เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 8
  พิมพ์  
อ่าน: 22757 ขุนหลวงพระยาไกรสี (เปล่ง เวภาระ)
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 28 ต.ค. 15, 10:59

เช็คชื่อเข้าชั้นเรียนก่อนนะคะ
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 28 ต.ค. 15, 11:07

มาครับ
บันทึกการเข้า
Mr.Fame
มัจฉานุ
**
ตอบ: 61


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 28 ต.ค. 15, 11:27

 ยิงฟันยิ้ม ยกมือรออยู่หลังห้องนะครับ

แล้วจะปิดปากนั่งอ่านเงียบๆ รูดซิบปาก ไม่ให้รบกวนสมาธิคุณครู
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 28 ต.ค. 15, 11:42

มาคร้าบบบบบบบบบบบบ Z Z Z z z z....
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
rozicki
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 28 ต.ค. 15, 16:02

มารอรับความรู้ครับ อาจารย์
บันทึกการเข้า
NT
มัจฉานุ
**
ตอบ: 92


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 28 ต.ค. 15, 16:59

ลงชื่อครับ น่าสนใจครับ ชื่อท่านมีทั้งขุน กับ พระยา ในท่านเดียวกัน  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 28 ต.ค. 15, 17:21


ลงทะเบียนเรียนด้วยครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 28 ต.ค. 15, 19:08

จองโต๊ะพร้อม  รูดซิบปาก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 28 ต.ค. 15, 19:28

     ขุนหลวงพระยาไกรสี ในอดีตย้อนไปถึงอยุธยา มีอยู่กี่สิบกี่ร้อยคนไม่อาจทราบได้   แต่ในประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ เป็นที่รู้จักอยู่ 2 ท่านคือขุนหลวงพระยาไกรสี (เทียม บุนนาค) และขุนหลวงพระยาไกรสี (เปล่ง เวภาระ)

    ขุนหลวงพระยาไกรสี (เทียม) มีบทบาทอยู่ในเหตุการณ์ต่อเนื่องจากคดีพญาระกา   ท่านเป็นตุลาการหนึ่งในศิษย์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์  และเป็น 1 ใน 28ตุลาการที่ได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการตามเสด็จในกรมราชบุรีฯ  เป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯกริ้วถึงขั้นทรงประณามรวมกันว่า 28 มงกุฎ    ท่านเทียมเป็นหนึ่งในผู้เคราะห์ร้าย ไม่ได้กลับเข้ารับราชการ หลังจากต้องพระราชอาญาถอดออกจากยศบรรดาศักดิ์   ท่านไปประกอบอาชีพทนายความจนเป็นเหตุให้รัชกาลที่ 6 ต้องทรงตราพระราชบัญญัติทนายความพร้อมกับโปรดให้จัดตั้งเนติบัณฑิตยสภาขึ้นมา
    แต่นั่นเป็นเรื่องของขุนหลวงพระยาไกรสีอีกคนหนึ่ง  คนละคนกับชื่อในกระทู้นี้ค่ะ

   นำรูปขุนหลวงพระยาไกรสี เปล่ง มาให้ดูกันก่อน


บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 28 ต.ค. 15, 20:20

มาสาย แต่ตั้งใจเรียนนะคะ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 28 ต.ค. 15, 22:40

     ก่อนอื่น ขอทำความเข้าใจกับชื่อบรรดาศักดิ์อันฟังประหลาดไม่คุ้นหูของ "ขุนหลวงพระยาไกรสี" เสียก่อนนะคะ
     คำนี้ ไม่ได้แยกออกมาเป็น ขุน+หลวง+พระยา(หรือพระ)  ราวกับว่าตัวท่านรวบบรรดาศักดิ์เอาไว้หมด เหมารวมเป็นทั้งท่านขุน คุณหลวง และเจ้าคุณ ในเวลาเดียวกัน
     แต่คำว่า "ขุนหลวง" เป็นคำเดียว มี 2 พยางค์     หมายถึงตำแหน่งลูกขุน ณ ศาลหลวง  มีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในอาณาจักรอยุธยา     อยู่ในสังกัดพระมหาราชครู   ตำแหน่งนี้มีระบุไว้ในพระไอยการนาพลเรือน    คนที่จะเป็นลูกขุน ณ ศาลหลวงได้คือผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย  ซึ่งก็มีอยู่หลายคนด้วยกัน    แต่คนที่จะได้เป็นขุนหลวงพระไกรสีนั้นถือว่าเป็นผู้แม่นยำทางตัวบทกฎหมายเหนือกว่าลูกขุนอื่นๆ    มี 2 คนคู่กันในระดับ "พระ" คือขุนหลวงพระไกรสี และขุนหลวงพระเกษม
   
บันทึกการเข้า
กิมซัว แซ่ตั้ง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 29 ต.ค. 15, 10:55

มาเข้าเรียนสาย ขออนุญาตเข้าห้องครับอาจารย์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 29 ต.ค. 15, 11:47

      ตำแหน่งขุนนางไทยที่มีเป็นคู่ๆ  เป็นเรื่องเห็นกันทั่วไปในทำเนียบขุนนางโบราณ     มีสมุหนายกก็มีสมุหพระกลาโหมด้วย   หัวหมื่นมหาดเล็กมีจมื่นศรีสรรักษ์ ก็มีจมื่นไวยวรนาถ เป็นขวาเป็นซ้าย     จึงไม่แปลกที่มีขุนหลวงพระไกรสีก็มีขุนหลวงพระเกษม ควบคู่กันไป  แต่พวกเราคนรุ่นหลังไม่ค่อยจะได้ยินชื่อขุนหลวงพระเกษม    จึงอัศจรรย์ใจกับชื่อขุนหลวงพระ(ยา)ไกรสี อยู่ฝ่ายเดียว
      ถ้าแยกออกมาก็จะได้ดังนี้
      ตำแหน่ง (ขุนหลวง) + บรรดาศักดิ์ (พระ )+ ราชทินนาม (ไกรสี)
      เมื่อแยกส่วนออกมาดังนี้  ก็คงจะดูกันออกว่า ส่วนที่เปลี่ยนแปลงได้ คือบรรดาศักดิ์ ที่อยู่ตรงกลาง    จากคุณพระขึ้นเป็นพระยา  
ท่านเปล่ง เวภาระ เมื่อรับราชการมีความดีความชอบ ท่านก็ได้เลื่อนจากขุนหลวงพระไกรสี เป็นขุนหลวงพระยาไกรสี

      ย้อนกลับมาถึงความเป็นมาของ "ขุนหลวงพระไกรสี" ในสมัยอยุธยา  
      หน้าที่ของท่านคือรักษาตัวบทกฎหมาย ซึ่งสมัยนั้นเรียกว่าพระราชกำหนดบทพระอัยการ  ซึ่งเก็บไว้ ณ ศาลหลวง    เมื่อจะพิพากษาว่าจำเลยทำผิดต่อกฎหมายใดมาตราใด  ก็เป็นหน้าที่ของขุนหลวงพระไกรสีและขุนหลวงพระเกษม เปิดกฎหมายไล่เลียงไปตามมาตราต่างๆก่อนฟันธงว่าผิดตามมาตราบทนั้นบทนี้       เราคงเห็นว่า คนที่ทำหน้าที่นี้ได้ต้องแม่นยำในตัวกฎหมายกี่ร้อยกี่พันมาตราจริงๆ  จะมัวเปิดอ่านเดาสุ่มไปทีละมาตราไม่ได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 29 ต.ค. 15, 12:35

     เมื่ออาณาจักรใหม่เกิดขึ้นในพ.ศ. 2325    ก็คือการจำลอง "บ้านดีเมืองดี" สมัยอยุธยาให้เกิดขึ้นอีกครั้งนั่นเอง   มีการพลิกฟื้นวัฒนธรรมความเป็นอยู่   ตลอดจนจารีตประเพณีตัวบทกฎหมายสมัยอยุธยาให้กลับคืนมาอีกครั้ง       
      พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมิได้ทรงตรากฎหมายขึ้นมาใหม่  แต่ทรงรวบรวมกฎหมายเก่าสมัยอยุธยาที่ใช้กันมา มาชำระสะสางให้ครบถ้วนถูกต้อง     มีกลุ่มคนที่สมัยนี้น่าเรียกว่ากรรมการดำเนินการ ประกอบด้วยอาลักษณ์ผู้มีหน้าที่เขียนจดจารลงในสมุด  ลูกขุน และราชบัณฑิตรวม 11 คน  ร่วมกันตรวจชำระของเก่า มาเรียบเรียงขึ้นใหม่ เรียกว่า "กฎหมายตราสามดวง"

    ถึงตรงนี้ ก็มีบอกไว้ในบานแผนกท้ายเรื่องถึงบทบาทหน้าที่ของขุนหลวงพระไกรสี ว่า
    " ครั้นชำระแล้ว    ให้อาลักษณ์ชุบลายเส้นหมึกสามฉบับ  ไว้ห้องเครื่องฉบับหนึ่ง   ไว้หอหลวงฉบับหนึ่ง   ไว้ศาลหลวงสำหรับลูกขุนฉบับหนึ่ง    ปิดตราพระราชสีห์  พระคชสีห์ บัวแก้ว ทุกเล่มเป็นสำคัญ     ถ้า พระเกษมพระไกรสี เชิญพระสมุดพระราชกำหนดบทพระไอยการออกมาพิจารณาคดีใดๆ    ลูกขุนทั้งปวงไม่เห็นปิดตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ บัวแก้ว สามดวงนี้ไซร้  อย่าให้เชื่อฟังเอาเป็นอันขาดทีเดียว"

    คำสั่งเด็ดขาดนี้ บ่งชี้ถึงอำนาจระดับบิ๊กของขุนหลวงพระเกษมพระไกรสี     เพราะคนที่รับตำแหน่งนี้ หากนำความเชี่ยวชาญทางกฎหมายไปใช้ในทางผิด    เช่นบิดเบือนดัดแปลงมาตราตามใจชอบ   ทำอุบายเพิ่มโทษมากขึ้นหรือลดโทษน้อยลง ตามแต่อยากจะแกล้งใครหรือช่วยใคร     ก็ยากจะมีผู้จับได้เพราะคนอื่นไม่แม่นยำเท่า     ผลเสียจะเกิดขึ้นเหลือคณานับแก่ประชาชนตาดำๆ    หลวงท่านจึงห้ามเอาไว้ก่อน ว่าต้องยึดตัวบทกฎหมายของแท้เป็นหลัก   ไม่ยึดคนซึ่งอาจโอนเอนไปมาตามสินบาทสินบน   ไม่ตายตัวอย่างตัวหนังสือ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 29 ต.ค. 15, 12:46

     ตำแหน่งขุนนางไทยที่มีเป็นคู่ๆ  เป็นเรื่องเห็นกันทั่วไปในทำเนียบขุนนางโบราณ     มีสมุหนายกก็มีสมุหพระกลาโหมด้วย   หัวหมื่นมหาดเล็กมีจมื่นศรีสรรักษ์ ก็มีจมื่นไวยวรนาถ เป็นขวาเป็นซ้าย     จึงไม่แปลกที่มีขุนหลวงพระไกรสีก็มีขุนหลวงพระเกษม ควบคู่กันไป  แต่พวกเราคนรุ่นหลังไม่ค่อยจะได้ยินชื่อขุนหลวงพระเกษม จึงอัศจรรย์ใจกับชื่อขุนหลวงพระ(ยา)ไกรสี อยู่ฝ่ายเดียว      

ถึงตรงนี้ขออนุญาตวิสัชนาตำแหน่ง "ขุนหลวงพระเกษม"

จาก เว็บพิพิธภัณฑ์ศาลไทย อธิบายว่าตำแหน่งนี้ชื่อว่า "พระเกษมราชสุภาวดี" คู่กับ "ขุนหลวงพระไกรสีราชสุภาวดี" เรียกย่อ ๆ ว่า พระเกษมและพระไกรสี มีหน้าที่เป็นผู้ปรับ

ผู้ปรับ หมายถึง บุคคลผู้ทำหน้าที่ปรับบทหรือวางบทลงโทษเมื่อลูกขุนวินิจฉัยชี้ขาด ฟังข้อเท็จจริงแล้ว ก็ไม่มีอำนาจในการที่จะปรับบทลงโทษว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่อกฎหมายเรื่องใด บทมาตราใดหรือควรจะต้องรับโทษสถานใด ลูกขุนต้องส่งคำชี้ขาดหรือใบสัตย์ไปให้ผู้ปรับ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้แม่นยำ ในบทพระอัยการ เป็นผู้ปรับบทในการลงโทษ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 19 คำสั่ง