เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 16
  พิมพ์  
อ่าน: 49735 ผลงานชั้นเยี่ยมเป็นนิพนธ์ของเจ้าฟ้ากุ้งเองหรือกวีนิรนามในสำนักของพระองค์
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 05 ก.ย. 15, 14:01

ขอบคุณครับ เห็นรูปแล้วถึงบางอ้อ ส่วนความหลักเป็นอักษรขอม ภาษาบาลี เสียงในฟิล์มล้วนๆ มิน่า หาในเน็ตไม่ได้เลย

ส่วนคำตาม เป็นไทยสลับบาลี แยกฟอนต์เรียบร้อย น่าสนใจมากครับ

เรื่องคำว่า นิวัติ ผมก็ติดคำนี้ครับ เพราะเข้าใจว่าแปลว่า "กลับ" ไม่ทราบว่าแปลอย่างอื่นได้หรือไม่

ผมเพิ่งจะนึกได้ ในเมื่อปางบรรพัธ ผมไปแปลว่าในอดีต แต่มาดูอีกทีน่าจะสะกดผิด หรือถอดมาผิด ควรเป็น ในเมื่อปางบรรพัช หมายความว่าชื่อสิริปาโลในตอนบวช อย่างนี้ก็ ซตพ ว่าเขียนส่วนนี้ในตอนที่เป็นวังหน้าแล้วแน่นอน แต่จะทั่งเรื่องหรือไม่นั้นไม่แน่นักครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 05 ก.ย. 15, 15:18

จากรูปตรงคำว่า เมื่อในกาลบรรพัช ไม่ชัดเท่าไหร่ แต่น่าจะเป็นอักษร ช ครับ  เทียบกับอักษรไทยย่อ ช ในคำว่า ไชยเชษฐสุริยวงษ ดูใกล้เคียงกันครับ

จากในรูปเทียบกันแล้ว ด้านอักษร ช จะดูเรียวโค้ง แต่อักษร ธ(จากคำว่า ธรรมธิเบศร) ฐานจะดูเหลี่ยมกว้างมากกว่าครับ ถ้าดูเผินๆก็ดูใกล้เคียงกัน อาจจะถอดความมาผิดก็เป็นได้ครับ

ซึ่งในงานวิจัยของคุณประคอง เจริญจิตรธรรมก็เขียนว่า บรรพัช เหมือนกันครับ ซึ่งก็น่าจะเป็นสาเหตุที่ผู้วิจัยได้ถอดความว่า "ผู้แต่งเมื่อครั้งบรรพชามีนามว่าสิริปาโล แต่เมื่อกลับสู่วงศ์กษัตริย์มีพระนาม เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ไชยเชษฐสุริยวงษ"  เป็นการระบุว่าทรงแต่งข้อความตอนนี้เมื่อเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลแล้วครับ


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 07 ก.ย. 15, 19:53


เพิ่มเติมเล็กน้อย
เรื่องการกระจายอำนาจการปกครอง ให้บรรดาเจ้าชาย พระราชโอรสต่างๆ ในตอนปลายสมัยพระบรมโกศ

ในบันทึกของ คณะทูตศรีลังกาที่มาเยือนอยุธยา ในปี พ.ศ. 2293 บอกว่า
second king (วังหน้า ?) กับ Uva Rajjuruvo (อุปราชเจ้า ?) บุคคลที่มีอำนาจรองจาก King เป็นคนละคนครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 07 ก.ย. 15, 21:18

พ.ศ. 2293  อยู่ในรัชสมัยพระเจ้าบรมโกศ
เจ้าฟ้ากุ้ง กับเจ้าฟ้าอุทุมพร?
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 08 ก.ย. 15, 11:37


ลองดู การบรรยายภาพกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2294 ผ่านสายตาของ คณะทูตลังกา ในเวลานั้นครับ

รายละเอียดเนื้อความมีน่าสนใจ ขออนุญาตลอกมาลง โดยไม่ตัดทอนข้อความจนเกินไป
ขออภัยท่านที่เคยได้อ่านเรื่องนี้ไปแล้วครับ

จะมีรายละเอียด เกี่ยวกับ King, his son, prince, Sub-king, Second king, Uva Rajja เป็นบุคคลที่ต่างกัน


จาก Achive.org

Religious Intercourse Between Ceylon and Siam in the eighteenth century
I. An account of King Kirti Sri’s Embassy to Siam in Saka 1672 (1750 A.D.)
Translated from the Sinahalese by BY P. E. PIERIS



หนังสือตีพิมพ์โดยหอพระสมุดวชิรญาณ ใน พ.ศ. 2451

    ...There King Kirti Sri Raja Sinha, the great reformer, had succeeded to the crown ; he applied himself vigorously to sweeping away all the abuses that had crept into the priesthood, ably and zealously supported by Saranankara Unranse and his Minister Ehelapola. His crowning work was the re-institution of the Upasampadawa in Lanka ; the romantic history of the embassy he sent to Siam to fetch the necessary priests will be shown in the following account, which, as appears from the internal evidence, must have been written either by Ellepola Mohottala or Eittaliyadde Rala, two out of the five Sinhalese ambasadors.


เมื่อพระเจ้ากีรติ ศรีราชสิงห์ ได้เสวยราชสมบัติศรีลังกา ได้ส่งคณะทูตมายังสยาม ออกเดินทางวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1750 โดยสารเรือของฮอลันดา ล่องข้ามอ่าวเบงกอล ผ่านอาเจะห์ สุมาตรา แวะพักที่มะละกา ในวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1750

   Accordingly we started in the Saka year 1672 named Prabavadithmi, on the twelfth day of the solar month Kataka, being Thursday the fifth day of the lunar month, at dusk, from the noble city of Senkadagala called Siriwardhanapura, escorting the royal message and presents with all care. The following had been appointed to form the embassy, viz , Pattapola Mohottala, the Atapattu Lekama; Ellepola Mohottala; the Vedikka Lekama; Iriyagama Rala, the Yafinuwara Muhandiram of the Na ayaakka -a Lekama ; …
.. had been commanded to accompany us on board ship.

พบปัญหาในการเดินเรือ ไม่สามารถผ่ามรสุมในอ่าวไทยมาได้ ต้องกลับมาแวะพักที่มะละกาอีกในวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1750 ต้องหยุดพักที่มะละกา กว่าห้าเดือน

   After ten days the wind freshened somewhat, so we weighed anchor and tacked about for five days and nights, trying in vain to get on to our course. As we were drifting backward were too far to the south to reach Siam, the captain and officers held a consultation, and as they saw from their books that there was no hope of a favorable wind for the next six months, they agreed that it was necessary to stop on the way till then. After informing us of their decision they turned back, and on the afternoon on Friday, being fourteen days later, we approached the harbour of Malacca a second time and cast anchor. After some delay five officers came on board from the fort to interview us and took us on land with the Royal message and presents in boats. This was on the afternoon of Saturday the seventeenth day of the solar month Vrischika. We were received with great distinction and the same halting-place as before was assigned to us, and all our wants were supplied without stint. From this day we remained here five months and eleven days till the twenty- -eventh day of the solar month Mena, being Thursday the eleventh day of the lunar month in the Saka year 1673, On the morning of this day, at the twentieth hour, we were taken on board with many presents and a large supply of necessaries; a skilled pilot was also ordered to accompany us, and 500 nix-dollars were placed at our disposal.

วันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1751 เริ่มออกเรือจากมะละกาอีกครั้ง
ได้มาถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา วันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1751 เรือได้เปลี่ยนธงจากฮอลันดา เป็นธงสิงห์ของลังกา

   From this day, being Friday, till Monday the fourteenth day of the solar month Vrasamla, which is the thirteenth day of the dark half of the lunar month, we sailed on without casting anchor or meeting of with any mischance. On the morning of this day at the eleventh hour we approached the harbour of Siam, and seeing a ship which was recognized from her appearance as the Hollander's ship “Karta”, the captain and officers were greatly rejoiced and fired off the guns and celebrated games, speaking to us most kindly and asking us to join them. When we dropped anchor the Hollander's flag was lowered, and the Lion Flag of Lanka was hoisted at the masthead; at the same time the captain got into his boat and sailed quickly to the mouth of the river and up to the country of Siam.

วันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1751 คณะทูตได้ขึ้นฝั่งและได้รับการรับรองที่ Amsterdam (พระประแดง)  ต้นเดือนกรกฏาคมราชสำนักสยามส่งขบวนเรือมาต้อนรับนำขบวนอย่างยิ่งใหญ่  นำขบวนคณะทูตเรือ ไปตามแม่น้ำแวะเมืองบางกอก แวะขึ้นฝั่งไปนมัสการพระและรับศีล

   Seven days later, on Monday morning three messenorers came on board from Siam and had an interview with us: they went and saw how the royal message was disposed, and prostrated themselves and made obeisance before it three times; after this they presented us with cocoanuts tender and hard, with betel and arecanuts, and went away the same day. On the twentieth day of the solar month Mithuna, which is the eighth day of the increasing moon of the lunar month Poson, being Wednesday, about the tenth hour of the morning, two officers came from the capital and accompanied us with the royal message and presents to the place called Amsterdam, which is built at the mouth of the river; here we landed and remained two days. On the morning of the third day, being Friday the ninth day of the month, the message was transferred to a boat adorned with various devices, with
hangings of silk and red stuffs which served as curtains, with awnings above and carpets below. The presents were taken in thirteen boats : five boats were set apart for the five ambassadors, and our attendants too were similarly provided for. The escort that had come from Siam accompanied us in forty-eight boats with their tents adorned in the manner described above, rowing on either side of us. Eight large boats with flags and umbrellas were attached to the one conveying; the royal message by means of stout ropes, one to each, thus taking the latter in tow. We proceeded in this manner up the river amidst great rejoicings on the part of the people, and the same afternoon we reached the district called Bangkok. The Siamese officer stationed here received us with great respect and provided us with all necessaries.

จากนั้นคณะทูตแวะไห้พระรับศีลตามวัดใหญ่ๆไปตลอดทาง ก่อนถึงอยุธยาได้ร่วมพิธีอุปสมบทพระราชทานด้วย

   The next morning, being Saturday, the chief priests from the neighbouring viharas were invited to the spot, and accepted alms at our hands with robes and the priestly necessaries, and the Panchasila was administered, after which we and our attendants were entertained at a feast. Leaving here the same morning we arrived in the evening at the district called Mung Nolak Van, where too the Siamese officer entertained us. The next morning being Sunday, he arranged for the chief priests to come and accept offerings at our hands and to administer Pansil, after which we were entertained in turn. Immediately after this we started and by rowing the whole night we reached the spot called Wat Pro Yath at dawn on Monday, and halted near the great vihara there. Here too we were received with the same ceremony and similar religious exercises were arranged for us by the officer in command ; further, in obedience to the king's order he arranged an Upasampada Charitra Pinkama at this temple, so that we might both derive pleasure and acquire merit by the sight.

   We remained seven days, and at dawn on the eighth day, being: Monday, five great officers of State came from the capital and took the royal message in a large canopied litter which was placed on board a gilt boat, while we proceeded in five others accompanied by the presents and attendants. When we reached the spot called Bai Pas Sath the two banks of the river were adorned with arches of gold and silver cloth, while a large concourse of people holding flags and umbrellas of various kinds were thronged together on gaily decked boats ; we were filled with admiration at the sights on this river, crowded as it was with every kind of merchandise.

จนมาถึงพระนคร ได้รับการต้อนรับจาก “sub king” ก่อนที่จะไปเข้าพักในย่านฮอลันดา

   About the eighth hour of the same mornings we approached the capital of Ayodya Pura and were presented to the sub king. We showed him the royal message and presents at which he expressed his great pleasure and spoke to us most kindly for a short time and inquired about our journey. He further informed us that a subsequent communication would be made to us regarding the presentation of the royal message and presents at the court. After this he desired us to return to our halting place; we accordingly returned down the river to the Dutch settlement.


ได้รับการรับรองเลี้ยงดูปูเสื่อจากจากเจ้าพนักงานสยามเป็นอย่างดี

   When the Siamese officers had conveyed the news to the king, he sent orders that we and our attendants were to be fully supplied with all necessaries from the royal stores during our stay here.
Later some officers came with a large supply of all kinds of eatables and sweets of sugar, with mandarin oranges, ripe plantains, betel, arecanuts, limo, tobacco, and various other articles, They came a second time and distributed silver coins called ticcal and masam-puwa from the royal treasury among us all. Moreover, the tradespeople were ordered to attend the people from Lanka, the chief priests of the viharas were requested to be so kind as to visit the men at all times and to preach bana, and to please them by allowing them to offer the usual offerings and thus acquire merit.

วันที่ 7 กรกฏาคม ค.ศ. 1751 (พ.ศ. 2294) คณะทูตเข้าเฝ้า ถวายพระราชสาสส์น ณ พระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระบรมโกศทรงโปรดให้เที่ยวชมวังต่อ ได้บรรยายความสวยงามของเกาะเมืองอยุธยาไว้อย่างน่าสนใจ

   On the seventeenth day of the solar month Kataka about five hours before dawn three officers came and accompanied us in boats; we landed in the street at the great gate in the city wall and entered carriages drawn by horses. The two sides of the street were decorated with various kinds of cloths and hung with gilt lamps shaped like pumpkins decorated with glass and plates of mica; the street shone as with moonlight in the blaze of a hundred thousand lamps. We drove up the middle of the street as far as the great gate called Yam Thak ; it was one unbroken stretch of gold-worked cloths of five colours, trays and boxes of silver and gold, ornaments of copper, bronze, brass, and zinc, red and white sandalwood, embroidered quilts and curtains, all kinds of medical stores, rice, cocoanuts, plantains, mandarin oranges, orange, sweet meats, all manner of flowers, all manner of
eatables and drinkables, with sweets and meats ; the shops were adorned with gilding, and the street a blaze of splendour. When we arrived within sight of the palace, which shone with gilt work, we alighted from our carriages and rested a short time in a hall hung with beautiful curtains where, according: to their custom, sapu flowers were presented to us. Then we proceeded within the palace, entering the two gates adorned with gilding and all kinds of colours. On either side of the great throne were arranged figures of bears, lions, rakshas, door-guardians, nagas, and beirawa rakshaya, two of each, adorned with gold. In their midst rose the throne which appeared about 10 cubits high ; round it were fixed golden sesat, while marvelous golden embroideries were hung round. The walls themselves were gilt and the spires above the dais were of gold. Here we were brought before the king and presented the royal letter and presents, after which we were graciously permitted to visit the interior of the place.


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 08 ก.ย. 15, 12:02


จากนั้นได้บรรยายความโอ่อ่าตระการตาของพระราชวัง และเมืองอยุธยา ไว้อย่างมีชีวิตชีวา

   To the right of this was a gilt elephant stall ; within—covered with trappings of solid gold, with golden bells, frontlets, and eje-chain, goldwowed henduwa and anukusa, behind a network of ropes plated with gold, with a golden awning above secured to a post covered with plates of gold, with gilt tail and trunk, its tusks adorned with golden rings and encased with golden sheaths set with two magnificent gems at their tips, eating sugar cane from a large gilt boat set up within, while another such held water for its use—there stood, on a gold-worked platform, a tusked Elephant, with its eyes and hair the colour of copper. In a similar stall was a black tusker thickly covered with gray spots. Similarly on our left were two elephants in their stalls.
   In front of the gate in a gilt stable, almost hidden beneath their trappings of solid gold, was a ring of horses ; a similar ring faced this also another of elephants with gilt trappings. In the intervals of these was an innumerable host armed with gilt swords and shields resting on their knees ; another dressed in armour with tridents in their hands; another armed with bows with gilt quivers suspended round their necks ; another of specially powerful men wearing on their heads the spire-shaped Siamese hat ; and another standing in line with guns and pouches. There was also a motley crowd resting on their knees, dressing gorgeous clothes, with their heads wrapped in cloths of various hues ; this consisted of Pattani, Moors, Wadiga, Mukkara, men of Delhi, Malacca, and Java,Kavisi, Chinese Parangis, HoIlanders, Sannasis, Yogis,  English, French, Castilians, Danes, men from Surat, Ava, and Pegu. representinig every race.
   Within the great gate on either side were two platforms on which stood two palmirahs and two cannon made of the five kinds of metals ; round these rested a band of fighting men armed with clubs. The palace gate, the hall in which the sub-king and the nobles were assembled, the doors, windows, and bars were all decorated in great profusion ; the former were crowned with gilt spires, flowers, and wreaths. In the midst of all stood the king's palace of five stages, similarly adorned with gilt spires. At the four corners were four towers five stories high, pierced with many windows and lattice work. There were also many halls decorated with much gilding and built in two stages. The palace of the prince and the three palaces of the queens were similar in appearance. The magnificent pile is erected on the river wall, which commences at the river and encircles the whole city. The great gate is at the landing place ; the rampart starts from here and runs to the right; then it sweeps round in a circle encompassing the whole city, till it finally meets the river again.
   Within the city there are canals running in parallel Hues like the leaves of an indi branch. It is impossible to give any conception of the number of boats and passengers on these. Who will venture to say in what language the traffic on the great river can be described ? There were also numberless streets thronged with people, full of shops displaying every kind of merchandise including images of gold. So far I have only attempted to describe the inner city just as I saw it.
   As we were directed to return to our halting place, two officers accompanied us back first in carriages and then in boats.

บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 08 ก.ย. 15, 15:50


ลงข้อมูลในหนังสือต่อจาก archive.org นะครับ

ในวันพระถัดมา คณะทูตได้ไปทำบุญที่วัดพุทไธสวรรย์ พบผู้คนไปทำบุญอย่างหนาแน่น

     Seven days later on Friday, being full moon, two officers came and informed us that the king had given orders for us to go and worship at two viharas on this day. We accordingly proceeded in boats and worshipped at the vihare called Vat Putin Suwan.
... (ข้าม)
 
วันอาทิตย์ ที่ 21 กันยายน พระถัดมา คณะทูตได้ไปทำบุญอีกวัดหนึ่ง (วัดมหาธาตุ ?) มีความประทับใจในสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนา

   On the twentj-first day of the solar month Kanya, being: Sunday, three officers came in the morning and accompanied us in boats to the vihare called Maha Dhanvaram, in the district named Na pu than, that we might make offerings there to the Buddha and acquire merit, and also see the beauties of the place; and this is what we saw there. ... (ข้าม)
  
   คณะทูตได้เข้าเฝ้า สมเด็จพระสังฆราช รับศีล รับพร และ ทรงประทานคณะสงฆ์ให้เดินทางกลับไปลังกาด้วย

  Outside the great wall of the vihare were several preaching-halls : to the west of this was the residence of the Sanga Raja ; the dining and preaching-halls were adorned in diverse fashions with gilding. One room was hung with awnings and curtains embroidered with gold whilst the floor was covered with various precious carpets. There were vases arranged in rows filled with flowers, whilst above were hung circular lamps. On two thrones on either side were placed two priestly fans; the handles of these were made of elephants' tusks, the ivory of which was sawn very fine like the leaves of the kus-kus, and woven with red velvet and thin strips of gold and silver like rushes to form the leaf of the fan. Two holy priests stood on either side making obeisance to where the Sanga Raja was. Behind a curtain curiously embroidered with gold was a throne on which the Sanga Raja himself was seated. His face was screened by a fan of golden-hued bird's plumes which he held in his right hand. We were led in at his  command to make our obeisance to him and to acquire merit. After we had made suitable offerings to him we were served with betel and arecanut, and were graciously praised by him for the faithful devotion to the Triple Gem which had brought us on this toilsome but blessed voyage across the dangerous sea. He was also pleased to say that priests would be sent to accompany us back to Lanka.
    Surrounding of this spot were several houses occupied by a vast number of priests and Samaneras, devotees of either sex who observe Dasasil, as well as a crowd of pious and courtly folk who provided daily offerings.

บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 08 ก.ย. 15, 16:05


   คณะทูตได้เป็นแขกรับเชิญไปงานเลี้ยง โดย “the second sub-king”  และ เหล่าเสนาบดี

   After all this we were taken back to our halting-place in the evening. Eight days later, being Mondav the eighth day of the waning moon, two officers came and accompanied us to a vihare which was full of priests' houses ; here we saw a building: of three stages the tiles on the roof of which were gilt and appeared as a mass of kinihiriya flowers. In front of this were two golden dagabas ; having made our obeisance to these, we rested a short time in a hall here, after which we were invited to a two storied hall where we were received with every mark of respect by the second sub-king and several Ministers of State and were entertained with our attendants at a feast and subsequently with betel and arecanut. Then several dancers in various gold-worked costumes were brought in to sing and dance before us, after which we were taken back to our resting place.

   เช้าวันต่อมา ไปดูโรงช้างหลวง โรงม้าหลวง

   On the morning of the next day two officers came from the palace and took us on horseback to the town ; we arrived at a street one side of which was occupied by two storied buildings and variously gilt elephant stalls ; on the other side were similar horse stables. It is impossible to give the number of horses and elephants, male and female, that were here; the street was entirely occupied by the stables and stalls, and there was no dwelling house at all ; we rested in a hall on the side where the horse stables were.

บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 08 ก.ย. 15, 16:54


   เมื่อถึงกาลออกพรรษา มีพระราชพิธีพระราชทานพระกฐิน มีกระบวนพยุหยาตรา เสด็จพระราชดำเนินทางสถลมารถ
   เริ่มจากหัวขบวน เป็นขบวนทหาร และ ขุนนางชั้นรองลงมา

   As the Was season was now drawing to a close a Chivara Katina Fuja had been ordered by the king: for this day at the great vihare of Kojayoth Ratanarama.  In this vihare are multitudes of gilt images of the Buddha and a host of priests and Samareras. We saw the procession, and this was the manner of it :—
   First there came, mounted on caparisoned elephant, a body of men with gaily-worked flags, richly dressed with Siamese hats of white resembling silver Karanduwas on their heads, and swords by their sides ; a similar band mounted on horses followed ; next came in succession a host with swords in gilt scabbards: another with gilt bows, their quivers slung over their necks ; another similarly armed, with guns on their shoulders and powder pouches at their sides ; another band similarly dressed with various kinds of arms ; then a band carrying dhaja and patakas on gilt staves; a band of powerful men with gilt clubs ; another with swords in scabbards worked with silver ; another with swords ; a similar band with instruments of music—trumpets, horns, fifes, lutes, drums large and small, all playing together. Along with these were two richly caparisoned elephants with chamaras hung behind their ears and howdahs on their backs; within each was a Minister of State seated, holding in his two hands a gold salver on which were placed robes of the finest yellow silk : above were held worked flag, sesat, and spears, two of each, while on the two sides walked two female elephants carrying three men each. The officer who came next in similar fashion carried the priestly necessaries on a gold salver. A number of beautiful boys followed on a she-elephant covered with gold-worked cloths ; these carried the gilt swords, betel trays, chains, pendants, and goH bracelets of these two officers.
   Next came a large crowd on foot armed with swords and the five kinds of weapons carrying flags and umbrellas, followed by a tusked elephant almost hidden under its gilt trappings, the gaps being covered with button flowers, marigolds, dunuke wetake, sapu, the white and red lotus, and water lilies, carrying in its howdah a Minister of State who bore a set of robes and the priestly necessaries ; on either side rode two officers accompanied by seven men carrying sesat spears and flags. The minister's attendant boys, variously dressed, followed carrying his sword and spear and other ornaments. After that another throng as before.

[The writer next proceeds to describe five other ministers who followed in similar state]

      จากนั้นเป็นเสนาบดี ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่ตามเสด็จในขบวน พระขรรค์ พระมงกุฏ และ เครื่องราชฯ อื่นๆ ต่อด้วย ผู้มีบรรดาศักดิ์นายทุนเจ้าของที่ดิน

   Next, walking four abreast and carrying: gold-worked flags, came a band of men holding four strings so that their order might not be disturbed. Then came a row of elephants with and without tusks, male and female, with trappings of unheard-of splendour, carrying sets of robes and the priestly necessaries and all manner of offerings. Next came two great Officers of State employed in the inner palace, with the Master of the Chariots, the Custodian of the Sword of State, two Keepers of the Crown Jewels, two Officers of the Royal Betel Box, the two Chief Officers of the Treasury, two Admirals of the Great Boats, two Masters of the Horse, two of the King's Physicians, two Officers who were in charge, the one of the stores of copper, brass, tin, timber, horns, ivory, white and red sandalwood, of the villages which produce them, and of the men employed in their service, the other of the loyal rice and betel villages, and of their tenant,—all these came on elephants holding with both hands on golden trays their offerings of robes and other necessaries as described before, each accompanied by his vassals. Behind came a host of hundreds and thousands of devotees, male and female, carrying on their heads robes and offering.

    จากนั้นมี เหล่าเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง และ ที่น่าสนใจ “the Uva Rajjuruvo” และ “the second sub-king”

    Next came the two second Anu-Rajas, carried on the necks of stalwart men in two couch-shaped thrones with a railing of irory, adorned with gold and rows of pearls, and set with magnificent gems ; above their heads were carried ten sesat, and they were followed by a host armed with the five kinds of weapons. Next, in the first of two similarly adorned thrones, was borne on the shoulders of stout warriors the Great Officer of State to whose hands are entrusted all the affairs of Siam, and who is called the Uva Rajjuruvo. Above him were carried five sesat, and behind him was a band with umbrellas and swords. In the second throne was the second sub-king carried in similar state. Next came the great state Elephant ; the whole of its body was the colour of copper, arid it was covered with full trappings of gold ; on each side of it were carried four sesat and four flags ; eight trays of gold tilled with peeled sugar cane, ripe jak, and plantains were carried for its food ; its attendants—elephants with and without tusks, male and female—followed ; on them rode men carrying: flags. A vast number of offering's to the Buddha were presented to the priests with the robes and priestly necessaries. The Siamese officers told us that by the royal command we too were to share in the merit acquired by this great Kathina Pinkama, and of all the other religious services which his illustrious majesty had ordained in his great devotion to the Triple Gem. After this we were taken back to our halting-place.

บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 08 ก.ย. 15, 18:01

ที่ใจที่คุณ Koratian กลับมาครับ กระทู้นี้เงียบไปหลายวันเหมือนกัน

หนังสือ จดหมายเหตุระยะทางราชทูตลังกาเข้ามาขอพระสงฆ์สยาม ผมมีฉบับแปลภาษาไทยพร้อกับอรรถาธิบายของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพอยู่ครับ แต่ตอนนี้ไม่ได้อยู่กับตัว จะลองเขียนเท่าที่จำได้นะครับ ถ้าจำผิดจะมาแก้ทีหลังครับ

อุวราชชุรุโว กับ sub-king สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงวินิจฉัยว่าน่าจะเป็นคนเดียวกัน(แต่อ่านจากที่คุณ Koraian เอามาลงเหมือนจะะเป็นคนละคน) โดยคือเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ว่าที่โกษาธิบดี ซึ่งเป็นขุนนางคู่บารมีของพระเจ้าอยู่หัวรมโกศ โดยน่าจะได้ว่าที่ตำแหน่ง 'เจ้าพระยามหาอุปราชชาติวรวงษ์' อีกตำแหน่งด้วย(แต่ไม่ปรากฏหลักฐานในที่อื่น)

เหตุที่ว่าเป็น sub-king ซึ่งในเอกสารระบุว่าได้พบการราชทูตลังกาเมื่อมาถึงกรุงศรีอยุทธยาใหม่ๆ กรมพระยาดำรงฯทรงสันนิษฐานว่าโดยตำแหน่งที่เป็นโกษาธิบดี เสนาบดีกรมพระคลังกรมท่าแล้ว ย่อมต้องมีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องการออกรับราชทูตต่างประเทศ โดยน่าจะให่ราชทูตมาพบตามธรรมเนียมรับแขกเมือง รวมถึงที่ได้ถวายราชสาส์นให้ไปก่อน น่าจะเป็นเพื่อการแปลพระราชสาส์นเป็นภาษาไทยก่อนจะใช้เมื่อเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจริงๆ ตรงนี้น่าจะเป็นน่าที่ของกรมท่ามากกว่าจะให้เจ้านายมาจัดการเองครับ (อ่านดูจากเนื้อความที่คุณ Koratian มาลงแล้ว sub-king ไม่น่าจะเป็นเจ้านายครับ)

เหตุที่เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ จะเป็นใหญ่เสมอเจ้า ถึงขั้นเจ้าพระยามหาอุปราชหรือ sub-king กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเห็นว่าเพราะเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์มีความดีความชอบอยู่มาก เนื่องจากเป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยให้พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงมีชัยชนะต่อเจ้าฟ้าอภัย เจ้าฟ้าปรเมศวร์ในศึกชิงราชสมบัติ ในพงศาวดารและหลักฐานร่วมสมัยของหลายชิ้นก็มีการกล่าวถึงบารมีของเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์อยู่มากเช่นมีเครือญาติรับราชการในตำแหน่งสำคัญ หลักฐานสมัยหลังเองก็มักกล่าวว่าระกูลสำคัญหลายๆตระกูลมีการเกี่ยวดองกับตระกูลของเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ เมื่อถึงแก่กรรมแล้ว พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศก็โปรดให้เกียรติเสมอเจ้าโดยพระราชทานชฎาให้สวม และให้เรียกว่า 'พระศพ' ดังที่พงศาวดารระบุว่า

ครั้นปีระกาเบญจศก (จ.ศ. ๑๑๑๕ พ.ศ. ๒๒๙๖) เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ป่วยเป็นลมอัมพาธ ๔ เดือน เศษถึงอนิจกรรมพระราชทานให้ใส่โกศใส่ชฎาเรียกว่าพระศพฌาปนกิจวัดชัยวัฒนาราม


นอกจากนี้มีจดหมายเหตุของคณะ บาดหลวงฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยา ตอนแผ่นดินพระเจ้าบรมโกษฐ ใน พ.ศ.๒๒๘๖ ตอนหนึ่งเรียกเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ว่า prince ด้วยครับ


the second sub-king กรมพระยาดำรงฯทรงวินิจฉัยว่าน่าจะเป็น พระยาพิพัฒน์โกษา ปลัดทูลฉลองกรมพระคลัง ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบรองจากเจ้าพระยาพระคลังลงไป ซึ่งดูจากหน้าที่ที่รับผิดชอบงานเลี้ยงรับรองราชทูตลังกาตามเอกสารครับ


prince ในความเห็นที่ 125 น่าจะเป็นโอรสของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศองค์อื่นที่ไม่ใช่เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร เพราะมีตำหนักอยู่ในวังหลวงครับ
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 08 ก.ย. 15, 19:36

ออกจะดูแปลกๆที่ตั้งตำแหน่งเจ้าพระยามหาอุปราช ทั้งๆที่มีเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรเป็นพระมหาอุปราชอยู่แล้ว แต่ถ้าพระวินิจฉัยของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพถูกต้อง เรื่องนี้ก็น่าสนใจอยู่ครับ

เป็นไปได้ว่าพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศอาจจะทรงคานอำนาจระหว่างขั้วของขุนนางซึ่งนำโดยเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ซึ่งเป็นขุนนางคู่พระบารมี กับขั้วของเจ้านายทรงกรมที่อาจแบ่งเป็นฝั่งของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร(ซึ่งอาจจะไม่ได้เป็นที่วางพระทัยมากนักจากประวัติเสียของพระองค์)กับฝั่งเจ้าสามกรม

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์มีอิทธิพลอยู่มากเพราะเป็น 'King Maker' โดยตำแหน่งควบคุมกรมพระคลัง การค้ากับต่างประเทศรวมถึงกิจการทหารพลเรือนของหัวเมืองฝ่ายใต้(ถูกโอนมาจากสมุหพระกลาโหมที่ทำความผิด)  เครือญาติล้วนอยู่ในตำแหน่งสูงๆ เช่นเจ้าพระยาราชภักดี(สว่าง) เจ้ากรมพระคลังมหาสมบัติบุตรชาย ได้ว่าที่สมุหนายกใน พ.ศ.๒๒๘๕ เท่ากับว่าอำนาจของเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ครอบคลุมถึงกรมมหาดไทยและหัวเมืองฝ่ายเหนือด้วย บุตรเขยคนหนึ่งเป็นพระยาพิพัฒน์โกษา(ฉิม ได้เป็นพระคลังต่อจากเจ้าพระยาชำนาญฯ) บุตรเขยอีกคนใน พ.ศ.๒๒๘๖ มีตำแหน่งเป็น พระยาสมบัติบาล(เดิมไม่ได้บอกบรรดาศักดิ์ แต่ พ.ศ.๒๒๙๑ ระบุว่าเป็น พระยา) เจ้ากรมพระคลังในขวา  

มีหลักฐานว่าเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์เคยทำผิดพลาดในราชการใน พ.ศ.๒๒๘๙ พระเจ้าบรมโกศทรงเพียงแต่ภาคทัณฑ์ไว้ แต่เจ้าพระยาราชภักดีบุตรชายที่ทำความผิดเดียวกันกับถูกโบยหลัง ๒๐ ที

"อนึ่งมีหนังสือบอกเมืองนครศรีธรรมราช ว่ากองช้างไปโพน คล้องถูกพลายเถื่อนสูง ช้างหนึ่ง ตา เล็บ หาง ขน ขาว พระเจ้าอยู่หัวดำรัสให้หลวงราชวังเมือง ไปฝึกชำนิแล้วให้นำมา ฝ่ายเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ว่าที่โกษาธิบดีเจ้าพระยาราชภักดีว่าที่สมุหนายก ให้มีตราพระราชสีห์ แลตราบัวแก้ว ออกไปให้กรมการหัวเมืองรายทาง ทำโรงให้เป็นมณฑปมียอดแลหางหงส์กระจังไว้ให้พัก ผู้รั้งกรมการปรึกษากันว่าไม่เคยทำ จึงบอกเข้ามาขออำนวยการออกไปบอกเมืองละคน ครั้นเอาหนังสือขึ้นกราบบังคมทูล มีพระราชโองการให้ถามเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ เจ้าพระยาราชภักดี ว่าแต่โรงรายทางจะได้พักแห่งละวัน ๒ วันก็จะมา แลจะให้ทำโรงมณฑป ครั้นมาถึงกรุงจะทำโรงรับไว้เป็นอย่างไรเล่า นี่หรือจะช่วยทะนุบำรุงอาณาประชาราษฎรให้เป็นสุข แล้วดำรัสให้ภาคโทษเจ้าพระยาชำนาญไว้ครั้งหนึ่ง แต่เจ้าพระยาราชภักดีนั้น ให้ลงพระราชอาญาโบยหลัง ๒๐ ที ครั้นหลวงราชวังนำช้างมาถึงกรุงแล้ว พระราชทานชื่อว่า พระบรมคชลักษณ์ อัครคเชนทร์ วเรนทร สุปดิษฐ์ สิทธิสนทยา มหามงคล วิมลเลิดฟ้า"


และอย่างที่กล่าวไปว่ามีหลักฐานว่าชำนาญบริรักษ์ได้รับเกียรติเสมอ 'เจ้า'  อิทธิพลที่มากมายมหาศาลนี้อาจจะทำให้เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรซึ่งเป็นวังหน้าทรงไม่วางพระทัยก็เป็นได้ สอดคล้องกับหลักฐานร่วมสมัยของบาทหลวงฝรั่งเศส(ตีพิมพ์ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๓๘ จดหมายเหตุของคณะ บาดหลวงฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยา ตอนแผ่นดินพระเจ้าบรมโกษฐ ) ระบุว่าเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไม่ทรงถูกกับเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ นอกจากนี้ก็ยังมีความแตกต่างในเรื่องกลุ่มคนเข้ารีตและบาทหลวงฝรั่งเศส โดยเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์มักจะมีปัญหากับกลุ่มคนเข้ารีตหลายครั้ง หลายครั้งปรากฏว่าได้ทำการกดขี่บีบบังคับพวกเข้ารีต เบียดเบียนศาสนาคริสต์(ปรากฏว่าห้ามคนไทย มอญ ญวน ไปเข้ารีต มีการตั้งศิลาจารึกเป็นคำสั่งในเมืองมะริด)

แต่เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงมีท่าทีเป็นมิตรกับพวกเข้ารีตมากกว่า รวมถึงมีท่าทีอยากจะทรงได้ชาวฝรั่งเศสเป็นพวกด้วย โดยใน พ.ศ.๒๒๘๖ ตามจดหมายของสังฆราช เดอ โลลีแยร์ ระบุว่าเมื่อเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงทราบว่าโลลีแยร์กำลังจะเข้ามาถึงกรุงศรีอยุทธยา จึงพระราชทานเรือพระที่นั่งมาให้ ทำให้สังฆราชโลลีแยร์คิดว่าพระองค์ต้องการจะหาพรรคพวก ซึ่งการณ์นี้ทำให้พวกเข้ารีตรู้สึกสบายใจมากขึ้น หลังจากที่โดนเจ้าพระยาชำนาบริรักษ์กดขี่ข่มเหงมาก่อนหน้า  นอกจากนี้เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรได้ทรงสนทนากับบาทหลวงดีดีมที่มาด้วยกัน โดยทรงมีท่าทีโปรดจะสานไมตรีกับฝรั่งเศส และทรงได้ตรวจจดหมายเหตุในการรับราชทูตฝั่งเศสครั้งก่อนไว้ด้วยครับ
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 08 ก.ย. 15, 19:39

ปลาย พ.ศ.๒๒๘๖ ถึง ต้น พ.ศ.๒๒๘๗ เกิดปัญหาเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์กดขี่พวกเข้ารีต สังฆราชเดอ โลลีแยร์จึงเขียนหนังสือร้องเรียน 'สมบัติบาล' ลูกเขยเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ แต่ก็ไม่เป็นผล  ตอนนั้นมีหลายคนพูดกับสังฆราชให้ไปร้องเรียนกับเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร แต่สังฆราชไม่ได้ไปทูล ความตอนนี้พอให้เห็นภาพความขัดแย้งของพระองค์กับเจ้าพระยาชำนาญฯ รวมถึงเรื่องที่ทรงหวังจะเอาฝรั่งเศสเป็นพวกด้วยครับ

" ในขณะนี้ได้มีคนหลายคนมาแนะนำแก่สังฆราชให้นำเรื่องนี้ ไปทูลแก่พระมหาอุปราชผู้เปนพระราชโอรสของพระเจ้ากรุงสยาม เพราะพระมหาอุปราชไม่ถูกกันกับเจ้าพระยาพระคลัง ทรงหาช่องอยู่ที่จะกราบทูลพระราชบิดาให้ทรงทราบถึงความชั่วของเจ้าพระยาพระคลัง เพราะเวลานั้นพระเจ้ากรุงสยามทรงไว้ใจเจ้าพระยาพระคลังทุกอย่าง ส่วนพระมหาอุปราชก็คงต้องการให้สังฆราชนำความไปทูล เพราะได้ทรงใช้ให้ข้าราชการมาหาพวกเราหลายหน เพื่อฟังดูว่าสังฆราชจะพูดอย่างไรบ้าง แต่สังฆราชเห็นว่าไม่ควรจะนำเรื่องนี้ไปทูลพระมหาอุปราช เพราะเหตุว่าถ้าทูลไปแล้ว เจ้าพระยาพระคลังก็คงจะถูกกริ้วและถูกติโทษ แต่ถ้าหากว่าเจ้าพระยาพระคลังยังคงรับตำแหน่งนี้อยู่อีก ก็คงจะหาทางมาแก้แค้นสังฆราชและพวกเข้ารีตเปนแน่"
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 08 ก.ย. 15, 20:38

"ครั้นอยู่มาผู้รั้งเมืองกุยบุรีบอกหนังสือส่งทองร่อนหนัก ๓ ตำลึง เข้ามาถวาย ว่าตำบลบางสะพานเกิดที่ร่อนทองขึ้น ครั้นถึงเดือน ๑๒ ปีเถาะนพศก (จ.ศ. ๑๑๐๙ พ.ศ. ๒๒๙๐ ) ให้เกณฑ์ไพร่ ๒๐๐๐ ยกออกไปตั้งร่อน ณบางสะพาน ครั้นสิ้นเดือน ๕ ปีมะโรงสัมฤทธิศก (จ.ศ. ๑๑๑๐ พ.ศ. ๒๒๙๑) ได้ทองเข้ามาถวาย ๙๐ ชั่งเศษ ผู้รั้งเมืองกุยนั้น โปรดให้เป็นพระกุยบุรี แล้วทรงพระราชศรัทธาให้แผ่ทองร่อนเป็นประธานกล้อง ปิดพระมณฑปพระบรมพุทธบาท และให้แผ่หุ้มแต่เหมแลนาคลงมา..."

อีกครั้งใน พ.ศ.๒๒๙๑ เกิดแหล่งร่อนทองที่บางสะพาน เมืองกุยบุรี(ปัจจุบันเป็นแหล่งร่อนทองที่มีชื่อเสียง) จึงได้ทองคำส่งเข้าหลวงมาจำนวนมาก พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดให้เอาทองมาหล่อพระพุทธบาทจำลองกับดอกบัวทองและโปรดให้มีขบวนแห่ใหญ่ เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์กับพระยาสมบัติบาลได้รับพระราชโองการให้มาเกณฑ์พวกเข้ารีตให้ถือดอกบัวไปร่วมขวนแห่ด้วย แต่สังฆราชและพวกเข้ารีตไม่ยอมเพราะเห็นว่าผิดหลักศาสนา จึงโดนกดขี่ข่มเหง มีการอ้างพระราชโองการห้ามชาวไทย มอญ ญวนเข้ารีต และก็ให้ชายที่เข้ารีตไปทำงานโยธาขนอิฐใต้บังคับของพระยากลาโหม

แต่ว่าเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรก็ทรงช่วยพวกเข้ารีต โดยทรงแกล้งประชวรและไม่ทรงร่วมขบวนแห่ เพื่อให้พระยากลาโหมมาเฝ้า และรับสั่งกับพระยากลาโหมว่า (สังฆราชระบุว่าได้เรื่องนี้ยินมาจากข้าหลวงของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)

"การที่ท่านมาหานี้ข้าพเจ้ายินดีมากเพราะได้ตั้งใจไว้ว่าจะเรียกท่านมาถาม ว่าการที่ท่านให้พวกเข้ารีตไปทำการโยธานั้น ท่านได้รับอำนาจจากใคร ท่านเชื่อว่าเรื่องนี้คงจะยุติกันเพียงนี้หรือ ท่านจะต้องการให้พระราชไมตรีซึ่งเราได้พยายามมีไว้กับเจ้าแผ่นดินในประเทศยุโรปได้ขาดไปหรือ ขอให้ท่านรีบไปจัดการเสียให้เรียบร้อยโดยเร็ว"

การที่พระองค์ถึงกับลงทุนแกล้งประชวร เพื่อช่วยพวกเข้ารีต คิดว่าไม่น่าจะเป็นแค่เรื่องธรรมดาครับ


สันนิษฐานว่าหลังจากเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ถึงแก่กรรมใน พ.ศ.๒๒๙๖ ทำให้ขั้วอำนาจของกลุ่มขุนนางที่มีเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์เป็นศูนย์กลางอ่อนกำลังลง ทำให้ขั้วของเจ้าต่างกรมมีอำนาจมากขึ้น จึงเริ่มปรากฏการกระทบกระทั่งระหว่างกลุ่มของเจ้าต่างกรมซึ่งเป็นกลุ่มของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล(สันนิษฐานว่าเจ้าฟ้าเอกทัศกับเจ้าฟ้าอุทุมพรน่าจะอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย) กับกลุ่มของเจ้าสามกรม ซึ่งสุดท้ายก็จบด้วยการที่เจ้าสามกรมหาเหตุให้กรมพระราชวังบวรถูกลงอาญาจนสิ้นพระชนม์ได้ใน พ.ศ.๒๒๙๘ ครับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 09 ก.ย. 15, 14:33

อยากเห็นที่มาของคำในต้นฉบับภาษาสิงหลว่า sub king , second king, etc. มาจากไหนครับ

สงสัยว่าทำไมทิ้งไว้แค่ uva rajjuruvo คำเดียว เพราะทิ้งไว้อย่างนี้ สมเด็จดำรงฯ ท่านคงจะทรงคิดว่าเป็นคำทับศัพท์ จึงทรงตีความเป็นชื่อพระยาฯ อย่างนั้น ลองถามน้องกุ๊กดูจะพบว่า Rajjuruwo แปลว่ากษัตริย์

Sub king เป็นเจ้าต่างกรมได้หรือไม่ครับ ถ้าเป็นขุนนางระดับพระยา ทำไมถึงใช้คำระดับนี้ น่าสงสัยครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 09 ก.ย. 15, 20:41


ขอบคุณ คุณศรีสรรเพชญ์ สำหรับข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมครับ

การแปลสิงหลเป็นอังกฤษ แล้วอังกฤษเป็นไทยอีกทอด ทำให้เราจำเป็นต้องเชื่อตามวิจารณญาน และตีความตามผู้แปลครับ
ซึ่งอาจมีข้อผิดพลาดได้ไม่มากก็น้อย

ข้อมูลจากฉบับภาษาสิงหลโดยตรง คงต้องปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญจากกระทู้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ แล้วละครับ
ดีไม่ดี เรื่องนี้จะสนุกขึ้นไปอีก ถ้าหากพระองค์เจ้าปฤษฎางค์เป็นผู้ส่งฉบับแปลมาให้หอพระสมุดฯก็ได้นะครับ

ตามข้อมูลจากบันทึกของทูตลังกาจะเห็นว่ามีการบันทึกรายละเอียดปลีกย่อยอย่างละเอียด
น่าเชื่อได้ว่ามาจากบุคคลผู้อยู่ในเหตุการณ์จริง
ในขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค แห่พระกฐินฯ ที่ลอกมาลงนี้จะเห็นได้ว่ามีบุคคลสำคัญอย่างน้อย 4 คน
ที่ใช้ ฉัตร 5 ชั้น หรือมีฐานันดรในระดับเจ้าฟ้าทรงกรม
สองคนแรก คือ "two second Anu Rajas" น่าจะเป็น เจ้าฟ้าทรงกรม สองพระองค์
อีกสองคน คือ "Second Sub-King" และ "Uva Rajjuruvo" ที่มีความสำคัญในขบวนแห่ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน
โดยนำหน้าช้างเชือกสำคัญเลยทีเดียว

ต่อไปผมจะขอเพิ่มข้อมูล จากฉบับภาษาอังกฤษ อีกสักสองสามฉาก เพื่อให้เห็นบทบาทของ
"Second Sub-King" และ "Uva Rajjuruvo" ในราชสำนักในปี พ.ศ. 2294


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.467 วินาที กับ 20 คำสั่ง