เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 7252 ของขวัญโลกไม่ลืม
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


 เมื่อ 23 ธ.ค. 15, 10:34

                          ของขวัญโลกไม่ลืม
 
           ช่วงเทศกาลส่งท้ายปลายปี telegraph.co.uk นำเสนอบทความ
    
             Christmas: Five of the world's most expensive gifts

      รวบรวมรายการของขวัญแพงเว่อร์เลอค่าแบบว่าลืมโลกและโลกไม่ลืม น่าจะเหมาะสำหรับ
อ่านเล่นๆ เพลินวาร ช่วงเทศกาลวันหยุดยาว หนาวบ้าง,ไม่หนาวบ้าง ครับ

(healthywomen.org)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 23 ธ.ค. 15, 10:37

           รายการ The dearest gifts for the dearest ones กันเริ่มต้นด้วย                  

                         Koh-i-Noor diamond

             ย้อนเวลากลับไปนานไกลกว่าศตวรรษ ในปี 1850 ผู้สำเร็จราชการบริเตนแห่งอินเดีย
(Britain's governor-general of India) ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเพชรขนาด 105 กะรัต ซึ่งจัดว่า
เป็นเพชรที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้นนามว่า  Koh-i-Noor แด่ควีนวิคทอเรีย      
             มูลค่าจะมหาศาลแค่ไหนไม่เป็นที่ทราบได้ แต่เพชรเม็ดนี้ได้ถูกนำไปประดับมงกุฎบริติช
ซึ่งมีมูลค่าระหว่าง 10-12.7 พันล้านปอนด์

(nationalturk.com)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 23 ธ.ค. 15, 10:45

(alshindagah.com  & orderofsplendor.blogspot.com)
        
        เพชรระดับตำนานเม็ดนี้ กล่าวขานว่าถูกค้นพบเมื่อ 3200 B.C.!? แต่ปูมประวัติโดยทั่วไป
ระบุว่า ได้ถูกขุดพบในศตวรรษที่ 13 จากเหมืองในรัฐอันตระประเทศ(Andhra Pradesh)
        ผ่านการครอบครองเป็นสมบัติผลัดกันชมมาหลายมือ หนึ่งในนั้นคือ Shah Jahan แห่งราชวงศ์
โมกุลผู้สร้างทัช มาฮาล ตัวเพชรเองได้ผ่านการเจียระไนจนมีขนาดลดลงไปจากเดิมที่ตำนานเล่าขานว่า
มีขนาดใหญ่โตมโหฬารถึงเกือบ 800 กะรัต
        นาม Koh i noor นี้ได้มาในปี 1739 เมื่อ Nadir Shah กษัตริย์เปอร์เซียยาตราทัพรุกราน
อินเดียและเรียกเพชรนี้ว่า Koh i noor ซึ่งเป็นภาษา Persian-Arabic แปลว่า Mountain of Light

(kevinrushby.com)      


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 23 ธ.ค. 15, 10:47

           Lord Dalhousie ริบเพชรนี้ไปจาก Dalip Singh โอรสวัย 8 ชันษาแห่งมหาราชา
Ranjit Singh เพื่อเป็นค่าชดเชยให้อังกฤษหลังการสิ้นสุดสงครามปราบขบถซิกซ์ที่รัฐปัญจาบ
(Anglo-Sikh War)
          เพชรเม็ดนี้ออกจากท่าเรือของอินเดียเมื่อวันที่ 6 เมษายน 1850 แล้วนำขึ้นทูลเกล้าฯ
ถวายควีนวิคทอเรียเมื่อวันที่ 3 ก.ค. ขนาดในขณะนั้นอยู่ที่  186 กะรัตเจียระไนเป็นรูปทรงแบบโมกุล


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 23 ธ.ค. 15, 10:58

           เมื่อนำออกจัดแสดงสู่สาธารณชนในปี 1851 ผลปรากฏว่าผู้คนพากันผิดหวัง ทั้งเรื่องการจัดวาง,
การจัดแสงที่ไม่ส่องต้องสะท้อนเป็นประกาย และสไตล์การเจียระไนที่ไม่ใช่แบบที่นิยม(brilliant cuts)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 23 ธ.ค. 15, 11:47

ประชาชนเข้าชมเพชรโคอินูร์ ที่นำออกจัดแสดงในงาน Great Exhibition ครั้งนั้น
(gooddreads.com & bl.uk)



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 23 ธ.ค. 15, 11:51

             ในปี 1852 Prince Albert พระสวามี จึงได้ทรงกำกับดูแลให้เจียระไนใหม่ มีผลให้
ขนาดเพชรโคอินูร์ลดลง(เป็น 108.93 กะรัต) พร้อมกับมูลค่าและคุณค่าทางประวัติศาสตร์และ
แร่วิทยาก็ลดลงตามไปด้วย
             เพชรรูปทรงใหม่ได้ถูกนำไปประดับเข็มกลัดอาภรณ์ที่ควีนทรงหลายครั้ง
(theimperialcourt.tumblr.com)


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 23 ธ.ค. 15, 12:38

มาลงชื่อเข้าเรียนและรอรับของขวัญปีใหม่จากทั้งท่านอาจารย์ไม่ใหญ่ทั้งหลาย  ท่านอาจารย์ใหญ่ และท่านอาจารย์ใหญ่กว่าครับ  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 23 ธ.ค. 15, 13:46

        โอ! ตกใจ คุณชายมาเยือน, ยินดีอย่างยิ่งนักแต่ขอชี้แจงว่า ที่นี่ไม่ใช่ห้องเรียน แต่

             นี่คือสถาน...แห่งย่านกระทู้ ที่ขอเชิญมาสู่   ฉันยังไม่รู้ เรื่องเล่าเหล่านี้ มากเท่าไหร่นัก

เป็นการพูดคุยกัน แบ่งปันเพิ่มเติมเรื่องราวกันมากกว่าครับ คุณชาย ยิ้ม            
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 23 ธ.ค. 15, 14:55

นี่คือสถาน...แห่งย่านกระทู้ ที่ขอเชิญมาสู่   ฉันยังไม่รู้ เรื่องเล่าเหล่านี้ มากเท่าไหร่นัก

อาจมียิ้มอาบ ฉาบบนสีหน้า ว่ามีน้ำใจ  แต่สิ่งซ่อนไว้ ในดวงจิต คือความริษยา  ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 23 ธ.ค. 15, 15:09

เพชรเม็ดนี้ออกจากท่าเรือของอินเดียเมื่อวันที่ 6 เมษายน 1850 แล้วนำขึ้นทูลเกล้าฯ
ถวายควีนวิคทอเรียเมื่อวันที่ 3 ก.ค. ขนาดในขณะนั้นอยู่ที่  186 กะรัตเจียระไนเป็น รูปทรงแบบโมกุล




รูปทรงเดียวกับ "เพชรเกรทโมกุล" ของกษัตริย์สยามในนิยายเรื่อง Edison's Conquest of Mars เขียนโดย Garrett P. Serviss เป็นเรื่องการชำระแค้นของชาวโลกต่อชาวอังคาร   ตกใจ

"มิตรชาวตะวันตกของข้าพเจ้า" กษัตริย์สยามตรัส "คงสนใจกับอัญมณีเม็ดนี้มากทีเดียว เพราะที่ผ่านมาเคยมีชาวยุโรปเพียงคนเดียวเท่านั้นเคยได้เห็น หนังสือของท่านเล่าว่าในสมัยศตวรรษที่ ๑๗ นักผจญภัยฝรั่งเศสชื่อทาเวเนียร์ได้พบโคตรเพชรในประเทศอินเดีย แต่แล้วมันก็หายไปเหมือนดาวตก
  
ท่านทั้งหลายรู้จักมันในนามเพชรเกรทโมกุล ข้าพเจ้าจะไม่ขอบอกว่าได้มันมาได้อย่างไร แต่ก็ขอยืนยันว่ามันเป็นของข้าพเจ้าด้วยความซื่อสัตย์ และวันนี้ข้าพเจ้าพร้อมเสียสละมันเพื่อปกป้องดาวบ้านเกิดจากศัตรูที่หวังทำลาย"
 
เมื่อพระองค์ตรัสจบ ผู้นำโลกต่างก็ส่งเสียงอื้ออึงด้วยความตกตะลึง
 



เรื่องแต่งเติมเสริมต่อนี่เว่อมากๆ โดยเฉพาะเรื่องเพชร "มหาราชโมกุล" หรือ The Great Mogul" ที่มั่วสนิทว่าตกมาอยู่ในครอบครองของพระมหากษัตริย์สยาม
เคยเล่าไว้ในกระทู้เก่าเรือนไทยเรื่องเพชรเม็ดนี้แล้วค่ะ    เป็นเพชรรูปไข่ไก่ผ่าครึ่ง  ขุดได้จากเหมืองในอินเดีย   หลังจากตกไปอยู่ในครอบครองของกษัตริย์เปอร์เชีย  แล้วก็หายสาบสูญไปตั้งแต่ค.ศ. 1747  



ถ้าเป็นไปตามนิยาย ต้องถือว่า "เพชรเกรทโมกุล" เม็ดนี้เป็น "ของขวัญโลกไม่ลืม" จริง ๆ ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 23 ธ.ค. 15, 17:34

          
อ้างถึง
นักผจญภัยฝรั่งเศสชื่อทาเวเนียร์

นี้ปรากฏในเรื่องเล่าของเพชรโคอินูร์ เมื่อตอนที่เพชรได้ตกทอดสู่โอรสของ Shah Jahan
เขาได้มีโอกาสเข้าเฝ้า, ได้เห็นและสเกทช์ภาพเพชรโคอินูร์ไว้ในปี 1665
(jewelry-history.com)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 24 ธ.ค. 15, 07:59

         
อ้างถึง
นักผจญภัยฝรั่งเศสชื่อทาเวเนียร์

นี้ปรากฏในเรื่องเล่าของเพชรโคอินูร์ เมื่อตอนที่เพชรได้ตกทอดสู่โอรสของ Shah Jahan
เขาได้มีโอกาสเข้าเฝ้า, ได้เห็นและสเกทช์ภาพเพชรโคอินูร์ไว้ในปี 1665
(jewelry-history.com)

เพชรเม็ดที่ Tavernier สเกทช์ไว้เมื่อปี ๑๖๖๕ ข้อมูลทางหนึ่งกล่าวว่าเป็น "The Great Mogul"  ยิงฟันยิ้ม

ข้อมูลจากหนังสือ Faceting History: Cutting Diamonds & Colored Stones โดย Glenn Klein  หน้า ๑๘๓-๑๘๔


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 24 ธ.ค. 15, 09:40

ย่องเข้ามา sit in  อยู่หลังห้อง   


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 24 ธ.ค. 15, 10:07

นี่คือสถาน...แห่งย่านกระทู้ ขอต้อนรับอาจารย์มาสู่ ครับ

         จากแหล่งข้อมูลจะกล่าวความได้เหมือนกันว่า มหาโมกุลและโคอินูร์นี้เป็นสมบัติตกทอดมายัง
โอรสแห่ง Shah Jahan. Tavernier ได้เข้าเฝ้าและสเก็ทช์ภาพเพชรนั้น. ขนาดเดิมของเพชรที่
Tavernier เรียกว่า มหาโมกุลนั้นเท่ากับขนาดเดิมในตำนานของโคอินูร์(793 กะรัต). และ
         ชื่อโคอินูร์(ดังที่ได้กล่าวไว้) ได้มาในสมัยหลังราชวงศ์โมกุลเมื่อเปอร์เซียร์มารุกราน
          
          เพชรมหาโมกุลนั้นก็คือโคอินูร์ในเวลาต่อมา หรือว่าคือ Orloff ตามที่ Klein ตั้งข้อสังเกต?
หรือ เป็นตามที่หนังสือต้นทางที่วิกกี้นำรูปสเก็ทช์มาแสดง  ฮืม เชิญคุณเพ็ญอ่านเอาเรื่องต่อที่

     http://farlang.com/books/jean-baptiste-tavernier-travels-in-india-vol-ii#page=359      


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.052 วินาที กับ 20 คำสั่ง