เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 16
  พิมพ์  
อ่าน: 50017 ผลงานชั้นเยี่ยมเป็นนิพนธ์ของเจ้าฟ้ากุ้งเองหรือกวีนิรนามในสำนักของพระองค์
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 09 ก.ย. 15, 20:56


ถ้า Uva = อุป- และ Rajjuruvo = ราชา  ก็เป็นไปได้ว่า Uva Rajjurovo = อุปราช = Sub-king
แต่ ในขบวนแห่ มี Second sub-king ซึ่งก็จะกลายเป็น อุปราชองค์ที่สอง ซึ่งแปลกพอสมควร

เมื่อดูจากบทบาทตามท้องเรื่องโดยรวม เจ้าฟ้ากุ้ง น่าจะอยู่ในพวก Anu-Rajas (อนุราช) มากกว่าที่จะเป็น พวก Sub-king ครับ

เดี๋ยวมาต่อด้วยรายละเอียดที่น่าสนใจบางส่วนในขบวนพยุหยาตราทางชลมารคครับ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 10 ก.ย. 15, 15:25


    ในเวลาต่อมา มีกระบวนเสด็จทางชลมารค คณะทูตได้ร่วมลอยกระทง บูชาไฟ

   On the night of Tuesday, about fourteen hours before dawn, two noblemen came from the palace and informed us that a religious torch procession was coming down the river for us to see ; and this is the description of the same. Tall bamboos were set up at the viharas on either bank of the river of Siam ; these were bent down, and on them were bung gilt circular lamps and lamps of various other kinds. The king himself, his son the prince, the second king, and the Uva Rajjuruvo came in the gilt royal barges, on which were erected alcoves with curtains and awnings of various coloured cloths ; these boats were fitted with gold and silver stands holding lighted candles of wax and sweet-scented oils; a host of noblemen followed in similarly illuminated boats. There were also lamps made of red and white paper shaped like lotus flowers, with wax candles fixed in their cups ; myriads of these beyond all counting were floating down the river. Fireworks of various devices were also cast into the water ; these would travel underneath for some time and then burst into tongues of flame in all directions, with an explosion as of a jingal the whole surface of the water appeared paved with fire. There were also dancers in gilt, clothes in boats, singing and dancing to the music of drums.

   Next, the priests residing within the city and in the viharas on either bank of the river were presented with offerings, with robes, and the priestly necessaries, the boats which carried them forming an unbroken procession. This solemnity was observed on the thirteenth day of the increasing moon of the month Binara, on the full-moon day, on the first, seventh, and eighth days of the waning moon, and on the new moon, when the Was season come to a close. It was explained to us that this festival has been observed from time immemorial by the pious sovereigns of Ayodhayapura year after year in honour of the sacred footprint, the relics of the Buddha, and of that other footprint which at the prayer of the Naga king the Lord had in his lifetime imprinted on the sands of the river Nerbudda. On the afternoon of Wednesday two officers brought us in boats everything that was required for a similar offering, with a message from the king that we too should celebrate such an offering with our own hands. We accordingly went with them and lit lamps which were floated down the stream, and burnt fireworks ; similar ceremonies were performed by the following Thursday and Friday.

  วันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1751 (พ.ศ. 2294) คณะทูตเข้าเฝ้า “Uva Rajjuvo” หรือ “Sub-king” ทรงประทาน หนังสือมีค่าให้ไปพร้อมกับคณะสงฆ์

   On the seventh day of the solar month Thula, being Wednesday, in the morning, two officers came and accompanied us in boats to near the palace of the Uva Rajjuruvo. There, in a two-staged octagonal hall hung with cloths of diverse kinds, among gorgeous gold worked carpets stretched on the floor,was the sub-king himself seated on a marvellously wrought royal throne. Beautifully engraved swords of solid gold, trays and boxes of gold and silver, and various royal ornaments were placed on either side ; there was a golden curtain drawn, and on this side of it the great ministers were on their knees making obeisance. Here we were ushered in and introduced; the sub-king inquired after our welfare, and betel was handed round on trays. We were then shown some books that were not to be found in Lanka at the time ; we gazed at them in reverence, bowing our heats before the holy paper, and were graciously informed that these books and the priests would be given to us. Next a great feast of rice was served  for us and our attendants after which we received permission to withdraw.



ตามจดหมายเหตุของคณะทูตนี้ “Uva Rajjuvo” หรือ “Sub-king” น่าจะเป็น เจ้าพระยาชำนาญฯ ตามข้อมูลที่ คุณศรีสรรเพชญ์ ให้มา
จะเห็นได้ว่า ผู้ดำรงตำแหน่งวังหน้าสมัยนั้นไม่ได้มีบทบาทในเรื่องนี้มากนัก ไม่ได้มีอิทธิพลมากเหมือนกับสมัยอื่นๆ
และยังมีอีกบุคคลที่เป็น "the second sub-king" ที่มีบทบาทในการบริหารจัดการบ้านเมือง

อาจกล่าวได้ว่าในเวลานั้น ถึงแม้ว่าเหล่าพระราชโอรสได้มีอายุสามสิบกว่า ๆ กันแล้ว แต่ยังไม่มีการมอบหมายภารกิจ เตรียมตัวให้เป็นผู้บริหารปกครองประเทศอย่างเต็มตัว
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 11 ก.ย. 15, 20:21

อยากเห็นที่มาของคำในต้นฉบับภาษาสิงหลว่า sub king , second king, etc. มาจากไหนครับ

สงสัยว่าทำไมทิ้งไว้แค่ uva rajjuruvo คำเดียว เพราะทิ้งไว้อย่างนี้ สมเด็จดำรงฯ ท่านคงจะทรงคิดว่าเป็นคำทับศัพท์ จึงทรงตีความเป็นชื่อพระยาฯ อย่างนั้น ลองถามน้องกุ๊กดูจะพบว่า Rajjuruwo แปลว่ากษัตริย์

ตอนนี้ผมมีหนังสือ 'เรื่องประดิษฐานพระสงฆ์สยามวงศ์ในลังกาทวีป' พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  อยู่กับตัวแล้วครับ จะอธิบายตามพระวินิจฉัยของพระองค์ไปทีละเรื่องนะครับ


จากคำนำฉบับพิมพ์ครั้งแรก ได้อธิบายถึงหนังสือระยะทางราชทูตลังกาที่เข้ามาในกรุงศรีอยุทธยาเอาไว้ว่า

"๓.หนังสือระยะทางราชทูตลังกา ที่พระเจ้าเกียรติศิริราชสิงหะให้เข้ามาขอพระสงฆ์สยามแต่งไว้ เดิมเห็นจะเป็น ๒ ฉบับ คือพวกทูตที่มาต่างคนต่างแต่ง หนังสือเรื่องนี้ นายปีริส เนติบัณฑิต ได้แปลเป็นภาษาอังกฤษลงพิมพ์ไว้ในหนังสือ รอยัล เอเซียติคโซไซเอตี เมืองลังกา เล่ม ๘ มีเรื่องราวแลรายวันพิสดาร ตั้งแต่ราชทูตลังกาออกจากศิริวัฒนบุรี จนกลับไปเกาะลังกาเรื่อง ๑"



ในคำนำยังระบุด้วยว่าทรงแปลความตอนนี้จากหนังสือฉบับภาษาอังกฤษ ไม่ใช่ภาษาสิงหลที่เป็นต้นฉบับ และทรงเรียบเรียงเนื้อหาและภาษาให้เป็นสำนวนไทยตามพระวินิจฉัยครับ

"...ความตั้งแต่ราชทูตลังกาเข้ามาขอคณะสงฆ์ มีจดหมายเหตุของเดิม ซึ่งทูตผู้มาได้แต่งไว้โดยพิสดาร น่าแปลออกมาเป็นภาษาไทยให้ตรงกับจดหมายเหตุนั้น แต่ความขัดข้องมีอยู่ ด้วยจดหมายเหตุของเดิมแต่งไว้ในภาษาสิงหฬ แลแปลไปเป็นภาษาอังกฤษเสียอีกชั้น ๑ แลเห็นได้ว่าผู้แปลๆ โดยไม่รู้ภูมิประเทศ แลกิจการในกรุงศรีอยุธยา ความพลาดไปหลายแห่ง ข้าพเจ้าจึงแปลจดหมายเหตุของราชทูตลังกา โดยถืออิสระที่จะแก้ไขความในที่ซึ่งรู้เป็นแน่ว่าผิด และเปลี่ยนโวหาร วิธีเรียงความให้เป็นสำนวนไทย เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ถ้าการที่ข้าพเจ้าเปลี่ยนแปลงวิธีแปลระยะทางราชทูตลังกา ไม่ต้องใจท่านผู้อ่านคนใด จะไปสอบกับต้นฉบับภาษาอังกฤษก็ได้ ด้วยหนังสือเรื่องนี้ กรรมการหอพระสมุดวชิรญาณได้พิมพ์ไว้แล้ว..."

ดังนั้น เรื่องที่จะสอบที่มาของ sub king , second king คงยากจะทำได้ครับ น่าจะต้องไปค้นหาต้นฉบับภาษาสิงหลมาสอบทานอย่างเดียวครับ
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 11 ก.ย. 15, 20:42

เรื่องของเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเขียนถึงไว้หลายตอนครับ และทรงทำเชิงอรรถไว้ด้วย


ความตอนราชทูตลังกามาพบกับเจ้าพระยามหาอุปราช เทียบกับภาษาอังกฤษของคุณ Koratian ในความคิดเห็นที่ 124 นะครับ


จนมาถึงพระนคร ได้รับการต้อนรับจาก “sub king” ก่อนที่จะไปเข้าพักในย่านฮอลันดา

   About the eighth hour of the same mornings we approached the capital of Ayodya Pura and were presented to the sub king. We showed him the royal message and presents at which he expressed his great pleasure and spoke to us most kindly for a short time and inquired about our journey. He further informed us that a subsequent communication would be made to us regarding the presentation of the royal message and presents at the court. After this he desired us to return to our halting place; we accordingly returned down the river to the Dutch settlement.

          "เวลาประมาณ ๘ โมงเช้าวันนั้น เรือกระบวนถึงพระนครศรีอยุธญา ทูตานุทูตลังกาพากันไปหาเจ้าพระยา (ชำนาญบริรักษ์ ผู้ว่าที่เจ้าพระยา) มหาอุปราช๒๘ เชิญพระราชสาส์นแลเครื่องราชบรรณาการไปให้ตรวจ เจ้าพระยามหาอุปราช แสดงความยินดีปราศรัยทูตานุทูตตามสมควร แล้วบอกว่า จะนัดกำหนดวันเข้าเฝ้าให้ทราบต่อภายหลัง๒๙ เมื่อเสร็จสนทนากับเจ้าพระยามหาอุปราชแล้ว ทูตานุทูตก็ลากลับมาพักอาศัยอยู่ที่บ้านวิลันดา๓๐

๒๘ ที่แปลว่าเจ้าพระยามหาอุปราชตรงนี้ ด้วยในหนังสือระยะทางราชทูตลังกาที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ บางแห่งเรียกด้วยศัพท์อังกฤษว่าสับกิง บางแห่งเรียกด้วยศัพท์ว่า อุวะราชชุรุ จึงเข้าใจว่า หมายความว่า เจ้าพระยามหาอุปราช ชาติวรวงศ์ฯ นั้นเอง ในหนังสือพระราชพงศาวดารปรากฏแต่ว่า เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ได้ว่ากรมท่า เพราะฉะนั้นเป็นเจ้าหน้าที่ที่จะรับราชทูตต่างประเทศ จะเป็นผู้อื่นไม่ได้ แต่พึ่งปรากฏในจดหมายเหตุราชทูตลังกาฉบับนี้ ว่าเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ได้เป็นตำแหน่งเจ้าพระยามหาอุปราชตามทำเนียบศักดินาพลเรือนด้วย ตำแหน่งนี้ ในจดหมายเหตุของมองซิเออร์ลาลูแบ ราชทูตฝรั่งเศสที่เข้ามาครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก็ว่ามีเจ้าพระยามหาอุปราชในครั้งนั้น ที่เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ได้ว่าที่เจ้าพระยามหาอุปราชนั้น ก็ไม่เป็นการประหลาดอันใด ด้วยเป็นผู้ที่มีความชอบต่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐยิ่งกว่าผู้อื่น แลมีหลักฐานอีกประการ ๑ ในหนังสือพระราชพงศาวดารกล่าวว่า เมื่อเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ถึงอสัญกรรม โปรดให้เรียกว่าพระศพเหมือนเจ้า ข้อนี้สมกับความในระยะทางราชทูตลังกาข้างตอนปลาย กล่าวถึงเจ้าพระยามหาอุปราชถึงอสัญกรรม
๒๙ ระยะนี้ เป็นเวลาที่จะต้องแปลพระราชสาส์นออกเป็นภาษาไทย
๓๐ บ้านพวกวิลันดาตั้งอยู่ฝั่งตะวันออก ระหว่างปากน้ำแม่เบี้ยกับวัดรอ ใต้วัดพระเจ้าพนัญเชิงลงไปหน่อยหนึ่ง


ข้อความเรื่องเจ้าพระยามหาอุปราชถึงแก่กรรม เข้าใจว่าไม่ได้ตีพิมพ์ครับ เพราะมีพิมพ์เฉพาะจดหมายเหตุที่ราชทูตลังกาเข้ามาใน พ.ศ.๒๒๙๔ อย่างเดียว

Sub king เป็นเจ้าต่างกรมได้หรือไม่ครับ ถ้าเป็นขุนนางระดับพระยา ทำไมถึงใช้คำระดับนี้ น่าสงสัยครับ

สำหรับเรื่องนี้ ดูจากฐานะหลายๆอย่างของเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์แล้วก็น่าเป็นไปได้ครับ เท่าที่ดูจะไม่ค่อยปรากฏหลักฐานว่าเจ้าต่างกรมมีสิทธิในการบริหารบ้านเมืองสมัยนั้นมากเท่าไหร่ครับ
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 11 ก.ย. 15, 21:14

ความตอนราชทูตไปพบเจ้าพระยามหาอุปราชที่จวน วันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๒๙๔ เทีบกับภาษาอังกฤษ คห.136 นะครับ


  วันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1751 (พ.ศ. 2294) คณะทูตเข้าเฝ้า “Uva Rajjuvo” หรือ “Sub-king” ทรงประทาน หนังสือมีค่าให้ไปพร้อมกับคณะสงฆ์

   On the seventh day of the solar month Thula, being Wednesday, in the morning, two officers came and accompanied us in boats to near the palace of the Uva Rajjuruvo. There, in a two-staged octagonal hall hung with cloths of diverse kinds, among gorgeous gold worked carpets stretched on the floor,was the sub-king himself seated on a marvellously wrought royal throne. Beautifully engraved swords of solid gold, trays and boxes of gold and silver, and various royal ornaments were placed on either side ; there was a golden curtain drawn, and on this side of it the great ministers were on their knees making obeisance. Here we were ushered in and introduced; the sub-king inquired after our welfare, and betel was handed round on trays. We were then shown some books that were not to be found in Lanka at the time ; we gazed at them in reverence, bowing our heats before the holy paper, and were graciously informed that these books and the priests would be given to us. Next a great feast of rice was served  for us and our attendants after which we received permission to withdraw.



      "ณ วันพุธที่ ๗ เดือนสุริยคติ ตุลา๖๖ (คม) เวลาเช้า ข้าราชการไทย ๒ คน เอาเรือมารับพวกทูตานุทูตไป ณ ที่แห่ง ๑ ซึ่งไม่ห่างกับจวนเจ้าพระยามหาอุปราช ที่นั่นมีหอ ๘ เหลี่ยม หลังคา ๒ ชั้น๖๗ ข้าในผูกม่านสีต่างๆ แลปูพรมลายทอง เจ้าพระยามหาอุปราชนั่งอยู่บนเตียง มีเครื่องยศตั้งอยู่ ๒ ข้างคือ ดาบฝักทอง พานทองเป็นต้น มีม่านไขอยู่ข้างหน้า หน้าม่านออกมามีข้าราชการหมอบอยู่หลายคน เจ้าพนักงานพาพวกทูตานุทูตเจ้าไปหาเจ้าพระยามหาอุปราชๆ ทักทายปราศรัยแลเลี้ยงหมากพลูแล้ว จึงให้ดูพระคัมภีร์ต่างๆ ซึ่งในลังกาทวีปหาฉบับไม่ได้๖๘ บอกว่าพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาจะพระราชทานหนังสือคัมภีร์ทั้งปวงนี้ให้ออกไปกับคณะสงฆ์ ที่จะไปให้อุปสมบทในลังกาทวีป เมื่อทูตานุทูตได้กระทำนมัสการพระคัมภีร์ทั้งปวงแล้ว เจ้าพระยามหาอุปราชให้ยกสำรับคาวหวานมาเลี้ยงพวกทูตานุทูต แล้วจึงลากลับไปที่พัก"

๖๖ ตรงนี้ ตามจันทรคติควรจะเป็นเดือน ๑ หรือแรมเดือน ๑๒ ที่ทูตลังกาลงเดือนตุลาคมไว้ตรงนี้สงสัยอยู่
๖๗ พระยาโบราณราชธานินทร์สอบสวนได้ความว่า จวนเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์อยู่ที่ริมประตูจีน ที่ๆ ราชทูตลังกาไปจะเป็นสถานที่อันใด คิดยังไม่เห็น บางทีจะเป็นในจวนเจ้าพระยามหาอุปราชเองก็เป็นได้
๖๘ คัมภีร์หนังสือที่สมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐพระราชทานไปครั้งนั้น มีคัมภีร์กรรมวาจาผูก ๑ จารึกแผ่นทองคำทำขนาดเท่าใบลาน มีกรอบทองสลักลายกุดั่น ยังอยู่ที่หอพระทันตธาตุที่เมืองศิริวัฒนบุรี จนทุกวันนี้ นอกจากนี้ ปรากฏว่าได้คัมภีร์มหาวงศ์พงศาวดารลังกาออกไปจากกรุงศรีอยุธยาในคราวนั้นด้วย หนังสือคัมภีร์อื่นที่พระราชทานไปครั้งพระอุบาลีออกไป ไม่ปรากฏว่าหนังสือคัมภีร์ใดบ้าง ปรากฏในศุภอักษรซึ่งลงไว้ข้างท้ายหนังสือนี้ ว่าได้พระราชทานหนังสือออกไปกับราชทูตที่เข้ามาส่งพระอริยมุนีอีกคราว ๑ เป็นหนังสือ ๙๗ คัมภีร์ มีชื่อปรากฏอยู่ในศุภอักษรนั้นทุกคัมภีร์


หอ ๘ เหลี่ยม ในจดหมายเหตุราชทูตลังกา เดาว่าน่าจะมีรูปทางคล้ายหอพระแก้วในเมืองโบราณ ซึ่งจำลองแบบมาจากภาพสลักบานประตูตู้พระธรรมสมัยอยุทธยาครับ(ผมเคยเห็นภาพตู้ที่ว่า ดูใกล้เคียงกันครับ)


บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 11 ก.ย. 15, 21:29

เรื่อง second sub-king เจ้าพระยามหาอุปราชที่ ๒


   คณะทูตได้เป็นแขกรับเชิญไปงานเลี้ยง โดย “the second sub-king”  และ เหล่าเสนาบดี

   After all this we were taken back to our halting-place in the evening. Eight days later, being Mondav the eighth day of the waning moon, two officers came and accompanied us to a vihare which was full of priests' houses ; here we saw a building: of three stages the tiles on the roof of which were gilt and appeared as a mass of kinihiriya flowers. In front of this were two golden dagabas ; having made our obeisance to these, we rested a short time in a hall here, after which we were invited to a two storied hall where we were received with every mark of respect by the second sub-king and several Ministers of State and were entertained with our attendants at a feast and subsequently with betel and arecanut. Then several dancers in various gold-worked costumes were brought in to sing and dance before us, after which we were taken back to our resting place.


   "ต่อมาอีก ๘ วัน ถึง ณ วันจันทร์ (เดือน ๑๑) แรม ๘ ค่ำ มีข้าราชการ ๒ คน มาพาพวกทูตานุทูตไปที่วัดอีกแห่ง ๑ วัดนี้มีกุฎีพระสงฆ์มาก พระอุโบสถหลังคา ๓ ชั้น มุงด้วยกระเบื้องเคลือบ๕๒ หน้าพระอุโบสถมีพระเจดีย์ปิดทอง ๒ องค์ เมื่อพวกทูตานุทูตนมัสการพระแล้วพักอยู่หน่อยหนึ่ง แล้วเจ้าพนักงานมาเชิญไปยังบ้านเจ้าพระยามหาอุปราชที่ ๒ ๕๓ ๆ กับขุนนางผู้ใหญ่อีกหลายคนพากันต้อนรับเลี้ยงอาหารพวกทูตานุทูต เมื่อเลี้ยงอาหารแลกินหมากพลูเสร็จแล้ว จัดระบำอันแต่งตัวล้วนด้วยเครื่องปักทอง มาร้องแลรำให้พวกทูตานุทูตดู แล้วพวกทูตานุทูตจึงลากลับไปที่พัก"

๕๒ เห็นจะเป็นวัดบรมพุทธาราม ซึ่งราษฎรเรียกว่า วัดกระเบื้องเคลือบ เป็นวัดที่สมเด็จพระเพทราชาทรงสร้าง อยู่ในเมือง ไม่ห่างหัวแหลมนัก
๕๓ ข้าราชการผู้นี้ในจดหมายระยะทางราชทูตลังกา ฉบับภาษาอังกฤษเรียกว่า เซกันสับกิง จึงแปลว่า เจ้าพระยามหาอุปราชที่ ๒ ที่จริงคงจะเป็นพระยาพิพัฒโกษา ปลัดทูลฉลองกรมท่า พระยาพิพัฒโกษาคนนี้ ปรากฏนามในหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่าเป็นบุตรเขยเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ เมื่อเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ถึงอสัญกรรมแล้ว ได้เป็นที่เจ้าพระยาพระคลังต่อมา


แต่ดูจากฐานะของ second sub-king ในจดหมายเหตุราชทูตลังกาดูมีฐานะสูงส่งพอสมควร แต่ราชปลัดทูลฉลองอย่างพระยาพิพัฒโกษานั้นมีศักดินาเพียง ๑๐๐๐ นับว่าค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับระดับเจ้ากรมหลายๆคน แม้ว่าจะเป็นลูกเขยเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ คิดว่าดูฐานะไม่สมกับที่จะเป็น second sub-king เท่าไหร่ครับ
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 11 ก.ย. 15, 21:59

กระบวนพยุหยาตราสถลมารค ที่มี sub-king   second sub-king  และ อนุราช(Anu-raja) ๒ องค์ ซึ่งกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงวินิจฉัยว่าน่าจะเป็นเจ้าฟ้าเอกทัศน์ กรมขุนอนุรักษ์มนตรีกับเจ้าฟ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิตครับ (ซึ่งก็น่าจะเป็นไปได้ครับ เพราะเป็นพระโอรสชั้นเจ้าฟ้าที่ได้ทรงกรมเพียง ๒ พระองค์ ถ้าไม่นับเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)



      จากนั้นเป็นเสนาบดี ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่ตามเสด็จในขบวน พระขรรค์ พระมงกุฏ และ เครื่องราชฯ อื่นๆ ต่อด้วย ผู้มีบรรดาศักดิ์นายทุนเจ้าของที่ดิน

   Next, walking four abreast and carrying: gold-worked flags, came a band of men holding four strings so that their order might not be disturbed. Then came a row of elephants with and without tusks, male and female, with trappings of unheard-of splendour, carrying sets of robes and the priestly necessaries and all manner of offerings. Next came two great Officers of State employed in the inner palace, with the Master of the Chariots, the Custodian of the Sword of State, two Keepers of the Crown Jewels, two Officers of the Royal Betel Box, the two Chief Officers of the Treasury, two Admirals of the Great Boats, two Masters of the Horse, two of the King's Physicians, two Officers who were in charge, the one of the stores of copper, brass, tin, timber, horns, ivory, white and red sandalwood, of the villages which produce them, and of the men employed in their service, the other of the loyal rice and betel villages, and of their tenant,—all these came on elephants holding with both hands on golden trays their offerings of robes and other necessaries as described before, each accompanied by his vassals. Behind came a host of hundreds and thousands of devotees, male and female, carrying on their heads robes and offering.

    จากนั้นมี เหล่าเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง และ ที่น่าสนใจ “the Uva Rajjuruvo” และ “the second sub-king”

    Next came the two second Anu-Rajas, carried on the necks of stalwart men in two couch-shaped thrones with a railing of irory, adorned with gold and rows of pearls, and set with magnificent gems ; above their heads were carried ten sesat, and they were followed by a host armed with the five kinds of weapons. Next, in the first of two similarly adorned thrones, was borne on the shoulders of stout warriors the Great Officer of State to whose hands are entrusted all the affairs of Siam, and who is called the Uva Rajjuruvo. Above him were carried five sesat, and behind him was a band with umbrellas and swords. In the second throne was the second sub-king carried in similar state. Next came the great state Elephant ; the whole of its body was the colour of copper, arid it was covered with full trappings of gold ; on each side of it were carried four sesat and four flags ; eight trays of gold tilled with peeled sugar cane, ripe jak, and plantains were carried for its food ; its attendants—elephants with and without tusks, male and female—followed ; on them rode men carrying: flags. A vast number of offering's to the Buddha were presented to the priests with the robes and priestly necessaries. The Siamese officers told us that by the royal command we too were to share in the merit acquired by this great Kathina Pinkama, and of all the other religious services which his illustrious majesty had ordained in his great devotion to the Triple Gem. After this we were taken back to our halting-place.




   "แล้วถึงกระบวนพลเดินเท้า เดินเป็น ๔ สาย ถือเส้นเชือกเพื่อให้คนเดินให้ได้ระยะกันทุกสาย ที่นำหน้าถือธงปักทอง๕๖ แล้วถึงกระบวนช้าง ทั้งพลายแลพัง เดินเรียงตามกันเป็นแถว ล้วนผูกเครื่องแลบรรทุกของไทยธรรมสำหรับถวายพระสงฆ์ ต่อนั้น ถึงกระบวนขุนนางขี่ช้างคือ เป็นข้าราชการตำแหน่งในกรมวัง ๒ คน แล้วตำแหน่งเจ้ากรมรถ ตำแหน่งเจ้ากรมแสง ตำแหน่งในกรมภูษามาลา ๒ คน ตำแหน่งเจ้าพนักงานผู้ดูแลเครื่องราชูปโภค ๒ คน ตำแหน่งเจ้าพนักงานพระคลัง ๒ คน ตำแหน่งกรมพระคลังสวน๕๗ ๒ คน ต่อมาถึงสัปบุรุษนับด้วยร้อยแลพันทั้งชายแลหญิง ล้วนเอาผ้าไตรหรือเครื่องบริขารทูนศีรษะ๕๘ ไปในกระบวน ต่อนี้ ถึงอนุราชทั้ง ๒ พระองค์๕๙ มีข้าในกรมเชิญเครื่องตามเสด็จเป็นอันมาก ต่อมาถึงเจ้าพระยามหาอุปราช นั่งเสลี่ยงคนหามแลกั้นสัปทน มีคนถือเครื่องยศตามต่อกระบวนเจ้าพระยามหาอุปราช ถึงเจ้าพระยามหาอุปราชที่สองนั่งแคร่มีคนหามแลคนตาม ต่อนั้นถึงกระบวนพระยาช้างเผือกสีเหมือนทองแดง แต่งเครื่องทอง มีคนถือกระฉิ่งแซง ๔ คัน ธง ๔ คัน แลมีคนถือโต๊ะทองรองอ้อยแลกล้วยตาม ๘ โต๊ะ แลมีช้างพังเป็นบริวารด้วย ช้างพังนี้คนขี่ถือธงด้วย"

๕๖ ต่อนี้ในจดหมายเหตุ ว่ามีกระบวนช้างพลาย ช้างพังบรรทุกผ้าไตร แลเครื่องบริขารอีก แล้วถึงข้าราชการ บอกตำแหน่งไว้ว่า ขี่ช้างเป็นคู่ๆ กัน ข้าพเจ้าพิเคราะห์ดู ตรงนี้น่าจะเป็นกระบวนเสด็จ แต่ผู้เรียงจดหมายเหตุเดิม หรือผู้แปลเป็นภาษาอังกฤษจะทำไขว้เขวเสียอย่างไร ไม่ได้กล่าวว่าเสด็จทีเดียว ข้าพเจ้าจะกล่าวแต่ตามที่ปรากฏในจดหมายเหตุทูตลัง ขอให้ท่านผู้อ่านพิเคราะห์เอาเองเถิด ว่าที่จริงจะเป็นเพียงไร
๕๗ ขุนนางที่บอกตำแหน่งแลกล่าวเป็น ๒ คนๆ ดังนี้ ที่จริงน่าจะเป็นคู่เคียง แต่แขกผู้อธิบายจะบอกเลื่อนเปื้อน ทูตลังกาก็จะจดเลอะไปด้วย ที่น่าเห็นว่าเป็นกระบวรเสด็จพระราชดำเนินนั้น จะเห็นได้ด้วยกระบวนซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้
๕๘ กระบวนที่ว่าคนมากนี้ ที่จริงน่าจะเป็นมหาดเล็ก แต่หากพรรณาเผลอไป
๕๙ หมายความว่า เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี พระองค์ ๑ เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต พระองค์ ๑ เวลานั้นเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ซึ่งเป็นกรมพระราชวังบวรนั้น ก็ยังดำรงพระชนม์อยู่ บางทีจะประชวรหรือมิฉะนั้นก็แห่เสด็จกระบวน ๑ ต่างหาก จากวังจันทรเกษม

ที่ว่าเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรอาจจะประชวรจนไม่เสด็จกระบวนแห่ตามพระวินิจฉัยก็เป็นไปได้ครับ เพราะช่วงเวลาก็ไล่เลี่ยกับพระราชพงศาวดารว่าทรงประชวรคุดทะราดจนไม่ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศถึง ๓ ปีเศษครับ
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 11 ก.ย. 15, 22:23

second king - กรมพระราชวังบวรสถานมงคล


ในตอนพระราชพิธีจองเปรียงเดือน ๑๒ ทรงวินิจฉัยว่า second king ที่เสด็จออกด้วยน่าจะเป็นเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรครับ


The king himself, his son the prince, the second king, and the Uva Rajjuruvo came in the gilt royal barges, on which were erected alcoves with curtains and awnings of various coloured cloths ; these boats were fitted with gold and silver stands holding lighted candles of wax and sweet-scented oils; a host of noblemen followed in similarly illuminated boats.

  "(ครั้นได้เวลา) พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาเสด็จโดยกระบวนเรือพร้อมด้วยกรมพระราชวังบวรสถานมงคล สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ แลเจ้าพระยามหาอุปราช เรือที่เสด็จล้วนปิดทองมีกันยาดาดสีแลผูกม่าน ในลำเรือปักเชิงทองแลเงิน มีเทียนจุดตลอดลำ มีเรือข้าราชล้วนแต่งประทีปแห่นำตามเสด็จด้วยเป็นอันมาก"


แต่ถ้าดูจากคำภาษาอังกฤษน่าจะแยกผู้ตามเสด็จเป็น ๓ คนคือ
1.his son the prince   ทรงแปลว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ซึ่งต้องมีองค์เดียวเพราะเป็นเอกพจน์
2.the second king      ทรงแปลว่า กรมพระราชวังบวรสถานมงคล  น่าจะเป็นไปได้ เพราะเอาขึ้นก่อน Uva Rajjuruvo ที่เป็น sub-king แสดงว่าน่าจะมีศักดิ์สูงกว่า
3.the Uva Rajjuruvo   ทรงแปลว่า เจ้าพระยามหาอุปราช


แต่เพราะเป็นการแปลจากภาษาสิงหลเป็นภาษาอังกฤษก็อาจจะมีความคลาดเคลื่อนได้ครับ บางที prince อาจจะตก s ไป เพราะอย่างไรเสีย พระราชพิธีสำคัญแบบนี้คงไม่ได้มีแค่พระเจ้าลูกเธอองค์เดียวเสด็จแน่ หรือไม่ก็อาจจะต้องการสื่อว่า his son the prince ที่เป็นโอรสองค์เดียวนี้เป็น the second king ก็เป็นได้ครับ โดยอาจจะใส่ลูกน้ำผิด
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 11 ก.ย. 15, 22:57

     "ณ วันพุธที่ ๗ เดือนสุริยคติ ตุลา๖๖ (คม) เวลาเช้า ข้าราชการไทย ๒ คน เอาเรือมารับพวกทูตานุทูตไป ณ ที่แห่ง ๑ ซึ่งไม่ห่างกับจวนเจ้าพระยามหาอุปราช ที่นั่นมีหอ ๘ เหลี่ยม หลังคา ๒ ชั้น๖๗ ข้าในผูกม่านสีต่างๆ แลปูพรมลายทอง เจ้าพระยามหาอุปราชนั่งอยู่บนเตียง มีเครื่องยศตั้งอยู่ ๒ ข้างคือ ดาบฝักทอง พานทองเป็นต้น มีม่านไขอยู่ข้างหน้า หน้าม่านออกมามีข้าราชการหมอบอยู่หลายคน เจ้าพนักงานพาพวกทูตานุทูตเจ้าไปหาเจ้าพระยามหาอุปราชๆ ทักทายปราศรัยแลเลี้ยงหมากพลูแล้ว จึงให้ดูพระคัมภีร์ต่างๆ ซึ่งในลังกาทวีปหาฉบับไม่ได้๖๘ บอกว่าพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาจะพระราชทานหนังสือคัมภีร์ทั้งปวงนี้ให้ออกไปกับคณะสงฆ์ ที่จะไปให้อุปสมบทในลังกาทวีป เมื่อทูตานุทูตได้กระทำนมัสการพระคัมภีร์ทั้งปวงแล้ว เจ้าพระยามหาอุปราชให้ยกสำรับคาวหวานมาเลี้ยงพวกทูตานุทูต แล้วจึงลากลับไปที่พัก"

หอ ๘ เหลี่ยม ในจดหมายเหตุราชทูตลังกา เดาว่าน่าจะมีรูปทางคล้ายหอพระแก้วในเมืองโบราณ ซึ่งจำลองแบบมาจากภาพสลักบานประตูตู้พระธรรมสมัยอยุทธยาครับ(ผมเคยเห็นภาพตู้ที่ว่า ดูใกล้เคียงกันครับ)





ภาพแกะสลักรูปอาคาร ๘ เหลี่ยม(กลางล่าง)บนประตูตู้พระธรรมสมัยอยุทธยาครับ เข้าใจว่าตู้ใบนี้เป็นต้นแบบของหอพระแก้ว เมืองโบราณ
ที่มาภาพ ฐานข้อมูลภาพ ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล(http://www.thapra.lib.su.ac.th/supat/slide/)

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 16 ก.ย. 15, 19:46

ยังติดตามกระทู้นี้อยู่    เป็นอันว่ากวีนิรนามคนนั้นตกอันดับไปแล้ว    เรากำลังสนใจการเมืองในสมัยพระเจ้าบรมโกศแทน
ความอ่อนแอของกรุงศรีอยุธยาสะสมกันมาเป็นสิบๆปี   เหมือนคลื่นที่ซัดตลิ่งพังลงไปทีละน้อย   พอเจอคลื่นใหญ่จากพม่าเข้า ก็เลยล้มครืน
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 17 ก.ย. 15, 06:37

ยังติดตามกระทู้นี้อยู่    เป็นอันว่ากวีนิรนามคนนั้นตกอันดับไปแล้ว    เรากำลังสนใจการเมืองในสมัยพระเจ้าบรมโกศแทน
ความอ่อนแอของกรุงศรีอยุธยาสะสมกันมาเป็นสิบๆปี   เหมือนคลื่นที่ซัดตลิ่งพังลงไปทีละน้อย   พอเจอคลื่นใหญ่จากพม่าเข้า ก็เลยล้มครืน


กวีนิรนามยังไม่จบครับ กำลังจะให้เหตุผลว่า ทำไมเจ้าฟ้ากุ้งจึงจำเป็นต้อง
อ้างบ่อย ๆ ว่าตนเองเป็นวังหน้า ในข้อความแทรกของวรรณกรรมต่างๆ

ตั้งแต่ได้รับการสถาปนา จนถึงช่วงนี้ ที่คณะทูตลังกาเข้ามา
ในทางบริหารราชการ ผู้ที่มึบทบาทบริหารราชการรองจากพระเจ้าแผ่นดินคือ
เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ ที่โกษาธิบดี หรือเป็นเจ้าพระยามหาอุปราช ที่ทูตเรียก
ยังมีเจ้าพระยามหาอุปราชองค์ทึ่สองที่ อาจเป็นสมุหนายก ที่มีบทบาทรองลงมา
เป็นการเกาะกลุ่มอำนาจของขุนนาง รวมทั้งเจ้าพระยาพิษณุโลกที่เป็นกลุ่มเครือญาติ
การเกาะกลุ่มเครือข่ายขุนนางที่แข็งแรงนี้ เป็นสิ่งหนึ่งที่เกิดขนานกับ
ปัญหาในการสืบราชสมบัติที่มีมาทุกสมัย

บรรดาพระราชโอรสเองต้องแย่งกันขึ้นสืบทอดราชสมบัติให้ได้
กลุ่มขุนนางที่แข็งแรงมีความจงรักภักดีในตัวกษัตริย์และทายาทที่ถูกเลือก
ในสภาวการณ์ที่ผู้สืบทอดอำนาจไม่ได้รับความไว้วางใจอย่างเด่นชัด
เป็นธรรมชาติที่พระราชโอรสจะแตกแยกเป็นฝ่าย และหาทางประหัติประหารกันเอง
อีกฝ่ายรู้ตัวชัดเจนว่าจะถูกกำจัดถ้าไม่ได้อำนาจ

เจ้าฟ้ากุ้ง เองไม่ได้มีบทบาทในทางปกครองอะไรเลย จำเป็นที่จะต้อง
อ้างถึงการเป็นวังหน้าของพระองค์ เพื่อให้เกิดข้อได้เปรียบเมื่อเกิดการถ่ายโอนอำนาจ

ในบันทึกภาษาอังกฤษของทูตลังกา มีเชิงอรรถที่ไม่ได้แปลในฉบับภาษาไทยเอาไว้
หลังจากเรือโดยสารของคณะเจ้าคุณอุบาลีล่มที่เมืองนคร จำเป็นต้องเดินทางกลับอยุธยา
ในเวลาไล่เลี่ยกันสมเด็จเจ้าพระยามหาอุปราชก็สิ้นพอดี
พระเจ้าบรมโกศต้องเป็นธุระในการส่งคณะสงฆ์ไปใหม่ด้วยพระองค์เอง

ต่อจากนั้นเราก็ทราบว่าเจ้าฟ้ากุ้งเริ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองอีกครั้ง
เครือข่ายขุนนางต้องปรับตัวเพื่อปกป้องตนเอง
เมื่อสิ้นรัชกาลพระโอรสฆ่ากันเอง ผู้ได้อำนาจไม่เคยได้รับการฝึกให้ครองบัลลังก์
อยุธยาก็นับถอยหลังรอวันแยกออกเป็นก๊กต่างๆ ก่อนพม่าจะบุกเข้ามา

รายละเอียดสนับสนุนจะตามมาต่อไปครับ พอดีข่วงนี้ เด็กสอบครับ



บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 17 ก.ย. 15, 16:46


จากจดหมายเหตุของคณะทูตลังกาที่จดรายละเอียดต่างๆไว้พอสมควร เราจะเห็นได้ว่า
ในสมัยของพระเจ้าบรมโกศนั้น ไม่ได้ผูกขาดความเป็นเจ้าไว้เฉพาะเชื้อสายของพระองค์
แต่มอบความเป็นเจ้าให้แก่ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่วางพระทัยด้วย
ขุนนางที่มาจากสามัญชนเหล่านี้ได้นำความเป็นเจ้าลงมาใกล้ชิดพลเมืองมากยื่งขึ้น

ดังนั้นตำแหน่งวังหน้าของเจ้าฟ้ากุ้งจึงไม่ได้ยิ่งใหญ่เหมือนในรัชกาลอื่นๆ อีกทั้งยังถูกบดบังโดย
บทบาทของขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่มีความสามารถอย่างเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ที่เป็นนักปกครองและเป็นนักรบเก่าด้วย
เมื่อเจ้าพระยาชำนาญถึงแก่อนิจกรรม พระเจ้าบรมโกศที่ทรงชราภาพแล้วยังต้องลงมาเป็นธุระจัดการเรื่องต่างๆ ด้วยพระองค์เอง
เช่น ส่งคณะสงฆ์ออกไปใหม่ ไม่ได้ไว้วางใจให้พระราชโอรสองค์ใดจัดการแต่ประการใด

การที่จะเตือนผู้คนให้ยังนึกถึงว่าใครเป็นวังหน้าอยู่ จะหาพื้นที่โฆษณาได้ง่ายถ้าพ่วงวรรณกรรมที่นำมาแสดงซ้ำในโอกาสต่างๆได้
มีบันทึกชัดเจนว่าในสมัยพระเจ้าบรมโกศ ชาวบ้าน ชาวเมือง พลเมืองในทุกระดับมีส่วนร่วมในพระราชพิธีต่างๆอย่างหนาแน่น
ในงานบุญที่คณะทูตแวะตามหัวเมืองต่างๆ บางกอก ตลาดขวัญ พระบาทมีชาวบ้านเข้าร่วมกันอย่างแน่นหนาทุกแห่ง
 
การมองว่าพระราชพิธีต่างๆนั้นผู้มีส่วนร่วมมีเฉพาะชาววังตามมุมมองของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เป็นการจำกัดมุมมองแยกชาววังออกจากชาวบ้าน
ในผู้ตามขบวนช้างในพิธีแห่ผ้าพระกฐิน ก็มีข้าราชบริพาร ทั้งชายและหญิง ไม่ใช่เฉพาะมหาดเล็กตามคำวินิจฉัยของสมเด็จฯ

เพื่อแย่งชิงความได้เปรียบในเวลาที่ต้องแย่งชิงอำนาจภายภาคหน้า
คำโฆษณาสำนักพิมพ์เจ้าฟ้ากุ้งจึงถูกแทรกเข้ามาโดยมีเป้าหมายให้มวลชนได้ทราบถึงสรรพคุณโดยทั่วกัน
ไม่ได้จำเพาะแต่ในวงแคบๆ หน้าพระที่นั่งแต่ประการใดครับ

ต่อไปเราจะดูร่องรอยของการแทรก แบบ"ไม่เนียน" ในทุกแห่งที่มีตราสำนักพิมพ์เจ้าฟ้ากุ้งครับ

อาจเริ่มที่ จารึกอักษรขุดปรอท กันก่อน

คุณศรีสรรเพชญ์ หรือท่านอื่นๆ จะเริ่มจับข้อพิรุธกันก่อนก็ได้เลยนะครับ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 18 ก.ย. 15, 16:09


  ขอแทรกจดหมายเหตุทูตลังกา ในตอนท้ายๆ ก่อนครับ

   หลังจากเหตุเรือรั่วที่เมืองนคร ในกลางปี พ.ศ. 2395  คณะสงฆ์ไทยกลับมาอยุธยาอีกครั้ง ได้ทราบว่าเรือบรรทุกเครื่องบรรณาการสยามลำหนึ่งอับปางลงด้วย เรือลำอื่นๆอีกสี่ลำในกองเรือถูกพายุไซโคลนทำลาย อีกทั้งเจ้าพระยามหาอุปราชได้ถึงแก่อนิจกรรมลง พระเจ้าบรมโกศทรงวิตกกังวลและทรงเป็นธุระในการจัดส่งคณะสงฆ์ไปใหม่

  At last, on Wednesday, the third day of the increasing moon of the month Esala, in the Saka 1674, they arrived at the Siamese capital a second time, and were received in audience by the king. He addressed himself most graciously to the writer, and bade him not to be disheartened at his misfortune, as the king had given orders that everything should be arranged for his return journey. It is interesting to note that the word put into the king's mouth in addressing Wilbagedara is :
   Their return, however, was still to be delayed. One of the king's great ships with a valuable cargo, including elephants, was lost on a voyage to Sinnapattanam, only seven or eight of the crew escaping in a boat ; moreover, four ships riding at anchor in the harbour were destroyed by a cyclone ; and to crown all, the sub-king himself died shortly after. The king accordingly hesitated about sending the priests to Lanka in such a year of disaster, and consulted Wilbagedara, who sent the following reply :— “I, too, am in great distress at the misfortunes that have occurred ; but the uncertainty of the future, grief, and death are no new thing in our world of sorrow; herefore should you hasten to fructify your desire to spread the knowledge of the one thing that is certain, the preaching of the Lord."

  ในที่สุด ได้อาศัยเรือฮอลันดานำส่งคณะพระสงฆ์และผู้ติดตามไปปัตตาเวียและโดยสารเรือใหญ่ต่อไปศรีลังกา ถึงโดยสวัสดิภาพใน เดือนเมษายน พ.ศ. 2396
 
  This dream was the harbinger of happy news. The following morning two ship captains named Nicholas Bath and Martino appeared, and with many declarations of their being the humble and loyal servants of their majesties of Siam and Lanka, placed their new ship the “ Cecilia” at the service of the Sinhalese ambassador. This offer was joyfully accepted ; and on Sunday the third day of the waning moon of the month Duruta, the priests and the Siamese mission of seventy-four souls, including the five ambassadors, their interpreters, clerk ( samiyen ), Arachchies, (nun), "appus" ( thanei ), soldiers, two massageurs, musicians, and attendent boys proceeded on board. After an uneventful voyage they reached Batavia, where they were hospitably received by the Dutch general, who presented them with various articles, including three guns. Here they transshipped into a larger vessel, the " Oscabel," in which they reached Trincomalee on Monday, the thirteenth day of the increasing moon of the month Wesak, in the Saka year 1675.

 ข้อความตอนท้ายฉบับแปล “ในบรรดาข้อความที่บันทึกไว้เหล่านี้ เราได้ละเว้นแล้วที่จะกล่าวถึงสิ่งที่ไม่น่าเชื่อที่เราได้พบเห็นมา”

  Addendum.—As some discussion has arisen on the statement contained in paragraph 2, page 13, I add the literal translation of the passage kindly supplied to me by Mr. W. H. Ranesinghe:
    " Although we wrote them, many things were omitted from what was related to us and from what we saw, which seemed to be incredible"

  สำนวนเหมือนมาร์โคโปโล บรรยายสิ่งมหัศจรรย์ ที่พบเห็นในราชสำนักกุบไลข่าน ครับ

บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 18 ก.ย. 15, 18:13

ศักราชน่าจะเป็น พ.ศ.2295 รึเปล่าครับ ถึงจะใกล้เคียงกับพงศาวดารที่ว่าเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ถึงแก่กรรมหลังจากทูตเข้ามาไม่นานใน จ.ศ.1115(พ.ศ.2296)  เพราะ พ.ศ.2395 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๔ แล้วครับ

ดูจากศักราชในภาษาอังกฤษว่าเป็น 1674 เข้าใจว่าเป็นมหาศักราช เอา 621 บวกก็จะได้ 2295 ครับ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 18 ก.ย. 15, 19:48


ขออภัย บวกเลขผิด 2295
ตามคุณศรีสรรเพชญ์ท้วง ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 20 คำสั่ง