เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 8
  พิมพ์  
อ่าน: 22854 ขุนหลวงพระยาไกรสี (เปล่ง เวภาระ)
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 20 พ.ย. 15, 16:37

เนื่องจาก นายเปล่ง เรียนพระธรรมศาสตร์ที่อังกฤษ และบอกด้วยว่า เป็นกฎหมายฮินดู ดังนั้น คงไม่ใช่พระธรรมศาสตร์ฉบับเดียวกับที่ใช้กันอยู่ในเมืองไทยแน่ๆครับ คงเป็นพระธรรมศาสตร์ดั้งเดิมของอินเดีย ที่พระมนูลอกมาจากกำแพงจักรวาลนั่นแหละครับ แต่นายเปล่งอาจจะมีพื้นอยู่แล้ว เพราะได้ร่ำเรียนกฎหมายไทยมาบ้าง แม้จะเป็นกฎหมายตราสามดวง ก็มีพื้นมาจากพระธรรมศาสตร์ส่วนหนึ่ง (อีกส่วนก็คงมาจากพระราชศาสตร์สมัยอยุธยา)

ส่วนกฏหมายมะหะมัด ก็คงเป็นกฎหมายมุสลิม ที่เรียกว่า ชะรีอะฮ์ (อาหรับ: شريعة‎; อังกฤษ: Sharia/Shari'ah) คือ ประมวลข้อปฏิบัติต่าง ๆ ของกฎหมายศาสนาของศาสนาอิสลาม คำว่า "ชะรีอะฮ์" แปลว่า "ทาง" หรือ "ทางไปสู่แหล่งน้ำ" กฎหมายชะรีอะฮ์คือโครงสร้างทางกฎหมายที่ครอบคลุมวิถีการดำเนินชีวิตของบุคคลและสาธารณชนที่มีพื้นฐานมาจากหลักนิติศาสตร์ (jurisprudence) ของศาสนาอิสลามสำหรับใช้โดยมุสลิม
(ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B8%AE%E0%B9%8C)

หลักกฎหมายนี้ใช้กันอยู่ในประเทศที่ใช้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติหลายๆประเทศ แม้แต่ในปัจจุบัน ประเทศไทยเองมุสลิมในเขต 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็สามารถใช้ ชารีอะฮ์ ในการพิจารณาคดีเกี่ยวกับครอบครัวและมรดก แทนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ครับ โดยเวลามีคดีที่คู่ความทุกฝ่ายเป็นมุสลิมศาสนิก คู่ความสามารถร้องขอให้ศาลใช้ชารีอะฮ์แทนกฎหมายแพ่งได้ และถ้าเป็นเช่นนั้น เวลาพิจารณาคดี จะต้องมี ดะโต๊ะยุติธรรม ขึ้นเป็นองค์คณะคู่กับผู้พิพากษาด้วยครับ

 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 20 พ.ย. 15, 19:12

ขอบคุณค่ะคุณ Naris  ชัดเจนดีมาก

    ตำรับตำราพวกนี้เห็นทีจะแปลเป็นภาษาอังกฤษเรียบร้อยแล้ว   เพราะอังกฤษที่ตอนนั้นเป็นประเทศมหาอำนาจคงไม่ให้นักศึกษาของตัวเองเรียนตำราภาษาของชาติอื่น    แต่ถึงกระนั้น ก็คงจะโหดมหาหิน   เพราะกฎหมายที่เรียนล้วนแล้วมาจากหลายมุมโลก  มีพื้นฐานอยู่บนวัฒนธรรมต่างกัน   
    เมื่อนึกว่านายเปล่งจะต้องทำความเข้าใจอย่างถี่ถ้วน จดจำให้แม่นยำเพื่อจะตอบข้อสอบให้ถูกต้อง     เพราะวิชากฎหมายถ้าเริ่มต้นด้วยจำไม่แม่นเสียอย่าง  จะตอบข้อสอบไม่ได้       ท่านเรียนได้หมดจนสอบผ่าน ต้องถือว่าอัจฉริยะในยุคนั้น
    นายเปล่งไม่ได้เรียนในห้องเรียนอย่างเดียว  แต่ฝึกปฏิบัติด้วย คือไปฝึกหัดว่าความกับมิสเตอร์โอ.  เอ. ไฟร์  ติวเตอร์เก่า  ในศาลยุติธรรมของกรุงลอนดอน      ในประวัติท่านเรียกนายไฟร์ว่า เนติบัณฑิตย์  เรียกตามภาษาอังกฤษว่า barrister at law   
   มาถึงคำนี้ต้องถามคุณนริศอีกแล้วว่า  barrister at law ต่างจาก lawyer  ยังไงคะ

   การที่นายเปล่งไปฝึกว่าความในศาล  น่าจะไปแบบผู้ช่วยทนายความหรือทนายฝึกหัด    แต่คงไม่ได้มีหน้าที่แค่หิ้วกระเป๋าตามมิสเตอร์ไฟร์ไปอย่างเดียว    เพราะเตรียมตัวจะเป็นบัณฑิต ต้องลงมือว่าความด้วย     เพราะฉะนั้นก็แสดงว่า นายเปล่งต้องเป็นคนพูดภาษาอังกฤษเก่งเอาการ  สำเนียงพูดคงใช้การได้ดีไม่แพ้ฝรั่ง  ผู้พิพากษา โจทก์และจำเลยถึงฟังรู้เรื่อง     ทำให้ท่านว่าความได้ตลอดรอดฝั่ง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 20 พ.ย. 15, 19:20

barrister ของอังกฤษ


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 21 พ.ย. 15, 07:24

ตามความเข้าใจอันน้อยนิดจากที่เคยเดินผ่านศาลกับคุกในอังกฤษมาบ้าง  คำว่า lawyer เป็นคำเรียกรวมๆ ถึงนักกฏหมาย ทนายความทั่วไปครับ แต่ถ้าจะเฉพาะเจาะจงกว่านั้นจะมี Solicitor กับ Barrister ซึ่งทั้งคู่เรียกรวมๆ ว่า lawyer เหมือนกัน

Solicitor ทำหน้าที่ให้คำแนะนำและให้บริการทางกฏหมายแบบในสำนักงาน เช่นการทำเรื่องหย่า  อะไรทำนองนี้  การทำสัญญาต่างๆ  ส่วน Barrister จะเป็นตัวแทนของคู่ความในการพิจารณาคดีในศาลครับ ถ้าแบบในหนังคือพวกที่สวมครุยสวมวิกขาวๆ แบบในรูปด้านบนนี่เลยครับ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 23 พ.ย. 15, 15:54

อ.ประกอบมาตอบแล้ว ผมก็ลอยตัว แฮ่ๆ
ผมแทบจะจำเรื่องนี้ไม่ได้แล้วครับ ความรู้ที่พอเหลือเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพกฎหมายในอังกฤษก็คือ เมื่อนักเรียน Law School เรียนจบออกมา จะยังไม่สามารถทำหน้าที่เป็นทนายความว่าความในศาลได้ หากจะประกอบวิชาชีพกฎหมายก็จะทำได้เพียงให้คำปรึกษา หรือรับทำงานต่างๆในแบบสำนักงานตามที่ อ. ประกอบว่า นักกฎหมายอย่างนี้ เรียกว่า Solicitor

ต้องไปทำอะไรบางอย่าง (ไม่ทราบว่าเรียนเนติบัณฑิตเหมือนของบ้างเราหรือไม่) จนมีฐานะเป็น Barrister ก่อนจึงจะสามารถทำงานเป็นทนายความในศาลได้ และเมื่อเป็น Barrister ที่มีอาวุโสพอสมควร จึงจะได้รับการคัดเลือกให้ทำหน้าที่ Judge หรือ ตุลาการได้ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 24 พ.ย. 15, 14:18

นายเปล่งท่านเรียนไปเป็น Barrister  ไม่ใช่ Solicitor    ค่ะ
ดิฉันเข้าใจว่าการตามมิสเตอร์ไฟร์ไปเป็นทนายฝึกหัดว่าความในศาล  น่าจะเป็น requirement ของการเรียนเอาปริญญาจากมิดเดิลเทมเปิลด้วย 

ท่านเล่าว่าเรียนอยู่ที่มิดเดิลเทมเปิลครบ 1 ปี  ก็สอบกฎหมายโรมัน  ผ่านได้ด้วยดี   ครบ 2 ปี สอบกฎหมายอังกฤษผ่านตลอด   จึงได้ certificate ที่ท่านเรียกว่า "วิทยาบัตร"  คงจะเทียบได้กับปริญญาบัตรในสมัยนี้
ล่วงมาถึงเดือนกรกฎาคม  พ.ศ. 2430  ท่านก็ได้เป็นเนติบัณฑิตย์   ได้สวมหมวกและเสื้อครุยในวันรับปริญญา ท่ามกลางผู้พิพากษา ราชมนตรีและเนติบัณฑิตย์ทั้งปวง

ในช่วงอยู่ในอังกฤษ ท่านได้รับหน้าที่ล่ามภาษาอังกฤษในสถานทูตสยามประจำกรุงลอนดอนอยู่นาน 8 เดือน

เมื่อรับปริญญาแล้ว   เนติบัณฑิตใหม่เอี่ยมจากอังกฤษ ก็เดินทางกลับสยาม    เมื่อมาถึงแล้ว พระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เข้ารับราชการอยู่ที่กระทรวงการต่างประเทศ เป็นกระทรวงแรก
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 27 พ.ย. 15, 21:34

อาจารย์ขา ลูกศิษย์มานั่งพับเพียบเรียบร้อย รอฟังเล็คเชอร์ต่ออยู่ตั้งหลายวันแล้วนะคะ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 27 พ.ย. 15, 22:27

สัปดาห์นี้ไม่ว่างเลยค่ะ ขอโทษที
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 28 พ.ย. 15, 08:52

   เนติบัณฑิตจากมิดเดิลเทมเปิล อังกฤษกลับสยาม เมื่อพ.ศ. 2430  มารับพระราชทานรางวัลจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัวเป็นเงิน 50 ปอนด์   พร้อมกับได้เข้ารับราชการที่กรมท่า ซึ่งเป็นกรมว่าการต่างประเทศในสมัยนั้น เทียบเท่ากระทรวงการต่างประเทศในสมัยนี้
   นายเปล่ง ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงรัตนาญัป์ติ   ทำหน้าที่ร่างหนังสือโต้ตอบกับบรรดาราชทูตต่างๆ  ตัวท่านเองเรียกตำแหน่งนี้ว่า "ที่ปฤกษากฏหมายและทนายโกษา"  ท่านแจกแจงรายละเอียดไว้ว่า
    1   มีหน้าที่นำราชทูต กงสุล และชาวต่างชาติเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว อย่างเป็นทางการบ้าง อย่างเป็นไปรเวท(ส่วนพระองค์)บ้าง    ทำหน้าที่แปลพระราชปฏิสัณฐานให้คนเหล่านั้นได้ทราบ    คอยรับรองราชทูต กงสุลและชาวต่างชาติเวลามีพระราชพิธีต่างๆ  และเป็นล่ามราชการด้วย
    ถ้าใครสงสัยในตอนนี้ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ทรงต้องใช้ล่ามในการแปลพระราชดำรัสเพราะเหตุใด   ก็ขอตอบว่าพระเจ้าอยู่หัวของสยามนั้นทรงรู้ภาษาอังกฤษถึงขั้นทรงฟัง อ่านและตรัสได้   แต่ด้วยความเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสยาม   จะมีพระราชดำรัสแต่เป็นภาษาไทยเท่านั้น
    2    มีหน้าที่ร่างหนังสือราชการเป็นภาษาไทยและอังกฤษ   แปลหนังสือราชการจากอังกฤษเป็นไทย ไทยเป็นอังกฤษ
    3    เรียงคำตัดสินชั้นความอุทธรณ์จากศาลต่างประเทศ    เป็นผู้แทนรัฐบาลไปนั่งชำระและตัดสินความในศาลกงสุลต่างประเทศ  ทำความเห็นชี้แจงในคดีความที่เกี่ยวกับคนในบังคับต่างประเทศ
    4   เป็นทนายของรัฐบาล(อัยการ?)ว่าความทั้งแพ่งและอาญา ซึ่งคนในบังคับต่างประเทศเป็นจำเลยในศาลกงสุลต่างประเทศ
    5    เมื่อรัฐบาลสยามเป็นนายอากรทำสุราในกรุงเทพ   ก็ทำหน้าที่ทนายฝ่ายรัฐ(อัยการ?) ว่าความในคดีพิพาทเรื่องสุรากับคนในบังคับต่างประเทศ

    จะเห็นได้ว่างานท่านหนักมาก  ในสมัยนั้นเนติบัณฑิตจากอังกฤษก็น่าจะมีอยู่คนเดียว  ต้องรับงานหลายด้าน   แต่คุณหลวงก็ทำงานมาด้วยดีตลอด 4 ปี
บันทึกการเข้า
walai
มัจฉานุ
**
ตอบ: 64


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 01 ธ.ค. 15, 04:54

 ???ขอเรียนถามค่ะ....ทนายโกษา...โกษา..มีความหมายว่าอย่างไรคะ  ขอบพระคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 01 ธ.ค. 15, 08:21

โกษา หมายถึงกรมคลัง หนึ่งในสี่จตุสดมภ์  ซึ่งรวมฝายต่างประเทศไว้ด้วยค่ะ  
ในสมัยอยุธยา เสนาบดีคลังมีบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาโกษาธิบดี  แปลว่าผู้เป็นใหญ่ในกรมคลัง

ทนายโกษาโดนคือล่ามในกรมคลัง ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 01 ธ.ค. 15, 21:36

  เมื่อมีการตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้นในปี 2434   คุณหลวงรัตนาญัป์ติ ก็ได้ย้ายจากกระทรวงการต่างประเทศมารับตำแหน่งใหม่ในกระทรวงใหม่ เป็นเจ้ากรมสารบบ
   ในยุคที่กระทรวงตั้งขึ้นใหม่ๆ   ระบบคดีความต่างๆยังกระจัดกระจายอยู่ตามหน่วยงานต่างๆไม่รวมอยู่ในที่เดียวกัน   หน้าที่ของกรมสารบบก็คือจัดสารบบให้เข้าระเบียบเป็นหมวดหมู่    คุณหลวงก็มีหน้าที่ไปเร่งรัดสารบบความจากกระทรวงและกรมอื่นๆให้นำมายื่นตามแบบ(ฟอร์ม)ที่ท่านคิดออกแบบให้     จากนั้นก็ตรวจสารบบแล้วแยกความออกเป็นแพ่ง เป็นอาญา  นครบาล อุทธรณ์และฎีกา ให้เรียบร้อย ไม่ปะปนกัน   แยกเป็นหมวดเพื่อแจกจ่ายไปตามศาลตามพระธรรมนูญ    แล้วรวบยอดความเหล่านี้ทำเป็นสารบบ  นำขึ้นทูลเกล้าฯถวายให้ทอดพระเนตร
   งานยังไม่เสร็จแค่นั้น   คุณหลวงเจ้ากรมมีหน้าที่เรียกและรับรายงานการชำระความในศาลทั้งปวง ให้ส่งมาที่กรมสารบบ  ดูจำนวนว่าทำไปได้แล้วแค่ไหน และยังค้างอีกเท่าไหร่  แล้วสรุปผล เรียกว่าทำสารบบรวบยอดขึ้นทูลเกล้าฯถวายทุกเดือน
   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 01 ธ.ค. 15, 21:38

     งานของคุณหลวงฟังแค่นี้ก็รู้แล้วว่า ทั้งเยอะทั้งยุ่ง   และต้องจัดระเบียบให้เรียบร้อย     ถ้าไม่ได้ผ่านระบบงานที่อังกฤษมาก่อน เคยเรียนรู้การจัดระเบียบตามหลักสากล น่ากลัวจะอลหม่านเอาการอยู่เหมือนกัน

    การเรียนที่อังกฤษช่วยได้อีกอย่างคือ คุณหลวงสามารถออกแบบสารบบรายวัน รายเดือน และแบบฟ้อง  คำให้การ คำร้อง หมายเรียก หมายเกาะ หมายจับ   หมายนัดชำระความ  หนังสือประกัน  หนังสือรับเรือน หนังสือยอม  ให้ตีพิมพ์ใช้ในศาลสถิตย์ยุติธรรม  เป็นแบบอย่างใช้กันต่อมา
   
     ถ้าใครอยากทราบว่าหมายชื่อแปลกๆข้างบนนี้คืออะไร   เห็นจะต้องรอคุณ Naris  อีกแล้วละค่ะ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 02 ธ.ค. 15, 07:19

แม้คุณหลวงท่านต้องแบกภารพงานในหน้าที่มากมายดังที่ท่านอาจารย์ใหญ่เล่ามา  แต่ท่านก็ยังสามารถปลีกเวลาไปรวบรวมกฎหมาย รัชกาลที่ ๕ แล้วจัดพิมพ์เป็นสมุดฝรั่ง (คืออย่างหนังสือปัจจุบัน) ออกเผยแพร่ได้ถึง ๕ เล่ม 
หนังสือดังกล่าวเป็นของหายกในปัจจุบัน  และเป็นประโยชน์แก่การศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายในสมัยรัชกาลที่ ๕  เมื่อคราวพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ จิตติ  ติงศภัทร อดีตองคมยตรี  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์หนังสือกฎหมายรัชกาลที่ ๕ โดยหลวงรัตนาญัปติเป็นของพระราชทานในงานนั้นด้วย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 02 ธ.ค. 15, 09:17

ของฝากจากกระทู้เก่า  ยิงฟันยิ้ม

เอาบทประพันธ์ของขุนหลวงพระยาไกรสี (เปล่ง เวภาระ) มาฝาก


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.086 วินาที กับ 20 คำสั่ง