เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8]
  พิมพ์  
อ่าน: 22760 ขุนหลวงพระยาไกรสี (เปล่ง เวภาระ)
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 05 มี.ค. 16, 10:28

คุณเพ็ญชมพูไม่ยอมให้จบค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 09 มี.ค. 16, 09:38

กลับมาต่อเรื่องที่ค้างอยู่

ด้านครอบครัว  ขุนหลวงพระยาไกรสีมีภรรยาคนแรกชื่อจัน  ถึงแก่กรรมในปี ๒๔๓๖   ท่านสมรสใหม่กับคุณหญิงทองคำ  มีบุตรด้วยกัน ๔ คน  คือบุตรีชื่อชื่นจิต    บุตรชายชื่อสฤษดิลาภ  คนที่สามเป็นบุตรีชื่อผ่องศรี ชื่อนี้ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ   นำมาจากสร้อยพระนาม  และคนสุดท้องเป็นชายชื่อสฤษดิพร

อาการป่วยโรคท้องมานของขุนหลวงพระยาไกรสี น่าจะเกิดขึ้นในระยะเวลาไม่กี่เดือน  ทำให้อาการท่านทรุดลงรวดเร็ว จนถึงแก่อนิจกรรมเมื่ออายุ ๓๘ ปี ๖ เดือนเท่านั้นเอง      ศพของท่านเก็บไว้  ยังไม่ได้จัดการตามประเพณี    ซึ่งในสมัยนั้นไม่ใช่เรื่องแปลก  เพราะนิยมเก็บศพไว้เผากันอย่างน้อยก็ ๑ ปี  ไม่ใช่ ๗ วันเผาเหมือนสมัยนี้      ศพบางศพก็เก็บไว้นานกว่านั้น  บางครั้งนานหลายปี  ด้วยเหตุผลหรือความจำเป็นของแต่ละครอบครัว

ส่วนศพของขุนหลวงพระยาไกรสีเก็บไว้ด้วยเหตุใด ยังไม่พบคำตอบ    มีแต่เสียงทางอินทรเนตร ซึ่งหาไม่เจอว่าที่ไหน ว่าอาจเกิดจากการจัดการมรดกที่ยังไม่ลงตัว       คุณหญิงทองคำผู้ภรรยาซึ่งมีอายุยืนยาวมาจนประมาณพ.ศ. ๒๔๘๐  ก็มิได้บอกบุตรหลานว่าเก็บศพสามีไว้ ณ วัดใด      ในเมื่อเจ้าคุณท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่ออายุยังไม่ถึง ๔๐ ด้วยซ้ำ  ลูกๆแต่ละคนก็ยังอยู่ในวัยเยาว์  ทำให้การรับรู้ในเรื่องนี้ขาดช่วงไป    คุณผ่องศรีอายุเพียง ๔ ขวบ  วัยแค่นี้คงยากจะมีความทรงจำเกี่ยวกับบิดา      เรื่องอนิจกรรมของท่านที่ยังไม่ได้มีพระราชทานเพลิงจนแล้วจนรอดจึงกลายเป็นความลับดำมืดที่บุตรธิดาไม่มีโอกาสรู้   ล่วงเลยมาจนถึงยุคหลานของท่าน

หลานตาคนหนึ่งของขุนหลวงพระยาไกรสี ชื่อมารุต บุนนาค  เป็นบุตรเกิดจากคุณผ่องศรี กับพระสุทธิสารวินิจฉัย     คุณผ่องศรีถึงแก่กรรมเมื่ออายุเพียง ๓๗ ปี   ลูกๆยังอยู่ในวัยเยาว์ ก็เลยไม่มีโอกาสรู้เรื่องคุณตา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 09 มี.ค. 16, 17:20

   หลานปู่หลานตาของขุนหลวงพระยาไกรสี ได้รับทราบเพียงว่า ศพของท่านยังอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งในประเทศไทยนี่แหละ  แต่จะอยู่ที่ใดไม่มีใครทราบ   เพราะคนที่รู้ดีคือคุณหญิงทองคำก็ถึงแก่กรรมไปแล้วตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2     คนที่รู้เพียงเลาๆว่าศพเจ้าคุณตายังไม่ได้รับพระราชทานเพลิงศพตามประเพณี คือหลานตาชื่อคุณมารุต บุนนาค 
    คุณมารุตได้รับคำบอกเล่าจากผู้ใหญ่ซึ่งยังจำเหตุการณ์เก่าๆได้    คือท่านผู้หญิงดุษฎี มาลากุล  ธิดาของเจ้าพระยามหิธร ซึ่งเคยเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม     และเคยรับราชการร่วมกับขุนหลวงพระยาไกรสีที่ศาลพระราชอาญา      ว่าศพของขุนหลวงพระยาไกรสี ยังไม่มีการดำเนินการตามประเพณี    คำบอกเล่านี้ทำให้คุณมารุตไม่สบายใจมาก     แต่ท่านกับญาติก็ไม่มีช่องทางที่จะค้นหาได้ 
    จนกระทั่งปาฎิหาริย์มาเอง

     จากพ.ศ. 2444  อันเป็นปีที่ขุนหลวงพระยาไกรสีถึงแก่อนิจกรรม    จำเนียรกาลล่วงเลยมาถึงพ.ศ. 2525  เป็นเวลา 81 ปี    มีการฉลองครบสองร้อยปีกรุงรัตนโกสินทร์     กระทรวงยุติธรรมจัดนิทรรศการทางกฎหมายแสดงแก่ประชาชน ในเดือนเมษายน   โดยทางกระทรวงมอบหมายคุณทวี กสิยพงศ์  ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา และเลขาธิการสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา เป็นประธานอนุกรรมการดำเนินการ
      อนุกรรมการชุดนี้จัดแสดงภาพนักกฎหมายคนสำคัญในอดีต  เผยแพร่ให้ประชาชนเข้าชมนิทรรศการได้    ในบรรดาภาพถ่ายเก่าแก่เหล่านั้นมีภาพของขุนหลวงพระยาไกรสี (เปล่ง เวภาระ)รวมอยู่ด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 09 มี.ค. 16, 17:33

       ในบรรดาประชาชนที่เข้าชม  มีพระครูประสาธน์ธรรมวิทย์  ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตร ฝั่งธนบุรี    นายมงคล วงศ์สมศักดิ์ ข้าราชการบำนาญ   และนายสมพงศ์ เถาประถม  นายป่าช้าของวัด เห็นภาพถ่ายและนามของขุนหลวงพระยาไกรสี     ในตอนนั้นหลานตาของท่านคือคุณมารุต บุนนาคดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมอยู่        ทั้งสามจึงแจ้งให้ทราบว่าที่วัดมีโลงศพเก่าแก่อยู่โลงหนึ่ง  ฝากไว้ที่วัดเป็นเวลา 80 ปีมาแล้ว  เป็นโลงไม้สักใหญ่ เข้าลิ้นไว้แข็งแรง  แม้สีทองที่ทาหลุดลอกไปแล้ว ก็ยังมีชื่อผู้วายชนม์เขียนไว้พออ่านออกว่า ชื่อขุนหลวงพระยาไกรสี (เปล่ง เวภาระ)
       โลงนี้ฝากไว้ที่วัดนมนานมาเกินกว่าใครจะจำได้    แม้ว่ามีการเปลี่ยนตัวเจ้าอาวาสมาหลายครั้ง   ล้างป่าช้ากันหลายหน และพระและกรรมการวัดก็ประชุมตกลงกันอย่างรอบคอบทุกหนว่า   โลงนี้เป็นโลงศพของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในอดีต ซึ่งทางวัดไม่อาจสืบหาเครือญาติได้     ก็สมควรจะเก็บรักษาไว้ จนกว่าลูกหลานจะมาพบ และดำเนินการตามประเพณี     ทางวัดจะไม่ด่วนเผาเองโดยพลการ
      พอคุณมารุตทราบก็พาคุณทวีและญาติพี่น้องไปที่วัดกัลยาณมิตร ฝั่งธน ทันที   ไปสำรวจแล้วพบว่าชื่อที่จารึกอยู่ที่โลง แม้เก่าคร่ำคร่าเต็มทีก็พออ่านออกว่าเป็นชื่อบรรพบุรุษของท่าน   เปิดโลงออกมายังมีโครงกระดูกรูปร่างสูงใหญ่   เนื้อหนังมังสาผุพังกลายเป็นดินหมดแล้ว   เหลือแต่กระดูกเท่านั้น
     คุณมารุตและญาติพี่น้องเห็นหลักฐานแล้วก็เชื่อโดยสนิทใจ ไม่มีข้อสงสัยว่านี่คือศพของคุณตาที่สาบสูญไปหลายสิบปีนั่นเอง    ข่าวนี้กลายเป็นข่าวครึกโครมลงหนังสือพิมพ์ไทยรัฐอยู่หลายวัน      เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ที่ขุนหลวงพระไกรสีได้ปรากฏตนขึ้นอีกครั้ง ร่วมฉลองสองร้อยปีกรุงเทพ ยังไม่พอ  ท่านยังปรากฏได้จังหวะเดียวกับที่หลานตาของท่านได้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม  สามารถจัดงานพระราชทานเพลิงศพได้อย่างสมเกียรติของท่าน   
    ข่าวนี้ก็ทำให้ชื่อเสียงของขุนหลวงพระยาไกรสี ที่จางหายไปจากสังคมไทย 81 ปีแล้ว ได้กลับมาปรากฎต่อสาธารณะ เป็นที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 09 มี.ค. 16, 17:40

    แม้ว่าขุนหลวงพระไกรสีได้ดำรงบรรดาศักดิ์ชั้นพระยา   แต่ในสมัยของท่าน  ท่านได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎสยามชั้นที่ 3  มัณฑนาภรณ์ และเหรียญดุษฎีมาลา     ตามฐานะในณะนั้น   บุคคลในระดับพระยายังไม่ได้มีโอกาสได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย     ทางกระทรวงยุติธรรมเห็นว่าท่านเป็นนักกฎหมายสำคัญท่านหนึ่งในประวัติศาสตร์  จึงได้ทำเรื่องเสนอเลขาธิการพระราชวัง    ขอพระราชทานเพลิงศพ  ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ   เลื่อนเกียรติยศประกอบหีบศพเป็นหีบทองลายสลัก  ฉัตรและกลอง  พร้อมกับพระราชทานผ้าไตร 5 ไตร เป็นกรณีพิเศษ ณ วัดเทพศิรินทราวาส
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 10 มี.ค. 16, 09:46

สมัยของท่าน  ท่านได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎสยามชั้นที่ 3  มัณฑนาภรณ์ และเหรียญดุษฎีมาลา 

หนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๖ ระบุว่าท่านได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ม. (มัณฑนาภรณ์มงกุฎสยาม ปัจจุบันคือ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย), ท.ช. (ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก คงได้รับพระราชทานในรัชกาลปัจจุบัน), และ ร.ด.ม. (เหรียญดุษฎีมาลา)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 10 มี.ค. 16, 11:45

ขุนหลวงพระยาไกรสีได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยาเป็นคนแรกในสยาม




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 10 มี.ค. 16, 12:49

มีหนังสือ แล้วหลอกให้เราเล่าอยู่ได้ ชิส์


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 10 มี.ค. 16, 16:01

มีหนังสือ แล้วหลอกให้เราเล่าอยู่ได้ ชิส์

เป็นผม ผมไม่ยอมครับแบบนี้  ท่านอาจารย์ใหญ่อย่ายอมเด็ดขาด ต้องปรับเสียให้เข็ด
(ความร้าวฉาน คืองานของเรา)


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 10 มี.ค. 16, 18:11

บ่างเนี่ย ย่างได้เหมือนกระรอกไหมคะ   ถามคุณตั้ง?


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 11 มี.ค. 16, 08:43

เป็นผม ผมไม่ยอมครับแบบนี้  ท่านอาจารย์ใหญ่อย่ายอมเด็ดขาด ต้องปรับเสียให้เข็ด
(ความร้าวฉาน คืองานของเรา)




รูปที่ท่านชายวิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์ นำมาแสดงคือ "กระรอกบิน" แสดงว่าท่านชายยังคงต้องการปกปิดโฉมหน้าที่แท้จริงอยู่

เข้ามาเกาะขอบเวที มุมแดงท่านเฒาว์ฌร์มภูว์ลูกจามจุฬี กับมุมน้ำเงิน เภ็ณย์ฌร์มภูว์ษิศย์ศามญ่าน ฮิฮิ งานนี้เหตุผลใครจะมีน้ำหนักกว่ากัน ในฐานะบ่างช่างยุ ต้องติดตามชมอย่างใกล้ชิด   เจ๋ง

นี่คือโฉมหน้าที่แท้จริงของท่านชาย  ยิงฟันยิ้ม

ตัวนี้   อีสปท่านเล่าว่าเป็นตัวช่างยุใช่ไหม  ยิ้ม
ชาวเรือนไทยเคยอ่านนิทานอีสปหรือเปล่าคะ




บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 12 มี.ค. 16, 01:39

บ่างเนี่ย ย่างได้เหมือนกระรอกไหมคะ   ถามคุณตั้ง?
ภาพอาหารหวานคาวโดยท่านอาจารย์ใหญ่ห่างหายไปจากเรือนนานแล้วตั้งแต่ท่านอาจารย์ใหญ่กว่าแซวหนักเมื่อปีที่แล้ว
ทำให้เรือนไทยขาดสีสันบรรยากาศที่คุ้นเคย
(ขออนุญาตแว้บซอยแยกนิดนึงครับ)
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 12 มี.ค. 16, 08:01

แหม เข้ากับเรื่องที่กำลังพูดเรื่องบ่างดีแท้ๆเชียวขอรับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 20 คำสั่ง