายวิทยาศาสตร์ ที่ผมเรียนมาก็เน้นอ่านเขียนให้เยอะๆ และท่องจำให้มากๆด้วย
จึงจะนำไปใช้ได้ทันท่วงที

นักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงท่านหนึ่งเคยกล่าวว่า วิธีการสอนปรัชญาวิทยาศาสตร์ มีสองวิธีคือ

แบบบาบิโลน และ แบบกรีก

แบบบาบิโลน นักเรียนต้องหัด อ่านหนังสือ ท่องจำ เลียนแบบ ทำแบบฝึกหัดแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้ครบทุกปัญหา ทุกแนว
ฝึกฝนทุกโจทย์ที่เคยมีมาในโลก จึงจะสามารถจบการศึกษาได้

แบบกรีก มุ่งให้นักเรียนเข้าใจเฉพาะหลักการ และทฤษฎีที่สำคัญให้ถ่องแท้ แล้วนำไปประยุกต์ใช้ต่อไปภายหน้า

ปรากฏว่าปัจจุบันการสอนทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงในมหาวิทยาลัยชั้นนำใช้แบบบาบิโลนกันหมด
ส่วนสายอื่นผมไม่ทราบว่าสอนกันอย่างไร


เรื่องการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยนี่น่าจะคุยกันได้ยาวค่ะ    เพราะจริงๆ แล้วที่ผู้เจียนพูดไปนั่นก็ออกจะเป็นการ generalize จนเกินไป  เพราะตัวอย่างที่คุณ  Koratian  ให้มานั้นก็แสดงให้เห็นแล้วว่า  การเรียนการสอนที่จำเป็นต้อบงท่องจำมันก็มีอยู่   สมัยเด็กๆ  ก็มักจะได้ยินคนพูดว่า วิชานิติศาสตร์คือวิชาที่ต้องท่้องจำเยอะ  เพราะต้องแม่นเนืิ้อหาของกฎหมายแต่ละมาตรา  แต่เมื่อนำไปใช้  หลักการของนิติศาสตร์อาจจะไม่ใช่อะไรที่เราต้องท่องจำก็ได้  แต่อยู่ที่การตีความ  (อันนี้ขอให้ผู้รู้จริงเข้ามาแนะนำหน่อยนะคะ เพราะตัวเองเรียนรัฐศาสตร์กับสื่อสารมวลชนมา  ไม่ใช่นิติศาสตร์)   

ที่ดิฉันคิดว่าน่าจะสำคัญกว่าการท่องจำ  ก็คือการ "เรียนรู้"  ซึ่งไม่ได้มาจากการอ่านตำราหรือท่องจำแต่เพียงอย่างเดียว   แต่มาจากการฟังครูสอน  การคิดเอง  การถกเถียงประเด็นต่าง ๆ ในห้องเรียน  การทำงานส่งอาจารย์  การค้นคว้าในห้องสมุด  และการไปเปิดหูเปิดตารับฟังความคิดเห็นของผู้รู้ในการสัมมนานอกห้องเรียนด้วย     วันก่อนไปเจอ transcript สมัยเรียนโทที่ Johns Hopkins  โดยบังเอิญ  ยังตกใจเลยว่า  "เฮ้ย  เราลงเรียนวิชาการเมืองเปรียบเทียบ ฟิลิปปินส์-อินโดนีเซีย  ด้วยหรือนี่  ทำไมจำเนื้อหาอะไรไม่ค่อยได้เลยฟะ"   นั่นยิ่งทำให้เชื่อมั่นใหญ่ว่า  การเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยนั้นไม่ควรจะมุ่งแต่การเรียนการสอนในห้องเรียนแต่เพียงอย่างเดียว   Because I don't remember what I STUDIED.  But I remember what I LEARNED.  และสิ่งที่เรียนรู้จากหลักสูตรนั้นทั้งหลักสูตรก็คือ  ก่อนที่เราจะโน้มน้าวให้ผู้อื่นมาเห็นดีเห็นงามกับนโยบายต่างๆ ของเราได้นั้น  เราต้องรู้ก่อนว่าเขาต้องการอะไร  แล้วดูว่าจะมีตรงไหนบ้างที่เราไปพบกับเขาครึ่งทางได้  แปลสั้นๆ ว่าเอาใจเขามาใส่ใจเรานั่นแหละค่ะ   นี่คือสิ่งเดียวที่เรียนรู้จากหลักสูตรปริญญาโท  และนำมาใช้กับชีวิตประจำวันจนทุกวันนี้   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 30 ธ.ค. 15, 16:08

   เรียนเพื่อจำ เป็นขั้นตอนแรกของการเรียน   วิชาอะไรๆก็ต้อง"จำ"ก่อนเป็นพื้นฐานทั้งนั้นละค่ะ   ภาษาไทยถ้าคุณจำตัวอักษร 44 ตัวไม่ได้ จำสระเสียงสั้นเสียงยาวไม่ได้   จำอักษรสูง กลาง ต่ำ ไม่ได้  จำการผันวรรณยุกต์ไม่ได้    คุณก็จะไม่มีวันเขียนภาษาไทยได้ถูกต้อง     ไม่ต้องพูดถึงวิชายากๆอย่างการแพทย์  ถ้าจำอาการโรคต่างๆไม่ได้จะวินิจฉัยโรคได้อย่างไร
   ประวัติศาสตร์ก็เหมือนกัน   ถ้าหากว่าจำไม่ได้ว่าพระเจ้าปราสาททองมาก่อนหรือมาหลังพระเจ้าบรมโกศ     เราจะไปเข้าใจถึงการติดต่อการค้าขายระหว่างอยุธยากับประเทศตะวันตก ที่นำมาสู่ความมั่งคั่งของอาณาจักรได้ละหรือ?
  แต่จำแล้วอย่าหยุดแค่ท่องจำ   ขั้นต่อไปคือการใคร่ครวญ   วิเคราะห์และการประเมินผล  เพื่อนำไปสู่การสรุปผล     ตรงนี้ต่างหากคือความเข้าใจวิชาที่เรียน  แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิต
  เรียกว่า Learning is best when put into practice

   วิชาหลักสูตรที่เคยเรียนมา  มีข้อกำหนดไว้ข้อแรกว่า ให้คำนึงถึงจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ก่อนจะวางหลักสูตรการเรียนการสอน   สมมุติว่าตั้งคณะขึ้นเพื่อผลิตคนทำงานออกไป ใช้งานได้ทันที   ไม่ตกงานในสาขานั้นๆ ก็ต้องรู้ว่าสังคมต้องการคนมีความรู้ทางไหน  เรียนอะไร เข้มข้นหรือกว้างขวางแค่ไหน  จึงจะไปรองรับอาชีพนั้นได้       ไม่ใช่ว่าฉันจะผลิตเสียอย่าง   ตรงไม่ตรง ไม่ใช่หน้าที่    จบไปเป็นหน้าที่ของหน่วยงานจะไปฝึกบัณฑิตใหม่เอาเอง   อย่างนั้น 4 ปีในมหาวิทยาลัยก็สูญเปล่า 
    ที่คุณปัญจมาเล่าข้างบนนี้ก็น่าคิด    ระบบการศึกษาของเรา มีแนวโน้มว่าจะไม่มีการพบกันครึ่งทางระหว่างครูกับนักเรียน  แต่เป็นฝ่ายผู้วางหลักสูตรกำหนดเอาเองว่าอะไรดีที่สุดสำหรับนักเรียน แล้วบรรจุวิชาเข้าไป    เด็กมีหน้าที่เรียนไป  มันก็เลยออกทำนองคำพูดที่ว่า Make him an offer he can't refuse  เสนอในสิ่งที่อีกฝ่ายไม่อาจปฏิเสธได้  ไงคะ


   

   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 19 คำสั่ง