เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 3087 เส้นคั่นของประวัติศาสตร์ในภาพยนตร์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 19 มิ.ย. 01, 11:02

สืบเนื่องจากกระทู้ในราชดำเนิน

ลาวห้ามไทยไม่ให้สร้างหนัง
"ท้าวสุรนารี"

href='http://pantip.inet.co.th/cafe/rajdumnern/topic/P987392.html'
target='_blank'>http://pantip.inet.co.th/cafe/rajdumnern/topic/P987392.html
/>
ในเรือนไทย  เราเพิ่งคุยกันเรื่อง เดโชดำดิน ทำให้นึกย้อนไปถึงเรื่อง Anna
and the King  

ทางฝ่ายไทยไม่ยอมให้เข้ามาถ่ายในประเทศ
เพราะบิดเบือนประวัติศาสตร์ไทย
/>
แต่เชื่อว่าไทยไม่ได้คิดว่าท้าวสุรนารีจะไปกระทบกระเทือนประวัติศาสตร์ลาว
/>


แล้วเส้นคั่นของประวัติศาสตร์และความบันเทิง
อยู่ตรงไหนคะ?
บันทึกการเข้า
ด.เด็ก
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 18 มิ.ย. 01, 09:35

ผมคิดว่าสมัยก่อน พวกละคอนเอามาเล่นกันเป็นวงแคบ คนดูมีจำนวนน้อย จะเชิดชูชาติตนเองก็ทำได้ พอมีภาพยนต์ขึ้นมา มันก็กลายเป็นโลกาภิวัฒน์ ทำให้เกิดการกระทบกระเทือนระหว่างชาติกันขึ้น ยิ่งสมัยนี้มีอินเทอร์เน็ตเข้ามาข้องแวะด้วย ก็ยิ่งทำให้ความเร็วในการติดต่อสื่อสารและระยะทางสั้นนิดเดียว ทุกคนสามารถติดต่อกันได้ ก็ยิ่งทำให้เส้นคั่นประวัติศาสตร์สมัยนี้เปราะบาง ผู้ที่สำคัญที่สุดคือผู้ที่ใช้สื่อให้เป็นประโยชน์กับตน สำคัญว่าผู้นี้จะมีคุณธรรมแค่ไหน ดังนั้น ต้องคิดว่าสื่อมีคุณธรรมที่ดีในการเสนอข่าว อย่าเอามันในการเสนอข่าวที่กลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวครับ
บันทึกการเข้า
วรณัย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 19 มิ.ย. 01, 23:02

"เส้นคั่น" ระหว่างประวัติศาสตร์และภาพยนต์...ผมว่าอยู่ที่แนวคิดของการวางเรื่อง และเนื้อหาของเรื่อง ที่จะนำเสนอ(Presentration)ตามลักษณะของสังคมและวัฒนธรรมในช่วงเวลาต่าง ๆ
ภาพยนต์อิงประวัติศาสตร์ วรรณคดี หรือนิทานตำนาน เก่า ๆ หรือที่เรียกกันว่า นิยายอิงประวัติศาสตร์นั้น ในประเทศไทยสร้างเป็นภาพยนต์กันมานานเนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพระเจ้าช้างเผือก พันท้ายนรสิงห์ บางระจัน เลือดสุพรรณ พระองค์ดำ ทหารเสือพระเจ้าตาก ฯลฯฯฯฯฯฯฯ
ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยดำเนินนโยบายในการสร้างชาติ และหวังจะให้ประชาชนมีสิ่งยึดเหนี่ยว และภาคภูมิใจ อันเป็นหนึ่งในกระบวนการสร้างชาติไทยนั้น
ภาพยนต์ประวัติศาสตร์ ก็คือวิธีการ(method)หนึ่งในกระบวนการสร้างชาติ
คนไทยมีความรักและเทอดทูนวีรบุรุษ วีรสตรี
มากมาย ภาพยนต์ หนังสือนิยาย รวมทั้งแบบเรียน ต่างก็ใส่เรื่องราวของใครต่อใครผุดขึ้นมาราวกับดอกเห็ด
ผู้คนในGenaration 70 - 80 Up จะเรียนและรับรู้ในวิธีการ จากทางภาพยนต์และนวนิยายมาเป็นเวลานาน....จนเชื่อต่อ ๆ กันมากลายเป็นเรื่องที่ยอมรับได้และไม่มีผลต่อความรู้สึกใด ๆ ในขณะประเทศใกล้เคียงก็ได้รับอิทธิพลของสังคมและวัฒนธรรมไทย
ไปด้วย
เส้นคั่น ในช่วงเวลานี้ กว้างใหญ่และเหนียวแน่น ประกอบด้วยเชือกเส้นย่อย ๆ จำนวนมาก
เวลาผ่านไป
ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างรวดเร็ว
การพัฒนาและแผนพัฒนา รวมทั้งภูมิปัญญาจากตะวันตก แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และการติดต่อระหว่างประเทศมากขึ้น
วิธีคิดแบบต่างประเทศ รวมทั้งกระแสโลก"โลกาภิวัฒน์"
ทำให้"เส้นคั่น" เริ่มขาดทีละเล็กละน้อย
ปัจจัยและเงื่อนไขใหม่ ๆ ระหว่างประเทศเป็นปัจจัยภายนอก
การศึกษาและวิธีการคิดประวัติศาสตร์ไทยแบบใหม่ เป็นปัจจัยภายใน
ต่างช่วยเร่งเร้าให้"เส้นคั่น"ที่เริ่มเปราะบางขาดลง
ประวัติศาสตร์เริ่มมีคำถามและมีความหมายมากขึ้นกว่าในอดีต
ประวัติศาสตร์เริ่มทำหน้าที่ให้ผู้คนคิดและพิจารณาข้อมูลที่"เที่ยงตรง"และเป็นความจริงทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น
ภาพยนต์ได้กลับมาทำหน้าที่"นำเสนอ"ไอเดีย
รวมทั้งการ"นำเสนอ"ความจริงที่สามารถบริโภคได้อย่างมากมายในปัจจุบัน
และนำเสนอความบันเทิง ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของภาพยนต์ในปัจจุบัน
ภาพยนต์แบบประวัติศาสตร์ที่ถูกนำมา Reaction ใหม่นั้น จึงต้องเน้นความบันเทิง ตามกระแสตลาด.....และกลุ่มผู้บริโภค
ภาพยนต์ นางนาค บางระจัน ไกรทอง สุริโยทัย เดโชดำดิน Anna ฯลฯ ล้วนสร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับความคิดของคนรุ่นต่อ ๆ  ที่ต้องพิจารณาหาคำตอบ หาข้อเท็จจริงเองจากภาพยนต์นั้น ๆ นอกเหนือจากความบันเทิงที่ได้รับ
วันนี้ "เส้นคั่น"ระหว่างประวัติศาสตร์และภาพยนต์ เพื่อความบันเทิงกำลังจะ"ขาด"
"ขาด"เพราะเงื่อนไขของสังคมและวัฒนธรรมไทยในปัจจุบัน ไม่ใช่เงื่อนไขในอดีตอีกต่อไปแล้ว
ในอนาคต ผู้ชมภาพยนต์ประวัติศาสตร์จะได้รับความบันเทิงตามกระแส...แต่
ผู้ชมก็จะสามารถเลือกเชื่อและไม่เชื่อในภาพยนต์ ......ได้ดีกว่าเราในทุกวันนี้
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 19 คำสั่ง