เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16
  พิมพ์  
อ่าน: 49737 ผลงานชั้นเยี่ยมเป็นนิพนธ์ของเจ้าฟ้ากุ้งเองหรือกวีนิรนามในสำนักของพระองค์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 195  เมื่อ 03 ต.ค. 15, 11:47

ถ้าทั้งสองท่านยังลื่นไหลอยู่ ก็เชิญไปต่อเรื่อยๆนะครับ ในทะเลก็มีกุ้งเมือนกัน คนอ่านๆแล้วเพลิดเพลินดี ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 196  เมื่อ 03 ต.ค. 15, 11:53

ท่องเน็ตไปแล้วเจอเข้า ถูกใจ จึงเด็ดมาฝาก


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 197  เมื่อ 03 ต.ค. 15, 12:12


^^ โดนเชน ปล่อยเกาะแล้ว ยอมแพ้ดีกว่า   ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 198  เมื่อ 03 ต.ค. 15, 12:36

อ้าว แล้วกัน ไหง๋กลายเป็นยังงั้น
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 199  เมื่อ 03 ต.ค. 15, 13:20

 ยิงฟันยิ้ม รูดซิบปาก เจ๋ง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 200  เมื่อ 03 ต.ค. 15, 14:26

แอบเข้ามาอ่านอยู่หลังห้อง

ตามใจคุณคนโคราชหน่อย   เจ้าฟ้ากุ้งไม่ได้แต่งก็ไม่แต่ง  เอ้า
ถ้างั้นคนที่แต่งเป็นใครคะ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 201  เมื่อ 03 ต.ค. 15, 15:47


คนแต่ง ผมสงสัยอยู่สองคนครับ ท่านอาจารย์

คุณ share กับคุณจิตรางคทา  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 202  เมื่อ 03 ต.ค. 15, 16:25

*


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 203  เมื่อ 03 ต.ค. 15, 16:44

ท่านนวรัตนคงสงสัยอยู่เช่นกัน   ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม
โปรดขยายความ
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 204  เมื่อ 04 พ.ย. 15, 19:51

วันนี้อ่านหนังสือ 'ในยุคอวสาน กรุงศรีฯ ไม่เคยเสื่อม' ของสำนักพิมพ์มติชนที่ซื้อมาช่วงงานหนังสือครับ หนังสือน่าเก็บสำหรับผู้สนใจประวัติศาสตร์สมัยอยุทธยาครับ

ในบท 'ข้อสังเกต ว่าด้วยการพัฒนาการทางภาษาและวัฒนธรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในตำนานมุขปาฐะและวรรณคดีลายลักษณ์'  มีบทความย่อยเกี่ยวกับเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรกับงานพระราชนิพนธ์ด้วยครับ ชื่อว่า 'ข้อสังเกตว่าด้วยเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรและพระราชนิพนธ์ร่วมสมัย' มีหลายประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เคยถกกันในกระทู้นี้อยู่เหมือนกันครับ

บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 205  เมื่อ 04 พ.ย. 15, 19:52

คัดมาบางหน้าครับ



บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 206  เมื่อ 04 พ.ย. 15, 20:02

ในบท 'การค้าเครื่องกระเบื้องระหว่างจีน สมัยต้นราชวงศ์ชิง กับกรุงศรีอยุธยา สมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง พ.ศ.๒๑๘๗-๒๓๑๐' ได้กล่าวถึงอ.นวรัตนด้วยครับ

เชิงอรรถระบุว่า 'สืบสายมาจากเจ้าคุณพระคลังจีน (อ๋องเฮงฉ่วน)'


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 207  เมื่อ 04 พ.ย. 15, 23:00

อาจารย์สุเนตรอ้างความเห็นของคุณม้า ส่วนคุณนวรัตนเป็นผู้ตั้งกระทู้ "สายสกุลจีนของ เจ้าคุณจอมมารดาเอมในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ"

กว๋างนาม กวางหนำในเวียดนาม มีเมืองท่าสำคัญในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 16-18 คือเมืองโห่ยอาน (ที่ชอบเรียกกันว่าฮอยอันนั่นแหละครับ) เมืองโห่ยอ่านนี้เป็นเมืองท่าที่สำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 208  เมื่อ 05 พ.ย. 15, 07:09

อาจารย์สุเนตรอ้างความเห็นของคุณม้า ส่วนคุณนวรัตนเป็นผู้ตั้งกระทู้ "สายสกุลจีนของ เจ้าคุณจอมมารดาเอมในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ"

ขออนุญาตแก้ไข อาจารย์สุเนตรเป็นบรรณาธิการ ส่วนผู้อ้างความเห็นของคุณม้าคือผู้เขียนบทความเรื่อง "การค้าเครื่องกระเบื้องระหว่างจีนสมัยต้นราชวงศ์ชิงกับกรุงศรีอยุธยาสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง พ.ศ. ๒๑๘๗-๒๓๑๐" คือ คุณพิมพ์ประไพ พิศาลบุตร ผู้เขียนหนังสือ "กระเบื้องถ้วย กะลาแตก"  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 209  เมื่อ 15 พ.ย. 15, 07:20


ถ้าเราพิจารณางานวรรณกรรมร่วมสมัย ในยุคเดียวกัน
จะเห็นความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดใจของ
บุณโณวาทคำฉันท์ ที่แต่งโดย พระมหานาควัดท่าทราย กับกลุ่ม นิราศธารทองแดง นิราศธารโศก และ กาพย์แห่เรือ

ความคล้ายนี้ไม่ว่าจะเป็นการวางเค้าโครง ลำดับการพรรณา รายละเอียดต่างๆ ไปจนถึงบทจบที่คล้ายกันอย่างน่าประหลาด
เหมือนกับว่างานในกลุ่มหลังเป็นแต่งการขยายพรรณาความจากบุณโณวาทคำฉันท์ให้มีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งมีร่องรอยน่าเชื่อว่าผู้ผลิตผลงานในกลุ่มหลังน่าจะได้รับอิทธิพลจากงานของพระมหานาคอย่่างแน่นอน

ประวัติของ พระมหานาค วัดท่าทราย ไม่เป็นที่ปรากฏชัดเจนในปัจจุบัน แต่อาจสันนิษฐานได้ว่าท่านจะต้องเคยมีส่วนใกล้ชิดกับราชสำนัก
เพราะสามารถบรรยายรายละเอียดต่างๆของกระบวนเสด็จนมัสการพระพุทธบาทได้อย่างเหมือนเป็นคนใน
นอกจากนี้สำนวนที่ใช้เหมือนกับคนในราชสำนักแต่ง และไม่เหมือนสำนวนกวีแบบชาวบ้านอ่านแล้วเข้าใจเลยที่สุนทรภู่ใช้ในนิราศพระบาทภายหลัง

เพื่อความฉับไวของเนื้อเรื่อง  ขอ spoil ตัดหน้าคนอื่น โดยเอาตอนจบมาให้ท่านผู้อ่านพิจารณาเองครับ ว่าตรงจบบริบูรณ์นี้เป็นลายเซ็นต์ของใคร
อ้างอิงจาก ตู้หนังสือเรือนไทย แหล่งความรู้มหาสมบัติแถวนี้เอง

บทจบนิราศธารทองแดง

    ๏จบจนจอมโลกย์     เจ้าคืนวัง
   พิตรสถิตยบัลลังก์     เลิศหล้า
   ริ ร่างกาพย์โคลงหวัง    ชนโลก อ่านนา
   บูรณ์ พระโคลงเจ้าฟ้า    ธิเบศร์เจ้าจงสงวน ฯ
    ๏ อักษรเรียบเรียงถ้อย     คำเพราะ
   ผู้รู้อ่านสารเสนาะ        เรื่อยหรี้
   บรู้อ่านไม่เหมาะ        ตรงเทิ่ง ไปนา
   ทำให้โคลงทั้งนี้        ชั่วช้าเสียไป ฯ
    ๏ อักษรสรรค์สร้างช่าง      ชุบจาน
   โคลงก็เพราะเสนาะสาร      แต่งไว้
   ผู้รู้อ่านกลอนการ              พาชื่น ใจนา
   ผู้บ่รู้อ่านให้                      ขัดข้องเสียโคลง ฯ


บทจบบุณโณวาทคำฉันท์
   
     จบ เสร็จอภิวาทไหว้      สักการ
   บุ โณวาทพิศฎาร          สูตรแจ้ง
   ริ ร่ำสรรเสริญสาร          ฉันทภาค
   บูรรณ เสร็จสำเร็จแกล้ง      กล่าวไว้เป็นเฉลิมฯ
    จบ จนกระษัตรสร้าง      เสร็จฉลอง
   พิตรเสด็จไพรคนอง     เถื่อนถ้ำ
   ริ ร่างสฤษดิสารสนอง      เสนอเนตร
   บูรรณ เสร็จเสด็จกรุงซ้ำ      เรื่องซั้นสรรเสริญฯ
          ฉันทพากย์พระนาคถ้า     ทรายผจง
   ยินย่อมอาลัยหลง                 เล่ห์ชู้
   แรกรักร่วมจิตรปลง           ปลุกสวาท ลืมฤา
   โสตเสนาะเพราะรู้              รสอ้อยตาลหวานฯ
          จบกลอนพระนาคแกล้ง   เกลาบท
   ฉันทพากย์นิพนธ์พจน์      เรียบร้อย
   เพียงทิพยสุธารส              สรงโสรจ ใจนา
   ฟังเร่งเสนาะเพราะถ้อย      ถี่ถ้วนกลอนแถลงฯ

         
 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 20 คำสั่ง